Accom Thailand

February 25, 2008

ค้นเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 – ใครว่าอย่างไรบ้าง


“จาตุรนต์” โผล่วิจารณ์ “หมัก” ย้ำ 6 ตุลา ตายไม่น้อยกว่า 41 ศพ

ผู้จัดการออนไลน์ 23 กุมภาพันธ์ 2551 13:53 น.


อ่านเรื่องราวที่เกี่ยวข้อง

ดู CNN วีดีโอที่นายกสมัคร ให้สัมภาษณ์ว่ามี คนตายกี่คน ? 6 ตุลาคม 2519 ที่ ธรรมศาสตร์

มองต่างมุม 6 ตุลาคม 2519

ข่าว สัมภาษณ์สถานี อัล จาซีรา เรื่อง 6 ตุลาคม 2519

ความจริงเมื่อ 6 ตุลาฯ 19 – น้ำผึ้งหยดใหม่จากรัฐบาลสมัคร ?


“จาตุรนต์” เพิ่งโผล่ให้ความเห็น เตือนสติ “หมัก” ระบุคำพูดว่ามีคนตายในเหตุการณ์ 6 ตุลาแค่คนเดียวเป็นการพูดที่มีปัญหา ชี้มีตายไม่น้อยกว่า 41 ศพ แต่ย้ำวิพากษ์วิจารณ์ด้วยความเป็นมิตรวันนี้ (23 ก.พ.) นายจาตุรนต์ ฉายแสง อดีตรักษาการหัวหน้าพรรคไทยรักไทย ให้ความเห็นเกี่ยวกับเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 ในฐานะเคยเป็นแกนนำที่เคลื่อนไหวในเหตุการณ์ดังกล่าว โดยระบุว่า กรณีที่ นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า มีคนตายเพียงคนเดียว เป็นการพูดที่เป็นปัญหา เพราะแม้จะเป็นข้อเท็จจริงส่วนตัวก็ไม่ตรงกับความจริงที่เกิดขึ้นอ่านต่อ ที่ ผู้จัดการออนไลน์


“อ๋อย”นำ คนตุลา จี้”สมัคร” แสดงความเสียใจเหตุดังกล่าว
Nation Weekend : ปีที่ 16 ฉบับที่ 821 ประจำ วันอาทิตย์ที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

“จาตุรนต์” ระบุ 6 ตุลาฯเสียชีวิตมากกว่า40 คน จี้”สมัคร”แสดงความเสียใจ วอนซ้ายในพปช.กล้าให้ข้อมูลนายกฯ

(23กพ.) นายจาตุรนต์ ฉายแสง อดีตรักษาการหัวหน้าพรรคไทยรักไทย และอดีตคนเดือนตุลาฯ นำกลุ่มคนเดือนตุลา อาทิ นายเกรียงกมล เลาหะไพโรจน์ นายวรรณชัย ไตรแก้ว นายกุลชีพ วรพงษ์ นายอำนาจ สถาวรฤทธิ์ นายสมบูรณ์ สิมะแสงยาภรณ์ มาร่วมแถลงข่าวกรณีที่นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์สื่อต่างประเทศต่อเหตุการณ์ 6 ต.ค.2519 ว่าเห็นผู้เสียชีวิตเพียงคนเดียว ซึ่งไม่ตรงกับความเป็นจริง

นายจาตุรนต์ กล่าวว่า ตนจะขอแถลงข่าวให้ความเห็นเกี่ยวกับเรื่องที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ 6 ต.ค. ซึ่งในขณะนั้นตนเป็นนักศึกษาอยู่ เป็นกรรมการกลางศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย และเป็นนายกสโมสรมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ แล้วก็ได้มีส่วนร่วมเป็นแกนนำในการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยในขณะนั้น ในระหว่างและก่อนวันที่ 6 ต.ค. ตนอยู่ที่เชียงใหม่ มีการชุมนุมนักศึกษาประชาชนอยู่เหมือนกัน ที่นั่นไม่มีเหตุการณ์ความรุนแรง เพียงแต่เกือบจะมี ตนก็ได้เป็นผู้สลายการชุมนุมไปเมื่อตอนสายๆ ของวันที่ 6 ต.ค. เพื่อหลีกเลี่ยงการที่อาจจะถูกปราบปราม
เสียงเพรียกหาความจริง
นายจาตุรนต์ กล่าวว่า การที่มาให้ความเห็นในวันนี้ ความจริงก็สืบเนื่องมาจากประเด็นสำคัญ ประเด็นหลักอยู่ที่ว่า การที่นายกรัฐมนตรี ได้ให้สัมภาษณ์ตอบคำถามผู้สื่อข่าว และมีใจความว่าในเหตุการณ์ 6 ต.ค. นั้น ท่านเห็นคนตาย 1 คน หลังจากนั้นดูเหมือนจะพูดซ้ำทำนองเดียวกันอีกด้วย จากนั้นก็มีการหยิบยกประเด็นนี้ขึ้นมาพูดในที่ประชุมร่วม รัฐสภา ตอนรัฐบาลแถลงนโยบาย ซึ่งก็ดูเหมือนว่า มีการขยายประเด็นไป มากกว่าเรื่องการพูดว่า มีคนตายคนเดียว เรื่องนี้กลายเป็นเรื่องที่ผู้คนสนใจมาก ในการอภิปรายแถลงนโยบายของรัฐบาล ก็ดูเหมือนเรื่องนี้เป็น เรื่องใหญ่อันดับแรก ทั้งๆที่ไม่ใช่เรื่องนโยบายรัฐบาล และก็ยังมีเรื่องค้างอยู่ เป็นที่สนใจอยู่ ดังนั้นคิดว่าควรได้ให้ความเห็นต่อเรื่องนี้

