Accom Thailand

May 12, 2008

ไทยจำเป็นต้องเก็บข้อมูลด้านภูมิอากาศ เพื่อใช้ประเมินและหาแนวทางรับมือ

นักชีววิทยา ชี้ ไทยจำเป็นต้องเก็บข้อมูลด้านภูมิอากาศ เพื่อใช้ประเมินและหาแนวทางรับมือกับปรากฏการณ์ธรรมชาติที่เปลี่ยนแปลงในอนาคต
ดร.กัณฑรีย์ บุญประกอบ นักชีววิทยา จากคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ซึ่งอยู่ระหว่างเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลทางอุตุนิยมวิทยา สำหรับร่วมในการศึกษาแบบจำลองสภาพภูมิอากาศ กล่าวว่า ภัยพิบัติที่เกิดจากสภาวะอากาศทั้งในเอเชียและยุโรปขณะนี้ สอดคล้องกับการประเมินของคณะทำงานระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพ อากาศ หรือ ไอพีซีซี ที่ว่า ภัยพิบัติในโลกจะเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะภัยจากน้ำท่วม ทั้งนี้จากสถิติจำนวนครั้งของภัยพิบัติด้านภูมิอากาศเมื่อ 50 ปีก่อน พบมีการเกิดขึ้นเพียง 13 ครั้งต่อหนึ่งทศวรรษ แต่ในช่วงทศวรรษหลังสุด เพิ่มจำนวนสูงขึ้นเป็น 70 ครั้งต่อหนึ่งทศวรรษ และค่าความเสียหายที่เกิด เพิ่มขึ้นถึง 10 เท่า คือจากเดิม 4,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ต่อปี เป็น 40,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ต่อปี
สำหรับในประเทศไทยนั้น ดร.กัณฑรีย์ กล่าวว่า จากข้อมูลในช่วงทศวรรษล่าสุด ทำให้พอคาดการณ์ได้ถึงผลกระทบที่ได้รับจากภาวะโลกร้อน คือ ผลผลิตของพืชเศรษฐกิจที่ลดลงอย่างหนัก จากปัญหาปริมาณน้ำในแหล่งน้ำที่เปลี่ยนแปลงจากเดิม ดังนั้น การเก็บข้อมูลด้านภูมิอากาศ จึงจำเป็นอย่างมาก สำหรับประเมินถึงวิธีการรับมือกับสถานการณ์หลังจากนี้ อาทิ การปลูกพืชให้เหมาะสมกับอุณหภูมิที่เปลี่ยนของแต่ละพื้นที่ เพื่อให้ได้ผลผลิตที่ดี ทั้งนี้ รัฐบาลควรมุ่งเน้นให้การสนับสนุน ส่งเสริมเรื่องการปรับปรุงพันธุ์พืช โดยเฉพาะข้าว เพราะในอนาคตอาจต้องพัฒนาเป็นพันธุ์ข้าวทนแล้ง หรือข้าวที่ปลูกในที่น้ำขังได้ ส่วนการรณรงค์การใช้ถุงผ้า หรือปิดไฟ เพื่อลดโลกร้อนเป็นสิ่งที่ดี แต่ข้อเท็จจริงปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ปล่อยจากไทยมีเพียงร้อยละ 1 เท่านั้น

April 26, 2008

ปูม้าลดจำนวน เหตุโลกร้อน วอนชาวประมงงดจับสัตว์น้ำในฤดูวางไข่

พ่อค้ารับซื้อปูม้า เผย จำนวนปูม้าลดลงเรื่อยๆ เนื่องจากโลกร้อน และการใช้เครื่องมือจับปูที่ผิดกฎหมาย วอนชาวประมงงดจับสัตว์น้ำในฤดูวางไข่..


