Accom Thailand

May 4, 2009

ฮิลลารี ป่วย! หลังเพิ่งไปเยือน เม็กซิโก ยันไม่ได้ติดเชื้อ H1N1


ฮิลลารี ป่วย! ยันไม่ได้ติดเชื้อ H1N1 หลังเพิ่งไปเยือน เม็กซิโก

เอเอฟพี – นางฮิลลารี คลินตัน รัฐมนตรีต่างประเทศ สหรัฐฯ ยกเลิก กำหนดนัดพบ บุคคลต่างๆ ของเธอใน วันนี้ (4) หลังมีอาการป่วยจาก โรคภูมิแพ้ เจ้าหน้าที่ ระบุ พร้อมยืนยันว่า เธอไม่ได้ติดเชื้อ ไวรัสสายพันธุ์ใหม่ เอช1เอ็น1


“เธอไม่ได้ติดเชื้อไข้หวัด เธอแค่รู้สึกไม่สบาย” โรเบิร์ต วูด โฆษกกระทรวงการต่างประเทศกล่าว “เธอจะกลับมาทำงานในวันพรุ่งนี้ เธอล้มป่วยด้วยโรคภูมิแพ้”
นางฮิลลารี คลินตัน ไปเม็กซิโก พร้อมกับประธานาธิบดีบารัค โอบามาเมื่อเดือนที่แล้ว

นางฮิลลารี คลินตัน ไปเม็กซิโก พร้อมกับประธานาธิบดีบารัค โอบามาเมื่อเดือนที่แล้ว


คลินตัน มีกำหนดพบกับ คาร์ล บิลด์ท รัฐมนตรีต่างประเทศ สวีเดน และ เอดูอาร์ด นัลบานเดียน รัฐมนตรีต่างประเทศ ของ อาร์เมเนียใน วันจันทร์ที่ 4 เมษายน แต่ด้วย อาการป่วย ของเธอ ทำให้ต้องเลื่อนคิว นัดไปเป็น วันอังคาร (5)

รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ รายนี้เพิ่งเดินทางไปเยือน เม็กซิโก — ศูนย์กลางของ การแพร่ระบาดของ ไข้หวัดสายพันธุ์ใหม่– ในช่วงปลายเดือนมีนาคม และ

ทำเนียบขาว เปิดเผย เมื่อสัปดาห์ ที่ผ่านมาว่า หนึ่งในคณะตัวแทน ที่เดินทางไป เม็กซิโก พร้อมกับ ประธานาธิบดี บารัค โอบามา เมื่อเดือนที่แล้ว ถูกตรวจพบว่า ติดเชื้อ เอช1เอ็น1 แต่อาการดีขึ้นแล้ว

ทั้งนี้ใน วันจันทร์(4) ทางการสหรัฐฯ เปิดเผยว่า พบการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ มากถึง 286 ราย ใน 36 รัฐทั่วประเทศ

อย่างไรก็ดี เจ้าหน้าที่สาธารณสุขของ สหรัฐฯ ระบุว่า ผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่ มีอาการไม่รุนแรง แม้จะมี เด็กชายวัย 23 เดือน ชาวเม็กซิกัน ที่เดินทางข้ามพรมแดนมา พร้อมกับ ครอบครัวยัง รัฐเท็กซัส จะเป็น ผู้เสียชีวิต รายแรก ของประเทศ ก็ตาม และ การแพร่ระบาด ก็มีแนวโน้ม ไม่รุนแรง ไม่ต่างจาก ไข้หวัดใหญ่ทั่วไป

astv_mgr-200ปรับปรุงจาก ข่าว และ ภาพ ของ สำนักข่าว ASTV ผู้จัดการออนไลน์ 5 พฤษภาคม 2552 02:45 น.
http://www.manager.co.th/Around/ViewNews.aspx?NewsID=9520000050069


พิมพ์ ข่าวนี้ ฮิลลารี ป่วย! ยันไม่ได้ติดเชื้อ H1N1 หลังเพิ่งไปเยือน เม็กซิโก


ใช้ [ปุ่มถอยหลัง] ของเว็บบราวเซอร์ เพื่อกลับมาที่นี่ จากข้อมูลเชื่อมโยงด้านล่าง
Use Browser [Back] Button Return to Here from URL Below

ศาลปกครอง เรียก “พัชรวาท”- บก.มติชน แจง หลังอ้าง ดำเนินคดี ASTV ไม่ได้ เพราะมี คำสั่งคุ้มครอง


ศาลปกครองเรียก “พัชรวาท”- บก.มติชน แจง หลังอ้าง
ดำเนินคดี ASTV ไม่ได้ เพราะมี คำสั่งคุ้มครองชั่วคราว

ศาลปกครองสูงสุด เรียก ผบ.ตร. และ บก.มติชนรายวัน เข้าให้ถ้อยคำ หลังอ้าง ดำเนินคดี ASTV ไม่ได้ เพราะมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว ของ ศาลปกครองสูงสุด ระบุ ทำให้ประชาชน เข้าใจผิด คิดว่า ศาลปกครอง คุ้มครอง ASTV ทั้งที่ มีความเหมือน ดีสเตชั่น เผย


กรมประชาฯ ถอนอุทธรณ์คดีที่ แพ้ ASTV โดย ศาลปกครองสูงสุด สั่งจำหน่ายคดี ออกจากสารบบแล้ว
ศาลปกครองสูงสุดเรียก ผบ.ตร.และ บก.มติชนรายวัน เข้าให้ถ้อยคำ หลังอ้าง ดำเนินคดี ASTV ไม่ได้ เพราะมี คำสั่งคุ้มครองชั่วคราว ของ ศาลปกครองสูงสุด

ศาลปกครองสูงสุดเรียก ผบ.ตร.และ บก.มติชนรายวัน เข้าให้ถ้อยคำ หลังอ้าง ดำเนินคดี ASTV ไม่ได้ เพราะมี คำสั่งคุ้มครองชั่วคราว ของ ศาลปกครองสูงสุด


วันที่ 4 พ.ค.รายงานข่าวจาก สำนักงานประชาสัมพันธ์ สำนักงานศาลปกครอง แจ้งว่า สืบเนื่องจาก กรณีตามหนังสือพิมพ์ มติชนรายวัน ฉบับวันที่ 21 เมษายน 2552 หน้า 2 ลง บทความ “คำแถลง สนง.ตร. แจงเหตุ คดีเหลือง-แดง ต่างกัน” และ มีประเด็นข้อความ ในลักษณะ แนวคำตอบ ของ พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ์ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) และคณะ ฯลฯ” ซึ่งข้อความในบางตอนระบุว่า “ดีสเตชั่น ถูกจับดำเนินคดี ในข้อหาผิด พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ส่วน เอเอสทีวี มีข้อจำกัด ไม่สามารถจับกุมดำเนินคดีได้ เนื่องจาก ได้รับความคุ้มครอง ตามคำสั่ง ศาลปกครองสูงสุด ที่ 147-148/2549 ลง วันที่ 24 เมษายน 2549 ปัจจุบัน ยังได้รับ ความคุ้มครอง ตามคำสั่ง ดังกล่าวอยู่”
ศาลปกครองสูงสุดเรียก ผบ.ตร.และ บก.มติชนรายวัน เข้าให้ถ้อยคำ หลังอ้างดำเนินคดี ASTV ไม่ได้ เพราะมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวของศาลปกครองสูงสุด

ศาลปกครองสูงสุดเรียก ผบ.ตร.และ บก.มติชนรายวัน เข้าให้ถ้อยคำ หลังอ้างดำเนินคดี ASTV ไม่ได้ เพราะมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวของศาลปกครองสูงสุด



โดยประเด็น ข้อความดังกล่าว บ่งบอกถึง เจตนาของผู้ให้ข้อความ ต้องการให้ ประชาชน หรือ ผู้อ่านเข้าใจผิด ว่า

ศาลปกครองสูงสุด มีคำสั่งคุ้มครอง เอเอสทีวี ผู้กระทำความผิดเฉกเช่นเดียวกับ ดีสเตชั่น จนเจ้าหน้าที่ตำรวจ ไม่สามารถจับกุมดำเนินคดี ในมาตรฐานเดียวกันกับ ดีสเตชั่น ซึ่งเป็นข้อความที่ สื่อความหมาย ผิดไปจาก ข้อเท็จจริงแห่งคดี

โดยประเด็น ข้อความดังกล่าว ปรากฏในหน้าหนังสือพิมพ์ เพื่อเผยแพร่ หรือ โฆษณา ต่อ สาธารณชน ถือไม่ได้ว่า เป็นการ วิจารณ์การพิจารณา หรือ การพิพากษาคดี ของ ศาลปกครองสูงสุด ด้วยวิธีการทางวิชาการ

อันเป็นการกระทำ ที่น่าจะเข้าข่าย ผู้กระทำความผิด ฐานละเมิด อำนาจศาล ตามมาตรา 64 แห่งพระราชบัญญัติ จัดตั้ง ศาลปกครองฯ พ.ศ.2552 ประกอบมาตรา 32(2) แห่ง ประมวลกฎหมาย วิธีพิจารณา ความแพ่ง

ศาลปกครองสูงสุด จึงมีคำสั่ง ลงวันที่ 29 เมษายน 2552 ถึง พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ์ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ และ นายสุวพงษ์ จั่นฝังเพ็ชร บรรณาธิการ ผู้พิมพ์โฆษณา หนังสือพิมพ์ มติชนรายวัน เรียกให้ เข้าไปให้ถ้อยคำต่อ ศาลในเรื่องนี้ โดยศาล นัดไต่สวน ใน วันที่ 13 พฤษภาคม 2552 เวลา 13.30 น.ที่ศาลปกครองสูงสุด ชั้น 3 ห้องพิจารณาคดี ที่ 12

ทั้งนี้ การที่ ศาลปกครองสูงสุด มีคำสั่งเรียก ผู้เกี่ยวข้อง มาให้ถ้อยคำต่อศาล ในเรื่องดังกล่าวนั้น เนื่องจาก เห็นว่า ข้อความตอนหนึ่งที่ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ และ คณะ ได้แถลงต่อ สาธารณชน ตามที่ปรากฏใน ข่าวของ หนังสือพิมพ์มติชน ดังกล่าวนั้น

ศาลปกครองสูงสุด เห็นว่าเป็นการให้ข้อมูล ที่ไม่ครบถ้วนสมบูรณ์ และผิดไปจากข้อเท็จจริง แห่งคดี ซึ่งอาจทำให้ ประชาชน เกิดความเข้าใจผิด ได้ว่า ศาลปกครอง ปฏิบัติ สองมาตรฐาน

จึงเห็นควรเรียกให้ บุคคลทั้งสองราย เข้ามาให้ถ้อยคำต่อศาล เพื่อชี้แจงข้อเท็จจริง ในประเด็นที่เกิดขึ้น รวมทั้งเพื่อ จะได้ทำให้เกิดความเข้าใจ ที่ถูกต้อง เกี่ยวกับข้อเท็จจริง แห่งคดีต่อไป

นอกจากนี้ สำนักงานประชาสัมพันธ์ สำนักงานศาลปกครอง ได้เผยแพร่ บทความ เรื่อง คดีเอเอสทีวี (ASTV) ที่เคยตีพิมพ์ใน

หนังสือพิมพ์บ้านเมือง ฉบับวันที่ 27 กันยายน 2551 คอลัมน์นิติปกครอง โดย นายมหาชน เพื่อชี้แจง ข้อเท็จจริง เกี่ยวกับการพิจารณาคดีเอเอสทีวี ของ ศาลปกครอง

ซึ่งเป็นคดีที่ ฝ่ายเอเอสทีวี ได้ฟ้อง กรมประชาสัมพันธ์ ที่สั่งให้ กสท ระงับ การให้บริการดาวเทียมโกล็บแซต แก่ เอเอสทีวี เมื่อต้นปี 2549 ซึ่งศาลปกครองกลาง มี คำพิพากษา ให้ เอเอสทีวี ชนะคดี เมื่อวันที่ 31 มกราคม 2551 โดยให้ กรมประชาสัมพันธ์ ชดใช้ค่าเสียหาย 120,000 บาท หลังจากนั้น ฝ่ายกรมประชาสัมพันธ์ ได้ยื่นอุทธรณ์ ต่อศาลปกครองสูงสุด

สำนักงาน ประชาสัมพันธ์ สำนักงาน ศาลปกครอง ชี้แจงข้อเท็จจริง อีกว่า คดีนี้ ผู้ถูกฟ้องคดี ที่ 1-3 ได้มีการอุทธรณ์ คำพิพากษาขอ งศาลปกครอง ชั้นต้น (ศาลปกครองกลาง) ต่อ ศาลปกครองสูงสุด และ ในเวลาต่อมา ผู้ถูกฟ้องคดี ทั้งสามรายดังกล่าว ได้ร้องขอถอนอุทธรณ์ คำพิพากษาฯ

ศาลปกครองสูงสุด จึงได้มีคำสั่งคดี หมายเลขแดง ที่ อ.515/2551 ลงวันที่ 14 พฤศจิกายน 2551 อนุญาตให้ ถอนอุทธรณ์คำพิพากษา และ ให้จำหน่ายคดี ออกจากสารบบความ


สำหรับคดีนี้ บริษัท ไทยเดย์ ด็อทคอม จำกัด และ นายสนธิ ลิ้มทองกุล และ พวกรวม 9 คน เป็นผู้ฟ้องคดีต่อ
กรมประชาสัมพันธ์ ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1
นายดุษฎี สินเจิมศิริ อธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2
นางภัทรียา สุมะโน รองอธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 3
บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) ผู้ถูกฟ้องคดี ที่ 4
นายพิศาล จอโภชาอุดม รองกรรมการ ผู้จัดการใหญ่ รักษาการ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 5 และ
นายจิรชัย สีจร รองกรรมการ ผู้จัดการใหญ่ รักษาการ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 6

ในกรณีที่ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) ที่มีคำสั่ง ระงับการให้บริการ เครือข่ายดาวเทียมโกลบแซต ในการเผยแพร่ สถานีโทรทัศน์เอเอสทีวี และ ระงับการให้ บริการ ระบบ อินเทอร์เน็ต ทั้งที่ บริษัท ไทยเดย์ ด็อทคอม ไม่ได้กระทำการ ผิดสัญญาใดๆ จึงเป็นคำสั่ง ทางปกครอง ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และ ขัดต่อ รัฐธรรมนูญ มาตรา 37 ที่ว่าด้วย สิทธิเสรีภาพ ในการสื่อสาร ถึงกัน และ พ.ร.บ. ว่าด้วย ธุรกรรม ทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ.2545 นอกจากนี้ ยังขัดต่อ รัฐธรรมนูญมาตรา 39 วรรค 3 ในเรื่องของ การจำกัด สิทธิเสรีภาพ การแสดงความคิดเห็น ของ สื่อมวลชน

บทความเรื่อง “คดีเอเอสทีวี (ASTV)” ที่เคยตีพิมพ์ใน หนังสือพิมพ์บ้านเมือง ฉบับวันที่ 27 กันยายน 2551 คอลัมน์ นิติปกครอง โดย นายมหาชน

คดีเอเอสทีวี (ASTV)

ความพยายามของรัฐบาล ที่ต้องการยุติ การออกอากาศ สถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมเอเอสทีวี (ASTV) ยังคงมีอยู่ ตลอดมา โดยอ้างว่า สถานีโทรทัศน์ ดังกล่าว ไม่ได้รับอนุญาต ให้จัดตั้งสถานี เพื่อแพร่ภาพออกอากาศ อันผิดกฎหมาย วิทยุกระจายเสียง และ วิทยุโทรทัศน์ และเป็น สื่อที่ปลุกระดมมวลชน

ท่านที่ติดตามข่าวคงจำได้ว่า คดีนี้ศาลปกครองกลาง ได้เคยมีคำสั่ง คุ้มครองชั่วคราว ให้ สถานีโทรทัศน์ ดังกล่าว สามารถออกอากาศได้ ตามที่ ผู้ฟ้องคดีคือ บริษัทไทยเดย์ ด็อทคอม จำกัด และ พวกได้ร้องขอ และ ต่อมา ศาลปกครองสูงสุด มีคำสั่งยืน ตามคำสั่งศาลปกครองกลาง ในการคุ้มครอง การออกอากาศ ของ สถานีโทรทัศน์ ดังกล่าว ต่อไป จนกว่า คดีจะถึงที่สุด หรือ จนกว่าศาล จะมีคำสั่งเป็นอย่างอื่น

กระทั่งใน วันที่ 31 มกราคม 2551 ศาลปกครองกลาง จึงได้มีคำพิพากษา ตัดสินในคดี โดยตัดสินให้ กรมประชาสัมพันธ์ (ผู้ถูกฟ้องคดี) เป็นฝ่ายแพ้คดี และ ต้อง ชดใช้ค่าเสียหาย เป็นเงิน จำนวน 120,000 บาท

ขณะนี้ คดีดังกล่าว ยังอยู่ในชั้นอุทธรณ์ เพราะผู้ถูกฟ้องคดี ไม่เห็นด้วย จึงยื่นอุทธรณ์ต่อ ศาลปกครองสูงสุด

วันนี้ ผมจึงขอนำ เหตุผลของ ศาลปกครองทั้ง กรณี คำสั่งคุ้มครองชั่วคราว และ คำพิพากษา มานำเสนอ เพื่อให้เกิด ความกระจ่าง ว่า เหตุใด สถานีโทรทัศน์ ดังกล่าว จึงยังสามารถออกอากาศได้ และ เหตุใด การกระทำของ กรมประชาสัมพันธ์ จึงผิดกฎหมาย และ ละเมิด ต่อ ผู้ฟ้องคดี

คดีนี้ ผมเห็นว่า สำคัญ เพราะเป็นเรื่องเกี่ยวกับ สิทธิและเสรีภาพ ของประชาชนตาม กฎหมายรัฐธรรมนูญ

เป็นที่ทราบกันว่า สถานีโทรทัศน์เอเอสทีวี นั้น ต่างจาก สถานีโทรทัศน์ ฟรีทีวี ทั่วไป เพราะ สถานีโทรทัศน์ ดังกล่าว ใช้บริการ โกลบแซ็ต ในการยิงสัญญาณ จากรถถ่ายทอดสด ขึ้นดาวเทียมไทยคม เพื่อส่งสัญญาณ มาที่ ห้องส่ง ถนนพระอาทิตย์ ซึ่ง สถานีโทรทัศน์เอเอสทีวี ได้ทำสัญญาเช่า ใช้บริการโกลบแซ็ต กับ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน)

แต่ กรมประชาสัมพันธ์ เห็นว่า สถานีโทรทัศน์ ดังกล่าวไม่ได้รับอนุญาตให้ จัดตั้งสถานี เพื่อแพร่ภาพออกอากาศ อันผิดกฎหมาย วิทยุกระจายเสียง และ วิทยุโทรทัศน์ จึงมีคำสั่งให้ บริษัท กสท.ฯ ระงับการส่งสัญญาณ แก่ สถานีโทรทัศน์เอเอสทีวี ซึ่งเป็นต้นเหตุ ของการนำคดีขึ้นสู่ ศาลปกครอง และ ต่อมา ศาลปกครองกลาง และ ศาลปกครองสูงสุด มีคำสั่งคุ้มครอง ให้สถานีโทรทัศน์ดังกล่าว สามารถออกอากาศได้ ตามปกติ ในระหว่างที่ คดียังไม่ถึงที่สุด

โดยศาลให้เหตุผล ในการคุ้มครองชั่วคราว สรุปใจความ ได้ว่า หากกรมประชาสัมพันธ์ เห็นว่า การออกอากาศ ของ ผู้ฟ้องคดี ผิดกฎหมาย วิทยุกระจายเสียง และ วิทยุโทรทัศน์ กรมประชาสัมพันธ์ ต้องร้องทุกข์กล่าวโทษ ต่อพนักงานสอบสวน เพื่อให้ ดำเนินคดีอาญา

กฎหมายไม่ได้ให้อำนาจ กรมประชาสัมพันธ์ ในการที่จะสั่ง บริษัท กสท.ฯ ระงับ การส่งสัญญาณของ ผู้ฟ้องคดีได้

การกระทำของ กรมประชาสัมพันธ์ เป็นการกระทบเสรีภาพ ในการสื่อสาร และ การสื่อความคิดเห็น ซึ่งกฎหมายรัฐธรรมนูญ ได้รับรองไว้ การจะ จำกัด เสรีภาพดังกล่าวได้ ก็แต่โดยอาศัยอำนาจ ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย เฉพาะ เพื่อรักษาความมั่นคงของรัฐ เพื่อคุ้มครองสิทธิ เสรีภาพ เกียรติยศ ชื่อเสียง สิทธิในครอบครัว หรือ ความเป็นอยู่ส่วนตัวของบุคคล อื่น เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อย หรือ ศีลธรรมอันดี ของประชาชน หรือ เพื่อป้องกัน หรือ ระงับความเสื่อมทราม ทางจิตใจ หรือ สุขภาพ ของประชาชน

โดยกรณีจะเป็นเช่นที่ว่า และมีผลให้ต้อง จำกัดสิทธิเสรีภาพดังกล่าวได้ ก็ต่อเมื่อ ได้มีคำพิพากษา ของศาลถึงที่สุด ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย เพื่อการ ดังกล่าว โดยเฉพาะ เท่านั้น

ดังนั้น เมื่อยังมิได้มี คำวินิจฉัยชี้ขาด ของศาลเป็นที่สุด สิทธิเสรีภาพ ขั้นพื้นฐาน ของราษฎร ที่ รัฐธรรมนูญ ให้การคุ้มครอง จึงควรมี หลักประกันว่า จะไม่ถูกละเมิด ได้โดยง่าย ศาล จึงมีคำสั่งคุ้มครอง การออกอากาศสถานีโทรทัศน์ ดังกล่าว

สำหรับ คำพิพากษา ของศาลปกครองกลาง ซึ่งได้มีคำตัดสินไปแล้ว เมื่อต้นปี สรุปความได้ว่า กฎหมายไม่ได้ให้อำนาจ กรมประชาสัมพันธ์ ในการสั่ง บริษัท กสท.ฯ ระงับสัญญาณ ของผู้ฟ้องคดีได้

การกระทำดังกล่าว จึงเป็นการกระทำ โดยปราศจาก อำนาจ และเป็นการล่วงละเมิดสิทธิ ตามสัญญา ระหว่าง ผู้ฟ้องคดี กับ บริษัท กสท.ฯ อันก่อให้เกิด ความเสียหาย แก่ผู้ฟ้องคดี ในการไม่สามารถ ผลิต และ ส่งรายการ ตามกำหนด ตามที่ตกลงกับ บริษัทคู่สัญญาได้ ซึ่งจะต้องเสียค่าปรับ ในการผิดสัญญา ดังกล่าวด้วย

ประการสำคัญคือ การสั่งระงับสัญญาณนั้น ทำให้ผู้ฟ้องคดี ต้องเสียเสรีภาพ ในการสื่อสารถึงกัน โดยทางที่ ชอบด้วยกฎหมาย เสรีภาพ ในการแสดง ความคิดเห็น การรับรู้ ข้อมูลข่าวสาร ของประชาชน ฯลฯ ซึ่งรัฐธรรมนูญ ได้บัญญัติรับรองไว้ จึงควรมีหลักประกันว่า จะไม่ถูกละเมิด ได้โดยง่าย

ศาลปกครองกลาง จึงพิพากษา ให้เพิกถอนหนังสือของ กรมประชาสัมพันธ์ ที่ให้บริษัท กสท.ฯ ระงับการส่งสัญญาณ แก่ ผู้ฟ้องคดี และ ชดใช้ค่าเสียหาย แก่ผู้ฟ้องคดี เป็นเงิน 120,000 บาท พร้อมดอกเบี้ย ตามกฎหมาย

ผลจาก คำสั่งคุ้มครองชั่วคราว ของ ศาลปกครองสูงสุด และ คำพิพากษาของ ศาลปกครองกลาง จึงทำให้ สถานีโทรทัศน์เอเอสทีวี สามารถออกอากาศ ได้ดังทุกวันนี้

คดีนี้บทสรุปจะเป็นอย่างไร คงต้องรอคำชี้ขาดสุดท้ายจาก ศาลปกครองสูงสุด (คดีหมายเลขแดงที่ 131/2551)

astv_mgr-200ปรับปรุงจาก ข่าว และ ภาพ ของ สำนักข่าว ASTV ผู้จัดการออนไลน์ 4 พฤษภาคม 2552 17:58 น.
http://www.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9520000049960


พิมพ์ ข่าวนี้ “ศาลปกครอง เรียก “พัชรวาท” – บก.มติชน แจง อ้างคำสั่งคุ้มครอง ขวางเอาผิด ASTV


ใช้ [ปุ่มถอยหลัง] ของเว็บบราวเซอร์ เพื่อกลับมาที่นี่ จากข้อมูลเชื่อมโยงด้านล่าง
Use Browser [Back] Button Return to Here from URL Below

May 3, 2009

รัฐบาลเปิด 2 เว็บไซต์ เพื่อชี้แจงการทำงาน


รัฐบาลเปิด เว็บไซต์ www.factreport.go.th เพื่อชี้แจงการทำงาน ของเจ้าหน้าที่ ในช่วงการแก้ปัญหาการชุม ในช่วงสงกรานต์
พร้อมกันนี้ ยังเปิด www.chuaichart.com เว็บไซต์ช่วยชาติ ดอทคอม รายงาน การแก้ปัญหาเศรษฐกิจ


เกี่ยวกับ เว็บประมวลเหตุการณ์
Anti-government protesters and supporters of exiled Prime Minister Thaksin Shinawatra display a gun to symbolize they will defend themselves during a rally outside the government house after the announcement of a state of emergency in Bangkok, Thailand, Sunday, April 12, 2009. Armored vehicles are moving in the streets of Thailand's capital following the announcement of a state of emergency aimed at stemming the tide of anti-government protest across the country. Army spokesman Col. Sansern Kaewkamnerd says the military's presence Sunday in Bangkok is not a sign of an imminent coup but a measure to restore order.(AP Photo/Vincent Yu)

Anti-government protesters and supporters of exiled Prime Minister Thaksin Shinawatra display a gun to symbolize they will defend themselves during a rally outside the government house after the announcement of a state of emergency in Bangkok, Thailand, Sunday, April 12, 2009. Armored vehicles are moving in the streets of Thailand's capital following the announcement of a state of emergency aimed at stemming the tide of anti-government protest across the country. Army spokesman Col. Sansern Kaewkamnerd says the military's presence Sunday in Bangkok is not a sign of an imminent coup but a measure to restore order.(AP Photo/Vincent Yu)


A crowd attacked the motorcade of Prime Minister Abhisit Vejjajiva 12 April outside a ministry building in Bangkok.