นายจาตุรนต์ กล่าวอีกว่า ประเด็นแรกที่จะให้ความเห็น คือการที่ท่านนายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวว่า เห็นคนตายเพียงคนเดียว ตนเห็นว่าเป็นการพูดที่เป็นปัญหาอยู่ คือว่าถึงแม้ว่าในขณะนั้น ในวันนั้นท่านเห็นคนตายเพียงคนเดียว แต่ก็น่าจะสามารถหาข้อมูลที่ค้นพบ ที่ผู้อื่นพบเห็น ที่มีการค้นพบศึกษารวบรวมข้อมูลกันมาแล้ว ว่ามีคนตายจำนวนมาก และยังมีการจับกุมคุมขัง นักศึกษาประชาชน อีกจำนวนมาก

นายจาตุรนต์ กล่าวต่อว่า การพูดว่าเห็นคนตายเพียงคนเดียว แม้จะเป็นข้อเท็จจริงส่วนตัว แต่ก็ไม่ตรงกับความเป็นจริงที่เกิดขึ้น อาจจะทำให้คนอีกจำนวนที่ฟังท่านนายกพูดก็คิดไปว่า เหตุการณ์ 6 ตุลา 2519 นั้น เป็นเรื่องที่ไม่ได้หนักหนาร้ายแรงอะไร ซึ่งถ้าเป็นอย่างนั้น ก็ต้องหมายความว่า สังคมไทยก็ไม่ได้จำเป็นต้องเรียนรู้สรุปบทเรียนอะไรจากเหตุการณ์ 6 ตุลา

“ ผมยังคิดว่ายังอยากเห็นท่านนายกฯ ศึกษารวบรวมข้อมูล ขอข้อมูลจากสื่อมวลชน จากนักวิชาการ จากผู้ศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับเรื่องประวัตศาสตร์ในช่วงนี้ และก็แสดงออกถึงการรับรู้รับทราบว่า มีคนตายมากจริง ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการสรุปบทเรียนของสังคมไทย”นายจาตุรนต์ กล่าว

นายจาตุรนต์ กล่าวอีกว่า เมื่อทุกฝ่ายทราบชัดเจน ยอมรับตรงกันว่ามีการเสียชีวิตจำนวนมาก มีการจับกุมคุมขัง นักศึกษา ประชาชน จำนวนมาก การสรุปบทเรียนก็จะเป็นอย่างถูกต้องมากขึ้น และได้ประโยชน์มากขึ้น อย่างไรก็ตามในเรื่องเหตุการณ์ 6 ต.ค. 2519 นี้ ถ้าพูดเฉพาะบางแง่มุมที่สำคัญ เหตุการณ์นี้ ในวันนี้ ได้เกิดเรื่องที่สังคมไทย จะต้องสรุปบทเรียนก็คือ มีการปราบปรามฆ่านักศึกษาประชาชน ตามข้อเท็จจริงที่มีผู้ศึกษาไว้ ซึ่งอาจจะสอบถามยืนยันได้จากญาติพี่น้องของผู้ที่เสียชีวิต

“ น่าจะมีผู้เสียชีวิตไปไม่ต่ำว่า 41 คน มีการจับกุมคุมขังนักศึกษาประชาชนอีกไม่ต่ำกว่า 3 พันคน เป็นการปราบปราม นักศึกษาประชาชนที่โหดร้ายทารุณมากที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ ของสังคมไทยในยุคหลังๆนี้”นายจาตุรนต์ กล่าว

อดีตแกนนำ นศ.เดือนตุลา กล่าวอีกว่า เหตุการณ์ในวันนี้ ถ้าเราจะสรุปบทเรียนที่สำคัญก็คือ ได้เกิดการแก้ปัญหา หรือเกิดการที่รัฐของประเทศไทยเข้าไปจัดการ การมีความคิดเห็นที่ขัดแย้งแตกต่างกันในสังคม โดยใช้ความรุนแรงเข้าจัดการ และในวันเดียวกันในตอนค่ำ ผู้มีอำนาจทั้งหลาย โดยเฉพาะผู้มีกำลังอาวุธอยู่ในมือ ก็ได้ทำการรัฐประหารยึดอำนาจ เปลี่ยนการปกครอง จากที่เป็นประชาธิปไตยอยู่ก่อนหน้านั้น ให้เป็นการปกครองแบบเผด็จการที่ล้าหลัง ทำให้ประเทศไทยเป็นประเทศที่ปกครองแบบเผด็จการอยู่หลายปี ทำให้ประเทศไทยต้องล้าหลังไม่เป็นอารยะประเทศ ทั้งนี้บทเรียนที่สำคัญก็คือ การแก้ปัญหา การเข้าไปจัดการความแตกต่างทางความคิดอุดมการณ์ โดยใช้ความรุนแรง และเกิดการยึดอำนาจรัฐประหาร นำประเทศไปสู่ระบอบเผด็จการที่ล้าหลัง

“ เกี่ยวข้องกันกับว่าคนตายมากตายน้อย ก็คือถ้าหากบอกว่าตาย 1 คน หรือถ้าบอกว่า ที่เกิดการปราบปรามกัน เกิดยิงกัน ฆ่ากัน เป็นเพราะตำรวจเมาแล้วทำปืนลั่น มันก็จะกลายเป็นว่า มันเป็นเรื่องที่ไม่หนักหนาอะไร ไม่จำเป็นต้องสรุปบทเรียนอะไร ฉะนั้นที่ถูกก็คือว่าถ้าเราคิดจะศึกษาประวัติศาสตร์ในเรื่องนี้ เราต้องเข้าใจข้อเท็จจริงตามจริง เพื่อที่จะได้ข้อสรุปดังกล่าว ข้อสรุปที่ว่านี้สังคมไทยได้สรุปกันไปแล้ว”นายจาตุรนต์ กล่าว

