วันนี้ (21 พ.ค.) ที่ สำนักงาน คณะกรรมการ การเลือกตั้ง (กกต.) นายสุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการ กกต. แถลงว่า กกต. มีมติไม่ให้ นายทะเบียน พรรคการเมือง รับจดแจ้ง การจัดตั้ง พรรค พันธมิตรประชาชน เพื่อประชาธิปไตย (พ.ป.ป.) หรือ P.A.D. ที่มี นางภานุมาศ พรมสูตร หัวหน้าพรรค ได้ยื่นขอ ต่อ กกต. ทั้งนี้
เนื่องจาก จากการตรวจสอบของ ฝ่ายวิจัย และ พัฒนา ระบบบริหาร ฐานข้อมูล พรรคการเมือง พบว่า นางรุ่งรัตน์ เป็นกระโทก สมาชิกพรรค ของผู้ร่วมขอจัดตั้ง พรรคฯ มีชื่อปรากฏเป็น สมาชิก พรรคมหาชน และ เมื่อพิจารณาชื่อพรรค ที่เป็นภาษาอังกฤษ และ ชื่อย่อภาษาอังกฤษ ก็คล้าย หรือ ซ้ำกับ พรรคประชาภิวัฒน์ ที่ถือว่า ขัดกับ
มาตรา 9 วรรคสอง พ.ร.บ.พรรคการเมือง 50 ที่ห้ามไม่ให้ชื่อ พรรคการเมือง ซ้ำ พ้อง หรือ มีลักษณะคล้ายคลึง กับ ชื่อ ชื่อย่อ หรือ ภาพเครื่องหมายของ ผู้จดแจ้ง การจัดตั้ง พรรคการเมือง อื่น หรือ ของ พรรคการเมือง ที่ได้จดแจ้งไว้ก่อน ตามมาตรา 12 หรือ ของ พรรคการเมือง ที่ถูกยุบ ตาม พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ นี้
นอกจากนี้ ยังตรวจสอบพบว่า ข้อบังคับ พรรคพันธมิตรฯ หลายข้อ ขัดต่อ พ.ร.บ.พรรคการเมือง ประกอบด้วย
ข้อบังคับพรรค ที่ 28, 29 ที่กำหนดให้ การเลือกตั้ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ทั่วไป ในแต่ละครั้ง คณะกรรมการ บริหารพรรค แต่งตั้ง คณะกรรมการ อำนวยการทั่วไป เพื่อทำหน้าที่ คัดเลือก สมาชิกพรรค ที่เหมาะสม และ มีคุณสมบัติ ถูกต้องตามกฎหมาย เพื่อส่งเข้าสมัครรับเลือกตั้งเป็น สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบสัดส่วน และ แบบแบ่งเขตเลือกตั้ง
ขัดมาตรา 28 วรรคสอง (4) พ.ร.บ.พรรคการเมือง ที่บัญญัติ ว่า การดำเนินการเลือกตั้ง คณะกรรมการ คัดเลือก ผู้สมัครรับเลือกตั้ง ของพรรคการเมือง คณะกรรมการ นโยบายของ พรรคการเมือง และ คณะกรรมการ ส่งเสริมความเป็นประชาธิปไตย ในพรรคการเมือง ให้กระทำ โดยที่ประชุมใหญ่ของ พรรคการเมือง
ข้อบังคับพรรค ข้อ 52 ที่กำหนดว่า ในการประชุม สาขาพรรคนั้น มีผู้เข้าร่วมประชุม ไม่น้อยกว่า30 คนขึ้นไป ยัง
ขัดต่อ มาตรา 37 วรรคสอง พ.ร.บ. พรรคการเมือง ที่ระบุว่า องค์ประชุมของ ที่ประชุมใหญ่ สาขาพรรคการเมือง ต้องประกอบด้วย กรรมการสาขาพรรคการเมือง อย่างน้อย กึ่งหนึ่ง และ สมาชิก สาขาพรรคการเมือง ซึ่งต้องมีจำนวน ไม่น้อยกว่า 50 คน และ
ข้อบังคับพรรค ข้อ 68 ที่กำหนดว่า เมื่อมีการพิจารณา สิ้นสุดลง หัวหน้าพรรค มีอำนาจ สั่งการ อย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้
1.ให้ระงับเรื่องกล่าวหา
2.ยกข้อกล่าวหา
3.ตำหนิสมาชิกผู้ถูกกล่าวหา
4.ภาคทัณฑ์สมาชิกพรรคผู้กล่าวหา
ส่วนในกรณีที่ หัวหน้าพรรค เห็นว่าควรได้รับการลงโทษ โดยการลบชื่อสมาชิก ผู้ถูกกล่าวหา ออกจาก ทะเบียน ให้ หัวหน้าพรรค เสนอต่อ คณะกรรมการบริหารพรรค ถือเป็นอันสิ้นสุดลง
ขัดกับ มาตรา 20 (4) พ.ร.บ.พรรคการเมือง ที่กำหนดว่า สมาชิกภาพของ สมาชิกสิ้นสุดลง เมื่อพรรคการเมือง มีมติให้ออก ตามข้อบังคับพรรคการเมือง เพราะกระทำผิดวินัย หรือ จรรยาบรรณ อย่างร้ายแรง หรือ มีเหตุร้ายแรงอื่น กล่าวคือ การลงโทษสมาชิก ผู้ถูกกล่าวหานั้น พรรคการเมือง จึงมีมติให้ออก ตามข้อบังคับ พรรคการเมือง เพราะกระทำผิดวินัย หรือ จรรยาบรรณ อย่างร้ายแรง ซึ่งทำให้ การเป็นสมาชิกภาพ ของสมาชิก สิ้นสุดลง ดังนั้น พรรคพันธมิตรประชาชน เพื่อประชาธิปไตย จึงไม่สามารถ ลบชื่อ สมาชิกผู้ถูกกล่าวหา ออกจาก ทะเบียน สมาชิกพรรคการเมือง ได้