A crowd attacked the motorcade of Prime Minister Abhisit Vejjajiva 12 April outside a ministry building in Bangkok.


driver of Niphon Promphan, secretary of Prime Minister Abhisit Vejjajiva, is seen in a car after being attacked by anti-government protesters and supporters of ousted Prime Minister Thaksin Shinawatra at Interior Ministry in Bangkok, Thailand, Sunday, April 12, 2009. Thailand's embattled government, humiliated by demonstrators who shut down a 16-nation Asian summit, declared a state of emergency in the capital Sunday and ordered armored vehicles into the streets to stem a tide of protest across the country. Niphon and his driver were seriously injured in the attack and are in the hospital. (AP Photo)

driver of Niphon Promphan, secretary of Prime Minister Abhisit Vejjajiva, is seen in a car after being attacked by anti-government protesters and supporters of ousted Prime Minister Thaksin Shinawatra at Interior Ministry in Bangkok, Thailand, Sunday, April 12, 2009. Thailand's embattled government, humiliated by demonstrators who shut down a 16-nation Asian summit, declared a state of emergency in the capital Sunday and ordered armored vehicles into the streets to stem a tide of protest across the country. Niphon and his driver were seriously injured in the attack and are in the hospital. (AP Photo)


Red-shirted anti-government protesters and supporters of ousted Prime Minister Thaksin Shinawatra pull Niphon Promphan, secretary of Prime Minister Abhisit Vejjajiva, center, out of his car after attacking him at Interior Ministry in Bangkok, Thailand, Sunday, April 12, 2009. Thailand's embattled government, humiliated by demonstrators who shut down a 16-nation Asian summit, declared a state of emergency in the capital Sunday and ordered armored vehicles into the streets to stem a tide of protest across the country. Niphon and his driver were seriously injured in the attack and are in hospital.(AP Photo)

Red-shirted anti-government protesters and supporters of ousted Prime Minister Thaksin Shinawatra pull Niphon Promphan, secretary of Prime Minister Abhisit Vejjajiva, center, out of his car after attacking him at Interior Ministry in Bangkok, Thailand, Sunday, April 12, 2009. Thailand's embattled government, humiliated by demonstrators who shut down a 16-nation Asian summit, declared a state of emergency in the capital Sunday and ordered armored vehicles into the streets to stem a tide of protest across the country. Niphon and his driver were seriously injured in the attack and are in hospital.(AP Photo)


PATTAYA, THAILAND - APRIL 11: The motorcade of anti-government protesters gather near the venue of the ASEAN Summit and Related Summits on April 11, 2009 in Pattaya, Chonburi, Thailand. The protesters successfully cancelled the three day regional summit of Asian leaders, highlighting their campaign against the Thai government, and Thailand's Prime Minister Abhisit Vejjajiva. Thai Prime Minister Abhisit Vejjajiva declared a state of emergency in Pattaya, a beach resort about 150 kms (90 miles) south of the capital Bangkok. The Pro-Thaksin Shinawatra ( former prime minister) supporters are calling for new elections and for the current government to step down.(Photo by Athit Perawongmetha/Getty Images)

PATTAYA, THAILAND - APRIL 11: The motorcade of anti-government protesters gather near the venue of the ASEAN Summit and Related Summits on April 11, 2009 in Pattaya, Chonburi, Thailand. The protesters successfully cancelled the three day regional summit of Asian leaders, highlighting their campaign against the Thai government, and Thailand's Prime Minister Abhisit Vejjajiva. Thai Prime Minister Abhisit Vejjajiva declared a state of emergency in Pattaya, a beach resort about 150 kms (90 miles) south of the capital Bangkok. The Pro-Thaksin Shinawatra ( former prime minister) supporters are calling for new elections and for the current government to step down.(Photo by Athit Perawongmetha/Getty Images)


สืบเนื่องจาก เหตุการณ์ความไม่สงบ จากการชุมนุม ทางการเมือง ที่เกิดขึ้นในเขต กรุงเทพฯ ปริมณฑล และ ต่างจังหวัด
จนเป็นเหตุให้ เจ้าหน้าที่รัฐ และ ประชาชนได้รับบาดเจ็บ รวมถึงทรัพย์สิน ได้รับความเสียหาย

ดังนั้น เพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสาร ที่เกิดขึ้นอย่างถูกต้อง ครบถ้วน และ สร้างให้เกิดความเข้าใจ ต่อกรณีที่เกิดขึ้น

คณะรัฐมนตรี โดยนายกรัฐมนตรี จึงมีคำสั่ง แต่งตั้งคณะกรรมการรวบรวม และ ประมวลเหตุการณ์ความไม่สงบ จากการชุมนุมทางการเมือง เมื่อวันที่ 13 เมษายน 2552 และ เหตุการณ์ ที่เกี่ยวเนื่องขึ้น (คบช.)

โดยมีเป้าหมาย เพื่อรับฟังความคิดเห็นจาก บุคคลที่อยู่ใกล้ชิดเหตุการณ์ เพื่อนำไปประกอบการพิจารณา ดำเนินการ อันเป็นแนวทาง ให้ความช่วยเหลือ เยียวยา ผู้ได้รับความเสียหาย ต่อไป

ทางคณะกรรมการเห็นสมควรว่า เพื่อสร้างความเข้าใจอันดี ในสังคมไทย จึงจัดสร้างเว็บไซต์ http://www.factreport.go.th เพื่อนำข้อมูลข่าวสาร ที่ได้รับจาก ทุกภาคส่วน รวมถึง ผลการประชุม จาก คณะอนุกรรมการ คปช.ทั้ง 5 ด้าน ที่ได้รับการแต่งตั้ง จากคณะกรรมการ มาเผยแพร่

เว็บไซต์ www.factreport.go.th คือเว็บไซต์ ที่นำเสนอ ประมวลเหตุการณ์ความไม่สงบ จากการชุมนุมทางการเมือง เมื่อวันที่ 13 เมษายน 2552 จัดทำโดย
คณะกรรมการรวบรวม และ ประมวลเหตุการณ์ ความไม่สงบ จากการชุมนุมทางการเมือง เมื่อวันที่ 13 เมษายน 2552 และเหตุการณ์ที่เกี่ยวเนื่อง (คบช.)
ลิขสิทธิ์ของบทความ ภาพ และวิดีโอ เป็นของแหล่งข่าว.


ใช้ [ปุ่มถอยหลัง] ของเว็บบราวเซอร์ เพื่อกลับมาที่นี่ จากข้อมูลเชื่อมโยงด้านล่าง
Use Browser [Back] Button Return to Here from URL Below

April 30, 2009

คดีทุจริตคลองด่าน – ที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา ไม่รับอุทธรณ์ “วัฒนา”


ที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา ไม่รับอุทธรณ์ “วัฒนา” ทุจริตคลองด่าน!


นายวัฒนา อัศวเหม ภาพจากแฟ้ม

นายวัฒนา อัศวเหม ภาพจากแฟ้ม


ที่ประชุมใหญ่ ศาลฎีกา ไม่รับอุทธรณ์ คดี “วัฒนา อัศวเหม” อดีต รมช.มหาดไทย ทุจริต จูงใจ จนท. ที่ดิน สมุทรปราการ ออกโฉนด คลองด่าน ทับที่สาธารณะ ส่งผล คดีถึงที่สุด รอตามตัว ที่หลบหนี ไปต่างประเทศ กลับมา รับโทษจำคุก 10 ปี ภายใน อายุความ 15 ปี


วันนี้ (30 เม.ย.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา มีคำสั่ง ไม่รับอุทธรณ์ คดีที่ นายวัฒนา อัศวเหม อดีต รมช.มหาดไทย เป็นจำเลย ซึ่ง ศาลฎีกา แผนกคดีอาญา ของ ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง มีคำพิพากษาให้ จำคุก นายวัฒนา เป็นเวลา 10 ปี ในความผิด ต่อ ตำแหน่ง หน้าที่ ราชการ ตาม ประมวลกฎหมาย อาญา มาตรา 148

ที่ใช้ อำนาจหน้าที่ โดยมิชอบ ข่มขืนใจ หรือ จูงใจ ให้เพื่อให้ บุคคลใด มอบให้ ซึ่งทรัพย์สิน ด้วย การบังคับซื้อ ที่ดิน ต.บางเหี้ย (คลองด่าน) อ.บางเหี้ย (บางบ่อ) จ.สมุทรปราการ จาก ราษฎร หลายราย และ ข่มขืนใจ หรือ จูงใจ ด้วย การบังคับขู่เข็ญ หรือ กระทำการ โดยวิธีการ อื่นใด ให้ ข้าราชการ สังกัดกรมที่ดิน และ กรมการปกครอง ปฏิบัติ หรือ ละเว้น ปฏิบัติหน้าที่ โดยมิชอบ หรือ โดยทุจริต ในการออกโฉนด ที่ดิน 5 แปลง

คดีนี้ หลังจากที่ ศาลฎีกา มีคำพิพากษา เมื่อวันที่ 18 ส.ค. 2551 แล้ว ทนายความ นายวัฒนา ได้ใช้สิทธิ ตามรัฐธรรมนูญ ปี 2550 กำหนดไว้ ในมาตรา 278 วรรคสาม ยื่นอุทธรณ์ ต่อ ที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา เมื่อวันที่ 10 พ.ย. 2551 โดยฝ่ายจำเลย ระบุว่า มีพยานบุคคล รวม 17 ปาก เป็น หลักฐานใหม่

เมื่อจำเลย ยื่นอุทธรณ์แล้ว ที่ประชุมใหญ่ จึงแต่งตั้ง องค์คณะผู้พิพากษา รวม 5 คน พิจารณาอุทธรณ์ เพื่อทำบันทึกความเห็น สรุปสำนวน เสนอ ที่ประชุมใหญ่ ซึ่งองค์คณะ พิจารณา ตามบทบัญญัติ รธน.มาตรา 278 วรรคสาม ประกอบ กับ ระเบียบที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา ว่าด้วย หลักเกณฑ์ การอุทธรณ์ คำพิพากษา ศาลฎีกา แผนกคดีอาญา ของ ผู้ดำรงตำแหน่ง ทางการเมือง ในกรณี มีพยานหลักฐานใหม่ ซึ่งอาจทำให้ ข้อเท็จจริง เปลี่ยนแปลงไป ในสาระสำคัญ พ.ศ.2551 ข้อ 3 และ 4 แล้วเห็นว่า

พยานหลักฐาน ที่จำเลย ยกขึ้นอ้าง ไม่ใช่ พยานหลักฐานใหม่ ที่อาจจะทำให้ ข้อเท็จจริงเปลี่ยน แปลงไป ในสาระสำคัญ และ ไม่ใช่พยานหลักฐาน ที่ จำเลยไม่รู้ หรือ มีเหตุอันควรรู้ว่า พยานหลักฐาน ดังกล่าว มีอยู่ ดังนั้น จึงไม่ควร ที่จะรับอุทธรณ์ของ จำเลย ไว้พิจารณา

ที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา พิจารณาแล้ว ก็เห็นด้วยกับ ความเห็น สรุปสำนวน องค์คณะ ซึ่งพิจารณา 3 ประเด็น คือ


1. พยานหลักฐาน ประเด็นว่า การออกโฉนดที่ดิน ชอบด้วย ระเบียบ และ กฎหมายหรือไม่ ซึ่งจำเลยอ้าง

นายไพฑูรย์ สุนทรวิภาค อดีต ผู้ว่าฯ จ.สมุทรปราการ ปี 2533-2547, นายวีระ รอดเรือง อดีต ผู้ว่าฯ จ.สมุทรปราการ ปี 2537-2542, นายวิเชียร รัตนพีระพงศ์ อดีต อธิบดีกรมที่ดิน, พล.ต.ต.ยงยุทธ สาระสมบัติ อดีตเลขาธิการ ครม., นายกำธร จันทรแสง อดีต รองเลขาธิการ ครม., นายประพันธ์ ชลวีระวงศ์ อดีต รองผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรปราการ, นางอุบล เอื้อศรี อดีต ปลัดจังหวัด สมุทรปราการ, นายสมมาตร ดลมินทร์ อดีตเจ้าพนักงานที่ดิน จ.สมุทรปราการ, นายคมชิต วิชญะเดชา อดีตเจ้าหน้าที่บริหารงานที่ดิน จ.สมุทรปราการ สาขาบางพลี และ ม.ล.พีพล นพวงศ์ อดีตนายอำเภอบางบ่อ ปี 2535-2536 เป็นพยาน เพื่อเสนอข้อเท็จจริงว่า เมื่อวันที่ 5 ม.ค. 2531 ครม. มีมติให้ออก หนังสือแสดงสิทธิ์ ในที่ดินให้กับ ราษฎร บริเวณ ที่ดิน พิพาท ดังกล่าว ซึ่ง จ.สมุทรปราการ ได้แจ้งให้ สำนักงานที่ดิน จ.สมุทรปราการ ทราบ และ ปฏิบัติ ตามมติ ครม. อย่างเคร่งครัด และ มีการออกโฉนด ให้กับ รายอื่นหลายราย โดยไม่ปรากฏว่า มี ข้อขัดข้อง หรือ โต้แย้ง ของ ราษฎร ในพื้นที่แต่อย่างใด

นอกจากนี้ ยังได้รับการยืนยัน จาก คณะกรรมการป้องกัน และ หยุดยั้ง การบุกรุก ที่ดินป่าชายเลน ที่ทำการ ตรวจสอบที่ดิน แล้วว่า ไม่มีการบุกรุก และ ที่ดินไม่มีสภาพ เป็นทางสาธารณะ และ

2. พยานหลักฐาน ในประเด็นว่า จำเลย ข่มขืนใจ หรือ จูงใจ ให้ เจ้าพนักงาน ฝ่ายปกครอง และ เจ้าพนักงาน สำนักงานที่ดิน จ.สมุทรปราการ สาขาบางพลี ออกโฉนดที่ดิน โดยมิชอบด้วยระเบียบ หรือ กฎหมาย หรือไม่ จำเลยอ้าง

นายสุทัศน์ ธรรมรักคิด ซึ่งอ้างว่า เป็นผู้ติดต่อใกล้ชิด กับ เจ้าหน้าที่ สำนักงานที่ดิน จ.สมุทรปราการ สาขาบางพลี, นายจำเนียร ปานพุ่มชื่น นายอำเภอ บางบ่อ ในช่วงเกิดเหตุ, นายสมบัติ เลาประเสริฐ สารวัตรกำนัน ต.คลองด่าน ในช่วงเกิดเหตุ, นายวีระวงศ์ สุวรรณวานิช เจ้าหน้าที่ สำนักงานที่ดิน จ.สมุทรปราการ สาขาบางพลี ในช่วงเกิดเหตุ, นายบุญเชิด คิดเห็น สำนักงานที่ดิน จ.สมุทรปราการ สาขาบางพลี, นายวีระ รอดเรือง, ท่านเจ้าคุณ พิพิธธรรมสุนทร ผู้ช่วยเจ้าอาวาส วัดสุทัศน์ และ พล.ต.ชิณเสน ทองโกมล เป็นพยาน นำเสนอข้อเท็จจริง เพื่อยืนยันว่า จำเลย ไม่เคยข่มขู่ เจ้าหน้าที่ รวมทั้ง นายไพศาล กาญจนประพันธ์ และ นายสมชัย แตงน้อย แต่อย่างใด ในการรังวัด โฉนดที่ดิน และ ฝ่ายรังวัด ก็ไม่ได้แจ้งขัดข้อง ในการออกโฉนด ว่า ทับที่ สาธารณะ รวมทั้งประเด็น การมอบ พระเครื่องผงสุพรรณ เพื่อจูงใจ เจ้าพนักงาน ในการออกโฉนด

ที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา เห็นว่า พยานหลายปาก ไม่เคย มาเบิกความต่อศาล ขณะที่เรื่องมติ ครม. ไม่ใช่ พยานหลักฐาน ที่อาจทำให้ ข้อเท็จจริง เปลี่ยนแปลง และ ไม่ใช่ พยานหลักฐาน ที่ จำเลย ไม่รู้ถึง ความมีอยู่ ของ พยานหลักฐาน นั้น


3. พยานหลักฐาน ในประเด็นว่า การที่จำเลย ใช้อำนาจ ข่มขืนใจ หรือ จูงใจ ให้ เจ้าพนักงาน สำนักงานที่ดิน จ.สมุทรปราการ สาขาบางพลี และ เจ้าพนักงานฝ่ายปกครอง ออกโฉนด ให้ โดยมิชอบ นั้น เป็นการใช้อำนาจ โดยตำแหน่ง อันเป็นความผิด ตามประมวล กฎหมายอาญา มาตรา 148 หรือไม่ จำเลยอ้าง

พล.ต.ต.ยงยุทธ สาระสมบัติ อดีตเลขาธิการ ครม., นายกำธร จันทรแสง อดีตรองเลขาธิการ ครม. เป็น พยาน เพื่อเสนอข้อเท็จจริงว่า จำเลย ไม่มีอำนาจ ให้คุณ ให้โทษกับ กรมที่ดิน เพราะ จำเลย ไม่มีหน้าที่ ดูแล รับผิดชอบ กรมที่ดิน โดยตรง การแต่งตั้ง เสนอ ข้าราชการ ที่จะนำเข้าสู่ ครม. จะเป็นการพิจารณาแต่งตั้ง ระดับ 10 ขึ้นไป และ การแต่งตั้ง โยกย้าย เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัด หรือ เจ้าหน้าที่ กรมที่ดิน เป็นอำนาจของ กรมที่ดิน โดยตรง

ที่ประชุมใหญ่ ศาลฎีกา พิจาณาแล้ว เห็นว่า พยานดังกล่าว ไม่ใช่หลักฐาน ที่อาจทำให้ ข้อเท็จจริง เปลี่ยนแปลงไป ซึ่ง ข้อเท็จจริง รับกันว่า ในช่วงเกิดเหตุ จำเลย ไม่ได้รับมอบหมาย ให้มีอำนาจ การสั่ง อนุญาต อนุมัติ การปฏิบัติ หน้าที่ราชการ เกี่ยวกับ กรมที่ดิน แต่ที่ ศาลวินิจฉัยว่า เป็นการใช้อำนาจ ในตำแหน่ง ของ จำเลย เนื่องจากเห็นว่า จำเลย มีอำนาจตาม พ.ร.บ. ระเบียบ บริหาร ราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534, พ.ร.บ. ปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ.2534 และ มีอำนาจ ในการบริหารราชการแผ่นดิน ตามประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 218 ลงวันที่ 29 ก.ย.2515 มีสิทธิ์เข้าร่วม ประชุมครม. เพื่อมีข้อเสนอแนะ ให้ความเห็น และ มีมติในกิจการงานกรม หรือกระทรวงอื่น รวมทั้งมีสิทธิ์แสดงความเห็น และการมีมติ แต่งตั้ง ข้าราชการระดับ 10 และ 11 ซึ่งเป็นการวินิจฉัยประเด็น โดยอาศัยข้อกฎหมาย ดังนั้นข้ออ้าง ทางปฏิบัติของจำเลย จึงไม่ใช่พยานหลักฐาน ที่ทำให้ข้อเท็จจริง เปลี่ยนแปลงไป ในสาระสำคัญ

ที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา จึงมีมติว่า อุทธรณ์ของ จำเลย ทุกข้อ ไม่เข้าตามบทบัญญัติ รธน. มาตรา 278 วรรคสาม ประกอบกับ ระเบียบ ที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา ว่าด้วย หลักเกณฑ์ การอุทธรณ์ คำพิพากษา ศาลฎีกา แผนกคดีอาญา ของ ผู้ดำรงตำแหน่ง ทางการเมือง ในกรณี มี พยาน หลักฐาน ใหม่ ซึ่งอาจทำให้ ข้อเท็จจริง เปลี่ยนแปลงไป ในสาระสำคัญ พ.ศ.2551 ข้อ 3 และ 4 จึงมีคำสั่ง ไม่รับอุทธรณ์ ของ จำเลย ไว้พิจารณา

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ทั้งนี้ เมื่อ ที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา มีคำสั่ง ไม่รับอุทธรณ์ นายวัฒนา แล้ว ได้นำลงประกาศไว้ใน ราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 29 เม.ย. ที่ผ่านมา สำหรับ นายวัฒนา ขณะนี้ อยู่ระหว่างการหลบหนคดี

โดยศาลฎีกา ได้ออกหมายจับ เพื่อให้ติดตามตัวมารับโทษแล้ว และ เมื่อที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา ไม่รับอุทธรณ์ จึงทำให้ คดีถึงที่สุด ซึ่งหากเจ้าหน้าที่ตำรวจ สามารถจับกุมตัว นายวัฒนา ได้ ก็จะถูกนำตัวคุมขังที่ เรือนจำทันที ตามโทษที่ ศาลฎีกา พิพากษา ลงโทษจำคุก 10 ปี อย่างไรก็ดี สำหรับคดีดังกล่าว มีอายุความ 15 ปี ที่จะติดตามตัว นายวัฒนา มารับโทษ

astv_mgr-200ปรับปรุงจาก ข่าว และ ภาพ ของ สำนักข่าว ASTV ผู้จัดการออนไลน์ 30 เมษายน 2552 19:49 น.
http://www.manager.co.th/Crime/ViewNews.aspx?NewsID=9520000048711


พิมพ์ ข่าวนี้ ที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา ไม่รับอุทธรณ์ “วัฒนา” ทุจริตคลองด่าน!