Jaturon
อดีตแกนนำ นศ.เดือนตุลา กล่าวว่า หลังเหตุการณ์ 6 ต.ค. ที่นอกจากทำให้ประเทศเป็นเผด็จการแล้ว ยังทำให้เกิดการ รบราฆ่าฟันของคนไทยกันเอง มีการเสียชีวิต เสียเลือดเนื้ออีกเป็นพันพันคน หลังจากนั้น กว่าที่สังคมไทย จะหาความยุติ ความขัดแย้งครั้งนั้นได้ ใช้เวลาหลายปี และในการยุติความขัดแย้งหลัง 6 ต.ค.ได้ก็เกิดจากการที่สังคมไทยโดยทุกฝ่ายเห็นว่า จะแก้ปัญหา ความแตกต่างทางความคิดอุดมการณ์ได้ ต้องทำให้บ้านเมือง เป็นประชาธิปไตย แล้วก็ต้องส่งเสริมให้ทุกฝ่ายอยู่ร่วมกัน ในสังคมได้อย่างสันติ ทุกฝ่ายสามารถที่จะดำเนินการทางการเมือง ของตน ได้โดยสันติวิธีในระบอบประชาธิปไตย

“เมื่อมีข้อสรุปในเรื่องของการออกกฎหมายนิรโทษกรรม ผู้เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ 6 ต.ค.ทุกฝ่าย มีนโยบายที่ส่งเสริมให้ ้ผู้ที่มีความเห็นแตกต่างกัน สามารถกลับมาอยู่ในสังคมได้อย่าง ปกติสุข เกิดข้อสรุปของ นักศึกษาประชาชนที่ ต่อสู้ด้วยกำลังอาวุธ ก็ไม่ใช่ทางออกของประเทศ ทุกฝ่ายก็สามารถที่จะกลับมาร่วมกัน พัฒนาประเทศ แก้ปัญหาประเทศได้ โดยสันติวิธี และที่สำคัญ ก็คือ ใน ระบอบประชาธิปไตย ซึ่งนั่นเป็นข้อสรุปที่สังคมไทยได้ข้อสรุป ไปแล้ว เป็นข้อสรุปที่ดีมาก ที่จะทำให้ประเทศพัฒนาก้าวหน้าต่อไป ”นายจาตุรนต์ กล่าว

นายจาตุรนต์ กล่าวถึงการชำระประวัติศาสตร์ว่า ควรจะมีอีกหรือไม่ ความจริงก็มีคนศึกษามีข้อสรุปไว้แล้วพอสมควร แต่การชำระประวัติศาสตร์ของประเทศไทย ก็มีปัญหาพื้นฐานอยู่ตลอดมา ก็คือว่าเรามักจะสอนวิชาประวัติศาสตร์กันแบบให้คนท่องจำ และบังคับให้คนต้องเชื่อไปทางหนึ่ง ใครจะศึกษาอะไรที่แตกต่างออกไป เมื่อแตกต่างมากๆไม่ตรงกับ ผู้มีอำนาจ หรือไม่ตรงกับ คนส่วนใหญ่ในสังคม ก็จะถูกมองว่าเป็นตัวปัญหา ถ้าหากว่าจะชำระประวัติศาสตร์กันเพิ่มเติมอีก ตนคิดว่าเป็นเรื่องดี แต่ว่าควรจะต้องส่งเสริมให้นักประวัติศาสตร์ นักวิชาการหรือผู้ที่สนใจทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นประชาชน หรือสื่อมวลชนที่ต้องการศึกษาเรื่องนี้เพิ่มเติม ก็ควรจะส่งเสริมให้ทำเพิ่มเติม และก็ไม่ควรจะทำเฉพาะเหตุการณ์ 6 ต.ค. ควรจะทำกับแหตุการณ์สำคัญๆที่เกิดขึ้นในประเทศนี้ เพื่อให้เท็จจริงปรากฏ

“ถ้าพูดเฉพาะในกรณี 6 ต.ค. ถ้าเราจะศึกษาเพื่อสรุป เพื่อให้ได้ข้อสรุปที่เป็นประโยชน์ ควรจะชำระประวัติศาสตร์กันอย่างไร ผมคิดว่าเราควรจะได้ให้ข้อเท็จจริง ได้ความเป็นจริง และได้บทเรียนที่มีคุณค่าต่อสังคม เพื่อให้สังคมเดินไปข้างหน้า และก็ไม่ควรเป็นการชำระประวัติศาสตร ์เพื่อให้เกิดการคิดบัญชี ให้เกิดการทำลายล้างหรือประหัต ประหารกัน หรือชำระประวัติศาสตร์เพื่อเป็นเครื่องมือทางการเมืองของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง เพื่อประหัตประหารอีกฝ่ายหนึ่ง”นายจาตุรนต์ กล่าว