นายวิโรจน์ สายศิริ อดีตข้าราชการครู โรงเรียนวัดอ่าวใหญ่ จ.ตราด เปิดเผยว่า หลังจากเกษียณอายุราชการแล้ว ได้หันมาประกอบอาชีพรับซื้อปูม้าจากเรือประมง เพื่อนำไปขายส่งให้กับพ่อค้าแม่ค้ามาประมาณ 4-5 ปีแล้ว ซึ่งปูม้าที่ได้รับซื้อจากเรือประมง กำลังเป็นที่นิยมสำหรับนักท่องเที่ยว ทั้งชาวไทยและต่างประเทศ ในการนำมาบริโภค


ซึ่งปูม้าที่ได้รับซื้อจากเรือประมงจะรับซื้อในราคากิโลกรัมละ 240 บาท และนำไปขายในราคากิโลกรัมละ 260 บาท ทำให้มีรายได้มาจุนเจือครอบครัว แต่ปัจจุบันปูม้าเริ่มลดน้อยลง สาเหตุมาจากสภาวะโลกร้อน และการใช้เครื่องมือจับปูม้าที่ผิดกฎหมาย


ดังนั้นจึงขอให้ชาวประมงช่วยกันอนุรักษ์ โดยการไม่จับปูม้าในช่วงฤดูวางไข่ นอกจากนี้ ขอให้ส่วนราชการสร้างจิตสำนึกให้ชาวประมง ใช้เครื่องมือ ที่ถูกต้องกฎหมาย ในการจับสัตว์น้ำต่างๆ เพื่อให้สัตว์น้ำขยายพันธุ์และ แหล่งอาหารของชาวประมงตลอดไปland-crab

Portunus pelagicus (Linnaeus, 1758), ปูม้า, blue swimming crab, flower crab, Portunidae.


พบทั่วไปตามชายฝั่งตามพื้นทรายปนเลน มีขนาดประมาณ 15-20 เซนติเมตร กระดองหลังสีฟ้าอ่อนมีลายสีขาว ผิวหนังเป็นตุ่มเล็ก ๆ หนามข้างกระดอง 9 อัน อันสุดท้ายยาวที่สุด ขา 5 คู่ คู่แรกเป็นก้ามยาวเรียว ขาเดิน 3 คู่ คู่สุดท้ายเป็นขาว่ายน้ำ เป็นปูเศรษฐกิจที่นิยมบริโภค

อ่านข้อมูลที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

ปรับปรุงจาก ข่าวของ สำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์


ใช้ [ปุ่มถอยหลัง] ของเว็บบราวเซอร์ เพื่อกลับมาที่นี่ จากข้อมูลเชื่อมโยงด้านล่าง
Use Browser [Back] Button Return to Here from URL Below

April 22, 2008

อีก 15 ปีโลกจะเปลี่ยนแปลงจากภาวะโลกร้อน หากทุกคนไม่ช่วยกันตั้งแต่วันนี้

รองคณบดี คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
เตือนให้ทุกคนเห็นความสำคัญของ ภาวะโลกร้อน


โดยหากไม่เปลี่ยนแปลงการใช้พลังงาน ภายใน 15 ปี จะไม่สามารถช่วยโลกได้


ผศ.ดร.ธรณ์ ธำรงศ์นาวาสวัสดิ์ รองคณบดี คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวถึงปัญหาโลกร้อนที่นับวันจะรุนแรงขึ้นว่า หากยังมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่อไปในอีก 100 ปีข้างหน้า อุณหภูมิของโลกอาจจะมีการเปลี่ยนแปลงตั้งแต่ 2-6.5 องศาเซลเซียส ซึ่งจะส่งผลกระทบอย่างรุนแรงกว่าปัจจุบันหลายเท่าตัว


ดังนั้นในระยะเวลาอีก 10-15 ปี นับจากนี้ จึงเป็นช่วงเวลาที่จะเปลี่ยนแปลงวิถีของโลก โดยเฉพาะการใช้พลังงาน แต่หากพ้นจาก 15 ปีไปแล้ว ก็จะไม่สามารถแก้ไขอะไรได้อีก และ