ใช้ [ปุ่มถอยหลัง] ของเว็บบราวเซอร์ เพื่อกลับมาที่นี่ จากข้อมูลเชื่อมโยงด้านล่าง
Use Browser [Back] Button Return to Here from URL Below

April 28, 2009

“วสิษฐ เดชกุญชร” เขียนบทความ เมื่อมันกำลังเผาเมืองไทย คนไทยก็ต้องช่วยกันดับไฟ ย้ำชัด “นช.แม้ว” มุ่งทำลาย พระมหากษัตริย์


“วสิษฐ เดชกุญชร” ย้ำชัด “นช.แม้ว” มุ่งทำลายพระมหากษัตริย์
พล.ต.อ.วสิษฐ เดชกุญชร อดีตหัวหน้านายตำรวจราชสำนักประจำ และ อดีตรองอธิบดีกรมตำรวจ เขียนบทความ เมื่อมันกำลังเผาเมืองไทย คนไทยก็ต้องช่วยกันดับไฟ ตอบโต้ นช.แม้ว

พล.ต.อ.วสิษฐ เดชกุญชร อดีตหัวหน้านายตำรวจราชสำนักประจำ และ อดีตรองอธิบดีกรมตำรวจ เขียนบทความ เมื่อมันกำลังเผาเมืองไทย คนไทยก็ต้องช่วยกันดับไฟ ตอบโต้ นช.แม้ว


อดีตรองอธิบดีกรมตำรวจ เขียนบทความตอบโต้ “นช.แม้ว” ระบุชัด ให้สัมภาษณ์ “ไฟแนนเชียลไทมส์” ปรักปรำ ในหลวง รู้เหตุการณ์ 19 ก.ย. ล่วงหน้า จงใจ หมิ่นประมาท พระมหากษัตริย์ ผิด ม.112 ย้ำพฤติกรรมสะท้อน ไม่ต้องการ ระบอบประชาธิปไตย อันมี พระมหากษัตริย์ เป็นประมุข และ มุ่งทำลาย พระมหากษัตริย์


หนังสือพิมพ์ มติชนรายวัน ฉบับ วันที่ 28 เมษายน พ.ศ.2552 หน้า 6 ได้ตีพิมพ์ บทความ ของ พล.ต.อ.วสิษฐ เดชกุญชร อดีตหัวหน้านายตำรวจ ราชสำนักประจำ และ อดีตรองอธิบดีกรมตำรวจ เรื่อง “เมื่อมันกำลังเผาเมืองไทย คนไทยก็ต้องช่วยกันดับไฟ” เพื่อตอบโต้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นักโทษหนีคดี ที่ให้สัมภาษณ์ หนังสือพิมพ์ ไฟแนลเชียลไทมส์ ของ อังกฤษ ฉบับวันที่ 20 เมษายน 2552 มีเนื้อหา ตอนหนึ่ง ปรักปรำ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เกี่ยวกับ การรัฐประหาร วันที่ 19 กันยายน 2549 ซึ่งสะท้อนว่า

พ.ต.ท.ทักษิณ จงใจที่จะ จาบจ้วงหมิ่นประมาท พระมหากษัตริย์ อันเป็นความผิด ต่อความมั่นคงตามมาตรา 112 และ เห็นว่า พฤติการณ์ของ พ.ต.ท.ทักษิณ แสดงชัด แล้วว่า ไม่ต้องการ ระบอบประชาธิปไตย แบบที่มี พระมหากษัตริย์ ทรงเป็นประมุข และ มุ่งทำลาย พระมหากษัตริย์ อย่างแน่นอน ดังรายละเอียดของ บทความดังนี้

“เมื่อมันกำลังเผาเมืองไทย คนไทยก็ต้องช่วยกันดับไฟ”


ใครๆ ที่ได้อ่านข่าว (พ.ต.ท.) ทักษิณ ชินวัตร ให้สัมภาษณ์ หนังสือพิมพ์ ไฟแนนเชียลไทมส์ เมื่อวันที่ 20 เมษายน ที่ผ่านไปแล้ว คงมีความรู้สึกไม่ต่างกับผม คือ รู้สึกว่า

ถ้า (พ.ต.ท.) ทักษิณ ไม่มีความรู้เลยในเรื่อง ระบอบประชาธิปไตย แบบที่มี พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (พ.ต.ท.) ทักษิณ ก็คงจะไร้เดียงสา หรือโง่ หรือบ้า หรือ มีเจตนา ที่จะทำลาย ระบอบประชาธิปไตย แบบที่มี พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

ก่อนที่จะอ่าน เรื่องนี้ต่อไป ผมขอชี้แจงว่า ที่ผมใส่วงเล็บไว้หน้าและหลังคำ “พ.ต.ท.” หน้าชื่อ “ทักษิณ” ในการเขียนเรื่องนี้ ก็เพราะ ผมรู้สึกกระดากมือ และ กระดากใจ ที่จะใส่ยศเข้าไปเต็มๆ ที่หน้าชื่อ “ทักษิณ” เพราะ (พ.ต.ท.) ทักษิณ ได้ทำความเสียหาย และ อับอายขายหน้า อย่างเหลือเกิน ให้แก่ ราชการตำรวจ

ด้วยการ หนีโทษ ตามคำพิพากษาของศาล แล้วยังเป็น ผู้ยุยงส่งเสริม ให้เกิดความไม่สงบขึ้นในประเทศ จนตกเป็นผู้ต้องหาใน คดีอาญา อีกด้วย จึงไม่สมควรจะมี หรือ ใช้ยศตำรวจ และ ควรจะถูกถอดยศ ได้แล้ว แต่เมื่อยังมียศอยู่ ผมก็จะใช้ ยศนั้นในวงเล็บ ไปพลางก่อน เมื่อใด ที่ถูกถอดยศแล้ว เมื่อนั้น ผมจึงจะเรียกว่า นายทักษิณ

เรื่องเกี่ยวกับ การให้สัมภาษณ์ ของ (พ.ต.ท.) ทักษิณ นั้น เดี๋ยวนี้ผมไม่อยากเขียน เพราะ (พ.ต.ท.) ทักษิณ พูดเพ้อเจ้อ และ โกหกมดเท็จ ทุกครั้ง การเขียน และ พิมพ์ เรื่อง การให้สัมภาษณ์ของ (พ.ต.ท.) ทักษิณ จึงไร้ประโยชน์ และ กลายเป็นการช่วยแพร่ การเพ้อเจ้อ และ โกหกมดเท็จ

แต่เมื่อทั้ง สื่อเทศ และ สื่อไทย ยังเผยแพร่ การโกหกมดเท็จ นั้นอยู่ และ เมื่อการโกหกมดเท็จ ของ (พ.ต.ท.) ทักษิณ อาจกระทบกระเทือน และ เสียหายร้ายแรง ต่อบ้านเมือง ผมก็ถือเป็น หน้าที่ของผม ที่จะต้องตอบโต้ หรือ คัดค้าน

ข่าว การให้สัมภาษณ์ ของ (พ.ต.ท.) ทักษิณ คราวนี้ ปรากฏใน หนังสือพิมพ์ ไฟแนนเชียลไทมส์ ฉบับวันที่ 20 เมษายน 2552 (พ.ต.ท.) ทักษิณ ให้สัมภาษณ์ ผู้สื่อข่าวของ หนังสือพิมพ์ฉบับนั้น สองคน คือ

นายรอบิน วิกเกิลสเวอร์ธ (Robin Wigglesworth) ในนครดูไบ และ นางสาว (หรือนาง) เซรีนา ทาร์ลิงก์ (Serena Tarling) ใน นครลอนดอน (พ.ต.ท.) ทักษิณ บอกว่า

ก่อนที่จะเกิด รัฐประหาร ขึ้นในเดือน กันยายน 2549 นั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทาน พระบรมราชวโรกาส ให้ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรี พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ องคมนตรี (ในขณะนั้น) และ องคมนตรี อีกผู้หนึ่ง เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท และ ผู้ที่เข้าเฝ้าฯ ได้กราบบังคมทูลว่า จะกำจัด (พ.ต.ท.) ทักษิณ ถวาย เพราะ (พ.ต.ท.) ทักษิณ ไม่จงรักภักดีต่อฝ่าละอองธุลีพระบาท (they will do a favour for him by getting me because I am not loyal to the king) (พ.ต.ท.)

ทักษิณ บอกด้วยว่า หลังจากนั้น เมื่อตนพยายามจะปราบปราม การประท้วง ที่เป็น ปฏิปักษ์ต่อรัฐบาล ก็ไม่มีผู้ใดร่วมมือ เพราะมีบางคน ส่งเสริม อยู่เบื้องหลัง (there is someone boosting behind them)

(พ.ต.ท.) ทักษิณอ้างว่า ตนทราบเรื่องนี้ จาก พล.อ.พัลลภ ปิ่นมณี


ก่อนอื่น ควรทราบว่า การเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท มิใช่เป็นเรื่องง่าย แม้จะเป็น เรื่องสำคัญ หรือ เร่งด่วนที่สุด และแม้ ผู้ขอเฝ้าฯ จะเป็น ประธานองคมนตรี หรือ องคมนตรี ก็ตาม

การขอเฝ้าฯ มีขั้นตอนของ การปฏิบัติ ที่ทุกคนต้องทำตาม และ ต้องผ่านเจ้าหน้าที่ โดยเฉพาะ สำนักราชเลขาธิการ และเมื่อเสด็จลงให้เฝ้าฯ ก็มี เจ้าหน้าที่หลายฝ่าย เฝ้าฯ ปฏิบัติหน้าที่ถวาย อยู่ในที่ประทับ ด้วยเสมอ

ผู้อ่าน ที่มีสติสัมปชัญญะ และ มีเหตุผล ย่อมรู้ และ เข้าใจทันที เมื่อได้อ่านข่าวนี้ ว่า หากมี การเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท และ กราบบังคมทูล ดังที่ (พ.ต.ท.) ทักษิณ อ้างว่า ทราบจาก พล.อ.พัลลภ

พล.อ.พัลลภ ก็ต้องรู้เรื่องการเฝ้าฯ นั้นจากคนอื่น และ “คนอื่น” นั้นจะเป็นใครไม่ได้ นอกจาก พล.อ.เปรม หรือ พล.อ.สุรยุทธ์ หรือ องคมนตรี อีกผู้หนึ่ง (ที่ (พ.ต.ท.) ทักษิณ อ้างว่า เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทอยู่ด้วย) หรือ เจ้าหน้าที่ ที่โดยหน้าที่ จะต้องเฝ้าฯ อยู่ในที่ประทับ เจ้าหน้าที่ชั้นผู้ใหญ่ อีกคนหนึ่ง ในที่นั้น ก็คือ สมุหราชองครักษ์

คงรู้ และ จำกันได้ว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงวางพระองค์ อยู่ในฐานะ พระมหากษัตริย์ตามรัฐธรรมนูญ อย่างเคร่งครัด ไม่เคยปรากฏว่า เคยทรงล่วงพระราชอำนาจ ที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้

เมื่อมีวิกฤตการณ์บ้านเมือง ไม่ว่าครั้งใด ทรงถือว่าเป็น หน้าที่ความรับผิดชอบ ของ รัฐบาล จะต้องแก้ไขปัดเป่า ต่อเมื่อ เป็นที่เห็นชัดว่า วิกฤตการณ์ ลุกลาม ร้ายแรง เช่น มีผู้ได้รับบาดเจ็บ และ เสียชีวิต เป็นจำนวนมาก จึงจะ ทรงพระกรุณา ระงับวิกฤตการณ์ แต่ก็ด้วยการ พระราชทาน คำแนะนำ แก่รัฐบาลเท่านั้น

องคมนตรีทุกคนทราบดีว่า รัฐบาลชุดที่ (พ.ต.ท.) ทักษิณ เป็น นายกรัฐมนตรี และชุดอื่นๆ ทุกชุด เป็นรัฐบาลที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงแต่งตั้ง ตามรัฐธรรมนูญ ในฐานะที่ทรงเป็น พระมหากษัตริย์

เป็นไปได้หรือที่ พล.อ.เปรม หรือ พล.อ.สุรยุทธ์ หรือ องคมนตรี คนไหนก็ตาม จะเข้าไปเฝ้าฯ กราบบังคมทูล ว่า ตนเอง จะ ละเมิด กฎหมาย ละเมิด รัฐธรรมนูญ ถวาย ด้วยการกำจัด (พ.ต.ท.) ทักษิณ นายกรัฐมนตรี ที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง?

การให้สัมภาษณ์ว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงทราบเรื่อง รัฐประหาร ก่อนเช่นนั้น เป็นการปรักปรำ หรือ กล่าวหา ฝ่าละอองธุลีพระบาท โดยตรง และ อย่างเปิดเผย ว่า ทรงอนุญาต หรือ ทรงอนุโลม ให้เกิดรัฐประหาร แสดงว่า (พ.ต.ท.) ทักษิณ ไม่เคารพสักการะ พระมหากษัตริย์ และ จงใจ หมิ่นประมาท พระมหากษัตริย์ อันเป็นความผิดต่อ ความมั่นคงของรัฐ ตามประมวล กฎหมายอาญา มาตรา 112

ขณะที่เขียนเรื่องนี้ ผมยังไม่เห็น หรือ ได้ยินประกาศ หรือ แถลงการณ์ ของส่วนราชการใด ปฏิเสธการปรักปรำ กล่าวหา ของ (พ.ต.ท.) ทักษิณ แต่ผมเห็นว่า คนไทย ที่เคารพสักการะ พระมหากษัตริย์ และ ยึดมั่น ในระบอบ ประชาธิปไตย แบบที่มี พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ไม่จำเป็น ต้องคอย ทางราชการ ต่อไปอีกแล้ว

แต่ควรตระหนักกันเสียทีว่า พฤติการณ์ของ (พ.ต.ท.) ทักษิณแสดงชัดแล้ว ว่า (พ.ต.ท.) ทักษิณ ไม่ต้องการ ระบอบประชาธิปไตย แบบที่มี พระมหากษัตริย์ ทรงเป็นประมุข และ มุ่งทำลาย พระมหากษัตริย ์อย่างแน่นอน

ตลอดเวลา 62 ปี ที่ทรงครองราชย์มา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงแสดงให้ ประจักษ์ ด้วยพระราชกรณียกิจ ทั้งน้อยและใหญ่ นานัปการ ว่า ทรงอุทิศ พระวรกาย ให้แก่ ประชาชนและบ้านเมือง โดยปราศจาก เงื่อนไข ทรงตรากตรำ พระวรกาย จนพระพลานามัยไม่สมบูรณ์ และ ทรงพระประชวร แม้กระนั้น ก็ยังไม่ทรงหยุด ยังทรงตั้งพระทัย ทำงานเพื่อคนไทย และ เมืองไทย ต่อไป

เรารู้ด้วยว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ไม่ทรงติดยึดกับ ตำแหน่ง พระมหากษัตริย์ ทรงทำหน้าที่ เพื่อหน้าที่ และ ทรงถือเอา ความสำเร็จของ พระราชภารกิจ เป็นสำคัญ ทั้งยังทรงยึดมั่นใน ขันติธรรม

การให้ร้าย และ แสดงตัวเป็น ปฏิปักษ์ต่อ พระมหากษัตริย์ ของ (พ.ต.ท.) ทักษิณ หรือ ของใคร ก็ตาม ไม่เคยทำให้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงสะทกสะท้าน หรือ หวั่นไหว หรือ กริ้ว หรือ น้อยพระราชหฤทัย

mtc1
เพราะฉะนั้น จึงถึงเวลาแล้ว ที่คนไทย ที่ตระหนักใน พระมหากรุณาธิคุณ เคารพสักการะ พระมหากษัตริย์ และ ยึดมั่นใน ระบอบประชาธิปไตย แบบที่มี พระมหากษัตริย์ ทรงเป็นประมุข จะต้องพิจารณาตัดสินใจว่า

จะควรทำอย่างไร กับผู้ที่ไม่แต่จะจาบจ้วง ลบหลู่ดูหมิ่น และ หมิ่นประมาท พระมหากษัตริย์ ผู้ทรงเป็นที่เคารพสักการะ ของเรา เท่านั้น แต่ยังพยายาม ที่จะล้ม ระบอบประชาธิปไตย แบบที่มี พระมหากษัตริย์ ทรงเป็นประมุขด้วย

ที่มา: http://www.matichon.co.th/matichon/view_news.php?newsid=01act02280452§ionid=0130&day=2009-04-28

astv_mgr-200จาก ข่าว และ ภาพ ของ สำนักข่าว ASTV ผู้จัดการออนไลน์ 28 เมษายน 2552 22:46 น.

พิมพ์ ข่าวนี้ “วสิษฐ เดชกุญชร” ย้ำชัด “นช.แม้ว” มุ่งทำลายพระมหากษัตริย์

Related News :

Interview transcript: Thaksin Shinawatra

Print Version

Financial Times สัมภาษณ์ทักษิณ ชินวัตร
จาก หนังสือพิมพ์ออนไลน์ประชาไท
409 ชั้น 1 (อาคาร มอส.) ซ.โรหิตสุข (รัชดา 14) ถ.ประชาราษฎร์บำเพ็ญ 5 เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10320
โทร. 02 690 2711 แฟกซ์ 02 690 2712


ใช้ [ปุ่มถอยหลัง] ของเว็บบราวเซอร์ เพื่อกลับมาที่นี่ จากข้อมูลเชื่อมโยงด้านล่าง
Use Browser [Back] Button Return to Here from URL Below

April 27, 2009

โปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง นายทหาร กลางปี 2552 (27/4/2009)


ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี
เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ

มี พระราชราชโองการ โปรดเกล้าฯ ให้
นายทหาร รับราชการสนองพระเดชพระคุณ
ดังต่อไปนี้

กระทรวงกลาโหม


1. พ.อ.ณัฐ อินทรเจริญ เป็น หัวหน้าสำนักงานรัฐมนตรี


สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม

2. พล.อ.กิตติพงษ์ เกษโกวิท ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ กองทัพบก เป็น หัวหน้านายทหารฝ่ายเสนาธิการ ประจำรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงกลาโหม
3. พล.อ.พหล สง่าเนตร หัวหน้านายทหารฝ่ายเสนาธิการ ประจำผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็น ที่ปรึกษาพิเศษ สำนักงานปลัด กระทรวงกลาโหม
4. พล.อ.พงศ์ทัศน์ เศวตเศรนี ผู้อำนวยการ ศูนย์การอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ และ พลังงานทหาร เป็น ที่ปรึกษาพิเศษ สำนักงานปลัด กระทรวงกลาโหม
5. พล.อ.อภิชาติ ทิมสุวรรณ ที่ปรึกษาพิเศษ สำนักงานปลัด กระทรวงกลาโหม เป็น ผู้อำนวยการ ศูนย์การอุตสาหกรรม ป้องกันประเทศ และ พลังงานทหาร
6. พล.อ.อ.สุเมธ โพธิ์มณี หัวหน้านายทหารฝ่ายเสนาธิการประจำ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ สำนักงานปลัด กระทรวงกลาโหม (อัตราพลอากาศเอก)
7. พล.ท.สุนันท์ ดีอ่วม ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ สำนักงานปลัด กระทรวงกลาโหม เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ สำนักงานปลัด กระทรวงกลาโหม (อัตรา พลเอก)
8. พล.ท.วิเชียร วิเวก ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ กองทัพบก เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ สำนักงานปลัด กระทรวงกลาโหม (อัตราพลเอก)

9. พล.ท.สุทัศน์ ฤทธิสมิต ผู้ทรงคุณวุฒิ สำนักงานปลัด กระทรวงกลาโหม เป็น หัวหน้านายทหารประสานงาน การพัฒนาระบบราชการ กลาโหม
10. พล.ท.นภดล เจริญพร หัวหน้านายทหาร ฝ่ายเสนาธิการประจำ รองปลัดกระทรวงกลาโหม เป็น ที่ปรึกษา สำนักงานปลัด กระทรวงกลาโหม
11. พล.ท.พีระพันธ์ อภิชาตนนท์ ที่ปรึกษาสำนักงานปลัด กระทรวงกลาโหม เป็น หัวหน้านายทหาร ฝ่ายเสนาธิการประจำ รองปลัดกระทรวงกลาโหม
12. พล.ท.พิพัฒน์โชติ สิทธิชัยนาม ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ กองบัญชาการทหารสูงสุด เป็น รองผู้อำนวยการศูนย์ การอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ และ พลังงานทหาร
13. พล.ท.มล.ประสบชัย เกษมสันต์ ผู้ช่วยหัวหน้านายทหาร ฝ่ายเสนาธิการ ประจำปลัดกระทรวงกลาโหม เป็น ผู้อำนวยการ สำนักงานสนับสนุน สำนักงานปลัด กระทรวงกลาโหม
14. พล.ท.พรชัย นิพิฏฐ์กุล หัวหน้านายทหาร ประสานภารกิจทางทหาร กับ สำนักงาน สภาความมั่นคงแห่งชาติ สำนักนโยบาย และ แผนกลาโหม เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ สำนักงานปลัด กระทรวงกลาโหม (อัตราพลโท)
15. พลโท.นาวิน ดำริกาญจน์ ผู้อำนวยการ สำนักวิทยาศาสตร์ และ เทคโนโลยี กลาโหม เป็น หัวหน้านายทหาร ประสานภารกิจทางทหาร กับ สำนักงานสภา ความมั่นคงแห่งชาติ สำนักนโยบาย และ แผนกลาโหม
16. พล.ท.อดิศร สุวรรณตรา ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ สำนักงานปลัด กระทรวงกลาโหม เป็น เจ้ากรม วิทยาศาสตร์ และ เทคโนโลยี กลาโหม
17. พล.ท.มนัส เปาริก ผู้ช่วยหัวหน้านายทหาร ฝ่ายเสนาธิการประจำ รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงกลาโหม เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ สำนักงานปลัด กระทรวงกลาโหม (อัตราพลโท)
18. พล.ท.พฤณท์ สุวรรณทัต ผู้ช่วยหัวหน้านายทหาร ฝ่ายเสนาธิการประจำ รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงกลาโหม เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ สำนักงานปลัด กระทรวงกลาโหม (อัตราพลโท)
19. พล.อ.ท.พงศธร บัวทรัพย์ ผู้ช่วยหัวหน้านายทหาร ฝ่ายเสนาธิการประจำ รัฐมนตรีกว่าการ กระทรวงกลาโหม เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ สำนักงานปลัด กระทรวงกลาโหม (อัตราพลอากาศโท)

20. พล.ต.สนินพันธุ์ เทภาสิต ผู้ทรงคุณวุฒิ กองทัพบก เป็น ผู้ช่วยหัวหน้านายทหาร ฝ่ายเสนาธิการประจำ รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงกลาโหม
21. พล.ต.ปิยะพันธ์ สีดอกบวบ ผู้ทรงคุณวุฒิ กองทัพบก เป็น ผู้ช่วยหัวหน้านายทหาร ฝ่ายเสนาธิการประจำ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
22. พล.อ.ต.เริงราช อ่อนสว่าง ผู้ทรงคุณวุฒิ กองทัพอากาศ เป็น ผู้ช่วยหัวหน้านายทหาร ฝ่ายเสนาธิการประจำ รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงกลาโหม
23. พล.ต.เมธิน บุญช่วย ผู้ทรงคุณวุฒิ สำนักงานปลัด กระทรวงกลาโหม เป็น ที่ปรึกษา สำนักงานปลัด กระทรวงกลาโหม
24. พล.ต.ฐิตินันท์ ธัญญสิริ รองผู้อำนวยการ สำนักวิทยาศาสตร์ และ เทคโนโลยีกลาโหม เป็น ที่ปรึกษา สำนักงานปลัด กระทรวงกลาโหม
25. พล.ต.ณัฐติพล กนกโชติ รองเจ้ากรม การสรรพกำลังกลาโหม เป็น ที่ปรึกษา สำนักงานปลัด กระทรวงกลาโหม
26. พล.ต.ภัทรกฤตย์ ธีระรัตน์ ผู้ทรงคุณวุฒิ สำนักงานปลัด กระทรวงกลาโหม เป็น ผู้ช่วยหัวหน้านายทหาร ฝ่ายเสนาธิการประจำ ปลัดกระทรวงกลาโหม