นายจาตุรนต์ กล่าวอีกว่า ทั้งเหตุการณ์ตุลาฯ เหตุการณ์พฤษภาฯ 35 และอีกหลายเหตุการณ์ในอดีต ถ้าจะหาผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ผู้กระทำผิด อาจจะหาได้เป็นหลายๆร้อยคน หรือเป็นพันคน ถ้าสังคมไทยมาชำระประวัติศาสตร์มาค้นคว้าเรื่องเหล่านี้ โดยจะเอาผู้เกี่ยวข้องทั้งหลายมาคิดบัญชีกัน ก็เท่ากับว่าเรากำลังหักล้างข้อสรุปที่ดีของสังคมไทยที่ได้สรุปไปแล้วว่า ในกรณีอย่างนี้ สิ่งที่ควรทำก็คือว่าเรามาคิดกันใหม่ว่าการแก้ปัญหา การจัดการกับความแตกต่างทางความคิดไม่ใช่การเข้าประหัตประหารกัน แต่ควรจะเปิดโอกาสให้ทุกฝ่ายมีเวทีมีหนทางวิถีทางที่จะยืนยันหรือดำเนินการตามอุดมการณ์ตามความคิดของตน โดยสันติวิธีและอยู่ร่วมกันอย่างปกติสุขได้

“ฉะนั้นการชำระประวัติศาสตร์ ถ้าจะทำกันผมก็เห็นด้วยว่า ควรจะทำเพิ่มเติม แต่ควรจะมีหลักคิดในการที่จะชำระประวัติศาสตร์ที่ดี และเป็นประโยชน์ต่อสังคมต่อไป”นายจาตรุนต์ กล่าว

ผู้สื่อข่าวถามว่า หลักคิดที่ดีที่บอกมันสอดคล้องกับสภาวะสังคมในขณะนี้หรือไม่ เนื่องจากเรื่องนี้เกิดจากการให้สัมภาษณ์ของนายกฯ ซึ่งมันไม่ตรงกับข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น นายจาตุรนต์ กล่าวว่า ในส่วนที่เป็นการให้สัมภาษณ์ ตนพูดแล้วว่าเป็นปัญหาอยู่ อาจจะทำให้คนสรุปบทเรียนเกี่ยวกับเหตุการณ์นี้ผิดพลาด คลาดเคลื่อนไป ก็เลยทำให้คนอาจจะไม่ได้เรียนรู้เกี่ยวกับความผิดพลาดของสังคมในอดีตได้เท่าที่ควร ซึ่งตนก็เห็นว่านายสมัคร น่าจะแก้เสีย

เมื่อถามว่า การแก้นี้หมายถึงการออกมาขอโทษ ตามที่หลายฝ่ายเรียกร้องหรือเปล่า นายจาตุรนต์ กล่าวว่า การแก้หมายถึงว่า ท่านได้ข้อมูล ที่เป็นที่รับรู้รับทราบ เชื่อได้ว่ามีคนตายมาก

ต่อข้อถามว่า แสดงว่าไม่จำเป็นต้องขอโทษ นายจาตุรนต์ ย้อนถามว่า ขอโทษในประเด็นไหน ถ้าในประเด็นที่ออกมาพูดอย่างนั้น เมื่อแก้แล้วก็อาจพูดว่า ที่พูดไปไม่ได้มีเจตนาอย่างนี้ แสดงความเสียใจ หรือขออภัย ที่อาจทำให้คนเข้าใจผิดถ้าคลาดเคลื่อนไป อันนี้ก็เป็นเรื่องทำได้ แต่ที่เป็นประเด็นกันอยู่ตนเข้าใจว่า มันเกินจากนั้น เวลานี้ฝ่ายที่วิพากษ์วิจารณ์ โดยที่หยิบยกประเด็นขึ้นมาในสภา นอกสภา หรือที่จ้องทำประเด็นกันต่อ ตนเข้าใจว่าไม่ได้ต้องการแค่ขอโทษ ในประเด็นนี้แต่ต้องการใช้มาเป็นเครื่องมือทางการเมือง และหวังผลมากกว่านั้น ซึ่งในประเด็นนี้ตนก็ไม่เห็นด้วยที่จะมาไล่เรียงดูว่า ใครที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ 6 ตุลา หรือพฤษภา อะไรก็ตาม แล้วจะต้องมาทำลายล้างคิดบัญชีกัน เพราะถ้าใช้หลักนี้ ตนเชื่อว่ามันจะนำไปสู่ความขัดแย้ง ปัญหาในสังคมอีกมากมายเต็มไปหมด ถ้าเราใช้หลักว่าต้องฟื้นเหตุการณ์ในอดีตทุกเหตุการณ์ แล้วมาดูว่าใครมีตำแหน่งอะไรกันอยู่บ้าง แล้วจะจัดการกับคนเหล่านั้นอย่างไร ถ้าไปถึงขั้นนี้ ตนคิดว่าไม่น่าจะเป็นประโยชน์ต่อสังคมไทย

เมื่อถามว่า ก่อนหน้านี้ได้มีการพูดคุยกับนายสมัครหรือไม่ในประเด็นเรื่องนี้ นายจาตุรนต์ กล่าวว่า ไม่ได้คุยกัน ตนไม่ได้อยู่ในฐานะที่จะได้คุยอะไรกับนายกรัฐมนตรีบ่อยๆได้

เมื่อซักว่า มองว่านายสมัครบิดเบือนข้อมูลเรื่องนี้เพราะสาเหตุอะไร นายจาตุรนต์ กล่าวว่า ตนไม่ทราบ อาจจะเป็นเรื่องที่เคยตอบไว้แบบนี้ เมื่อถามมาก็ตอบแบบนี้อีก แต่ว่าก็ต้องยอมรับว่า เมื่อพูดแบบนี้ก็ต้องยอมรับให้คนเข้าใจคลาดเคลื่อนไปได้ อาจจะรู้สึกไปได้ว่า ท่านต้องการให้คนเข้าใจว่า ในเหตุการณ์นี้มีคนตายแค่นั้น แค่คนเดียวเท่านั้น