ในวันนี้ ซึ่งเป็น วันคุ้มครองโลก (Earth Day) ถึงเวลาแล้วที่ทุกคนจะช่วยกัน เรียนรู้เกี่ยวกับโลกให้มากที่สุด และ นำข้อมูลต่างๆ ไปเผยแพร่ให้ทุกคนเข้าใจ และเห็นความสำคัญ กับสถานการณ์โลกร้อนมากขึ้น


ผศ.ดร.ธรณ์ ยังกล่าวด้วยว่า วิธีการที่จะช่วยโลกได้ ทุกคนควรทำตารางเวลาในการใช้ชีวิตประจำวัน ที่จะลดการใช้พลังงาน และใช้สิ่งของที่จะช่วยลดปัญหาโลกร้อนให้เป็นนิสัย เพื่ออนาคตของโลกในวันข้างหน้า


ปรับปรุงจาก ข่าวของ สำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์

April 15, 2008

Alain Robert “spiderman” scales Hong Kong skyscraper – “มนุษย์แมงมุม”ปีนตึกระฟ้าในฮ่องกง จี้นานาชาติใส่ใจปัญหาโลกร้อน


นายอแลง โรแบร์ ชาวฝรั่งเศส วัย 45 ปี เจ้าของฉายามนุษย์แมงมุม ซึ่งอยู่ระหว่างการโปรโมทหนังสือของเขาที่ฮ่องกง กลับมาสร้างวีรกรรมอันหน้าหวาดเสียวอีกครั้ง ด้วยการปีนตึกระฟ้าสูง 46 ชั้น ของโรงแรมโฟร์ซีซั่นส์ ในฮ่องกง เพื่อเรียกร้องให้ประชาคมโลกหันมาสนใจปัญหาภาวะโลกร้อน ซึ่งเขาสามารถปีนไปถึงยอดตึกสำเร็จ ก่อนที่จะถูกตำรวจรวบตัวทันทีที่ถึงชั้น ดาดฟ้า


นายอแลง เคยสร้างความฮือฮามาแล้วด้วยการปีนหอไอเฟลในฝรั่งเศส โรงละครโอเปร่าเฮ้าส์ในออสเตรเลีย
รวมทั้งตึกระฟ้าอื่นๆ ทั่วโลกด้วย


ดู คลิป ที่เขาปีน จาก สำนักข่าว ABC ตามลิ้งค์ข้างล่าง (สีแดง)
Watch his climb in Hongkong
Spiderman Strikes Again The French daredevil scales a Four Seasons hotel in Hong Kong from ABC News


ปรับปรุงจาก ข่าวของ ผู้จัดการออนไลน์
http://www.manager.co.th/Home/ViewNews.aspx?NewsID=9510000044267

French “spiderman” scales Hong Kong skyscraper


HONG KONG (Reuters Life!) – French “spiderman” climber Alain Robert scaled a 45-storey luxury hotel in Hong Kong on Tuesday to raise awareness of global warming, his third known ascent in the skyscraper-packed metropolis.


Robert, 45, dressed in a white shirt, scaled Hong Kong’s Four Seasons Hotel with his bare hands and without any safety harness, after evading the city’s police who had been tipped off about a possible ascent at an undisclosed site.


As he limbered his way up the gleaming harborfront edifice, police vans and emergency vehicles were deployed and firefighters inflated a large safety fallmat beneath him.


Large crowds craned their necks skyward, gasping when the shaggy haired climber slipped at one point before regaining his balance.


“He’s totally crazy, it’s really dangerous,” said Jakob Mense, one of those who witnessed the climb.


Read full article from REUTERS

April 14, 2008

ธนาคารโลก แนะไทย ลดการปลูกพืชพลังงานทดแทน และเพิ่มพื้นที่เพาะปลูกมากขึ้น

ธนาคารโลก ขอความร่วมมือ
ประเทศผู้นำโลก เกษตรกรรม
ลดการปลูกพืชพลังงานทดแทน และ
หันมาเพิ่มพื้นที่เพาะปลูกเกษตร
เพื่อผลิดอาหารมากขึ้น ให้เพียงพอต่อการบริโภค