27. พล.ต.นพปฎล คุณกมุท รองเจ้ากรม การอุตสาหกรรมทหาร ฝ่ายบริหาร ศูนย์การอุตสาหกรรม ป้องกันประเทศ และ พลังงานทหาร เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ สำนักงานปลัด กระทรวงกลาโหม (อัตรา พลโท)
28. พล.ต.ชัชวาลย์ วงษ์เอก ผู้ทรงคุณวุฒิ สำนักงานปลัด กระทรวงกลาโหม เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ สำนักงานปลัด กระทรวงกลาโหม (อัตาา พลโท)
29. พล.ต.ชูเกียรติ จุณณะปิยะ ผู้ทรงคุณวุฒ ิสำนักงานปลัด กระทรวงกลาโหม เป็น นายทหารประสานงาน การพัฒนาระบบ ราชการกลาโหม
30. พล.ต.ทรงพล ไพนุพงศ์ ผู้ทรงคุณวุฒิ กองทัพบก เป็น นายทหารประสานงาน การพัฒนาระบบ ราชการกลาโหม
31. พล.ต.พหล จันทรประภา ผู้อำนวยการ สำนักโยธาธการกลาโหม เป็น รองผู้อำนวยการ สำนักงานสนับสนุน สำนักงานปลัด กระทรวงกลาโหม
32. พล.ต.สกุณชัย ศิริเรือง ผู้อำนวยการ สำนักงานสนับสนุน กรมเสมียนตรา เป็น รองผู้อำนวยการ สำนักงานสนับสนุน สำนักงานปลัด กระทรวงกลาโหม
33. พล.ต.เฉลิมพล เต็งศิริ ผู้ชำนาญการ กรมเสมียนตรา เป็น ผู้อำนวยการ สำนักนโยบาย และ แผนการกำลังพล กรมเสมียนตรา
34. พล.ต.ถนอม สุภาพร ผู้อำนวยการ สำนักงานแพทย์ สำนักงานปลัด กระทรวงกลาโหม เป็น ผู้อำนวยการ สำนักงานแพทย์ สำนักงานสนับสนุน สำนักงานปลัด กระทรวงกลาโหม
35. พล.ต.สุรินทร์ กลิ่นชะเอม ผู้อำนวยการ สำนักงาน ตรวจบัญชีกลาโหม เป็น ผู้อำนวยการ สำนักงานตรวจสอบ ภายในกลาโหม
36. พล.ต.วุฒิชัย สิริสัมพันธ์ ผู้อำนวยการ ศูนย์ศึกษา ยุทธศาสตร์กลาโหม เป็น ผู้อำนวยการ สำนักงานวิเทศสัมพันธ์ สำนักนโยบาย และ แผนกลาโหม
37. พล.ต.เรืองปัญญา โคปาละสุต รองผู้อำนวยการ สำนักวิทยาศาสตร์ และ เทคโนโลยี กลาโหม เป็น รองเจ้ากรม วิทยาศาสตร์ และ เทคโนโลยีกลาโหม
38. พล.อ.ต.ธวัช สงวนทรัพย์ ผู้ทรงคุณวุฒิ สำนักงานปลัด กระทรวงกลาโหม เป็น รองเจ้ากรม วิทยาศาสตร์ และ เทคโนโลยีกลาโหม
39. พล.ต.สุริยฉัตร เผ่าบุญเสริม เลขานุการสำนักงานปลัด กระทรวงกลาโหม เป็น รองเจ้ากรม การสรรพกำลังกลาโหม
40. พล.ต.สมชาย วัชรานาถ ผู้ทรงคุณวุฒิ สำนักงานปลัด กระทรวงกลาโหม เป็น เลขานุการ สำนักงานปลัด กระทรวงกลาโหม
41. พล.ต.จิระชัย เกียรติประจักษ์ นักวิชาการพิเศษ สำนักวิทยาศาสตร์ และ เทคโนโลยีกลาโหม เป็น ผู้อำนวยการ สำนักโยบาย วิทยาศาสตร์ และ เทคโนโลยีป้องกันประเทศ กรมวิทยาศาสตร์ และ เทคโนโลยีกลาโหม
42. พล.อ.ต.สมเดช อุดมศิลป์ นักวิชาการพิเศษ สำนักวิทยาศาสตร์ และ เทคโนโลยีกลาโหม เป็น นักวิชาการพิเศษ กรมวิทยาศาสตร์ และ เทคโนโลยีกลาโหม
43. พล.อ.ต.วันชัย โตสุวรรณ ผู้บัญชาการ ศูนย์วิจัย และ พัฒนาการทหาร สำนักวิทยาศาสตร์ และ เทคโนโลยีกลาโหม เป็น ผู้อำนวยการ ศูนย์วิจัย และ พัฒนาการทหาร กรมวิทยาศาสตร์ และ เทคโนโลยีกลาโหม
44. พล.ต.พิทักษ์ เกียรติพันธ์ ผู้ทรงคุณวุฒิ สำนักงานปลัด กระทรวงกลาโหม เป็น ผู้อำนวยการ ศูนย์รักษาความปลอดภัยคอมพิวเตอร์ กรมเทคโนโลยี สารสนเทศ และ อวกาศ กลาโหม
45. พล.ต.อภิสิทธิ์ ศรีผุดผ่อง ผู้ทรงคุณวุฒิ สำนักงานปลัด กระทรวงกลาโหม เป็น หัวหน้าสำนักงาน กิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และ กิจการโทรคมนาคม กลาโหม
46. พล.ต.อภิชาต แสงรุ่งเรือง เสนาธิการ ศูนย์การอุตสาหกรรม ป้องกันประเทศ และ พลังงานทหาร เป็น รองเจ้ากรม อุตสาหกรรมทหาร ฝ่ายบริหาร ศูนย์การอุตสาหกรรม ป้องกันประเทศ และ พลังงานทหาร
47. พล.ต.ชลิต ศรีระเดช รองผู้บัญชาการ ศูนย์อำนวยการ สร้างอาวุธ ศูนย์การ อุตสาหกรรมป้องกันประเทศ และ พลังงานทหาร เป็น เสนาธิการ ศูนย์การอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ และ พลังงานทหาร
48. พล.ต.สุพงศ์ ศรีจำนง นายทหารฝ่ายเสนาธิการ ประจำรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงกลาโหม เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิ สำนักงานปลัด กระทรวงกลาโหม
49. พล.ต.เดชา ปุญญบาล นายทหารฝ่ายเสนาธการ ประจำรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงกลาโหม เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิ สำนักงานปลัด กระทรวงกลาโหม
50. พล.ต.สมชาย ชัยวณิชยา นายทหารฝ่ายเสนาธิการ ประจำรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงกลาโหม เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิ สำนักงานปลัด กระทรวงกลาโหม
51. พล.ต.สัญชัย จูมั่น นายทหารฝ่ายเสนาธิการ ประจำรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงกลาโหม เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิ สำนักงานปลัด กระทรวงกลาโหม
52. พล.ต.สุชาติ อดุลย์บุตร นายทหารฝ่ายเสนาธิการ ประจำสำนักปลัด กระทรวงกลาโหม เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิ สำนักงานปลัด กระทรวงกลาโหม
53. พล.ต.กฤช กุวานนท์ ผู้ทรงคุณวุฒิ กองบัญชการทหารสูงสุด เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิ สำนักงานปลัด กระทรวงกลาโหม

54. พ.อ.จารุวุฒิ ศิระพลานนท์ เป็น นายทหารฝ่ายเสนาธิการ ประจำรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงกลาโหม
55. พ.อ.จิตตสักก์ เจริญสมบัติ เป็น นายทหารฝ่ายเสนาธิการ ประจำรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงกลาโหม
56. พ.อ.กิติภูมิ วงษ์ทิม เป็น นายทหารฝ่ายเสนาธิการ ประจำรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงกลาโหม
57. พ.อ.สัมพันธ์ ธัญญพืช เป็น นายทหารฝ่ายเสนาธิการ ประจำรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงกลาโหม
58. พ.อ.เอกพร พินโปน เป็น นายทหารฝ่ายเสนาธิการ ประจำรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงกลาโหม
59. พ.อ.นเรศรักษ์ ฐิตะฐาน เป็น นายทหารฝ่ายเสนาธิการ ประจำปลัด กระทรวงกลาโหม
60. พ.อ.ปิยะ ครุธเวโช เป็น ผู้อำนวยการ สำนักงานนโยบาย และ ยุทธศาสตร์ สำนักนโยบาย และ แผนกลาโหม
61. พ.อ.กิติกร ธรรมนิยาย เป็น ผู้อำนวยการ สำนักโยธาธิการกลาโหม สำนักงาน สนับสนุน สำนักงานปลัด กระทรวงกลาโหม
62. พ.อ.สมศักดิ์ เนียมหอม เป็น รอง ผู้บัญชาการ ศูนย์อำนวยการ สร้างอาวุธ ศูนย์การอุตสาหกรรม ป้องกันประเทศ และ พลังงานทหาร
63. พ.อ.หญิง หรรษา ฤทธิวาจา เป็น ผู้ชำนาญการ สำนักงานปลัด กระทรวงกลาโหม
64. พ.อ.ณรงค์ อุทะนุต เป็น ผู้ชำนาญการ กรมเสมียนตรา
65. พ.อ.ณรงค์ ตุวยานนท์ เป็น ผู้ชำนาญการ สำนักงานปลัด กระทรวงกลาโหม
66. พ.อ.พีระพงษ์ ลบเมฆ เป็น ผู้ชำนาญการ สำนักงานปลัด กระทรวงกลาโหม
67. น.อ.ทศพร กาญจนวิสุทธิ์ เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิ สำนักงานปลัด กระทรวงกลาโหม
68. น.อ.สุวิทย์ จุลละศร เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิ สำนักงานปลัด กระทรวงกลาโหม
69. พ.อ.หญิง ชกานาฎ จันทรวงศ์ เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิ สำนักงานปลัด กระทรวงกลาโหม
70. พ.อ.หญิง กิติยา จันทรนิมะ เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิ สำนักงานปลัด กระทรวงกลาโหม
71. พ.อ.หญิง ศิริพร พันธุวนิช เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิ สำนักงานปลัด กระทรวงกลาโหม


กองบัญชาการกองทัพไทย

72. พล.อ.กมล แสนอิสระ ประธานคณะที่ปรึกษา กองบัญชาการทหารสูงสุด เป็น ประธานคณะที่ปรึกษา กองบัญชาการกองทัพไทย
73. พล.อ.ประสิทธิชัย พิบูลรัตน์ ที่ปรึกษาพิเศษ กองบัญชาการทหารสูงสุด เป็น ที่ปรึกษาพิเศษ กองบัญชาการกองทัพไทย
74. พล.อ.ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร ที่ปรึกษาพิเศษ กองบัญชาการทหารสูงสุด เป็น ที่ปรึกษาพิเศษ กองบัญชาการกองทัพไทย
75. พล.อ.ภูดิศ วีระศักดิ์ ที่ปรึกษาพิเศษ กองบัญชาการทหารสูงสุด เป็น ที่ปรึกษาพิเศษ กองบัญชาการกองทัพไทย
76. พล.อ.อรพัฒน์ สุกไสว ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ กองบัญชาการทหารสูงสุด เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ กองบัญชาการกองทัพไทย (อัตราพลเอก)
77. พล.อ.อนุสรณ์ เทพธาดา ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ กองบัญชาการการสูงสุด เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ กองบัญชาการกองทัพไทย (อัตราพลเอก)
78. พล.อ.ดนัย ยุวบูรณ์ ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ กองบัญชาการทหารสูงสุด เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ กองบัญชาการกองทัพไทย (อัตราพลเอก)
79. พล.อ.เสรณี รัตนชื่น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ กองบัญชาการทหารสูงสุด เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ กองบัญชาการกองทัพไทย (อัตราพลเอก)
80. พล.อ.เหมรัฐ ขำนิล ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ กองบัญชาการทหารสูงสุด เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ กองบัญชาการกองทัพไทย (อัตราพลเอก)
81. พล.อ.สมบัติ ม่วงกล่ำ ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ กองบัญชาการทหารสูงสุด เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ กองบัญชาการการกองทัพไทย (อัตราพลเอก)
82. พล.อ.ปิติ กัมพูพงศ์ ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ กองบัญชาการทหารสูงสุด เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ กองบัญชาการกองทัพไทย (อัตราพลเอก)
83. พล.อ.พลางกูร กล้าหาญ ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ กองบัญชาการทหารสูงสุด เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ กองบัญชาการกองทัพไทย (อัตรา พลเอก)
84. พล.อ.สุกิจ ขมะสุนทร ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ กองบัญชาการทหารสูงสุด เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ กองบัญชาการกองทัพไทย (อัตรา พลเอก)
85. พล.อ.อรรณพ สมบัติทวี ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ กองบัญชาการทหารสูงสุด เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ กองบัญชาการกองทัพไทย (อัตราพลเอก)
86. พล.อ.ชูชัย บุญย้อย ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ กองบัญชาการทหารสูงสุด เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ กองบัญชาการกองทัพไทย (อัตราพลเอก)
87. พล.อ.จิตติพงศ์ สุวรรณเศรษฐ ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ กองบัญชาการทหารสูงสุด เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ กองบัญชาการกองทัพไทย (อัตราพลเอก)

88. พล.ท.วีระยุทธ จิตต์ศิริ ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ กองบัญชาการทหารสูงสุด เป็น หัวหน้านายทหาร ฝ่ายเสนาธิการประจำ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด
89. พล.ท.ศักดิ์สิทธิ์ น้อมศิริ ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ กองบัญชาการทหารสูงสุด เป็น ผู้ช่วยหัวหน้านายทหาร ฝ่ายเสนาธิการประจำ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด
90. พล.ท.สุรพันธ์ วงศ์ไทย เจ้ากรมยุทธศึกษาทหาร เป็น รองผู้บัญชาการ สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
91. พล.ท.ดุลกฤต รักษ์เผ่า แม่ทัพน้อยที่ 1 เป็น รองผู้บัญชาการ หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา
92. พล.ท.ชัยสุข ก้านทอง ที่ปรึกษา กองบัญชาการทหารสูงสุด เป็น ที่ปรึกษา กองบัญชาการกองทัพไทย
93. พล.ท.พิษณุ ศรคุปต์ ที่ปรึกษา กองบัญชาการทหารสูงสุด เป็น ที่ปรึกษา กองบัญชาการกองทัพไทย
94. พล.ท.วิศิษฐ บุศยารัศมี ที่ปรึกษา กองบัญชาการทหารสูงสุด เป็น ที่ปรึกษา กองบัญชาการกองทัพไทย
95. พล.ท.พิชัย โพธิทัด ที่ปรึกษา กองบัญชาการทหารสูงสุด เป็น ที่ปรึกษา กองบัญชาการกองทัพไทย
96. พล.ท.เจริญ นพสุวรรณ ที่ปรึกษา กองบัญชาการทหารสูงสุด เป็น ที่ปรึกษา กองบัญชาการกองทัพไทย
97. พล.ท.ธงชัย โอสถหงษ์ ที่ปรึกษา กองบัญชาการทหารสูงสุด เป็น ที่ปรึกษา กองบัญชาการกองทัพไทย
98. พล.ท.วรเทพ ดิษยบุตร ผู้ช่วยหัวหน้านายทหาร ฝ่ายเสนาธิการประจำ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ กองบัญชาการกองทัพไทย (อัตราพลโท)
99. พล.ท.กวี ประเคนรี รองผู้อำนวยการ ศูนย์การอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ และ พลังงานทหาร เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ กองบัญชาการกองทัพไทย (อัตราพลโท)
100. พล.ท.รัชชัย ผดุงวัย ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ กองบัญชาการทหารสูงสุด เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ กองบัญชาการกองทัพไทย (อัตราพลโท)
101. พล.ท.พิเศษพร พุธานานนท์ ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ กองบัญชาการทหารสูงสุด เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ กองบัญชาการกองทัพไทย (อัตราพลโท)
102. พล.ท.ชยุติ สุวรรณมาศ ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ กองบัญชาการทหารสูงสุด เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ กองบัญชาการกองทัพไทย (อัตรา พลโท)
103. พล.ท.โกวิท อุทัยฉาย ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ กองบัญชาการทหารสูงสุด เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ กองบัญชาการกองทัพไทย (อัตรา พลโท)
104. พล.ท.เชวงศักดิ์ ทองสลวย ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ กองบัญชาการทหารสูงสุด เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ กองบัญชาการกองทัพไทย (อัตราพลโท)
105. พล.ท.ยงยุทธ เมฆรัต ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ กองบัญชาการทหารสูงสุด เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ กองบัญชาการกองทัพไทย (อัตราพลโท)
106. พล.ท.ยุทธพงษ์ พวงทอง ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ กองบัญชาการทหารสูงสุด เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ กองบัญชาการกองทัพไทย (อัตราพลโท)
107. พล.ท.วิษณุ ประยูรศร ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ กองบัญชาการทหารสูงสุด เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ กองบัญชาการกองทัพไทย (อัตรา พลโท)
108. พล.ท.รังสฤษดิ์ แจ้งเจนกิจ ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ กองบัญชาการทหารสูงสุด เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ กองบัญชาการกองทัพไทย (อัตราพลโท)
109. พล.ท.ปฏิพนธ์ กุลพิจิตร ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ กองบัญชาการทหารสูงสุด เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ กองบัญชาการกองทัพไทย (อัตราพลโท)
110. พล.ท.ปริญญา บูรณางกูร ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ กองบัญชาการทหารสูงสุด เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ กองบัญชาการกองทัพไทย (อัตราพลโท)
111. พล.ท.นพรัตน์ ยอดวิมล ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ กองบัญชาการทหารสูงสุด เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ กองบัญชาการกองทัพไทย (อัตราพลโท)
112. พล.ท.นภดล การุณยะวนิช ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ กองบัญชาการทหารสูงสุด เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ กองบัญชาการกองทัพไทย (อัตราพลโท)
113. พล.ท.สุรพันธ์ ศรีสาคร ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ กองบัญชาการทหารสูงสุด เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ กองบัญชาการกองทัพไทย (อัตราพลโท)
114. พล.ท.ราเมศว์ ดารามาศ ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ กองบัญชาการทหารสูงสุด เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ กองบัญชาการกองทัพไทย (อัตราพลโท)
115. พล.ท.วีรศักดิ์ มณีอินทร์ ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ กองบัญชาการทหารสูงสุด เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ กองบัญชาการกองทัพไทย (อัตราพลโท)
116. พล.ท.ธนศักดิ์ สุทธิเทศ ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ กองบัญชาการทหารสูงสุด เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ กองบัญชาการกองทัพไทย (อัตราพลโท)
117. พล.ท.กฤษพนธิ์ ปานะสูตร ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ กองบัญชาการทหารสูงสุด เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ กองบัญชาการกองทัพไทย (อัตราพลโท)
118. พล.ท.ศุภชัย โพธิ์ทองนาค ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ กองบัญชาการทหารสูงสุด เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ กองบัญชาการกองทัพไทย (อัตราพลโท)
119. พล.ท.อาจศักดิ์ ถาวรฉันท์ ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ กองบัญชาการทหารสูงสุด เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ กองบัญชาการกองทัพไทย (อัตราพลโท)
120. พล.ท.มารุต ปัชโชตะสิงห์ ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ กองบัญชาการทหารสูงสุด เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ กองบัญชาการกองทัพไทย (อัตราพลโท)
121. พล.ท.ทวีศักดิ์ สารโกศล ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ กองบัญชาการทหารสูงสุด เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ กองบัญชาการกองทัพไทย (อัตราพลโท)
122. พล.ท.อัธยา สุคนธสิงห์ ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ กองบัญชาการทหารสูงสุด เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ กองบัญชาการกองทัพไทย (อัตรา พลโท)
123. พล.ท.ภัสสร อิศรางกูร ณ อยุธยา ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ กองบัญชาการทหารสูงสุด เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ กองบัญชาการกองทัพไทย (อัตราพลโท)
124. พล.ท.ไชยเดช บุญรอด ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ กองบัญชาการทหารสูงสุด เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ กองบัญชาการกองทัพไทย (อัตรา พลโท)
125. พล.ท.อุชุกร สาครนาวิน ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ กองบัญชาการทหารสูงสุด เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ กองบัญชาการกองทัพไทย (อัตราพลโท)
126. พล.ต.อมรเทพ โรจนสโรค รองเจ้ากรม แผนที่ทหาร ฝ่ายบริหาร เป็น เจ้ากรม แผนที่ทหาร
127. พล.ต.นรวีร์ ปัทมสถาน ผู้ทรงคุณวุฒิ กองบัญชาการทหารสูงสุด เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ กองบัญชาการกองทัพไทย (อัตราพลโท)