ผู้สื่อข่าวถามว่า มีการพูดคุยกันในกรรมการสมัย 6 ตุลา หรือไม่ว่า ท่าทีต่อไปจะดำเนินการอย่างไร นายจาตุรนต์ กล่าวว่า ไม่ได้คุย และคิดว่าคงไม่คุยกัน เพราะว่าผู้ที่เกี่ยวข้อง ผู้นำนักศึกษา 6 ตุลา ส่วนใหญ่ ล้วนแต่เป็นผู้ที่ถูกกระทำ จับคุก หนีเอาชีวิตรอด หลบๆ ซ่อนในอดีต ในปัจจุบันก็มีความคิดในทางการเมืองที่ต่างๆ กันไปอีก จะเห็นได้ว่าในช่วงหลังก็จะมีที่สนับสนุน คมช.ในการยึดอำนาจ หรือหลังยึดอำนาจก็มีไม่เห็นด้วย และคัดค้านก็มี ก็อยู่ในจุดที่จะมาคุย หารือทางการเมืองในประเด็นต่างๆ อะไรก็ไม่ใช่เรื่องง่ายนัก

เมื่อถามว่า หากนายกฯ ไม่ออกมาขอโทษ หรือแสดงความรับผิดชอบ จะปล่อยให้ประวัติศาสตร์ถูกนายสมัครบิดเบือนไปเลยหรือ นายจาตุรนต์ กล่าวว่า ก็ไม่ควรปล่อย ผู้ที่มีข้อมูลมีความรู้ ว่าข้อเท็จจริงเป็นอย่างไร ก็ควรจะเปิดเผย นำมาวิพากษ์วิจารณ์ สู่การทำให้สังคมได้รับรู้เรียนรู้มากยิ่งขึ้น เมื่อซักว่าแสดงว่าไม่ต้องรับผิดชอบอะไรเลย

นายจาตุรนต์ กล่าวว่า คำว่ารับผิดชอบคืออะไร ตนคิดว่าทางการเมืองนายสมัครก็ต้องรับผิดชอบไป ก็คือคนที่ไม่เห็นด้วยก็คงลดความนิยมท่านไป คนที่เห็นว่าท่านผิดที่มาพูดอย่างนี้ ก็คงจะวิจารณ์ต่อไปและขาดความนิยมไป ไม่ร่วมมือกับท่านในบางเรื่อง ถ้าเห็นว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่ทีสุด บางคนก็อาจจะไม่ร่วมมือกับท่านก็ได้ ก็จะเป็นอย่างนั้น

เมื่อถามว่า จะฝากอะไรกับคนเดือนตุลาในตอนนี้ ที่อยู่ในฟากรัฐบาลว่า ให้ช่วยออกมาสะกิดนายกฯสมัคร นายจาตุรนต์ กล่าวว่า ก็คงไม่มีอะไร ข้อมูลไปให้เสียก็ได้ ให้ข้อมูลบ้าง แต่นายกฯ ก็บอกว่าจะหยุดพูดเรื่องนี้ ตอนนี้เราก็คิดว่าถ้าท่านจะพูดอีก ก็ให้พูดแก้เสียให้ตรงกับข้อเท็จจริง

ต่อข้อถามว่า จะนำข้อมูลไปให้นายกฯ หรือไม่ นายสมัคร กล่าวว่า ไม่ต้อง ข้อมูลก็เป็นที่ปรากฏอยู่แล้ว หนังสือพิมพ์ก็ลงอยู่แล้ว ตนก็วิจารณ์ไป ก็ถือว่าวิจารณ์อย่างมิตร ทำไมถึงต้องเป็นมิตร ก็คือความจริงตนกับนายสมัคร ในอดีตก็อยู่คนละขั้วกัน แต่ต่อมาเมื่อตนเข้ามาอยู่ในการเมืองแบบรัฐสภา ร่วมงานกับนายสมัคร เคยร่วม ครม.เดียวกันอยู่บ้าง ก็ไม่ได้ทำงานร่วมกันอะไรมากนัก แล้วก็มาทำงานเป็นฝ่ายค้านร่วมกัน ก็อาจจะร่วมกันมากขึ้นอีกหน่อย เราต่างก็เป็นนักการเมืองในระบบรัฐสภา ที่บอกว่าวิจารณ์อย่างมิตร ก็เป็นเพราะว่า หลังเหตุการณ์วันที่ 19 กันยา นายสมัคร ก็ไม่ได้แสดงความเห็นอะไรมากนัก จนกระทั่งมารับตำแหน่งหัวหน้าพรรคพลังประชาชน มาถึงตอนนั้นนายสมัครก็พูดวิพากษ์วิจารณ์ คมช.หนักอยู่ ไม่เห็นด้วยกับการยึดอำนาจรัฐประหาร ไม่เห็นด้วยกับรัฐธรรมนูญ ที่ไม่เป็นประชาธิปไตย และพูดในฐานะหัวหน้าพรรคพลังประชาชน ซึ่งพรรคพลังประชาชนมีนโยบายว่า ต่อต้านรัฐประหาร แก้รัฐธรรมนูญให้เป็นประชาธิปไตย แก้กฎหมายเผด็จการทั้งหลาย