หลังวิตกว่าทั่วโลกมีความเสี่ยงหลังปัญหาราคาอาหารแพง ที่อาจจะเกิดการคลาดแคลน จนทำให้เกิดปัญหาสังคมตามมา ขณะที่ไทยขอเวลาศึกษาความเหมาะสมก่อน


การประชุมคณะกรรมการพัฒนาการของธนาคารโลกครั้งที่47 ณ กรุงวอชิงตัน ดีซี ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นการประชุมกลางปีประจำฤดูใบไม้ผลิ 2551 มี กลุ่มประเทศสมาชิก 24 กลุ่ม เข้าร่วม จัดขึ้นเมื่อ


วันที่ 13 เมษายน ได้เริ่มขึ้นในเวลา 9.00น. ตามเวลาท้องทิ่น หรือเวลา 20.00น.ตามเวลาในประเทศไทย โดย นายแพทย์ สุรพงศ์ สืบวงศ์ลี รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ในฐานะตัวแทนกลุ่มเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ได้ขึ้นกล่าวในเวทีธนาคารโลกว่า


ปัญหาราคาอาหารที่เพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ เป็นปัญหาใหญ่ของ ทั่วโลก ที่นายโรเบิรต์ โคลิต ประธานธนาคารโลก มีความเป็นห่วงว่า อาจมีการแย่งชิงกัน จนทำให้ เกิดปัญหาสังคม และ การเมือง ตามมา ส่งผลทำให้พื้นที่ การเกษตรของโลก เปลี่ยนแปลงไป เพราะจะมีการแบ่งพื้นที่เพาะปลูก โดยปลูกพืชเป็นอาหารมากขึ้น


หลังราคาน้ำมันในตลาดโลกทะยานสูงขึ้นไม่หยุด จึงอยากให้ประเทศที่มี การปลูกพืชเกษตร ให้ความสำคัญกับ การปลูกพืชเพื่อ ผลิดอาหาร ให้มากที่สุด และ ลดปลูกพืชพลังงาน ทดแทน ซึ่งประเทศไทยต้องพิจารณาว่า จะทำตามที่ ธนาคารโลกเสนอแนะได้หรือไม่ เพราะ ไทยเป็นผู้นำเข้าพลังงานเป็นพิเศษ ต้องปลูกพืชเพื่อรองรับพลังงานในอนาคตเพราะมีความสำคัญ ต้องพิจารณาด้วยว่า


ประเทศที่ส่งออกน้ำมันในกลุ่มเอเปค จะร่วมมือประเทศเกษตรกรรม เพื่อช่วยเหลือได้หรือไม่ นอกจากนี้ที่ประชุม ยังมีการประเมินสถานการณ์ ปัญหาอุทกภัย ที่เกิดจากภาวะโลกร้อน โดยได้ถูกจัดอันดับว่า มีความเสียงที่เกิดจากภาวะน้ำท่วมเป็นอันดับที่ 9 ของโลกซึ่งจะมีผลกระทบตามมาต่อพืชเกษตรกรรม


ทั้งนี้ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้มอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือ ศสช. รวบรวมความเห็นจากการประชุมธนาคารโลกในครั้งนี้ เพื่อเสนอคณะรัฐมนตรีในการพิจารณาว่า
ตรงกับ ยุทธศาสตร์ ของไทย หรือไม่


อย่างไรก็ตามหลายเรื่องมีความสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล โดยเฉพาะการเร่งการผลักดันโครงการสาถารณูปโภค ที่เกี่ยวข้องกับ ระบบชลประทาน และน้ำ รวมทั้งโครงการอื่นๆ เพื่อป้องกันปัญหา น้ำท่วม


ปรับปรุงจาก ข่าวของ สำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์

April 10, 2008

แผนแหล่งน้ำ ในภาคตะวันออก รับความต้องการในอนาคต

การประปาส่วนภูมิภาค ร่วมกับกรมชลประทาน
ประสานข้อมูลเชิงรุกด้านแหล่งน้ำในภาคตะวันออก
รองรับความต้องการใช้น้ำในอนาคต และ
เชื่อมโยงการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ
ให้เกิดประโยชน์สูงสุดของประเทศ