128. พล.ต.สุพจน์ ธำมรงค์รัตน์ รองเจ้ากรม กิจการชายแดนทหาร เป็น ผู้อำนวยการ สำนักนโยบาย และ แผน กรมยุทธการทหาร
129. พล.ต.พงศธร ฉายกำเหนิด ผู้อำนวยการ สำนักนโยบายและแผน กรมยุทธการทหาร เป็น รองเจ้ากรม กิจการชายแดนทหาร
130. พล.ต.บุญเลิศ ทัศนครองสินธุ์ รองเจ้ากรม แผนที่ทหาร ฝ่ายวิชาการ เป็น รองเจ้ากรม แผนที่ทหาร ฝ่ายบริหาร
131. พล.ต.นพดล โชติศิริ รองเจ้ากรม แผนที่ทหาร ฝ่ายปฏิบัติการ เป็น รองเจ้ากรม แผนที่ทหาร ฝ่ายวิชาการ
132. พล.ต.รวมพล มีชูอรรถ รองจเรทหาร เป็น ผู้ช่วยผู้บัญชาการ สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
133. พล.ต.สิบทิศ อักษรานุเคราะห์ รองเจ้ากรม ยุทธศึกษาทหาร เป็น รองจเรทหาร
134. พล.ต.ธวา เพ็ญเขตกรณ์ รองเจ้ากรม ยุทธศึกษาทหาร เป็น ผู้อำนวยการ สำนักปฏิบัติการเพื่อความมั่นคง กรมกิจการชายแดนทหาร
135. พล.ต.วิสิษฐ แจ้งประจักษ์ ผู้อำนวยการ สถาบันวิจัยทางยุทธศาสตร์ สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ เป็น ผู้อำนวยการศูนย์ ศึกษายุทธศาสตร์ สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
136. พล.ต.พรพิพัฒน์ เบญญศรี ผู้บัญชาการ โรงเรียนเตรียมทหาร กรมยุทธศึกษาทหาร เป็น ผู้บัญชาการ โรงเรียนเตรียมทหาร สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
137. พล.ร.ต.ดำรงค์ สารสิทธิ์ ผู้บัญชาการ โรงเรียนช่างฝีมือทหาร กรมยุทธศึกษาทหาร เป็น ผู้บัญชาการ โรงเรียนช่างฝีมือทหาร สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
138. พล.ต.ไพรัช โพธิ์อุบล เจ้ากรม การสนเทศทหาร เป็น ผู้อำนวยการ ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ กรมการสื่อสารทหาร
139. พล.ต.ลือ วิทยากาญจน์ ผู้อำนวยการ สำนักงานพัฒนาพิเศษ หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา เป็น ผู้อำนวยการ สำนักงานพัฒนาภาค 5 หน่วยบัญชาการ ทหารพัฒนา
140. พล.ต.ยุทธนา เชาวน์เชฎฐ์ ผู้ทรงคุณวุฒิ กองบัญชาการทหารสูงสุด เป็น ผู้อำนวยการ สำนักนโยบาย และแผนกำลังพล กรมกำลังพลทหาร
141. พล.ต.วสันต์ สุริยมงคล ผู้ทรงคุณวุฒิ กองบัญชาการทหารสูงสุด เป็น ผู้อำนวยการ สำนักข่าวกรอง กรมข่าวทหาร
142. พล.ต.บัณฑิตย์ บุณยะปาน เลขานุการ กองบัญชาการทหารสูงสุด เป็น เลขานุการ กองบัญชาการกองทัพไทย
143. พล.ร.ต.ภวัต วิชัยดิษฐ ผู้ชำนาญการ กองบัญชาการทหารสูงสุด เป็น ผู้ชำนาญการ กองบัญชาการกองทัพไทย
144. พล.อ.ต.หญิง ศิริภร หิตะศิริ ผู้ชำนาญการ กองบัญชาการทหารสูงสุด เป็น ผู้ชำนาญการ กองบัญชาการกองทัพไทย
145. พล.ต.ชัชวาลย์ จรูญรัชฎ์ ผู้ชำนาญการ กองบัญชาการทหารสูงสุด เป็น ผู้ชำนาญการ กองบัญชาการกองทัพไทย
146. พล.ต.คณิต สารพานิช ผู้ชำนาญการ กองบัญชาการทหารสูงสุด เป็น ผู้ชำนาญการ กองบัญชาการกองทัพไทย
147. พล.ต.อำพลศิลป์ ประมุขชัย นายทหารฝ่ายเสนาธิการ ประจำ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิ กองบัญชาการกองทัพไทย
148. พล.ต.นเรนทร์ สิริภูบาล นายทหารฝ่ายเสนาธิการ ประจำ รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงกลาโหม เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิ กองบัญชาการกองทัพไทย
149. พล.ต.พงศกร รอดชมภู ผู้ทรงคุณวุฒิ กองบัญชาการทหารสูงสุด เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิ กองบัญชการกองทัพไทย
150. พล.ต.ดุษฎี ภูลสนอง ผู้ทรงคุณวุฒิ กองบัญชาการทหารสูงสุด เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิ กองบัญชาการกองทัพไทย
151. พล.ต.ฤทธิยะ เกิดสุข ผู้ทรงคุณวุฒิ กองบัญชาการทหารสูงสุด เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิ กองบัญชาการกองทัพไทย
152. พล.ต.ดำรงศักดิ์ จำปาถิ่น ผู้ทรงคุณวุฒิ กองบัญชาการทหารสูงสุด เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิ กองบัญชาการกองทัพไทย
153. พล.ต.สราภัย ประหารข้าศึก ผู้ทรงคุณวุฒิ กองบัญชาการทหารสูงสุด เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิ กองบัญชาการกองทัพไทย
154. พล.ต.หญิง วนิดา ศุภสมุทร ผู้ทรงคุณวุฒิ กองบัญชาการทหารสูงสุด เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิ กองบัญชาการกองทัพไทย
155. พล.ต.สุวรรณ สมิงแก้ว ผู้ทรงคุณวุฒิ กองบัญชาการทหารสูงสุด เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิ กองบัญชาการกองทัพไทย
156. พล.อ.ต.ทศพร วรกิตติ ผู้ทรงคุณวุฒิ กองบัญชาการทหารสูงสุด เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิ กองบัญชาการกองทัพไทย
157. พล.ต.สรรเพชญ พานิช ผู้ทรงคุณวุฒิ กองบัญชาการทหารสูงสุด เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิ กองบัญชาการกองทัพไทย
158. พล.ต.สุระพันธุ์ อินทรบัวศรี ผู้ทรงคุณวุฒิ กองบัญชาการทหารสูงสุด เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิ กองบัญชาการกองทัพไทย
159. พล.ต.กิติ มีคุณ ผู้ทรงคุณวุฒิ กองบัญชาการทหารสูงสุด เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิ กองบัญชาการกองทัพไทย
160. พล.ต.วรพล มีพลัง ผู้ทรงคุณวุฒิ กองบัญชาการทหารสูงสุด เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิ กองบัญชาการกองทัพไทย
161. พล.ต.คณากร จินตนานนท์ ผู้ทรงคุณวุฒิ กองบัญชาการทหารสูงสุด เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิ กองบัญชาการกองทัพไทย
162. พล.ต.สุริยน เผือกสกนธ์ ผู้ทรงคุณวุฒิ กองบัญชาการทหารสูงสุด เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิ กองบัญชาการกองทัพไทย
163. พล.อ.ต. ณรงค์ชัย พันธุ์พิริยะ ผู้ทรงคุณวุฒิ กองบัญชาการทหารสูงสุด เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิ กองบัญชาการกองทัพไทย
164. พล.ต.สุมน สุรทิณฑ์ ผู้ทรงคุณวุฒิ กองบัญชาการทหารสูงสุด เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิ กองบัญชาการกองทัพไทย
165. พล.ต.พันเลิศ วงศ์วานิช ผู้ทรงคุณวุฒิ กองบัญชาการทหารสูงสุด เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิ กองบัญชาการกองทัพไทย
166. พล.ต.ณรงค์ฤทธิ์ อิศรัตน์ ผู้ทรงคุณวุฒิ กองบัญชาการทหารสูงสุด เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิ กองบัญชาการกองทัพไทย
167. พล.ต.ผจญ เจริญผล ผู้ทรงคุณวุฒิ กองบัญชาการทหารสูงสุด เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิ กองบัญชาการกองทัพไทย
168. พล.ต.ธนกฤต วิจิตร ผู้ทรงคุณวุฒิ กองบัญชาการทหารสูงสุด เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิ กองบัญชาการกองทัพไทย
169. พล.ต.ชัยกร ราษฎร์ดุษฎี ผู้ทรงคุณวุฒิ กองบัญชาการทหารสูงสุด เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิ กองบัญชาการกองทัพไทย
170. พล.ต.สมโภช นนทชัย ผู้ทรงคุณวุฒิ กองบัญชาการทหารสูงสุด เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิ กองบัญชาการกองทัพไทย
171. พล.ต.ธานี วสวานนท์ ผู้ทรงคุณวุฒิ กองบัญชาการทหารสูงสุด เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิ กองบัญชาการกองทัพไทย
172. พล.ต.ประเสริฐสุทธิ์ ทองขาว ผู้ทรงคุณวุฒิ กองบัญชาการทหารสูงสุด เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิ กองบัญชาการกองทัพไทย
173. พล.ต.หญิง กรรณิกา ศศิประภา ผู้ทรงคุณวุฒิ กองบัญชาการทหารสูงสุด เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิ กองบัญชาการกองทัพไทย
174. พล.ต.ปีย์ โสภัณณา ผู้ทรงคุณวุฒิ กองบัญชาการทหารสูงสุด เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิ กองบัญชาการกองทัพไทย
175. พล.ต.จิระ เกษเกษม ผู้ทรงคุณวุฒิ กองบัญชาการทหารสูงสุด เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิ กองบัญชาการกองทัพไทย
176. พล.ต.วีระ วงศ์สรรค์ ผู้ทรงคุณวุฒิ กองบัญชาการทหารสูงสุด เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิ กองบัญชาการกองทัพไทย
177. พล.ต.องอาจ รัตนวิชัย ผู้ทรงคุณวุฒิ กองบัญชาการทหารสูงสุด เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิ กองบัญชาการกองทัพไทย
178. พล.ต.ชัยฤกษ์ แก้วพรหมมาลย์ ผู้ทรงคุณวุฒิ กองบัญชาการทหารสูงสุด เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิ กองบัญชาการกองทัพไทย
179. พล.อ.ต.สมเกียรติ พิมพ์มีลาย ผู้ทรงคุณวุฒิ กองบัญชาการทหารสูงสุด เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิ กองบัญชาการกองทัพไทย
180. พล.อ.ต.ประสิทธิ์ ธนณาเคนทร์ ผู้ทรงคุณวุฒิ กองบัญชาการทหารสูงสุด เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิ กองบัญชาการกองทัพไทย
181. พล.ต.ผณิศวร จันทวรินทร์ ผู้ทรงคุณวุฒิ กองบัญชาการทหารสูงสุด เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิ กองบัญชาการกองทัพไทย
182. พล.ต.ปพน เมฆานุวัตน์ ผู้ทรงคุณวุฒิ กองบัญชาการทหารสูงสุด เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิ กองบัญชาการกองทัพไทย
183. พล.ต.ชัยรัฐ ยิ่งยง ผู้ทรงคุณวุฒิ กองบัญชาการทหารสูงสุด เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิ กองบัญชาการกองทัพไทย
184. พล.ต.หญิง ทิพย์สุรีย์ นาคประสิทธิ์ ผู้ทรงคุณวุฒิ กองบัญชาการทหารสูงสุด เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิ กองบัญชาการกองทัพไทย
185. พล.ต.ชัยกรณ์ นิลเจริญ ผู้ทรงคุณวุฒิ กองบัญชาการทหารสูงสุด เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิ กองบัญชาการกองทัพไทย
186. พล.ต.เกรียงไกร บุรินทร์วัฒนา ผู้ทรงคุณวุฒิ กองบัญชาการทหารสูงสุด เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิ กองบัญชาการกองทัพไทย
187. พล.ต.วะรงค์ฉัตร ยุทธนาวชพงศ์ ผู้ทรงคุณวุฒิ กองบัญชาการทหารสูงสุด เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิ กองบัญชาการกองทัพไทย
188. พล.ต.กฤษดา ปุณยวุฒิพงศ์ ผู้ทรงคุณวุฒิ กองบัญชาการทหารสูงสุด เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิ กองบัญชาการกองทัพไทย
189. พล.ต.พิพัฒน์ เหรียญบุบผา ผู้ทรงคุณวุฒิ กองบัญชาการทหารสูงสุด เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิ กองบัญชาการกองทัพไทย
190. พล.ต.หญิง อิสริยา จารุวัติ ผู้ทรงคุณวุฒิ กองบัญชาการทหารสูงสุด เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิ กองบัญชาการกองทัพไทย
191. พล.ต.นรินทร์ มุทุกันต์ ผู้ทรงคุณวุฒิ กองบัญชาการทหารสูงสุด เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิ กองบัญชาการกองทัพไทย
192. พล.ต.ธรรมรัตน์ นักรำ ผู้ทรงคุณวุฒิ กองบัญชาการทหารสูงสุด เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิ กองบัญชาการกองทัพไทย
193. พล.ต.อัชฌพงศ์ ปกรณ์ยุทธ ผู้ทรงคุณวุฒิ กองบัญชาการทหารสูงสุด เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิ กองบัญชาการกองทัพไทย
194. พล.ต.จตุพร เจียมสมบูรณ์ ผู้ทรงคุณวุฒิ กองบัญชาการทหารสูงสุด เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิ กองบัญชาการกองทัพไทย
195. พล.ต.ทรงบุญ วุฒิวงศ์ ผู้ทรงคุณวุฒิ กองบัญชาการทหารสูงสุด เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิ กองบัญชาการกองทัพไทย
196. พล.ต.นพดล สร้อยสยัมภู ผู้ทรงคุณวุฒิ กองบัญชาการทหารสูงสุด เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิ กองบัญชาการกองทัพไทย
197. พล.ต.วิเศษ อินทรวงส์สักดิ์ ผู้ทรงคุณวุฒิ กองบัญชาการทหารสูงสุด เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิ กองบัญชาการกองทัพไทย
198. พล.ต.เอนก แสงสุก ผู้ทรงคุณวุฒิ กองบัญชาการทหารสูงสุด เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิ กองบัญชาการกองทัพไทย
199. พล.ต.รุจ กสิวุฒิ ผู้ทรงคุณวุฒิ กองบัญชาการทหารสูงสุด เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิ กองบัญชาการกองทัพไทย
200. พล.ต.ทรงศักดิ์ สหสมโชค ผู้ทรงคุณวุฒิ กองบัญชาการทหารสูงสุด เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิ กองบัญชาการกองทัพไทย
201. พล.ต.วทัญญู เอี่ยมวรกุล ผู้ทรงคุณวุฒิ กองบัญชาการทหารสูงสุด เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิ กองบัญชาการกองทัพไทย
202. พล.อ.ต.หญิง เกศจี พินิจอักษร ผู้ทรงคุณวุฒิ กองบัญชาการทหารสูงสุด เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิ กองบัญชาการกองทัพไทย
203. พล.ต.ธนันท์ มนูนิมิตร ผู้ทรงคุณวุฒิ กองบัญชาการทหารสูงสุด เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิ กองบัญชาการกองทัพไทย
204. พล.ต.สิทธิพร สุวรรณพันธ์ ผู้ทรงคุณวุฒิ กองบัญชาการทหารสูงสุด เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิ กองบัญชาการกองทัพไทย
205. พล.ต.ปราโมทย์ ชนไมตรี ผู้ทรงคุณวุฒิ กองบัญชาการทหารสูงสุด เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิ กองบัญชาการกองทัพไทย
206. พล.ต.ไสยสิทธิ์ บุณยรัตพันธุ์ ผู้ทรงคุณวุฒิ กองบัญชาการทหารสูงสุด เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิ กองบัญชาการกองทัพไทย
207. พล.ต.อดุลย์ศักดิ์ บุญวัฒนะกุล ผู้ทรงคุณวุฒิ กองบัญชาการทหารสูงสุด เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิ กองบัญชาการกองทัพไทย
208. พล.ต.ปานศิริ มีผล ผู้ทรงคุณวุฒิ กองบัญชาการทหารสูงสุด เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิ กองบัญชาการกองทัพไทย
209. พล.ต.นพ หิญชีระนันทน์ ผู้ทรงคุณวุฒิ กองบัญชาการทหารสูงสุด เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิ กองบัญชาการกองทัพไทย
210. พล.ต.มานะ เจริญวงศ์ ผู้ทรงคุณวุฒิ กองบัญชาการทหารสูงสุด เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิ กองบัญชาการกองทัพไทย
211. พล.ต.สุรยุทธ์ ชาญกลราวี ผู้ทรงคุณวุฒิ กองบัญชาการทหารสูงสุด เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิ กองบัญชาการกองทัพไทย
212. พล.ต.ณฐ พรจุลศักดิ์ ผู้ทรงคุณวุฒิ กองบัญชาการทหารสูงสุด เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิ กองบัญชาการกองทัพไทย
213. พล.อ.ต.อนันต์ สุขพลอย ผู้ทรงคุณวุฒิ กองบัญชาการทหารสูงสุด เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิ กองบัญชาการกองทัพไทย
214. พล.ต.พิสุทธิ์ เปาอินทร์ ผู้ทรงคุณวุฒิ กองบัญชาการทหารสูงสุด เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิ กองบัญชาการกองทัพไทย
215. พล.ต.สุวัฒน์ เจียมอ่อน ผู้ทรงคุณวุฒิ กองบัญชาการทหารสูงสุด เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิ กองบัญชาการกองทัพไทย
216. พล.ต.หญิง เชาวนี แย้มสอาด ผู้ทรงคุณวุฒิ กองบัญชาการทหารสูงสุด เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิ กองบัญชาการกองทัพไทย
217. พล.ต.ประชุม มธุรมน ผู้ทรงคุณวุฒิ กองบัญชาการทหารสูงสุด เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิ กองบัญชาการกองทัพไทย
218. พล.ต.ชาติชาย เกษมวงศ์ ผู้ทรงคุณวุฒิ กองบัญชาการทหารสูงสุด เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิ กองบัญชาการกองทัพไทย
219. พล.อ.ต.พิชัย รัตนภาณุ ผู้ทรงคุณวุฒิ กองบัญชาการทหารสูงสุด เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิ กองบัญชาการกองทัพไทย
220. พล.ต.องอาจ หินอ่อน ผู้ทรงคุณวุฒิ กองบัญชาการทหารสูงสุด เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิ กองบัญชาการกองทัพไทย
221. พล.ต.สานิต เทพวัลย์ ผู้ทรงคุณวุฒิ กองบัญชาการทหารสูงสุด เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิ กองบัญชาการกองทัพไทย
222. พล.ต.ธีรจิตต์ นิพิทสุขการ ผู้ทรงคุณวุฒิ กองบัญชาการทหารสูงสุด เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิ กองบัญชาการกองทัพไทย
223. พล.ต.อรุณ ศาสตรสิทธิกร ผู้ทรงคุณวุฒิ กองบัญชาการทหารสูงสุด เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิ กองบัญชาการกองทัพไทย
224. พล.ต.วัฒนา ชีโสตร์ ผู้ทรงคุณวุฒิ กองบัญชาการทหารสูงสุด เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิ กองบัญชาการกองทัพไทย
225. พล.อ.ต.สมภพ ตันศิริ ผู้ทรงคุณวุฒิ กองบัญชาการทหารสูงสุด เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิ กองบัญชาการกองทัพไทย
226. พล.ต.วินัย ยวดยิ่ง ผู้ทรงคุณวุฒิ กองบัญชาการทหารสูงสุด เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิ กองบัญชาการกองทัพไทย
227. พล.ต.สุรทัศน์ อายุวัฒน์ ผู้ทรงคุณวุฒิ กองบัญชาการทหารสูงสุด เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิ กองบัญชาการกองทัพไทย
228. พล.ต.สมบูรณ์ แก้วอยู่ ผู้ทรงคุณวุฒิ กองบัญชาการทหารสูงสุด เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิ กองบัญชาการกองทัพไทย
229. พล.ต.อาจศึก สุวรรณธาดา ผู้ทรงคุณวุฒิ กองบัญชาการทหารสูงสุด เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิ กองบัญชาการกองทัพไทย
230. พล.ต.หญิง สุณิสา เขตตะสิริ ผู้ทรงคุณวุฒิ กองบัญชาการทหารสูงสุด เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิ กองบัญชาการกองทัพไทย

231. พ.อ.ณัศพล กันตะปิติ เป็น นายทหารฝ่ายเสนาธิการ ประจำ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด
232. พ.อ.วินัย เสมสวัสดิ์ เป็น รองเจ้ากรม แผนที่ทหาร ฝ่ายปฏิบัติการ
233. พ.อ.สหัสส์ สูงใหญ่ เป็น ผู้อำนวยการ สำนักปฏิบัติการ กรมยุทธการทหาร
234. พ.อ.วิเชียร แนบเนียน เป็น ผู้อำนวยการ สำนักส่งกำลังบำรุงร่วม กรมส่งกำลังบำรุงทหาร
235. น.อ.นพดล กาฬดิษย์ เป็น ผู้อำนวยการ สำนักบริหารสิ่งอุปกรณ์ กรมส่งกำลังบำรุงทหาร
236. พ.อ.ปรารถ สระวาสี เป็น ผู้อำนวยการ สำนักปฏิบัติการกิจการพลเรือน กรมกิจการพลเรือนทหาร


กองทัพบก

237. พล.ท.โสภณ ดิษฐแย้ม แม่ทัพน้อยที่ 2 เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ กองทัพบก (อัตราพลเอก)
238. พล.ท.ดุสิต เครือใย ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ กองทัพบก เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ กองทัพบก (อัตราพลเอก)

239. พล.ท.มาโนช เปรมวงศ์ศิริ ผู้ช่วยเสนาธิการทหารบก ฝ่ายกิจการพลเรือน เป็น รองเสนาธิการทหารบก
240. พล.ท.อภิชัย พิณสายแก้ว ผู้บัญชาการ สถาบันวิชาการทหารบกชั้นสูง เป็น ผู้ช่วยเสนาธิการทหารบก ฝ่ายกิจการพลเรือน
241. พล.ท.สิงห์ศึก สิงห์ไพร ผู้บัญชาการ หน่วยบัญชาการกำลังสำรอง เป็น ผู้บัญชาการ หน่วยบัญชาการรักษาดินแดน
242. พล.ท.ปกิต สันตินิยม รองผู้บัญชาการ หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ กองทัพบก (อัตราพลโท)
243. พล.ต.จิระเดช โมกขะสมิต รองแม่ทัพภาคที่ 1 เป็น แม่ทัพน้อยที่ 1
244. พล.ต.วีร์วลิต จรสัมฤทธิ์ รองแม่ทัพภาคที่ 2 เป็น แม่ทัพน้อยที่ 2
245. พล.ต.ธานินท์ เกตุทัต รองแม่ทัพภาคที่ 3 เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ กองทัพบก (อัตราพลโท)
246. พล.ต.อชิตพล วัดบัว รองเจ้ากรม การทหารช่าง เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ กองทัพบก (อัตราพลโท)
247. พล.ต.สุวินัย นิภาวรรณ ผู้บัญชาการ กองพลทหารราบที่ 11 เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ กองทัพบก (อัตราพลโท)
248. พล.ต.ประยุทธ เมฆวิชัย ผู้บัญชาการ กองพลทหารปืนใหญ่ เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ กองทัพบก (อัตราพลโท)
249. พล.ต.เผ่าพงศ์ พงศ์เหล่าขำ ผู้บัญชาการ ศูนย์สงครามพิเศษ เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพบก (อัตราพลโท)
250. พล.ต.สุรพล ฤกษ์สำราญ ผู้บัญชาการ มณฑลทหารบกที่ 23 เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ กองทัพบก (อัตราพลโท)
251. พล.ต.ชูชัย สินไชย ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ กองทัพบก เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ กองทัพบก (อัตราพลโท)
252. พล.ต.ณัฐพล สมคะเน ผู้ทรงคุณวุฒิ กองทัพบก เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ กองทัพบก (อัตราพลโท)
253. พล.ต.ผัสสไชย เจิงกลิ่นจันทน์ ผู้ทรงคุณวุฒิ กองทัพบก เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ กองทัพบก (อัตราพลโท)
254. พล.ต.ณรงค์ศักดิ์ ภู่อารีย์ ผู้ทรงคุณวุฒิ กองทัพบก เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ กองทัพบก (อัตราพลโท)
255. พล.ต.นริศ กรุณารักษ์ ผู้ทรงคุณวุฒิ สำนักงานปลัด กระทรวงกลาโหม เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ กองทัพบก (อัตราพลโท)

256. พล.ต.วิชิต ศรีประเสริฐ ผู้บัญชาการ มณฑลทหารบกที่ 12 เป็น รองแม่ทัพภาคที่ 1
257. พล.ต.กนก เนตระคเวสนะ ผู้บัญชาการ กองพลทหารราบที่ 6 เป็น รองแม่ทัพภาคที่ 2
258. พล.ต.ธงชัย เทพารักษ์ ผู้บัญชาการ มณฑลทหารบกที่ 33 เป็น รองแม่ทัพภาคที่ 3
259. พล.ต.นิพนธ์ ปานมงคล ผู้บัญชาการ กองพลทหารช่าง เป็น รองเจ้ากรม การทหารช่าง
260. พล.ต.บุณยวัจน์ เครือหงส์ ผู้อำนวยการ สำนักงานตรวจบัญชี กองทัพบก เป็น ผู้อำนวยการ สำนักงานตรวจสอบภายใน ทหารบก
261. พล.ต.ธีระ ไกรพานนท์ ผู้อำนวยการ สำนักงาน ประสานการวิจัย และ พัฒนาการทางทหาร กองทัพบก เป็น ผู้อำนวยการ สำนักงาน วิจัย และ พัฒนาการทางทหาร กองทัพบก
262. พล.ต.ธนดล เผ่าจินดา รองผู้บัญชาการ หน่วยบัญชาการกำลังสำรอง เป็น รองผู้บัญชาการ หน่วยบัญชาการ รักษาดินแดน
263. พล.ต.ปิยะ รักประกอบ รองผู้บัญชาการ หน่วยบัญชาการกำลังสำรอง เป็น รองผู้บัญชาการ หน่วยบัญชาการ รักษาดินแดน
264. พล.ต.บัญชา สิทธิวรยศ รองผู้บัญชาการ สถาบันวิชาการทหารบกชั้นสูง เป็น รองเจ้ากรม ยุทธศึกษาทหารบก
265. พล.ต.มุ่งสืบ ตะกรุดแก้ว เสนาธิการ หน่วยบัญชาการกำลังสำรอง เป็น เสนาธิการ หน่วยบัญชาการ รักษาดินแดน
266. พล.ต.ไพรัช ขยันสำรวจ เสนาธิการ สถาบันวิชาการทหารบกชั้นสูง เป็น ผู้อำนวยการ ศูนย์พัฒนาหลักนิยม และ ยุทธศาสตร์ กรมยุทธศึกษา ทหารบก
267. พล.ต.ธราธร ศรียะพันธ์ ผู้บัญชาการ วิทยาลัยการทัพบก สถาบัน วิชาการทหารบกชั้นสูง เป็น ผู้บัญชาการ วิทยาลัยการทัพบก
268. พล.ต.ชูศักดิ์ เมฆสุวรรณ์ ผู้บัญชาการ โรงเรียนเสนาธิการทหารบก สถาบัน วิชาการทหารบกชั้นสูง เป็น ผู้บัญชาการ โรงเรียนเสนาธิการทหารบก
269. พล.ต.สุรพันธ์ พวงเพ็ชร์ ผู้ทรงคุณวุฒิ กองทัพบก เป็น ผู้บัญชาการ มณฑลทหารบกที่ 12
270. พล.ต.กัมปนาท รุดดิษฐ์ ผู้บังคับการ จังหวัดทหารบก เพชรบุรี เป็น ผู้บัญชาการ มณฑลทหารบกที่ 15
271. พล.ต.สมชาย อัครวณิชชา ผู้บัญชาการ กองพลพัฒนาที่ 2 เป็น ผู้บัญชาการ มณฑลทหารบกที่ 23
272. พล.ต.ชานุกร ตัณฑโกศล ผู้บังคับการ จังหวัดทหารบก เชียงราย เป็น ผู้บัญชาการ มณฑลทหารบกที่ 33
273. พล.ต.ศุภวุฒิ อุตมะ ผู้บัญชาการ กองพลรบพิเศษที่ 1 เป็น ผู้บัญชาการ ศูนย์สงครามพิเศษ
274. พล.ต.เชิดชัย จันทร์เทศ เสนาธิการ หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ เป็น ผู้บัญชาการ กองพลรบพิเศษที่ 1
275. พล.ต.สูตร จรูญชาติ ผู้บัญชาการ ศูนย์การกำลังสำรอง เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิ กองทัพบก
276. พล.ต.สัมพันธ์ ศรีราชบัวผัน หัวหน้าสำนักงาน เลขานุการรัฐมนตรี เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิ กองทัพบก
277. พล.ต.นักรบ บุญบัวทอง นายทหาร ฝ่ายเสนาธิการ ประจำรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงกลาโหม เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิ กองทัพบก
278. พล.ต.สุรนาท สุวรรณนาคร ผู้ทรงคุณวุฒิ กองทัพบก เป็น ผู้บัญชาการ กองพลพัฒนาที่ 2
279. พล.ต.ยศนันท์ หร่ายเจริญ ผู้ทรงคุณวุฒิ กองทัพบก เป็น ผู้บัญชาการ กองพลทหารราบที่ 11
280. พล.ต.สุกิจ เนื่องจำนงค์ ผู้ทรงคุณวุฒิ กองทัพบก เป็น ผู้บัญชาการ กองพลทหารปืนใหญ่
281. พล.ต.ชูเกียรติ เธียรสุนทร ผู้ทรงคุณวุฒิ กองทัพบก เป็น ผู้บัญชาการ ศูนย์การกำลังสำรอง
282. พล.ต.อุกฤษฎ์ ณรงค์วิทย์ ผู้ชำนาญการ กองทัพบก เป็น ผู้บังคับการ จังหวัดทหารบก กาญจนบุรี
283. พล.ต.เยาวดนัย ภู่เจริญยศ ผู้ทรงคุณวุฒิ กองทัพบก เป็น ผู้บังคับการ จังหวัดทหารบก ราชบุรี
284. พล.ต.ประสงค์ บุตรขวัญ ผู้ทรงคุณวุฒิ กองทัพบก เป็น ผู้บังคับการ จังหวัดทหารบก สระบุรี
285. พล.ต.พันธ์ศักดิ์ จันทร์ด้ง ผู้บังคับการ จังหวัดทหารบก อุตรดิตถ์ เป็น ผู้บังคับการ จังหวัดทหารบก เพชรบูรณ์
286. พ.อ.ชวลิต ชุนประสาน เป็น ผู้บัญชาการ กองพลทหารราบที่ 6
287. พ.อ.ชยันต์ หวยสูงเนิน เป็น ผู้บังคับการ จังหวัดทหารบก ร้อยเอ็ด
288. พ.อ.พีรวัฒน์ เปรมศรี เป็น ผู้บังคับการ จังหวัดทหารบก อุตรดิตถ์
289. พ.อ.นิวัติชัย ถนอมธรรม เป็น ผู้บังคับการ จังหวัดทหารบก พิษณุโลก
290. พ.อ.อเนก อินทร์อำนวย เป็น ผู้บังคับการ จังหวัดทหารบก เชียงราย
291. พ.อ.โชค เพิกโสภณ เป็น ผู้บังคับการ จังหวัดทหารบก ทุ่งสง
292. พ.อ.ชาญประดิษฐ์ แสงนิล เป็น ผู้บังคับการ จังหวัดทหารบก ปัตตานี
293. พ.อ.เฉลิมชัย สิทธิสารท เป็น เสนาธิการ หน่วยบัญชาการ สงครามพิเศษ
294. พ.อ.คณิต แจ่มจันทรา เป็น ผู้บัญชาการ กองพลทหารช่าง
295. พ.อ.พงษ์แก้ว อัศวเวทสถิต เป็น นายทหาร ฝ่ายเสนาธิการ ประจำผู้บังคับบัญชา สำนักงานผู้บังคับบัญชา กองทัพบก (อัตราพลตรี)
296. พ.อ.วศิน ถนัดช่าง เป็น ผู้ชำนาญการ กองทัพบก
297. พ.อ.กิตติพันธ์ นพวงศ์ ณ อยุธยา เป็น ผู้ชำนาญการ กองทัพบก
298. พ.อ.สันติ หาทรัพย์ เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิ กองทัพบก
299. พ.อ.คำนวน ภักดีอาษา เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิ กองทัพบก
300. พ.อ.จิรเดช สิทธิประณีต เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิ กองทัพบก
301. พ.อ.ธงชัย เสวกดรุณทร เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิ กองทัพบก
302. พ.อ.เพิ่มศักดิ์ เจริญสุข เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิ กองทัพบก
303. พ.อ.สาโรจน์ สันติวรวุฒิ เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิ กองทัพบก
304. พ.อ.วิหาร นาคกุลบุตร เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิ กองทัพบก
305. พ.อ.สุพล ไชยพิณ เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิ กองทัพบก
306. พ.อ.พิทักษ์พงษ์ สุนทรเกส เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิ กองทัพบก
307. พ.อ.สุรเดช กาญจนรัตน์ เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิ กองทัพบก
308. พ.อ.สรจักร อือนอก เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิ กองทัพบก
309. พ.อ.สิทธิชัย ดาวสุด เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิ กองทัพบก
310. พ.อ.ชวาลย์ แสงกระจ่าง เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิ กองทัพบก
311. พ.อ.รณชัย ศรีพวงวงษ์ เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิ กองทัพบก
312. พ.อ.สุเมธ ไมตรีปวิธ เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิ กองทัพบก
313. พ.อ.ทวีป บุญมา เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิ กองทัพบก
314. พ.อ.บรรยงค์ สิรสุนทร เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิ กองทัพบก
315. พ.อ.ทวีศิลป์ สงวนศักดิ์โยธิน เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิ กองทัพบก
316. พ.อ.ประเสริฐ ผกาแก้ว เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิ กองทัพบก
317. พ.อ.ชาญชิต วิมานทิพย์ เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิ กองทัพบก
318. พ.อ.นุ โชติสันต์ เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิ กองทัพบก
319. พ.อ.ภิญโญ เข็มเพ็ชร เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิ กองทัพบก
320. พ.อ.กิตติ ปทุมมาศ เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิ กองทัพบก