“ในแง่นี้ผมเห็นว่า พรรคพลังประชาชนก็ดี หัวหน้าพรรคพลังประชาชนก็ดี ก็เป็นผู้ที่ผมซึ่งต้องการจะต่อสู้เพื่อให้บ้านเมืองเป็นประชาธิปไตย ต้องการเห็นการแก้รัฐธรรมนูญ การแก้กฎหมายที่เป็นเผด็จการ ก็ต้องอาศัยพรรคพลังประชาชน และหัวหน้าพรรคพลังประชาชน คือนายสมัครอยู่ อันนี้ก็เลยเห็นว่า ก็ต้องอาศัยพรรคพลังประชาชน และนายสมัคร ผลักดันเพื่อทำเรื่องเหล่านี้ และก็หวังว่า พรรคพลังประชาชนและนายสมัครที่เป็นหัวหน้าและเป็นนายกรัฐมนตรี จะทำตามที่ได้แถลงไว้ในระหว่างการหาเสียงเลือกตั้ง แต่ทีนี้ถ้าหากมาติดปัญหานี้จนกระทั่งท่านอยู่ในสถานะลำบากขึ้น ลำบากขึ้น ท่านก็จะทำเรื่องที่สัญญากับประชาชนไว้ไม่ได้ ที่วิจารณ์อยากให้ท่านปรับ แก้ คำพูดเสีย ปัญหานี้ก็จะได้ลดน้อยลงไป แล้วจะได้มีเวลาไปทำ เรื่องที่สัญญาไว้กับประชาชน “ นายจาตุรนต์ กล่าว

เมื่อถามว่า ในส่วนของการเปิดเวทีเพื่อหาข้อสรุป นายสมัครควรไปร่วมเวทีด้วยหรือไม่ นายจาตุรนต์ กล่าวว่า ไม่จำเป็น แต่เวทีที่ว่าควรเป็นเรื่องที่นักวิชาการ นักประวัติศาสตร์ ผู้ที่สนใจเข้าไปร่วม และรัฐบาลจะช่วยให้มีการจัดสัมมนาได้สะดวกขึ้น เผยแพร่ได้ มากขึ้น ให้สังคมได้ศึกษาเรียนรู้ ไม่ควรไปคาดหวังว่า เราจะเกิดการชำระประวัติศาสตร์และเป็นข้อสรุปของรัฐบาลใดรัฐบาลหนึ่ง หรือกรม กระทรวงใด แล้วบอกว่าให้ประชาชนชาวไทยเชื่อคิดตามนั้น อันนี้ไม่ได้ ถ้าเราไปทำอย่างนั้นกลับจะไปทำผลเสียต่อสังคมเพราะว่า มันมีอีกหลายเรื่องที่รัฐ หรือผู้มีอำนาจอยู่ใน กรม กระทรวงต่างๆ เขาสรุปไม่เหมือนนักประวัติศาสตร์ แล้วเขาก็ไม่ค่อยเปิดโอกาส ให้นักประวัติศาสตร์ หรือคนที่มีความรู้ ได้เสนอความเห็นที่แตกต่างอะไร

เพราะฉะนั้นในเรื่องประวัติศาสตร์ก็ต้องส่งเสริมให้เกิดความรู้อย่างกว้างขวาง ให้คนคิดเห็นต่างกันได้ เมื่อคิดเห็นต่างกัน ประชาชนจะเชื่ออย่างไร ก็เป็นความคิดเห็นของประชาชนแต่ละคนไป แต่การส่งเสริมให้เกิดการศึกษาค้นคว้ามันเป็นเรื่องดี ที่ควรจะทำ และไม่ควรจะทำเฉพาะเรื่อง 6 ตุลา ด้วย ควรจะทำในอีกหลายๆเรื่อง

นายจาตุรนต์ กล่าวอีกว่า เวทีการหาข้อเท็จจริง อันที่จริงมันไม่ต้องทำอะไรมากแล้ว ข้อเท็จจริงมันเป็นที่ทราบเป็นที่ปรากฎ คนที่เชื่อตามข้อเท็จจริงเหล่านั้น หมายถึงการที่มีการศึกษาค้นคว้าไว้ เขาก็เชื่ออย่างนั้นกันไปแล้วเอกสารเหล่านี้ก็ยังมี คนรุ่นใหม่ที่จะมาหาความรู้ก็สามารถทำได้อยู่แล้ว ขณะนี้มันไม่ได้มีประเด็นว่าขณะนี้ตายกี่คน เพียงแต่ว่าพอมีการให้สัมภาษณ์อย่างนี้ขึ้นมาอาจทำให้มีคนไม่รู้หรืออยากจะรู้เลยเข้าใจสับสนไป ตกลงมันไม่ใช่เรื่องใหญ่หรือ

“การพูดว่าตายเพียงคนเดียวนั้นเป็นปัญหา ผมไม่ได้บอกว่าตายกี่คนไม่ใช่ประเด็น ตายกี่คนก็เป็นประเด็น แล้วมันก็มาประเด็นตรงที่ว่าถ้าสรุปว่าตายแค่คนเดียว สมมุติว่าทำให้คนในสังคมคิดว่า ตายแค่คนเดียวมันก็ไม่ต้องสรุปอะไรกันมาก เพราะมันเป็นเรื่องเล็กๆ ไม่ใหญ่ แต่ที่สำคัญมันยังอยู่ที่ว่า จะสรุปกันเพื่ออะไร จะชำระประวัติศาสตร์หรือหาข้อเท็จจริงเรื่องนี้กันเพื่ออะไรกันแน่ ในขณะที่สังคมไทยได้เรียนรู้มาอย่างมีค่าแล้ว ในประมาณ 30 ปีมานี้ว่า เราควรจะสรุปเหตุการณ์ 6 ตุลา ว่า สังคมไม่ควรจะจัดการกับความขัดแย้งแตกต่างทางความคิดอุดมการณ์โดยใช้ความรุนแรง และสังคมไม่ควรจะไปยินดี ชื่นชอบ นิยมชมชอบการรัฐประหารยึดอำนาจ ที่นำประเทศไปสู่เผด็จการที่เลวร้าย 6 ตุลาคืออันนี้ และต้องเปิดโอกาสส่งเสริมให้บ้านเมืองเป็นประชาธิปไตย ส่งเสริมให้บ้านเมืองแก้ปัญหาต่างๆ โดยสันติวิธี ส่งเสริมผู้ที่มีความคิดเห็นแตกต่างกันอยู่ร่วมกันในสังคม มีที่ยืน เวที ที่จะใช้ความคิดเห็นที่แตกต่างนั้นได้ ข้อสรุปนี้มีคุณค่าต่อสังคมไทยมากอยู่แล้ว ไม่ควรเปิดเวทีเพื่อหวังใช้เป็นเครื่องมือทางการเมือง เพื่อประหัตประหารใครก็ตาม เพราะคำว่าประหัตประหาร ทำลายล้างกันมันเกิดขึ้นได้กับทุกฝ่าย ฝ่ายที่เห็นดีเห็นงาม กับการปราบ ก็บอกว่าต้องปราบผู้นำนักศึกษา หรือนักศึกษา ประชาชนหนักเข้าไปอีก อันนั้นคงไม่น่าเป็นประโยชน์กับใคร “ นายจาตุรนต์ กล่าว