นายชวลิต สารันต์ ผู้ว่าการประปาส่วนภูมิภาค (กปภ.) กล่าวว่า จากการศึกษา ความต้องการน้ำสะอาด เพื่อการอุปโภคบริโภค ของประชากรทั่วประเทศ พบว่าปัจจุบันมีประชากรร้อยละ 15-20 ไม่มีโอกาส ใช้น้ำประปา แต่ยังคงใช้น้ำตามแหล่งน้ำธรรมชาติ ที่ไม่มีคุณภาพ และปริมาณแหล่งน้ำที่ลดลง ดังนั้น

กปภ.จึงประสานความร่วมมือ กับ กรมชลประทาน วางแผนบริหารจัดการน้ำดิบ รองรับน้ำในอนาคต ที่คาดว่าจะมีความเสี่ยงจาก ผลกระทบของภาวะโลกร้อน โดยเริ่มที่ภาคตะวันออก เนื่องจากเป็นพื้นที่เศรษฐกิจ หากมีปัญหาเรื่องน้ำดิบและน้ำประปา จะส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์ของประเทศอย่างมาก


ล่าสุด กปภ.และ กรมชลประทาน ได้ประชุมวางแผนแหล่งน้ำ ในภาคตะวันออก ทำให้การวางแผน เรื่องน้ำอุปโภคบริโภค ของทั้งสองหน่วยงานมีความเป็นเอกภาพ ซึ่งประชาชนและสังคม จะเป็นผู้รับประโยชน์สูงสุด


ปรับปรุงจาก ข่าวของ สำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์

April 6, 2008

นักวิทยาศาสตร์ออสเตรเลียุว่า โคอาลา อาจเป็นเหยื่อ ของการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ


นิตยสาร วีคเอ็นด์ออสเตรเลียน อ้าง ศาสตราจารย์บิล โฟลีย์ แห่งมหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลีย กล่าวว่า


โคอาลา อาจกลายเป็นเหยื่อของการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ โดยระบุว่า ใบยูคาลิปตัส ที่เป็นอาหารหลักของโคอาลา และสัตว์อื่นๆ อาจจะกินไม่ได้ นื่องจากผลของสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงไป


ทั้งนี้จากผลการทดลองของนาย อีวาน ลอว์เลอร์ จากมหาวิทยาลัยเจมส์ คุก พบว่า ปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ที่เพิ่มขึ้น จะไปลด ไนโตรเจน และสารอาหารอื่นๆ ในใบยูคาลิปตัส ทำให้สัตว์เหล่านี้ต้องกิน ใบยูคาลิปตัส ในจำนวนที่มากขึ้น เพื่อความอยู่รอด


ปรับปรุงจาก ข่าวของ สำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์
Australian Koala Foundation

March 29, 2008

กิจกรรมปิดไฟ 1 ชั่วโมง ลดภาวะโลกร้อน สามารถลดปริมาณการใช้ไฟฟ้าได้ 165 เมกกะวัตต์


กิจกรรมปิดไฟ 1 ชั่วโมง ลดภาวะโลกร้อน สามารถลดปริมาณความต้องการใช้ไฟฟ้าได้ 165 เมกกะวัตต์ เป็นมูลค่า 500,000 บาท ขณะที่ช่วงเดือนเมษายน-พฤษภาคม กฟผ.จับมือผู้ประกอบการลดราคาเครื่องใช้ไฟฟ้า ที่มีฉลาก ประหยัดไฟเบอร์ 5 อีกร้อยละ 5