กองทัพเรือ

321. พล.ร.ท.วีระยุทธ อุตตะโมท ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ กองทัพเรือ เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ กองทัพเรือ (อัตราพลเรือเอก)
322. พล.ร.ท.บรรยง นิศามณีพงษ์ เจ้ากรม ยุทธศึกษาทหารเรือ เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ กองทัพเรือ (อัตราพลเรือเอก)

323. พล.ร.ท.นิคม หอมเจริญ ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ กองทัพเรือ เป็น รองเสนาธิการทหารเรือ
324. พล.ร.ท.กัมปนาท ภู่เจริญยศ ผู้บัญชาการ กองเรือภาคที่ 2 กองเรือยุทธการ เป็น ผู้บัญชาการ ทัพเรือภาคที่ 2
325. พล.ร.ท.ณรงค์ เทศวิศาล ผู้บัญชาการ กองเรือภาคที่ 1 กองเรือยุทธการ เป็น ผู้บัญชาการ ทัพเรือภาคที่ 3
326. พล.ร.ท.ศิริชัย ขนิษฐกุล เสนาธิการ กองเรือยุทธการ เป็น เจ้ากรม ยุทธการศึกษาทหารเรือ
327. พล.ร.ท.ชัยวัฒน์ พุกกะรัตน์ ผู้บัญชาการ กองเรือภาคที่ 1 กองเรือยุทธการ เป็น ผู้บัญชาการ ทัพเรือภาคที่ 1
328. พล.ร.ท.ดำรงศักดิ์ ห้าวเจริญ ผู้บัญชาการ สถาบันวิชาการทหารเรือชั้นสูง เป็น ผู้ช่วยเสนาธิการทหารเรือ ฝ่ายกิจการพลเรือน
329. พล.ร.ท.สุรศักดิ์ พุ่มพวง ผู้บัญชาการ กองเรือป้องกันฝั่ง เป็น เสนาธิการ กองเรือยุทธการ
330. พล.ร.ต.สุรินทร์ อรรฆย์วัชร ผู้ทรงคุณวุฒิ กองทัพเรือ เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ กองทัพเรือ (อัตราพลเรือโท)
331. พล.ร.ต.สุกิจ สยะนานนท์ เจ้ากรม พลาธิการทหารเรือ เป็น เจ้ากรม พลาธิการทหารเรือ (อัตราพลเรือโท)

332. พล.ร.ต.วรศักดิ์ จันหนู รองผู้บัญชาการ กองเรือภาคที่ 1 กองเรือยุทธการ เป็น รองผู้บัญชาการ ทัพเรือภาคที่ 1
333. พล.ร.ต.วีระ อ่องศรี ผู้ทรงคุณวุฒิ กองทัพเรือ เป็น รองเจ้ากรม อู่ทหารเรือ
334. พล.ร.ต.ธนภัทร แสงฉายา ผู้บัญชาการ กองเรือยุทธบริการ กองเรือยุทธการ เป็น ผู้บัญชาการ กองเรือยามฝั่ง กองเรือยุทธการ
335. พล.ร.ต.วีระวงศ์ ธวมงคล ผู้ทรงคุณวุฒิ กองทัพเรือ เป็น รองผู้อำนวยการ อู่ทหารเรือพระจุลจอมเกล้า กรมอู่ทหารเรือ
336. พล.ร.ต.สุรชัย สังขพงศ์ รองผู้บัญชาการ กองเรือป้องกันฝั่ง เป็น รองผู้บัญชาการ ทัพเรือภาคที่ 1
337. พล.ร.ต.ธนุส สุญาณเศรษฐกร ผู้บัญชาการ กองเรือยกพลขึ้นบก กองเรือยุทธการ เป็น ผู้บัญชาการ กองเรือยกพลขึ้นบก และ ยุทธบริการ กองเรือยุทธการ
338. พล.ร.ต.ธงชัย ใจเย็น รองผู้บัญชาการ กองเรือภาคที่ 2 กองเรือยุทธการ เป็น รองผู้บัญชาการ ทัพเรือภาคที่ 2
339. พล.ร.ต.บงกช ผาสุข รองเจ้ากรม อู่ทหารเรือ เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิ กองทัพเรือ
340. พล.ร.ต.ชัยวัฒน์ ศรีอักขรินทร์ ผู้บัญชาการ กองการฝึก กองเรือยุทธการ เป็น รองปลัด บัญชีทหารเรือ
341. พล.ร.ต.สุพจน์ สุดประเสริฐ ผู้ชำนาญการ กองทัพเรือ เป็น ผู้อำนวยการ ศูนย์ศึกษายุทธศาสตร์ทหารเรือ กรมยุทธศึกษาทหารเรือ
342. พล.ร.ต.พลวัฒน์ สิโรดม ผู้บัญชาการ โรงเรียนเสนาธิการทหารเรือ สถาบัน วิชาการทหารเรือชั้นสูง เป็น ผู้บัญชาการ วิทยาลัยการทัพเรือ กรมยุทธศึกษาทหารเรือ
343. พล.ร.ต.หญิง ประกายวรรณ ทองคำวงศ์ ผู้อำนวยการ สำนักงานตรวจบัญชีทหารเรือ เป็น ผู้อำนวยการ สำนักงานตรวจสอบภายใน ทหารเรือ
344. พล.ร.ต.ประสิทธิ์ กังสดาร รองผู้บัญชาการ กองเรือภาคที่ 2 กองเรือยุทธการ เป็น รองผู้บัญชาการ ทัพเรือภาคที่ 2
345. พล.ร.ต.พงศ์พล รัชเดช ผู้ทรงคุณวุฒิ กองทัพเรือ เป็น รองเจ้ากรม พลาธิการทหารเรือ
346. พล.ร.ต.ศรายุทธ แดงเทศ เสนาธิการ กองเรือป้องกันฝั่ง เป็น รองผู้บัญชาการ ทัพเรือภาคที่ 3
347. พล.ร.ต.ลิขิต เจริญทรัพย์ รองผู้บัญชาการ กองเรือภาคที่ 3 กองเรือยุทธการ เป็น ผู้บัญชาการ หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ ทางเรือ กองเรือยุทธการ
348. พล.ร.ต.วิทยา วงศ์เทิดธรรม ผู้บัญชาการ วิทยาลัยการทัพเรือ สถาบัน วิชาการทหารเรือชั้นสูง เป็น รองเจ้ากรม พลาธิการทหารเรือ
349. พล.ร.ต.ไกรสร จันทร์สุวานิชย์ ผู้ชำนาญการ กองทัพเรือ เป็น รองผู้บัญชาการ โรงเรียนนายเรือ
350. พล.ร.ต.ทวีชัย บุญอนันต์ รองปลัดบัญชี ทหารเรือ เป็น ผู้อำนวยการ สำนักงานจัดหา ยุทโธปกรณ์ทหารเรือ
351. พล.ร.ต.มานิตย์ สูนนาดำ ผู้อำนวยการ อู่ราชนาวีมหิดลอดุลยเดช กรมอู่ทหารเรือ เป็น เจ้ากรม พัฒนาการช่าง กรมอู่ทหารเรือ
352. พล.ร.ต.ณรพนธ์ ตันวิเชียร ผู้อำนวยการ ศูนย์ส่งกำลัง ฐานทัพเรือสัตหีบ เป็น ผู้อำนวยการ ศูนย์ส่งกำลัง กรมพลาธิการทหารเรือ
353. พล.ร.ต.สุธีร์ ธรรมประดิษฐ์ ผู้บัญชาการ กองเรือป้องกันฝั่งเขต 1 กองเรือป้องกันฝั่ง เป็น ผู้ช่วยหัวหน้าคณะ นายทหารฝ่ายเสนาธิการ ประจำผู้บังคับบัญชา
354. พล.ร.ต.สานนท์ เปล่งขำ ผู้ทรงคุณวุฒิ กองทัพเรือ เป็น ผู้อำนวยการ การท่าเรือสัตหีบ ฐานทัพเรือสัตหีบ
355. พล.ร.ต.ประยุทธ์ เกิดภู่ รองผู้บัญชาการ กองเรือปัองกันฝั่ง เป็น ผู้ชำนาญการ กองทัพเรือ
356. พล.ร.ต.มนตรี สระแก้ว หัวหน้าฝ่ายศึกษา โรงเรียนนายเรือ เป็น เสนาธิการ โรงเรียนนายเรือ
357. พล.ร.ต.สิริศักดิ์ บุญยศักดิ์ รองผู้บัญชาการ กองเรือภาคที่ 3 กองเรือยุทธการ เป็น ผู้ชำนาญการ กองทัพเรือ
358. พล.ร.ต.มล.อนุนพนันท์ นวรัตน์ ผู้ทรงคุณวุฒิ กองทัพเรือ เป็น เจ้ากรม แผนการช่าง กรมอู่ทหารเรือ
359. พล.ร.ต.ทวีป สุขพินิจ เสนาธิการ กองเรือภาคที่ 1 กองเรือยุทธการ เป็น เสนาธิการ ทัพเรือภาคที่ 1
360. พล.ร.ต.อนุทัย รัตตะรังสี เสนาธิการ สถาบันวิชาการทหารเรือชั้นสูง เป็น ผู้บัญชาการ โรงเรียนเสนาธิการทหารเรือ กรมยุทธศึกษาทหารเรือ
361. พล.ร.ต.ธราธร ขจิตสุวรรณ ผู้บัญชาการ ฐานทัพเรือพังงา เป็น ผู้บัญชาการ ฐานทัพเรือพังงา ทัพเรือภาคที่ 3
362. พล.ร.ต.พีระศักดิ์ กมลศิลป์ ผู้บัญชาการ ฐานทัพเรือสงขลา เป็น ผู้บัญชาการ ฐานทัพเรือสงขลา ทัพเรือภาคที่ 2
363. พล.ร.ต.ทวีศักดิ์ ดีรอด รองผู้อำนวยการ อู่ทหารเรือพระจุลจอมเกล้า กรมอู่ทหารเรือ เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิ กองทัพเรือ
364. พล.ร.ต.สุรศิษฎ์ สว่างจันทร์ รองผู้บัญชาการ สถาบันวิชาการทหารเรือชั้นสูง เป็น รองเจ้ากรม ยุทธศึกษาทหารเรือ
365. พล.ร.ต.ขรรค์ชัย สมบูรณ์สุข เจ้ากรม แผนการช่าง กรมอู่ทหารเรือ เป็น รองผู้บัญชาการ ทัพเรือภาคที่ 3
366. พล.ร.ต.นภดล สุธัมมสภา รองผู้บัญชาการ กองเรือภาคที่ 1 กองเรือยุทธการ เป็น รองผู้บัญชาการ ทัพเรือภาคที่ 1
367. พล.ร.ต.สุรชา ทองพิลา ผู้บัญชาการ กองเรือป้องกันฝั่งเขต 2 กองเรือป้องกันฝั่ง เป็น รองผู้บัญชาการ ทัพเรือภาคที่ 2
368. พล.ร.ต.บรรจง พาประเสริฐ เสนาธิการ กองเรือภาคที่ 2 กองเรือยุทธการ เป็น เสนาธิการ ทัพเรือภาคที่ 2
369. พล.ร.ต.พงศ์สรร ถวิลประวัติ เจ้ากรม พัฒนาการช่าง กรมอู่ทหารเรือ เป็น ผู้อำนวยการ อู่ราชนาวีมหิดลอดุลยเดช กรมอู่ทหารเรือ
370. พล.ร.ต.เรืองทิพย์ เทียนทอง เสนาธิการ กองเรือภาคที่ 3 กองเรือยุทธการ เป็น เสนาธิการ ทัพเรือภาคที่ 3
371. พล.ร.ต.มล.บวรลักษณ์ กมลาศน์ ผู้บัญชาการ กองเรือป้องกันฝั่งเขต 3 กองเรือป้องกันฝั่ง เป็น รองผู้บัญชาการ ทัพเรือภาคที่ 3
372. พล.ร.ต.โชติวัฒน์ สาริกะวณิช เสนาธิการ โรงเรียนนายเรือ เป็น หัวหน้านายทหาร ฝ่ายเสนาธิการ ประจำผู้บัญชาการ กองเรือยุทธการ
373. พล.ร.ต.สุริยะ พรสุริยะ หัวหน้านายทหาร ฝ่ายเสนาธิการ ประจำผู้บัญชาการกองเรือยุทธการ เป็น หัวหน้าฝ่ายศึกษา โรงเรียนนายเรือ
374. พล.ร.ต.พัลลภ ตมิศานนท์ เจ้ากรม สื่อสารทหารเรือ เป็น เจ้ากรม การสื่อสาร และ เทคโนโลยีสารสนเทศ ทหารเรือ
375. พล.ร.ต.ทวี กาญจนวิสุทธิ์ ผู้ช่วยหัวหน้าคณะ นายทหารฝ่ายเสนาธิการ ประจำผู้บังคับบัญชา เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิ กองทัพเรือ
376. น.อ.พินิจ ทับทิมทอง เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิ กองทัพเรือ
377. น.อ.ประจิตร บุณยนิยม เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิ กองทัพเรือ
378. น.อ.สุทธินันท์ สกุลภุชพงษ์ เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิ กองทัพเรือ
379. น.อ.กิตติธัช วิโรจน์วงศ์ เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิ กองทัพเรือ
380. น.อ.ไพฑูรย์ ประสพสิน เป็น ผู้บัญชาการ กองการฝึก กองเรือยุทธการ
381. น.อ.นาวิน ธนเนตร เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิ กองทัพเรือ


กองทัพอากาศ

382. พล.อ.อ.คณิต สุวรรณเนตร ผู้บัญชาการ กองบัญชาการ ยุทธทางอากาศ เป็น ผู้บัญชาการ กรมควบคุมการปฏิบัติทางอากาศ
383. พล.อ.อ.มานิตย์ ช้างเผือก ผู้บัญชาการ กองบัญชาการ สนับสนุนทหารอากาศ เป็น หัวหน้าคณะ นายทหารฝ่ายเสนาธิการ ประจำผู้บังคับบัญชา
384. พล.อ.อ.ดิลก ทรงกัลยาณวัตร ผู้บัญชาการ กองบัญชาการ ฝึกศึกษาทหารอากาศ เป็น ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารอากาศ
385. พล.อ.ท.เอนก โทณานนท์ ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ กองทัพอากาศ เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ กองทัพอากาศ (อัตราพลอากาศเอก)

386. พล.อ.ท.อภิชาติ โกยสุขโข เจ้ากรม แพทย์ทหารอากาศ กองบัญชาการ สนับสนุนทหารอากาศ เป็น เจ้ากรม แพทย์ทหารอากาศ
387. พล.อ.ท.คำรบ ลียะวณิช ผู้บัญชาการ สถาบันวิชาการทหารอากาศชั้นสูง กองบัญชาการ ฝึกศึกษาทหารอากาศ เป็น รองหัวหน้าคณะ นายทหารฝ่ายเสนาธิการ ประจำผู้บังคับบัญชา
388. พล.อ.ท.ธงชัย ธารนพ รองผู้บัญชาการ กองบัญชาการ ฝึกศึกษาทหารอากาศ เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ กองทัพอากาศ (อัตราพลอากาศโท)
389. พล.อ.ท.ศรีเชาวน์ จันทร์เรือง ผู้ช่วยเสนาธิการทหารอากาศ ฝ่ายยุทธการ เป็น รองเสนาธิการทหารอากาศ
390. พล.อ.ท.ชนะ อยู่สถาพร หัวหน้านายทหาร ฝ่ายเสนาธิการ ประจำผู้บัญชาการทหารอากาศ เป็น รองผู้บัญชาการ กรมควบคุมการปฏิบัติทางอากาศ
391. พล.อ.ท.ระพีพัฒน์ หลาบเลิศบุญ ผู้บัญชาการ หน่วยบัญชาการอากาศโยธิน กองบัญชาการยุทธทางอากาศ เป็น ผู้บัญชาการ หน่วยบัญชาการอากาศโยธิน
392. พล.อ.ท.สมนึก สวัสดิ์ถึก รองผู้บัญชาการ กองบัญชาการ สนับสนุนทหารอากาศ เป็น หัวหน้านายทหาร ฝ่ายเสนาธิการ ประจำผู้บัญชาการทหารอากาศ
393. พล.อ.ท.ดิเรก พรหมประยูร เจ้ากรม ยุทธศึกษาทหารอากาศ กองบัญชาการ ฝึกศึกษาทหารอากาศ เป็น เจ้ากรม ยุทธศึกษา ทหารอากาศ
394. พล.อ.ท.จำลอง เขมะประภา เจ้ากรม ช่างอากาศ กองบัญชาการ สนับสนุนทหารอากาศ เป็น เจ้ากรม ช่างอากาศ
395. พล.อ.ท.เพทาย อุดมศักดิ์ ผู้บัญชาการ โรงเรียนนายเรืออากาศ กองบัญชาการ ฝึกศึกษาทหารอากาศ เป็น ผู้บัญชาการ โรงเรียนนายเรืออากาศ
396. พล.อ.ท.ภควัต รื่นพิพัฒน์ รองผู้บัญชาการ กองบัญชาการยุทธทางอากาศ เป็น ผู้ช่วยเสนาธิการทหารอากาศ ฝ่ายกิจการพลเรือน
397. พล.อ.ท.วัฒนา คล้ายจำนง ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ กองทัพอากาศ เป็น เจ้ากรม สื่อสารอิเล็กทรอนิกส์ ทหารอากาศ
398. พล.อ.ท.วินัย เปล่งวิทยา เจ้ากรม ควบคุมการปฏิบัติทางอากาศ กองบัญชาการ ยุทธทางอากาศ เป็น ผู้ช่วยเสนาธิการทหารอากาศ ฝ่ายยุทธการ
399. พล.อ.ท.อภิศักดิ์ บุญเผื่อน ผู้บัญชาการ ศูนย์วิทยาศาสตร์ และ พัฒนาระบบอาวุธกองทัพอากาศ เป็น ผู้อำนวยการ ศูนย์วิจัยพัฒนา วิทยาศาสตร์เทคโนโลยีการบิน และ อวกาศ กองทัพอากาศ
400. พล.อ.ท.สฤษดิ์พงษ์ โกมุทานนท์ รองผู้บัญชาการ กองบัญชาการยุทธทางอากาศ เป็น รองผู้บัญชาการ กรมควบคุมการปฏิบัติทางอากาศ
401. พล.อ.ต.จิรศักดิ์ พรหมประยูร ผู้ทรงคุณวุฒิ กองทัพอากาศ เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ กองทัพอากาศ (อัตราพลอากาศโท)