เมื่อถามว่า การชำระล้างประวัติศาสตร์เรื่องนี้ มีความเคลื่อนไหวทั้งจากฝ่ายตรงข้าม และฝ่ายเดียวกัน โดยเฉพาะจาก 111 คน เพื่อเปลี่ยนตัวนายกรัฐมนตรี นายจาตุรนต์ กล่าวว่า อันนี้ไม่ทราบ ตนไม่เคยคิดไปไกลขนาดนั้น ไม่น่าจะเป็นไปได้

ผู้สื่อข่าวถามว่า จะกระทบไปถึงเสถียรภาพเก้าอี้นายกฯ หรือไม่ หากไม่ยอมแก้ไขเรื่องนี้ หากนายกฯ พูดแค่เพียงว่า ไม่ยอมตอบคำถามเรื่องนี้อีกแล้ว

นายจาตุรนต์ กล่าวว่า ประเมินไม่ถูก ดูจากโทนความสนใจต่อประเด็นนี้ในคนรุ่นปัจจุบัน มีความรับรู้เรื่องนี้น้อย ตนคิดว่าตำแหน่งนายกฯ และการทำงาน ของคณะรัฐมนตรี และรัฐบาล ประชาชนทั้งประเทศก็คงประเมินจากหลายเรื่องประกอบกัน ความคิดเห็นในอดีตที่เป็นปัญหา ก็เป็นเรื่องหนึ่ง การทำตามนโยบาย ที่แถลงไว้ต่อการเลือกตั้ง ทำตามนโยบายที่แถลงไว้ต่อรัฐสภา หรือไม่ ได้ผลอย่างไรดีหรือไม่ดีก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งในการนำมาคิดประเมิน ถ้าหากทำไม่ดีในทุกๆเรื่องก็ย่อมมีผลต่อเสถียรภาพของรัฐบาล มากหรือน้อย ก็ขึ้นอยู่กับการกระทำหลายเรื่องประกอบกัน ในเวลานี้ ตนเชื่อว่าคนส่วนหนึ่งก็เชื่อในคำพูด 6 ตุลา ซึ่งเขาก็มีเหตุผล ซึ่งเราก็ต้องเคารพในความเห็น ที่มีการวิพากษ์วิจารณ์อยู่ ในขณะเดียวกันก็มีคนอีกจำนวนมากเร่งอยากให้ รัฐบาลต้องแก้ปัญหาประเทศ คนแบบตนก็อยากให้รีบแก้รัฐธรรมนูญ ทำให้บ้านเมืองเป็นประชาธิปไตยมากขึ้น มีอีกหลายคนก็คงจะติดตามตรวจสอบรัฐบาลนี้ในแง่มุมต่างๆ ตามแต่ความสนใจของแต่ละคน

ผู้สื่อข่าวถามว่า ในฐานะคนเดือนตุลา รู้สึกเจ็บปวดกับคำพูดของนายกฯ ในครั้งนี้หรือไม่ นายจาตุรนต์ กล่าวว่า ตนได้พูดไปแล้ว ว่าตนไม่ได้พูดไปด้วยอารมณ์ความรู้สึก ตนพูดว่ามันจะมีผลต่อความคิด การเรียนรู้ต่อสังคมไทยอย่างไร

มาจาก http://www.nationweekend.com/2008/02/24/NO10_103_news.php?newsid=10214


เสียงเพรียกหาความจริงของวิญญาณประวัติศาสตร์

เรา จะให้ลูกหลานไทยเข้าใจประวัติศาสตร์การเมืองไทยช่วง ๖ ตุลาคม ๒๕๑๙ ที่นักศึกษาถูกล้อมปราบอย่างป่าเถื่อน และรุนแรงอย่างไร ถ้าคนเป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ ๒๕ ประกาศผ่านสื่อต่างประเทศระดับโลกว่า ในเหตุการณ์นั้น มีคนตาย “เพียงคนเดียว”?
กาแฟดำ
ผมเอาเหตุการณ์ประวัติศาสตร์โลกที่มีคนถูกปราบปรามด้วยความรุนแรงอย่างหนักหน่วง และต้องจารึก “ข้อเท็จจริง” ประวัติศาสตร์อย่างตรงไปตรงมาให้ดูในคอลัมน์วันนี้ เพื่อจะบอกให้รู้ว่าชาวโลกและเจ้าของประเทศย่อม