นายบรรพต แสงเขียว ผู้ช่วยผู้ว่าการจัดการด้านการใช้ไฟฟ้า กล่าวภายหลังร่วมกิจกรรมปิดไฟ 1 ชั่วโมง ลด ภาวะโลกร้อน ว่า ทั่วประเทศสามารถลดปริมาณความต้องการใช้ไฟฟ้าได้ 165 เมกกะวัตต์ เป็นมูลค่า 500,000 บาท ลดก๊าชคาร์บอนไดออกไซด์ 102 ตัน ส่วนพื้นที่กรุงเทพมหานครลดการใช้ไฟฟ้าได้ 73.34 เมกกะวัตต์ เป็นมูลค่า 220,000 บาท ลดปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกซ์ 45 ตัน ทั้งนี้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ประสานกับ ผู้ประกอบการผลิตตู้เย็น พัดลม เครื่องปรับอากาศ จัดโครงการ 555 ในช่วงเดือนเมษายน-พฤษภาคม ให้ประชาชนส่ง ใบเสร็จซื้อ ตู้เย็น พัดลม เครื่องปรับอากาศ ที่มีฉลากเบอร์ 5 มายัง กฟผ.แล้วจะมีส่วนลดให้อีก ร้อยละ 5 จากราคา สินค้า ด้วย พร้อมเชิญชวนให้เพิ่มอุณหภูมิเครื่องปรับอากาศเป็น 26 องศา


ด้านนางบรรณโศภิษฐ์ เมฆวิชัย รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวว่า รู้สึกพอใจกับการจัดกิจกรรมในวันนี้ แม้ว่า ปริมาณการใช้ไฟฟ้า จะไม่เป็นไปตามเป้าที่ตั้งไว้ก็ตาม อย่างไรก็ตามหวังว่า ประชาชนจะตระหนัก และ เริ่มลดการใช้ พลังงานหันมาใช้พลังงานทางเลือก แยกขยะ ปลูกต้นไม้เพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียวลดภาวะโลกร้อน


จาก ช่าวของ สำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์

กองทัพภาคที่ 3 สนองพระราชเสาวนีย์ ฯ แก้ปัญหามลพิษหมอกควัน

กองทัพภาคที่ 3 สนองพระราชเสาวนีย์สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ แก้ปัญหามลพิษหมอกควัน ลงพื้นที่ที่มีการจุดไฟเผาพื้นที่เกษตร อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ ขอความร่วมมือประชาชนยุติการเผาทันที
พลโทสำเริง ศิวาดำรงค์ แม่ทัพภาคที่ 3 พร้อมด้วยนายภุชงค์ อินสมพันธ์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดเชียงใหม่ นายสุรพล ลีลาวโรภาส ผู้อำนวยการส่วนควบคุมและปฏิบัติการไฟป่า สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ 16 และคณะ นำเฮลิคอปเตอร์บินสำรวจปัญหามลพิษหมอกควันพื้นที่อำเภอพร้าวและอำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อสนองพระราชเสาวนีย์สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ที่ทรงห่วงใยปัญหามลพิษหมอกควัน ระหว่างทางพบเกษตรกรเผาเพื่อทำพื้นที่เกษตรเป็นระยะ คณะได้ลงไปในจุดที่เกษตรกรจุดไฟเผาพื้นที่เกษตร บ้านก๊อดป่าบง หมู่ 11 ตำบลปิงโค้ง อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งกำลังมีไฟลุกไหม้ โดยเฮลิคอปเตอร์บินสำรวจสังเกตเห็นกลุ่มควันลอยอยู่ และได้ชี้เป้าสั่งการภาคพื้นดิน มีเจ้าหน้าที่ชุดปฏิบัติการดับไฟป่าลงพื้นที่ดับไฟจนกระทั่งเพลิงสงบลง จากนั้นได้เชิญตัวนายจะแฮ นาฟู อายุ 55 ปี ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ 11 ตำบลปิงโค้งมาตักเตือน โดยแม่ทัพภาคที่ 3 ได้ขอให้ผู้ใหญ่บ้านไปขอความร่วมมือลูกบ้านยุติการเผาพื้นที่เกษตร หากพบจะจับกุมดำเนินคดีทุกราย และจะรายงานจังหวัดทราบเพื่อพิจารณาการทำงานของผู้นำหมู่บ้าน หากพบมีการกระทำซ้ำในพื้นที่อีก ซึ่งได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดี
สำหรับพื้นที่บ้านก๊อดป่าบง มีลักษณะเป็นภูเขา ประชาชนเป็นชาวเขาเผ่ามูเซอ มีอาชีพทำไร่ข้าวโพด ทุกปีจะมีการเผาเพื่อเคลียร์พื้นที่ ขณะที่พบว่าพื้นที่บ้านปางมะเยา ซึ่งเป็นหมู่บ้านติดกันนั้น เกษตรกรเตรียมพื้นที่เพื่อรอการเผาในเดือนเมษายนเช่นกัน โดยแม่ทัพภาคที่ 3 ได้สั่งการทหารในสังกัด ร่วมกับหน่วยงานที่รับผิดชอบในพื้นที่ เร่งทำความเข้าใจกับชาวบ้าน ส่งเสริมการทำปุ๋ยหมักและใช้มาตรการเอาจริงกับทุกคนที่จุดไฟเผาวัชพืชหรือทำให้เกิดควันไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น