402. พล.อ.ต.อมร แสงสุพรรณ รองเจ้ากรม แพทย์ทหารอากาศ กองบัญชาการสนับสนุนทหารอากาศ เป็น รองเจ้ากรม แพทย์ทหารอากาศ
403. พล.อ.ต.ปรีชัย หาญเจนลักษณ์ ผู้ทรงคุณวุฒิ กองทัพอากาศ เป็น ผู้ชำนาญการ กองทัพอากาศ
404. พล.อ.ต.นิวัตน์ นกน้อย ผู้อำนวยการ ศูนย์การสงครามทางอากาศ กองบัญชาการยุทธทางอากาศ เป็น ผู้อำนวยการ ศูนย์การสงครามทางอากาศ
405. พล.อ.ต.เสนาะ วาริทสวัสดิ์ ผู้อำนวยการ สำนักงานตรวจบัญชีทหารอากาศ เป็น ผู้อำนวยการ สำนักงานตรวจสอบภายใน ทหารอากาศ
406. พล.อ.ต.อานนท์ วิรัชกุล ผู้ทรงคุณวุฒิ กองทัพอากาศ เป็น รองเจ้ากรม ช่างอากาศ
407. พล.อ.ต.ธรรมนิตย์ สิงห์คะสะ รองเจ้ากรม ช่างอากาศ กองบัญชาการสนับสนุนทหารอากาศ เป็น รองเจ้ากรม ช่างอากาศ
408. พล.อ.ต.วีระศักดิ์ สิตานนท์ เสนาธิการ กองบัญชาการฝึกศึกษาทหารอากาศ เป็น ผู้อำนวยการ สำนักงานวิจัย ศูนย์วิจัยพัฒนา วิทยาศาสตร์เทคโนโลยี การบินและอวกาศ กองทัพอากาศ 409. พล.อ.ต.วราวุธ คันธา เสนาธิการ กรมแพทย์ทหารอากาศ กองบัญชาการ สนับสนุนทหารอากาศ เป็น เสนาธิการ กรมแพทย์ทหารอากาศ
410. พล.อ.ต.พงษ์เพ็ญ เพ็ญแข เสนาธิการ กองบัญชาการ สนับสนุนทหารอากาศ เป็น ผู้ช่วยหัวหน้าคณะนายทหาร ฝ่ายเสนาธิการ ประจำผู้บังคับบัญชา
411. พล.อ.ต.พิริยะ ศิริบุญ เจ้ากรมอิเล็กทรอนิกส์ทหารอากาศ กองบัญชาการ สนับสนุนทหารอากาศ เป็น รองเจ้ากรม สื่อสารอิเล็กทรอนิกส์ ทหารอากาศ
412. พล.อ.ต.เมธา สังขวิจิตร เจ้ากรม สรรพวุธทหารอากาศ กองบัญชาการ สนับสนุนทหารอากาศ เป็น เจ้ากรม สรรพวุธทหารอากาศ
413. พล.อ.ต.สมศักดิ์ ไทยเพ็ชร์ รองผู้บัญชาการ ศูนย์วิทยาศาสตร์ และ พัฒนาระบบอาวุธกองทัพอากาศ เป็น รองผู้อำนวยการ ศูนย์วิจัยพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การบินและอวกาศ กองทัพอากาศ
414. พล.อ.ต.อิทธิศักดิ์ นาคะวิสุทธิ์ รองผู้บัญชาการ สถาบันวิชาการทหารอากาศชั้นสูง กองบัญชาการฝึกศึกษาทหารอากาศ เป็น รองเจ้ากรม ยุทธศึกษาทหารอากาศ
415. พล.อ.ต.คะเชนทร์ วิเศษรจนา เสนาธิการ สถาบันวิชาการทหารอากาศชั้นสูง กองบัญชาการ ฝึกศึกษาทหารอากาศ เป็น ผู้ชำนาญการ กองทัพอากาศ
416. พล.อ.ต.วิโรจน์ นิสยันต์ รองเจ้ากรม ควบคุมการปฏิบัติทางอากาศ กองบัญชาการยุทธทางอากาศ เป็น รองผู้บัญชาการ หน่วยบัญชาการอากาศโยธิน
417. พล.อ.ต.เฉลิม ตรีเพ็ชร เสนาธิการ ศูนย์วิทยาศาสตร์ และ พัฒนาระบบอาวุธกองทัพอากาศ เป็น รองผู้อำนวยการ ศูนย์วิจัยพัฒนา วิทยาศาสตร์เทคโนโลยี การบินและอวกาศ กองทัพอากาศ
418. พล.อ.ต.อารยะ งามประมวญ เสนาธิการ กองบัญชาการยุทธทางอากาศ เป็น รองผู้บัญชาการ โรงเรียนนายเรืออากาศ
419. พล.อ.ต.สุรทรง เพ็ญโฉม ผู้บัญชาการ กองพลบินที่ 1 กองบัญชาการ ยุทธทางอากาศ เป็น ผู้บังคับศูนย์อำนวยการ เฮลิคอปเตอร์พระราชพาหนะ
420. พล.อ.ต.ธานินทร์ ทัตตานนท์ ผู้บัญชาการ กองพลบินที่ 3 กองบัญชาการ ยุทธทางอากาศ เป็น ผู้บังคับศูนย์อำนวยการ เครื่องบินพระราชพาหนะ
421. พล.อ.ต.ชูพันธ์ ชาญสมร ผู้อำนวยการ โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช กรมแพทย์ทหารอากาศ กองบัญชาการ สนับสนุนทหารอากาศ เป็น ผู้อำนวยการ โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช กรมแพทย์ทหารอากาศ
422. พล.อ.ต.ชนนนาถ เทพลิบ รองเจ้ากรม ยุทธศึกษาทหารอากาศ กองบัญชาการ ฝึกศึกษาทหารอากาศ เป็น รองเจ้ากรม ยุทธศึกษา ทหารอากาศ
423. พล.อ.ต.ณรงค์ภพ ชุ่มสวัสดิ์ ผู้อำนวยการ โรงพยาบาลจันทรุเบกษา กรมแพทย์ทหารอากาศ กองบัญชาการ สนับสนุนทหารอากาศ เป็น ผู้อำนวยการ โรงพยาบาลจันทรุเบกษา กรมแพทย์ทหารอากาศ
424. พล.อ.ต.พัฒนพล คมภักดี ศาสตราจารย์ กองการศึกษา โรงเรียนนายเรืออากาศ กองบัญชาการ ฝึกศึกษาทหารอากาศ เป็น ศาสตราจารย์ กองการศึกษา โรงเรียนนายเรืออากาศ
425. พล.อ.ต.เจษฎา วิจารณ์ ผู้ชำนาญการ กองทัพอากาศ เป็น ผู้อำนวยการ สำนักงานพัฒนา ระบบราชการกองทัพอากาศ
426. พล.อ.ต.นิวัต เนื้อนุ่ม ผู้ชำนาญการ กองทัพอากาศ เป็น ผู้อำนวยการ สำนักงานนิรภัยทหารอากาศ
427. พล.อ.ต.บุญสืบ ประสิทธิ์ เสนาธิการ กรมช่างอากาศ กองบัญชาการ สนับสนุนทหารอากาศ เป็น เสนาธิการ กรมช่างอากาศ
428. พล.อ.ต.ชนัท รัตนอุบล ผู้บัญชาการ วิทยาลัยการทัพอากาศ สถาบันวิชาการทหารอากาศชั้นสูง กองบัญชาการฝึกศึกษาทหารอากาศ เป็น ผู้บัญชาการ วิทยาลัยการทัพอากาศ กรมยุทธศึกษาทหารอากาศ
429. พล.อ.ต.วัธน มณีนัย รองผู้บัญชาการ โรงเรียนนายเรืออากาศ กองบัญชาการ ฝึกศึกษาทหารอากาศ เป็น รองผู้บัญชาการ โรงเรียนนายเรืออากาศ
430. พล.อ.ต.เผด็จ วงษ์ปิ่นแก้ว ผู้บัญชาการ กองพลบินที่ 2 กองบัญชาการ ยุทธทางอากาศ เป็น เสนาธิการ กรมยุทธศึกษาทหารอากาศ
431. พล.อ.ต.ชำนาญ เอกวัฒน์ รองเจ้ากรม ควบคุมการปฏิบัติทางอากาศ กองบัญชาการยุทธทางอากาศ เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิ กองทัพอากาศ
432. พล.อ.ต.วิทยา แก้ววัฒนะ เจ้ากรม ขนส่งทหารอากาศ กองบัญชาการ สนับสนุนทหารอากาศ เป็น เจ้ากรม ขนส่งทหารอากาศ
433. พล.อ.ต.ทนงศักดิ์ พวงพ่วงรอด รองผู้บัญชาการ หน่วยบัญชาการอากาศโยธิน กองบัญชาการ ยุทธทางอากาศ เป็น รองผู้บัญชาการ หน่วยบัญชาการอากาศโยธิน
434. พล.อ.ต.อุทิศ ยิ้มแก้ว เจ้ากรม ช่างโยธาทหารอากาศ กองบัญชาการ สนับสนุนทหารอากาศ เป็น เจ้ากรมช่าง โยธาทหารอากาศ
435. พล.อ.ต.อุดมศักดิ์ นาคะชัย เจ้ากรม สื่อสารทหารอากาศ กองบัญชาการ สนับสนุนทหารอากาศ เป็น รองเจ้ากรม สื่อสารอิเล็กทรอนิกส์ ทหารอากาศ
436. พล.อ.ต.โสภณ สรรพนุเคราะห์ ผู้อำนวยการ สำนักงานเทคโนโลยีสารสนเทศ ทหารอากาศ เป็น เจ้ากรม เทคโนโลยีสารสนเทศ และ การสื่อสาร ทหารอากาศ
437. พล.อ.ต.ปรีชา ประดับมุข ผู้บัญชาการ กองพลบินที่ 4 กองบัญชาการยุทธทางอากาศ เป็น หัวหน้านายทหาร ฝ่ายเสนาธิการประจำ ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารอากาศ
438. พล.อ.ต.สมประสงค์ เปลี่ยนคง ผู้อำนวยการ กองการศึกษา โรงเรียนนายเรืออากาศ กองบัญชาการฝึกศึกษาทหารอากาศ เป็น ผู้อำนวยการ กองการศึกษา โรงเรียนนายเรืออากาศ
439. พล.อ.ต.ประสิทธิ์ ป้อมทอง วิศวกรอาวุโส กรมช่างอากาศ กองบัญชาการ สนับสนุนทหารอากาศ เป็น วิศวกรอาวุโส กรมช่างอากาศ
440. พล.อ.ต.ธีระภาพ เสนะวงษ์ ผู้อำนวยการ สถาบันเวชศาสตร์การบิน กรมแพทย์ทหารอากาศ กองบัญชาการ สนับสนุนทหารอากาศ เป็น ผู้อำนวยการ สถาบันเวชศาสตร์การบิน กองทัพอากาศ
441. พล.อ.ต.นิคม วงษ์ดรุณีย์ เจ้ากรม พลาธิการทหารอากาศ กองบัญชาการ สนับสนุนทหารอากาศ เป็น เจ้ากรม พลาธิการทหารอากาศ
442. พล.อ.ต.ชลิตเดช สุดมะโนกุล ผู้ชำนาญการ กองทัพอากาศ เป็น ผู้บังคับการ ศูนย์การทหารอากาศโยธิน หน่วยบัญชาการอากาศโยธิน
443. พล.อ.ต.พลเทพ โหมดสุวรรณ เจ้ากรม การลาดตระเวนทางอากาศ กองบัญชาการ สนับสนุนทหารอากาศ เป็น ผู้อำนวยการ ศูนย์ป้องกันทางอากาศ กรมควบคุมการปฏิบัติทางอากาศ
444. พล.อ.ต.ทวิเดนศ อังศุสิงห์ เสนาธิการ กรมควบคุมการปฏิบัติทางอากาศ กองบัญชาการ ยุทธทางอากาศ เป็น เสนาธิการ ควบคุมการปฏิบัติทางอากาศ
445. พล.อ.ต.ถาวร มณีพฤกษ์ เสนาธิการ โรงเรียนนายเรืออากาศ กองบัญชาการ ฝึกศึกษาทหารอากาศ เป็น เสนาธิการ โรงเรียนนายเรืออากาศ
446. พล.อ.ต.จิรศักดิ์ ชนะสิทธิ์ เสนาธิการ กรมยุทธศึกษาทหารอากาศ กองบัญชาการ ฝึกศึกษาทหารอากาศ เป็น ผู้ชำนาญการ กองทัพอากาศ
447. พล.อ.ต.ศิวเกียรติ์ ชเยมะ ผู้บัญชาการ โรงเรียนการบิน กองบัญชาการยุทธทางอากาศ เป็น ผู้บัญชาการ โรงเรียนการบิน
448. พล.อ.ต.จอม รุ่งสว่าง ผู้บัญชาการ โรงเรียนเสนาธิการทหารอากาศ สถาบันวิชาการทหารอากาศชั้นสูง กองบัญชาการฝึกศึกษาทหารอากาศ เป็น ผู้บัญชาการ โรงเรียนเสนาธิการทหารอากาศ กรมยุทธศึกษาทหารอากาศ
449. พล.อ.ต.สุชิน วรรณโรจน์ เสนาธิการ หน่วยบัญชาการอากาศโยธิน กองบัญชาการ ยุทธทางอากาศ เป็น เสนาธิการ หน่วยบัญชาการอากาศโยธิน
450. น.อ.มล.ชนากร วรวรรณ เป็น เสนาธิการ กรมสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์ ทหารอากาศ
451. น.อ.หญิง ประนอม บำรุงพฤกษ์ เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิ กองทัพอากาศ
452. น.อ.หญิง อารยา จารุวณิช เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิ กองทัพอากาศ
453. น.อ.ธนิต อุดมพันธุ์ เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิ กองทัพอากาศ
454. น.อ.หญิง ภัทริกา เทพสิทธา เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิ กองทัพอากาศ


ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2552 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 27 เมษายน พ.ศ.2552

ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
นายกรัฐมนตรี


ใช้ [ปุ่มถอยหลัง] ของเว็บบราวเซอร์ เพื่อกลับมาที่นี่ จากข้อมูลเชื่อมโยงด้านล่าง
Use Browser [Back] Button Return to Here from URL Below

“ศิริราช” ไม่ฟันธง ผล ชันสูตร “พลฯ อภินพ” ฐานกะโหลกร้าว โดยถูกซ้อม หรือ หกล้ม


ผลชันสูตร “พลฯ อภินพ” ฐานกะโหลกร้าว
“ศิริราช” ไม่ฟันธง ถูกซ้อม หรือ หกล้ม

ที่โรงพยาบาลศิริราช ศ.คลินิก นพ.ธีรวัฒน์ กุลทนันท์ คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ร่วมด้วย รศ.นพ.วิสูตร ฟองศิริไพบูลย์ หัวหน้าภาควิชานิติเวชศาสตร์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญการชันสูตรพลิกศพและชันสูตรบาดแผล ในฐานะประธานคณะกรรมการตรวจสอบศพฯ แถลงผลการตรวจชันสูตรศพพลทหาร อภินพ เครือสุข

ที่โรงพยาบาลศิริราช ศ.คลินิก นพ.ธีรวัฒน์ กุลทนันท์ คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ร่วมด้วย รศ.นพ.วิสูตร ฟองศิริไพบูลย์ หัวหน้าภาควิชานิติเวชศาสตร์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญการชันสูตรพลิกศพและชันสูตรบาดแผล ในฐานะประธานคณะกรรมการตรวจสอบศพฯ แถลงผลการตรวจชันสูตรศพพลทหาร อภินพ เครือสุข


หมอ ศิริราช ไม่ฟันธง “พลทหาร อภินพ” หกล้ม หรือ ถูกซ้อม
บอกเพียงว่า ศีรษะ กระแทกของแข็ง อย่างแรง ฐานกะโหลก แตกร้าว


ระบุ ตายเพราะ เลือดออก เหนือเยื่อหุ้มสมอง
ด้าน ส.ส. เพื่อไทย ยังปักใจเชื่อว่า มีคนทำให้ตาย


วันนี้ (27 เม.ย) เวลา 13.30 น.ที่โรงพยาบาล ศิริราช ศ.คลินิก นพ.ธีรวัฒน์ กุลทนันท์ คณบดี คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล ร่วมด้วย รศ.นพ.วิสูตร ฟองศิริไพบูลย์ หัวหน้าภาควิชา นิติเวชศาสตร์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญ การชันสูตรพลิกศพ และชันสูตรบาดแผล ในฐานะประธานคณะกรรมการตรวจสอบศพฯ

แถลงผลการตรวจชันสูตรศพ พลทหาร อภินพ เครือสุข อายุ 22 ปี ทหารรับใช้ พล.ท.คณิต สาพิทักษ์ แม่ทัพภาคที่ 1 ซึ่งเสียชีวิต ภายในบ้านพัก แม่ทัพภาคที่ 1 ตั้งอยู่ใน กรมทหารราบที่ 1 รักษาพระองค์ (ร.1 รอ.) เมื่อวันที่ 15 เมษายน ที่ผ่านมา

โดย นพ.วิสูตร กล่าวว่า ทาง รพ.ศิริราช ได้เริ่มทำการตรวจศพที่ ห้องตรวจศพ เมื่อเวลา 10.30 น. ทีตึกอดุลยเดชวิกรม ชั้นหนึ่ง คณะแพทย์ได้ทำการตรวจ อวัยวะภายนอก และ ภายใน ทำการเอกซเรย์อวัยวะ ทุกส่วน ไม่ว่าจะเป็น กะโหลกศีรษะ คอ หน้าอก เชิงกราน แขน และ ขา ซึ่งมีการถ่ายภาพ เก็บเป็น หลักฐาน ไว้ทุกขั้นตอน

สำหรับผล การตรวจศพ ในเบื้องต้น พบว่า มีอาการช้ำ บริเวณ ต้นคอด้านหลัง ค่อนมาทางซ้าย ฐานกะโหลกศีรษะ ด้านซ้าย ส่วนหลัง มีรอยแตกร้าว ตำแหน่ง ที่ใกล้กับ ช่องไขสันหลัง มีรอยแตก ยุบเล็กน้อย เป็นแผลยาวต่อเนื่อง เป็นแผลที่ 2 และ 3 มีเลือดออก เหนือเยื่อหุ้ม ไขสันหลัง บริเวณคอ ส่งผลให้ เนื้อสมองกลีบซ้าย ส่วนหลัง มีรอยกดยุบจาก เลือดที่ออกเหนือ เยื่อหุ้มสมอง ชั้นหนา ที่คงค้างอยู่

“สรุปสาเหตุ การเสียชีวิต ไม่ได้เกิดจาก คอหัก แต่เกิดจาก กะโหลกศีรษะ ส่วนหลังแตก มีเลือดออก เหนือเยื่อหุ้มสมองชั้นหนา ที่กดเนื้อสมอง ซึ่งไม่ได้ทำให้ เสียชีวิต ในทันที อย่างไรก็ตาม การตายเร็ว หรือ ช้า ขึ้นอยู่กับ การไหลซึม ของเลือด แต่จากรอยแผล ที่ต่อเนื่องนั้น เชื่อว่า เป็นการกระแทก อย่างรุนแรง หนึ่งครั้ง แต่ แพทย์เจาะจงไม่ได้ว่า เกิดจากการซ้อม หรือ ลื่นหกล้มเอง บอกได้เพียงว่า เกิดจาก การกระแทก กับ ของแข็ง หรือ ถูกของแข็ง มากระแทก”

นพ.วิสูตร กล่าวต่อว่า คณะแพทย์ ได้ตรวจสอบ อวัยวะภายในแล้ว พบว่า ไม่มีส่วนใดผิดปกติ หรือ ฉีกขาด แต่บาดแผลภายนอก ที่พบเห็น ก็คือ มีรอยช้ำ บริเวณแขนขา เป็นจุดเล็กๆ ซึ่งแพทย์ได้ ตัดเนื้อเยื่อ บริเวณดังกล่าว ไปสุ่มตรวจ โดยการย้อมพิเศษ ซึ่งต้องรอผล อย่างน้อย 7 วัน และ จะรวบรวม ข้อมูล พร้อมแนบ สาเหตุการเสียชีวิต ให้กับ เจ้าพนักงานเจ้าของคดี ทั้งนี้ เนื่องจาก แพทย์ไม่สามารถ ระบุ พฤติการณ์แห่งเหตุได้ แต่เชื่อว่า เมื่อ พนักงานสอบสวน
ได้รับข้อมูลแล้ว จะสามารถ สรุปสำนวนได้

ด้าน นพ.สุรวิทย์ คนสมบูรณ์ ส.ส. พรรคเพื่อไทย ซึ่งเข้าร่วม สังเกตการณ์ ในการแถลงข่าว ในครั้งนี้ด้วย ให้สัมภาษณ์ว่า แม่ ของ พลทหาร อภินพ เชื่อใจ รพ.ศิริราช จึงขอย้าย ให้มา ชันสูตรศพ ที่นี่ และ จากที่ตน ได้ฟัง ผลการชันสูตรศพ

ตนเชื่อว่า บาดแผล ที่เกิดนั้นใหญ่ มีความเป็นไปได้สูงที่ พลทหาร อภินพ จะถูกของแข็ง กระแทกที่ศีรษะ หรือ ถูกซ้อม สูงกว่า การลื่นล้ม เอง อย่างไรก็ตาม ตนในฐานะ ส.ส. ได้หมดหน้าที่แล้ว ต่อจากนี้ ต้องเป็น หน้าที่ ของ เจ้าพนักงานสอบสวน


astv_mgr-200ปรับปรุงจาก ข่าว และ ภาพ ของ สำนักข่าว ASTV ผู้จัดการออนไลน์ 27 เมษายน 2552 20:37 น.
http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9520000047125


พิมพ์ ข่าวนี้ ผลชันสูตร “พลฯ อภินพ” ฐานกะโหลกร้าว
“ศิริราช” ไม่ฟันธง ถูกซ้อม หรือ หกล้ม



ยธ.สั่ง ดีเอสไอ แจงข้อเท็จจริง จุ้นศพ พลทหาร มทภ.1

รองปลัดยุติธรรม สั่ง “ดีเอสไอ” ทำบันทึก รายงานข้อเท็จจริง โดยด่วน
กรณี ส่งหนังสือ ขอความอนุเคราะห์ ผ่าศพ พลทหาร บ้านแม่ทัพภาคที่ 1
ไปยัง โรงพยาบาลศิริราช


วันนี้ (27 เม.ย.) ที่ กระทรวงยุติธรรม นายชาญเชาวน์ ไชยานุกิจ รองปลัด กระทรวงยุติธรรม ในฐานะกำกับดูแล กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) กล่าวถึง กรณีที่ คณะแพทย์โรงพยาบาลศิริราช แถลงผล ผ่าชันสูตรพลิกศพ พลทหาร อภินพ เครือสุข ทหารรับใช้ พล.ท.คณิต สาพิทักษ์ แม่ทัพภาคที่ 1 ที่เสียชีวิต ภายในบ้านพัก ของ แม่ทัพภาคที่ 1 ตั้งอยู่ใน กรมทหารราบที่ 1 รักษาพระองค์ (ร.1 รอ.)

โดยออกมาระบุว่า การผ่าชันสูตรครั้งนี้ เป็นไป ตามหนังสือ ขอความอนุเคราะห์ที่ ดีเอสไอ ส่งมา ตามหมายเลขหนังสือ ที่ ยธ.0800/พิเศษ
ว่า ตนได้รับเอกสารดังกล่าว จาก โรงพยาบาลศิริราชแล้ว ซึ่งในหนังสือระบุ

คำขอความอนุเคราะห์ ว่า นางศิริมล มาเพชร มารดา ของผู้ตาย ประสงค์ จะขอนำศพ ไปทำการ ชันสูตรพลิกศพ ที่ โรงพยาบาลศิริราช จึงขอ ส่งศพ มาตามความประสงค์ ของมารดาผู้ตาย

ทั้งนี้ ดีเอสไอได้ชี้แจงเบื้องต้น ว่า หนังสือดังกล่าว เป็นเพียง การประสานงาน กับ โรงพยาบาลศิริราช เท่านั้น เนื่องจาก นางศิริมาได้ร้องขอต่อ ดีเอสไอ

อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ ดีเอสไอ ยังไม่ใช่ พนักงานสอบสวน ไม่มีอำนาจ เข้าไป สืบสวนคดีนี้ โดยตรง ทำได้ เพียงการสืบสวนข้อเท็จจริง เบื้องต้น เท่านั้น ตน จึงได้ สั่งการให้ ดีเอสไอ ทำบันทึกรายงาน อย่างละเอียด ส่งให้ตนพิจารณา โดยด่วนแล้ว


astv_mgr-200ปรับปรุงจาก ข่าว และ ภาพ ของ สำนักข่าว ASTV ผู้จัดการออนไลน์ 27 เมษายน 2552 16:36 น.
http://www.manager.co.th/Crime/ViewNews.aspx?NewsID=9520000047154


พิมพ์ ข่าวนี้ ยธ.สั่ง ดีเอสไอ แจงข้อเท็จจริง จุ้นศพ พลทหาร มทภ.1


ใช้ [ปุ่มถอยหลัง] ของเว็บบราวเซอร์ เพื่อกลับมาที่นี่ จากข้อมูลเชื่อมโยงด้านล่าง
Use Browser [Back] Button Return to Here from URL Below

เสธ.แดง ยัน ไม่มี เสื้อแดง ตาย ในช่วงสลายชุมนุม


เสธ.แดง ยันเสื้อแดง ไม่มีใครตาย ในช่วงสลายชุมนุม
พล.ต.ขัตติยะ สวัสดิผล

พล.ต.ขัตติยะ สวัสดิผล


พล.ต.ขัตติยะ พูดจารื่นหู ยืนยัน ไม่มีใครเสียชีวิตจาก เหตุสลายชุมนุม ไม่เชื่อ พลทหารเสียชีวิต เพราะถูก ผู้บังคับบัญชาทำร้าย จากเหตุส่ง sms ถึงแม่ พร้อมตำหนิ “อนุพงษ์” ใช้ 2 มาตรฐาน สลายการชุมนุม ระหว่าง พันธมิตรฯ และ โจรหางแดง


คลิกที่นี่ เพื่อฟัง พล.ต.ขัตติยะ สวัสดิผล ให้สัมภาษณ์


วันนี้ (27 เม.ย.) พล.ต.ขัตติยะ สวัสดิผล หรือ เสธ.แดง ผู้ทรงคุณวุฒิ กองทัพบก กล่าวว่า ไม่เชื่อว่า พลทหาร อภินพ เครือสุข จะถูกสั่งทำโทษ จนเสียชีวิต ที่บ้านพัก แม่ทัพภาคที่ 1 เพราะส่ง SMS ไปบอกมารดา ว่า นายกรัฐมนตรี อยู่ที่บ้านหลังดังกล่าว

เพราะจาก ประสบการณ์ ในการรับราชการทหาร ไม่เคยเห็น ผู้บังคับบัญชา ทำลูกน้องรุนแรง ถึงขั้น สั่งใช้กระบอกปืนฟาด จนเสียชีวิต ส่วนใหญ่ มักลงโทษ แค่สถานเบา เช่น การสั่งวิดพื้น หรือ วิ่งรอบสนาม 50 รอบ

แต่มูลเหตุการเสียชีวิต จะเกิดจากสาเหตุใด ตนไม่ทราบ อย่างไรก็ตาม เหตุการณ์ดังกล่าว ที่กลายเป็น ประเด็นทางการเมือง มองว่า เพราะที่ผ่านมา ไม่เคยมี นายทหารระดับแม่ทัพคนใด ที่นำ นักการเมือง เข้ามาอยู่ในค่ายทหาร จึงขอฝากถึง ทหารรุ่นน้อง ทุกนายว่า ไม่ควรเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับ การเมือง

พล.ต.ขัตติยะ ยังกล่าวตำหนิ พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผู้บัญชาการทหารบก ที่ใช้ 2 มาตรฐาน ในการดูแล กลุ่มผู้ชุมนุมทางการเมือง โดยสมัย รัฐบาลของ นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี ซึ่งมีการ ประกาศใช้ พ.ร.ก. สถานการณ์ฉุกเฉิน พล.อ. อนุพงษ์ ได้ส่ง ส.ห.ไปดูแลความปลอดภัย ให้ กลุ่มผู้ชุมนุม พันธมิตรฯ ที่ทำเนียบรัฐบาล แต่ในรัฐบาล ของ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ พล.อ.อนุพงษ์ กลับสั่งทหาร ให้ออกไป ปราบปราม ผู้ชุมนุมเสื้อแดง

อย่างไรก็ตาม ยืนยันว่า จากการตรวจสอบของตน ไม่มีกลุ่มคนเสื้อแดง เสียชีวิตจาก การสลายการชุมนุม อย่างแน่นอน