ไม่ยอมให้นักการเมืองผู้มีอำนาจคนใดบิดเบือนความเป็นจริงได้ตามความสะดวกของตนเอง เพราะประวัติศาสตร์ของประเทศใดไม่ใช่เรื่อง “ความเห็นส่วนตัว” หรือ “ข้อเท็จจริงจากแง่มุมของผู้มีอำนาจ” หากแต่เป็นการตรวจสอบหลักฐานที่พิสูจน์ได้ และจากคำให้ปากคำของพยาน ผู้อยู่ในเหตุการณ์ ที่จะต้องบันทึกไว้สำหรับคนรุ่นต่อ ๆ ไป

ไม่ว่าจะเป็นเหตุการณ์ที่ผ่านมา ๓๑ ปีหรือ ๑๐๐ ปีหรือ ๑๐๐๐ ปีก็ตาม
ไม่ว่าผู้มีอำนาจในบ้านเมืองขณะหนึ่งจะชื่ออะไร

อ่านต่อ ที่ สุทธิชัย หยุ่น


ถามใจคนเดือนตุลาฯ…หรือผลประโยชน์การเมืองวันนี้จะฝังกลบความจริงของวันวาน?

suthichai yun
เพราะบังเอิญผมเกิดทันเป็นคนข่าวทั้งช่วง 14 ตุลา 2516 และ 6 ตุลา 2519 จึงไม่มีนักการเมืองคนไหนกล้าถามผมว่า “ตอนเกิดเรื่อง คุณเกิดแล้วหรือยัง?”กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ : และเพราะผมอยู่ตรงนั้นวันที่หนังสือพิมพ์ถูกสั่งปิด คุกคามและข่มขู่ จึงไม่มีนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีมหาดไทย (ทั้งวันนี้และวันนั้น) คนไหนกล้าโกหกหน้าด้านๆ ต่อหน้าผมว่า “ผมไม่เคยสั่งปิดหนังสือพิมพ์”

คนที่ตามศรีธนญชัย ไม่ทัน กรุณารับทราบด้วยว่า คนสั่งปิดหนังสือพิมพ์ กับคนมีหน้าที่เซ็นชื่อปิดหนังสือพิมพ์ ไม่จำเป็นต้องเป็นคนเดียวกันเสมอไปเพราะผมเชื่อในเรื่องกรรม และความศักดิ์สิทธิ์แห่งสัจธรรม ผมจึงมั่นใจว่าความจริงจะชนะในที่สุด ไม่ว่าจะต้องใช้เวลารอ ให้มันเกิดนานเท่าไหร่ก็ตาม

รัฐมนตรีมหาดไทยเฉลิม อยู่บำรุง ออกมาปกป้องนายกรัฐมนตรีสมัคร สุนทรเวช กรณี 6 ตุลา 2519 ไม่ใช่เรื่องที่ใครควรจะแปลกใจแต่ประการใด โดยเฉพาะคนรุ่นที่ติดตามการเมืองมาตลอด

แต่คุณเฉลิม ต้องไปคุยกับพันธมิตรอย่างคุณอดิศร เพียงเกษ ที่เกี่ยวดองกับพรรคไทยรักไทย ในอดีตและพรรคพลังประชาชนในปัจจุบันนี้ในเรื่องเดียวกันนี้
เพราะคนที่เขาเป็นเหยื่อของเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 นั้น ยังมีความเจ็บปวดรวดร้าวกับความเลวร้ายของสถานการณ์ขณะนั้นไม่หาย
ยิ่งคุณเฉลิม เปิดประเด็นใหม่ว่ามีตำรวจกองปราบ “เมาเหล้า ทำปืนลั่น” ตรงต้นมะขามที่สนามหลวง พัฒนาไปสู่การต่อสู้กัน และวันนี้ ตำรวจคนนั้น “ตายไปแล้ว” ก็ยิ่งทำให้ต้องมีการชำระประวัติศาสตร์กันให้เกิดความแจ่มกระจ่าง

จะด้วยเหตุผลอันใดไม่แจ้งที่คนที่เป็นรัฐมนตรีมหาดไทยวันนี้บอกว่าเรื่องนี้ “ไม่เคยพูดที่ไหนมาก่อน” …ทั้งๆ ที่คนอยู่ในแวดวงการเมืองต้องพูดความจริงในเรื่องสำคัญอย่างนี้ จึงทำให้เกิดคำถามขึ้นมาใหม่อีกเรื่องหนึ่ง ที่ต้องมีการสะสางกันให้กระจ่าง ว่าใคร “มั่วนิ่ม” กันแน่

แต่ที่คุณเฉลิม พูดว่าคนที่รู้เรื่อง 6 ตุลา ดีที่สุดคือคุณสุธรรม แสงประทุม นั้น สมควรจะต้องให้มีการเชิญ คนตุลา รุ่นนั้นออกมาแสดงจุดยืนและเปิดเผยข้อมูลกับสิ่งที่ตนพบเห็นให้ประจักษ์แจ้งกับสาธารณชนอย่างจริงจัง

เพราะนายกฯสมัคร บอกว่า ที่ท่านเห็นเองนั้นตายคนเดียวที่สนามหลวง…แต่คุณสุธรรมเคยเขียนบันทึกเอาไว้อย่างละเอียดว่าวันที่ท่านถูกเรียกตัวไปพบนายกฯ ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช วันนั้นเกิดความโหดเหี้ยมทารุณต่อหน้าต่อตาในธรรมศาสตร์อย่างไรบ้าง…เป็นคนละเรื่องกับที่คุณสมัคร บอกกล่าวกับประชาชนคนไทยอย่างแน่นอน

อ่านต่อ ที่ สุทธิชัย หยุ่น

Leave a Comment »

No comments yet.

RSS feed for comments on this post. TrackBack URI

Leave a comment

Blog at WordPress.com.