MAKHA BUCHA DAY
It was 9 full months after the Buddha got the Enlightenment, on the full moon day of 6th lunar month, 45 years before the Buddhist era. On the full moon day of the 3rd lunar month, Makha, of the year, 4 special events happened:
1. There were 1,250 Sangha followers, that came to see the Buddha that evening without any schedule.
2. All of them were “Arhantas’, the Enlightened One, and all of them were ordained by the Buddha himself.
3. The Buddha gave those Arhantas the principles of the Buddhism, called “The Ovadhapatimokha”. Those principles are: – To cease from all evil, – To do what is good, – To cleanse one’s mind;
4. It was the full moon day.
Another important event, which happened on the same days (the full moon day of the 3rd lunar month) 44 years later, the last year of the Buddha’s life, he decided to ‘Parinibbhana’, nirvana, leave the mind from the body or die. 3 months after that day (on the full moon day of the six lunar month — we known as ‘Wisakha Bucha Day’).
ACTIVITIES TO BE OBSERVED ON MAKHA BUCHA DAY
‘TAM BUN‘: Making merit by going to temples for special observances, making merit, listening to Dhamma preaching, giving some donations and join in the other Buddhist activities.
‘RAB SEEHN‘: Keeping the Five Precepts, including abstinence from alcoholic drinks and all kinds of immoral acts.
‘TAK BAARD‘: Offering food to the monks and novices (in the alm bowl).
Practice of renuciation: Observe the Eight Precepts, practice of meditation and mental discipline, stay in the temple, wearing white robes, for a number of days.
‘WIEN THIEN‘: Attending the Candle Light Procession around the Uposatha Hall, in the evening of this full moon day.
This year will be held on 21st February 2008
Article adapted from : http://www.dhammathai.org
วันมาฆบูชา
ต ร ง กั บ วั น ขึ้ น ๑ ๕ ค่ำ เ ดื อ น ๓

“มาฆะ” เป็นชื่อของเดือน ๓ มาฆบูชานั้น ย่อมาจากคำว่า”มาฆบุรณมี” แปลว่าการบูชาพระในวันเพ็ญ เดือน ๓ วันมาฆบูชาจึงตรงกับวันขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือน ๓ แต่ถ้าปีใดมีเดือน อธิกมาส คือมีเดือน ๘ สองครั้ง วันมาฆบูชาก็จะเลื่อนไปเป็นวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๔ เป็นวันสำคัญวันหนึ่งของพุทธศาสนา คือวันที่มีการประชุมสังฆสันนิบาต ครั้งใหญ่ในพุทธศาสนา ที่เรียกว่า “จาตุรงคสันนิบาต” และเป็นวันที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ทรงแสดง โอวาทปฎิโมกข์ แก่พระสงฆ์สาวกเป็นครั้งแรก ณ เวฬุวันวิหาร กรุงราชคฤห์ เพื่อให้พระสงฆ์นำไป ประพฤติปฏิบัติ เพื่อจะยังพระพุทธศาสนาให้ เจริญรุ่งเรืองต่อไป