March 28, 2008

สมเด็จพระนางเจ้าฯ ทรงห่วงใยปัญหา มลพิษหมอกควัน ภาคเหนือ

สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงห่วงใยปัญหามลพิษหมอกควันภาคเหนือ ล่าสุดกองทัพภาคที่ 3 รับสนองพระราชเสาวนีย์ ร่วมแก้ปัญหากับจังหวัดภาคเหนือ ควบคุมไฟป่า
พลโทสำเริง ศิวาดำรงค์ แม่ทัพภาคที่ 3 เป็นประธานในการประชุมป้องกันไฟป่าและหมอกควันพื้นที่ภาคเหนือ ณ สโมสรค่ายกาวิละ จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีหัวหน้าส่วนราชการในจังหวัดเชียงใหม่ร่วมประชุมเพื่อบูรณาการแก้ปัญหามลพิษหมอกควันที่ปรากฏอยู่ โดยแม่ทัพภาคที่ 3 กล่าวว่า สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงห่วงใยพสกนิกรในพื้นที่และได้ทรงรับสั่งผ่านท่านผู้หญิงจรุงจิตร ฑีฆะระ รองราชเลขาธิการในสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ให้กองทัพภาคที่ 3 ดูแลแก้ปัญหาร่วมกับทุกจังหวัดในพื้นที่ภาคเหนือ ล่าสุดกองทัพภาคที่ 3 ได้มอบหมายให้กองกำลังนเรศวรบินสำรวจพื้นที่ จังหวัดตากและแม่ฮ่องสอน และกองกำลังผาเมืองบินสำรวจพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่และเชียงรายเพื่อชี้จุดไฟไหม้ พบว่าขณะนี้อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ มีจุดไฟไหม้กว่า 10 จุด ขณะที่จังหวัดแม่ฮ่องสอนสถานการณ์หนักสุด หมอกควันปกคลุมจนกระทั่งเฮลิคอปเตอร์บินขึ้นไม่ได้ เหตุเพราะชนกลุ่มน้อยในประเทศเพื่อนบ้านเผาป่า แม่ทัพภาคที่ 3 กล่าวว่าต่อไปจะเอาจริงกับผู้จุดไฟเผ่าป่าทั้งพื้นที่ป่าและพื้นที่เกษตร โดยศาลถือว่ามีความผิดเป็นผู้ทำลายทรัพยากรธรรมชาติ
แม่ทัพภาคที่ 3 จะสั่งชุดทหารไปเฝ้าระวังพื้นที่บนภูเขา พื้นที่ใดถ้าพบแม้การเตรียมเผาก็จะเข้าไปตักเตือนให้ทำปุ๋ยหมักหรือฝัง โดยขอความร่วมมือองค์กรท้องถิ่นมีบทบาทให้ความร่วมมือกับชุมชน ยุติการเผาทุกชนิดในพื้นที่ อันจะก่อให้เกิดมลพิษและส่งผลกระทบต่อสุขภาพโดยรวมและเศรษฐกิจท่องเที่ยว

« Previous PageNext Page »

Blog at WordPress.com.