คำว่า “จาตุรงคสันนิบาต” แยกศัพท์ได้ดังนี้ คือ “จาตุร” แปลว่า ๔ “องค์” แปลว่า ส่วน “สันนิบาต” แปลว่า ประชุม ฉะนั้นจาตุรงคสันนิบาตจึงหมายความว่า “การประชุมด้วยองค์ ๔” กล่าวคือมีเหตุการณ์พิเศษที่เกิดขึ้น พร้อมกันในวันนี้ คือ
๑. เป็นวันที่ พระสงฆ์สาวกของพระพุทธเจ้า จำนวน ๑,๒๕๐ รูป มาประชุมพร้อมกันที่เวฬุวันวิหาร
ในกรุงราชคฤห์ โดยมิได้นัดหมาย
๒. พระภิกษุสงฆ์เหล่านี้ล้วนเป็น “เอหิภิกขุอุปสัมปทา” คือเป็นผู้ที่ได้รับการอุปสมบทโดยตรงจากพระพุทธเจ้าทั้งสิ้น
๓. พระภิกษุสงฆ์ทุกองค์ที่ได้มาประชุมในครั้งนี้ ล้วนแต่เป็นผุ้ได้บรรลุพระอรหันต์แล้วทุก ๆองค์
๔. เป็นวันที่พระจันทร์เต็มดวงกำลังเสวยมาฆฤกษ
การปฎิบัติตนสำหรับพุทธศาสนาในวันนี้ก็คือ
การทำบุญ ตักบาตรใน ตอนเช้า หรือไม่ก็จัดหาอาหารคาวหวานไปทำบุญฟังเทศน์ที่วัด ตอนบ่าย ฟังพระแสดงพระธรรมเทศนา ในตอนกลางคืน จะพากันนำดอกไม้ ธูปเทียน ไปที่วัดเพื่อชุมนุมกันทำ พิธีเวียนเทียน รอบพระอุโบสถ พร้อมกับพระภิกษุสงฆ์ โดยเจ้าอาวาสจะนำว่า นะโม ๓ จบ จากนั้นกล่าวคำ ถวาย ดอกไม้ธูปเทียน ทุกคนว่าตาม จบแล้วเดิน เวียนขวา ตลอดเวลาให้ระลึก พระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ จนครบ ๓ รอบ แล้วนำดอกไม้ ธูปเทียนไปปักบูชาตามที่ทางวัด เตรียมไว้ เป็นอันเสร็จพิธี
คัดลอกมาจาก http://www.dhammathai.org
ในปีนี้วันมาฆบูชาซึ่งตรงกับวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2551
กรมการศาสนา ได้ร่วมกับ องค์กรเครือข่ายพระพุทธศาสนา จัดงานมาฆบูชาขึ้น ระหว่างวันที่ 19 – 21 กุมภาพันธ์ 2551 ณ วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร บริเวณรอบๆ เจดีย์ภูเขาทอง แทนที่การจัด ณ มณฑลท้องสนามหลวง เหมือนที่เคยจัดทุกปี เพราะขณะนี้ท้องสนามหลวงกำลังมีการก่อสร้าง พระเมรุ สำหรับพระราชพิธี พระราชทานเพลิงพระศพ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์
กิจกรรมในงานวันมาฆบูชาในปีนี้ ช่วงเช้า จะมีพิธีทำบุญตักบาตร พระสงฆ์ 99 รูป และในช่วงค่ำเวลา 18.00 น. ของทุกวัน จะนิมนต์พระสงฆ์ 99 รูป ร่วมเจริญพระพุทธมนต์ และให้ประชาชนเวียนเทียน บนเจดีย์ภูเขาทอง รอบพระสถูปที่บรรจุ พระบรมสารีริกธาตุ ภายในงานยังมีกิจกรรมอีกมากมาย เช่น นิทรรศการเกี่ยวกับวันมาฆบูชา เกมธรรมะ การสวดทำนองสรภัญญะ การบรรยายพิเศษเรื่อง “พระพุทธศาสนาเชิงเศรษฐกิจพอเพียง” การสาธิตการจัดโต๊ะหมู่บูชา และมีร้านหนังสือธรรมะ เข้าร่วมออกร้าน จำหน่ายหนังสือธรรมะที่ ลดราคาเป็นพิเศษ เพื่อให้พุทธศาสนิกชน ได้มีโอกาสซื้อหนังสือธรรมะไปอ่านในราคาประหยัด
[…] MAKHA BUCHA DAY – วันมาฆบูชา ได้จาก February 17, 2008 accomthailand @ 5:54 am […]
Pingback by MAKHA BUCHA DAY 2009 - วันมาฆบูชา 2552 « Accom Thailand — February 5, 2009 @ 16:58 |