คลิกที่นี่ เพื่อฟัง พล.ต.ขัตติยะ สวัสดิผล ให้สัมภาษณ์
จาก manager multimedia

astv_mgr-200ปรับปรุงจาก ข่าว และ ภาพ ของ สำนักข่าว ASTV ผู้จัดการออนไลน์ 27 เมษายน 2552 17:02 น.
http://www.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9520000047108


พิมพ์ ข่าวนี้ เสธ.แดง ยัน เสื้อแดงไม่มีใครตาย ในช่วงสลายชุมนุม


ใช้ [ปุ่มถอยหลัง] ของเว็บบราวเซอร์ เพื่อกลับมาที่นี่ จากข้อมูลเชื่อมโยงด้านล่าง
Use Browser [Back] Button Return to Here from URL Below

April 26, 2009

“เชื่อมั่นประเทศไทย กับ นายก อภิสิทธิ์” 26 เมษายน 2552


“มาร์ค” ฮึ่ม เสื้อแดง ชุมนุมจาบจ้วง ชี้ “แม้ว-อีเพ็ญ” ผู้ก่อการร้ายตัวจริง
 เชื่อมั่นประเทศไทย กับ นายก อภิสิทธิ์

เชื่อมั่นประเทศไทย กับ นายก อภิสิทธิ์


นายกรัฐมนตรี เตือนม็อบเสื้อแดง จัดชุมนุม ห้ามจาบจ้วงเบื้องสูง ยอมรับเป็น นักประชาธิปไตย ฝืนใจต้องใช้อำนาจพิเศษ ในบางครั้ง เพื่อรักษากฏหมาย ย้ำ สถานการณ์ยังไม่นิ่ง จำเป็นต้อง ตรึงกำลังไว้ บางส่วน ชี้ “ทักษิณ-จักรภพ” โจมตีมาตุภูมิ จาบจ้วงกษัตริย์ เข้าข่ายผู้ก่อการร้าย มั่นใจ ต่างชาติ เริ่มเข้าใจ และ ออกอาการ ต่อต้านแล้ว


คลิกที่นี่ เพื่อฟังรายการ “เชื่อมั่นประเทศไทย กับ นายก อภิสิทธิ์”


วันนี้(26 เม.ย.) เมื่อเวลา 09.00 น. ที่ตึกไทยคู่ฟ้าทำเนียบรัฐบาล นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี จัดรายการ “เชื่อมั่นประเทศไทย กับ นายกฯ อภิสิทธิ์” เป็น ครั้งที่ 15 ออกอากาศ ทาง สถานีวิทยุโทรทัศน์ แห่งประเทศไทย และ สถานีวิทยุกระจายเสียง แห่งประเทศไทย

นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า สัปดาห์ ที่ผ่านมา ก็เป็นสัปดาห์ที่ ตนและรัฐบาล ก็เดินหน้า ในการที่จะนำ บ้านเมือง กลับเข้าสู่ภาวะปกติ หลังจากที่มี การประกาศใช้ พระราชกำหนด (พ.ร.ก.) การบริหารราชการ ในสถานการณ์ฉุกเฉิน ตั้งแต่ใน ช่วงสงกรานต์ ที่ผ่านมา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง

สิ่งแรก ที่เราพยายาม ดำเนินการ คือว่า ทำให้ เหตุการณ์ต่าง ๆ รวมทั้ง การแก้ไขปัญหา ต่าง ๆ นั้นเดินไปใน ลักษณะ ที่โปร่งใส และ มีส่วนร่วมของทุก ๆ ฝ่าย

เพราะฉะนั้น เมื่อ วันพุธ และ วันพฤหัสบดี ที่ผ่านมา รัฐบาลจึงได้ขอ เปิดการประชุมร่วมของรัฐสภา เพื่อที่จะรับฟัง ความคิดเห็น ของ สมาชิกรัฐสภา ซึ่งก็มีทั้ง สมาชิก สภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ฝ่ายค้าน ฝ่ายรัฐบาล และ สมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) เป็นเวลา 2 วัน เพื่อรับฟังข้อคิดเห็น เกี่ยวกับ เหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น

รวมถึง การแสวงหา ทางออก สำหรับ บ้านเมือง เพื่อที่จะให้ ความขัดแย้งต่าง ๆ นั้น ได้คลี่คลายลงไป

นายกฯ กล่าวว่า เชื่อว่า ประชาชนจำนวนมาก คงจะได้มีการติดตาม การประชุมทั้ง 2 วัน เพราะว่า มีการถ่ายทอดสด ทางโทรทัศน์ และ ทางวิทยุ ซึ่งในการอภิปรายนั้น เป็นธรรมดา ที่บางครั้ง ก็อาจจะดู มีความขัดแย้ง หรือ มีอารมณ์กันอยู่บ้าง แต่ว่าโดยรวม ประชาชนคงจะตระหนักว่า ที่ประชุมสภาฯ ก็คือ ที่ประชุม ของผู้แทนของ ปวงชนชาวไทย

ซึ่งก็สะท้อน ความรู้สึกของ ประชาชน ซึ่งย่อมจะมี ความหลากหลาย มีความแตกต่าง กันไป อย่างไรก็ตาม อยากจะเรียนอย่างนี้ว่า ประเด็นหลัก ๆ ที่เราจะต้องช่วยกัน จากวันนี้ไป ก็คือ การสะสาง ใน 2 จุด

จุดแรก คือในเรื่องของ เหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ซึ่งขอย้ำอีกครั้งว่า รัฐบาล และ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ตนได้รายงาน สถานการณ์ต่าง ๆ เป็นระยะ ๆ ให้ ประชาชนอย่างสม่ำเสมอ ต่อเนื่อง เพื่อยืนยัน ข้อเท็จจริง หลักการ และ จุดยืนของรัฐบาล ซึ่งจำเป็น ที่จะต้องประกาศใช้ พรก.ฉุกเฉิน เพื่อที่จะนำเรื่องของ การรักษากฎหมาย ให้มีความศักดิ์สิทธิ์ กลับคืนมาสู่ สังคม ไม่ได้ เป็นการใช้กฎหมาย ในลักษณะที่ จะหวังประโยชน์ ในเรื่องของ การเอาชนะคะคาน ในทางการเมือง แต่ประการใด

“เพราะฉะนั้น อย่างที่เรียน ก็คือว่า การใช้สิทธิเสรีภาพของ พี่น้องประชาชน ตามรัฐธรรมนูญ นั้น ย่อมทำได้ การแสดงความคิดเห็น ที่แตกต่างย่อมทำได้ แต่ว่า พฤติกรรม ที่ผิดกฎหมาย และ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผิดกฎหมาย และ กระทบต่อ ความมั่นคงของรัฐ ก็เป็นเรื่องที่ เราจะต้องใช้เครื่องมือเครื่องไม้ ตามกฎหมายจัดการ เพื่อที่จะไม่ให้ สถานการณ์นั้น ลุกลาม และ กระทบ กับ ประเทศ และ กระทบกับ ความเป็นอยู่ ของพี่น้องประชาชนต่อไป” นายอภิสิทธิ์ กล่าว

ยืนยัน ไม่มีผู้เสียชีวิต จากการปฏิบัติการ ของเจ้าหน้าที่


นายอภิสิทธิ์ กล่าวอีกว่า ขอยืนยัน อีกครั้งหนึ่งว่า
ประการแรก ในเชิงนโยบายนั้น ได้มีการประชุม กำชับกับ หน่วยงาน ที่ปฏิบัติงาน ในช่วงที่มี การประกาศ ภาวะฉุกเฉิน เกือบตลอดเวลาว่า ทุกมาตรการ ที่ใช้นั้น

หนึ่ง ต้องโปร่งใส ตรวจสอบได้ ปฏิบัติการทุกครั้ง ก็จะมีสื่อสารมวลชน ทั้ง ไทย และ ต่างประเทศ อยู่ด้วย และ
สอง คือว่า พึงหลีกเลี่ยง การใช้ความรุนแรง ในทุกรูปแบบ และ ทุกอย่างต้องอยู่ ภายใต้ข้อบังคับ หรือ ตัวบทกฎหมาย ทุกประการ


“ผมยังยืนยันครับ จนถึงวันนี้ว่า จากการติดตามตรวจสอบ ในทุกเรื่อง ยังไม่ปรากฏว่า มีผู้เสียชีวิต จากการปฏิบัติการ ของเจ้าหน้าที่ ในช่วงที่มี การประกาศภาวะฉุกเฉินร้ายแรง และ ในส่วนของ การบาดเจ็บต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นนั้น ทางเจ้าหน้าที่ ได้เร่งเข้าไปดูแล รัฐบาลก็ได้ ดำเนินการ มีมติในเรื่องของ การเยียวยาให้ พี่น้องประชาชน ที่ได้รับ ผลกระทบ ไม่ว่าจะเป็นใคร ไม่ว่าจะอยู่กลุ่มใด”นายอภิสิทธิ์ กล่าว

นายกฯ กล่าวอีกว่า เรียนว่า 2 วัน ที่มีการนำเสนอข้อมูลต่าง ๆ นั้น ที่จริงแล้ว ก็มีเรื่องราว ที่ได้รับความสนใจอยู่ อาจจะอยู่ 2-3 เรื่อง ซึ่งยังอยู่ในความสนใจ เช่น

กรณีที่ มีการพบศพใน แม่น้ำเจ้าพระยา ก็ขอเรียนย้ำ อีกครั้งหนึ่งว่า บุคคลทั้งสอง ที่ได้เสียชีวิตนั้น เสียชีวิต หลังจากที่มีปฏิบัติการต่าง ๆ ในเรื่องของการทหาร หรือ การดำเนินการ ของ ฝ่ายความมั่นคง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ก็คือว่า มีพยานชัดเจน ที่ระบุว่า บุคคลทั้งสองนั้น ยังคงมีชีวิตอยู่ ในช่วงประมาณ ตอนดึกของวันที่ 13 ต่อเนื่อง เช้าวันที่ 14 ซึ่ง พี่น้องประชาชน คงจำได้ว่า หลังจากดึก วันที่ 13 เป็นต้นไป ก็ไม่ได้มี ปฏิบัติการของ ฝ่ายความมั่นคง อะไรเพิ่มเติม เป็นช่วง ที่มีการตรึงกำลังกัน ก่อนที่ วันที่ 14 ทางผู้ชุมนุม จะได้ตัดสินใจ ในเรื่องของ การยุติการชุมนุม อย่างนี้เป็นต้น

นายอภิสิทธิ์ กล่าวถึงการเสียชีวิตของ พลทหาร ว่า อยากจะเรียนว่า เป็นผู้ที่ดูแลบ้านพัก ซึ่งตนได้ไปพักอยู่ แต่ว่าการเสียชีวิต ของบุคคลท่านนั้น เกิดขึ้นในช่วงค่ำ ของ วันที่ 14 เมษายน ซึ่งเป็นเวลาที่ ตนไม่ได้พักอยู่ที่นั่นแล้ว ตนพักอยู่ที่นั่น ในช่วงวันที่ 12 และ วันที่ 13 เมษายน และ จากรายงานเบื้องต้นของ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ก็ทราบว่า บุคคลดังกล่าว ประสบอุบัติเหตุ ในช่วงค่ำ และ หลังจากนั้น ก็มีพยานที่ได้สนทนา และ ได้ช่วยในเรื่องของ การซื้อยา เพราะว่าทางเจ้าตัวนั้น ได้บ่นว่าปวดศีรษะมาก แต่หลังจากที่นอนแล้ว ได้พบอาการผิดปกติ ได้มีการส่ง โรงพยาบาล อย่างนี้เป็นต้น

“นอกจากนั้น จะมี ภาพเหตุการณ์ ซึ่งเป็นภาพนิ่งบ้าง ภาพเคลื่อนไหว บ้าง ซึ่งรัฐบาล ได้พยายาม ที่จะชี้แจงว่า แต่ละเรื่องมี ที่มา ที่ไป อย่างไร ผมอยากจะเรียนว่า เราก็จะ เดินหน้า ทำเรื่องนี้ให้ โปร่งใสครับ เพราะว่าใคร ก็ตามที่เสียชีวิต ใครก็ตาม ที่ได้รับบาดเจ็บ นั้น ผมยืนยันครับว่าผมเชื่อว่า คนไทยทุกคนเสียใจ กับสิ่งที่เกิดขึ้น แต่เรา ก็ต้องยืนยัน ข้อเท็จจริงต่าง ๆ ว่า การเสียชีวิต หรือ การบาดเจ็บ นั้นเกิดขึ้นอย่างไร”

รัฐบาลตั้ง คณะกรรมการประมวลเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น

นายกฯ กล่าวอีกว่า ดังนั้น สิ่งที่ตนดำเนินการ ในขณะนี้ก็คือ

ข้อแรก ในส่วนของรัฐบาลเอง ได้มี การแต่งตั้ง คณะกรรมการ ประมวลเหตุการณ์ต่าง ๆ ซึ่งจะเป็นความรับผิดชอบ ของทาง สำนักงาน ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี อันนี้เป็นเรื่องของ ฝ่ายบริหาร ที่จะต้องดำเนินการ

ข้อที่สอง คือ ในการประชุมสภาฯ นั่นเอง เพื่อให้เกียรติ กับ เพื่อนสมาชิก ที่ได้มีการนำเสนอข้อมูลต่าง ๆ ตนได้เสนอแนะให้ ทางท่านประธานรัฐสภา ได้เชิญวิปของ ทั้งฝ่ายรัฐบาล ทั้งฝ่ายค้าน และ วุฒิสภา ซึ่งเข้าใจว่า จะมีการพบปะกัน ในวันพรุ่งนี้(27เม.ย.) เพื่อที่จะได้มี การดำเนินการว่า จะชำระสะสาง ประมวลเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น อย่างไร โดยตน ยืนยันว่า รัฐบาล และ หน่วยงาน ที่เกี่ยวข้อง จะให้ความร่วมมือ อย่างเต็มที่ กับการที่จะได้ ข้อเท็จจริงต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง

นายอภิสิทธิ์ กล่าวอีกว่า นอกจากนั้น ในส่วนของ หน่วยงาน แต่ละ หน่วยงานเอง หากมีเหตุการณ์ คำร้องเรียนใด ๆ ก็ต้องดำเนินการ ในการให้ได้ข้อเท็จจริงมา และ ก็ยืนยันว่า กำลังพล หรือ บุคลากร ของทุกหน่วยงานนั้น จะต้องปฏิบัติตามนโยบาย ตามกฎหมายเท่านั้น และ ก็จะต้องมี การตรวจสอบข้อเท็จจริง ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ตนตั้งใจว่า

บรรดาข้อมูลต่าง ๆ ที่มีการนำเสนออยู่ ในขณะนี้ ควรจะได้มี การตรวจสอบพิสูจน์ และมีการชี้แจงเผยแพร่ให้ พี่น้องประชาชน ได้รับทราบข้อเท็จจริง ทุกแง่ทุกมุม ความจำเป็น ในเรื่องนี้ ที่จะต้องทำ มีเหตุผลสำคัญ 2 ประการ

ประการแรก คือว่า คิดว่าอันนี้ เป็นมาตรฐาน ในเรื่องของ ความโปร่งใส และ ธรรมาภิบาล เมื่อเกิดเหตุการณ์ อะไรขึ้น ก็ต้องมีการติดตาม ตรวจสอบ ชำระสะสาง และ ประมวล ออกมาให้ พี่น้องประชาชน รับรู้ รับทราบ เหมือนในต่างประเทศ แม้กระทั่ง ที่เขาประชุม G 20 กันไป ที่ลอนดอน ปรากฏว่า มีเหตุการณ์ ที่ ตำรวจ ไปปะทะกับ ผู้ชุมนุม เขาก็ต้องมี การสอบสวน ให้ชัดเจนว่า เหตุการณ์ต่าง ๆ ความรุนแรง ที่เกิดขึ้น เกิดขึ้นได้อย่างไร

ประการที่ 2 คือตน ยังมีความเป็นห่วงว่า ยังมีคนจำนวนหนึ่ง ครับ พยายามที่จะนำเสนอข้อมูล ซึ่งคลาดเคลื่อน หรือ ข้อมูล ที่ยังไม่ได้รับการตรวจสอบ แล้วก็ไปทำให้ เกิดอารมณ์ความรู้สึก ของ ประชาชน ที่จะนำไปสู่ความรุนแรงให้เกิด ขึ้นได้อีก

“ยกตัวอย่างว่า ขณะนี้ ก็มีคนเอาใบปลิว มาให้ผมดู อ้างว่าเป็นใบปลิว จาก ผู้สื่อข่าว ช่อง 3, 5, 7, 9 ที่บอกว่า ไม่สามารถเสนอความจริงได้ กับเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น และ ก็ไปบรรยายว่า จริง ๆ แล้ว มีความรุนแรง มีการตาย มีอะไร แต่ที่ผมเห็นชัดเจน และ คลาดเคลื่อน ก็คือว่า พูดถึงเหตุการณ์ที่ กระทรวง มหาดไทย ก็บอกว่า ผมไม่ได้อยู่ในรถยนต์ คันที่มีการทำร้าย แล้วก็ไม่ได้มีอะไร เป็นเรื่องของ การวางแผน เพื่อที่จะสร้างสถานการณ์ต่าง ๆ ซึ่งผมอยู่ในเหตุการณ์เอง ผมทราบ และ พี่น้องประชาชน ที่ดูข่าว ก็จะทราบว่าไม่ได้เป็นความจริงเลย ตามที่มี การกล่าวอ้าง ในใบปลิว ลักษณะนั้น เพราะฉะนั้น ในเรื่องของ การประมวลเหตุการณ์ ต่าง ๆ นั้น ก็เพื่อความโปร่งใส” นายกฯ กล่าว

นายอภิสิทธิ์ กล่าวอีกว่า อยากจะเรียน พี่น้องประชาชนว่า ในช่วงนี้ ถ้าท่านได้ข้อมูลอะไร ขอให้ท่าน ได้ใช้วิจารณญาณ ไตร่ตรองแยกแยะ และ ถ้าสงสัย จะมีกระบวนการการพิสูจน์ ชี้แจงต่อไป ซึ่งตนย้ำว่า จะไม่ได้ทำโดย รัฐบาลฝ่ายเดียว แต่ฝ่ายนิติบัญญัติ ก็จะดำเนินการ และ ตนเข้าใจว่าคงจะมีการนำเรื่องเหล่านี้ไปสู่ องค์กรอิสระอื่น ๆ เพื่อที่จะได้ ชำระสะสางต่อไป ตนย้ำเรื่องนี้ เพราะว่า ตนไม่ต้องการให้ การปฏิบัติงานของรัฐบาล และ เจ้าหน้าที่ ที่เกี่ยวข้อง ที่ผ่านมา ซึ่งมีวัตถุประสงค์ เพียงแค่ นำกฎหมาย และ ความสงบ กลับคืนมา ถูกนำไป เป็นเงื่อนไข ที่จะเป็น ความขัดแย้ง เพิ่มเติม และตน ก็ได้แสดง ความบริสุทธิ์ใจ ในเรื่องของ ความโปร่งใส และ การรับการตรวจสอบ อยู่ตลอดเวลา

เชิญทุกฝ่ายร่วม หาทางออก ทางการเมือง

นายอภิสิทธิ์ กล่าวอีกว่า ที่จะต้องมี การดำเนินการ แน่นอน คือ ต้นเหตุ ของความขัดแย้ง ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด ปฏิเสธไม่ได้ว่า เป็นเรื่องของ การเมือง เพราะฉะนั้น การหาทางออก ทางการเมือง ก็มีความจำเป็น เช่นเดียวกัน หลังจาก การประชุมรัฐสภาแล้ว ตนได้ขอให้ ประธานรัฐสภาได้เชิญทุกฝ่ายมา เพื่อที่ จะเดินหน้า

ในการติดตาม ในเรื่องของ การแสวงหาทางออก ทางการเมือง แต่ตรงนี้ คงจะไม่สามารถทำได้ ลำพัง เฉพาะ ฝ่ายนิติบัญญัติ เพราะเป็นเรื่องของ สังคม ทั้ง สังคม เพราะฉะนั้น ถ้าจะพูดถึง เรื่องของ การปฏิรูปการเมือง การแก้ไขเพิ่มเติม รัฐธรรมนูญ หรือ การสมานฉันท์ใด ๆ ก็ตาม

กระบวนการนี้ ต้องเป็นกระบวนการ ที่ทุกฝ่ายเข้ามา มีส่วนร่วม คิดว่าตรงน ี้เป็นเรื่องของ ความจำเป็น เพื่อที่จะปรับ ฐานการเมือง ให้ทุกฝ่าย ได้ยอมรับกฎกติกาต่าง ๆ ที่มีอยู่ ก่อนที่ เราจะ แสวงหา ทางออก ทางการเมือง ในขั้นต่อไป เพราะถ้าหากว่า ขณะน ยังไม่ชำระสะสางกัน ในเรื่องนี้ การเรียกร้อง ให้มีการเปลี่ยนแปลง ทางการเมืองใด ๆ คงไม่สามารถ ที่จะแก้ไขปัญหาพื้นฐานได้ เพราะว่า จะทำให้เราย้อนกลับไป อยู่ในสถานการณ์ อย่างที่เราได้ผ่านมา ในช่วง 2-3 เดือนนี้


นายกฯ กล่าวว่า เพราะฉะนั้น ตรงนี้ก็เป็นอีก ขั้นหนึ่ง อีกก้าวหนึ่ง ที่คิดว่า จะเป็นก้าวสำคัญ ในการคลี่คลายสภาพปัญหา ต่าง ๆ ที่เป็น ความขัดแย้ง ที่เกิดขึ้น อย่างไรก็ตาม การทำงาน ของ ฝ่ายนิติบัญญัติ อยากจะบอกว่า ไม่ได้หมายความว่า ฝ่ายอื่น ๆ จะเพิกเฉย สถาบัน องค์กรต่าง ๆ ซึ่งตนได้เคยร้อง ขอให้เข้ามาดูแล อย่างเช่น สถาบันพระปกเกล้า หรือ หน่วยงานวิชาการ หรือ สภาพัฒนาการเมือง หรือหน่วยงานอื่น ๆ ก็ควรที่จะได้มี การติดตาม และ ทำเรื่องนี้อย่างต่อเนื่อง


“แม้กระทั่ง ที่ผมได้พูดไปก่อนหน้านี้ว่า น่าจะพิจารณาให้ กว้างขวาง เปิดกว้างเอาไว้ ยกเว้น ในเรื่องของ การนิรโทษกรรม ในเรื่องของ คดีอาญา สัปดาห์ที่ผ่านมา ก็มีการสะท้อน ความคิดเห็นต่าง ๆ มากมาย เห็นด้วย ไม่เห็นด้วย ซึ่งสิ่งเหล่านี้ เป็นสิ่งที่ทาง สมาชิกรัฐสภา ทุกคน ก็พึงที่จะ รับฟัง ในการหาคำตอบ ต่อไป ผมเอง จะไม่ชี้นำ อะไรครับ ในส่วนของผม ถือว่าเป็น ส่วนหนึ่ง ของ พรรคการเมืองหนึ่ง ซึ่งจะมี คณะทำงาน หรือ บุคคลที่เกี่ยวข้อง ในการเสนอความเห็น ของ พรรค พร้อม ๆ ไปกับ การที่พรรคการเมืองอื่น ๆ จะได้ เสนอความเห็น เข้ามา เพราะฉะนั้น ใน 2 เรื่องนี้ครับ คือ ก้าวสำคัญ หลังจากที่เราได้สรุป ในเรื่องของ การประชุมรัฐสภา”นายอภิสิทธิ์ กล่าว

รัฐบาล ขอแรง องค์การอื่น แจงเรื่อง สองมาตรฐาน

นายกฯ กล่าวย้ำ เรื่องสองมาตรฐานว่า เห็นว่า ในการประชุมรัฐสภา ที่ผ่านมา ก็มีการพูดถึง ประเด็นบางประเด็น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ปัญหาเรื่องสองมาตรฐาน ตนขอย้ำว่า ในส่วน ของ ฝ่ายบริหาร หรือ ในส่วนรัฐบาลเอง ในเรื่องของ สองมาตรฐานไม่มี ตนทำงาน ทุ่มเท ทำงานให้กับ ทุกคนเสมอภาคกัน

ส่วนปัญหาคดีความต่าง ๆ หรือแม้กระทั่ง การตัดสินต่างๆ ที่ผ่านมา หลายส่วน เป็นเรื่องของ อำนาจ ของ ฝ่ายตุลาการ หรือ องค์กรอิสระ ซึ่งตนคิดว่า หน่วยงานเหล่านั้น ควรจะได้ทำคำชี้แจงว่า การตัดสินต่าง ๆ มีเหตุมีผล มีเรื่องของ ข้อกฎหมายรองรับ อย่างไร ส่วนถ้า กฎหมายที่เป็นที่มาของ การตัดสินตรงนั้น มีความไม่เป็นธรรม หรือ มีความบกพร่อง หรือ ไม่สมบูรณ์อย่างไร ก็จะได้เป็นการสรุป เพื่อที่จะให้คณะที่ดูแลในเรื่องของ การแก้ไขปัญหาทาง การเมือง นำไปประกอบ การพิจารณา

นายอภิสิทธิ์ กล่าวอีกว่า แต่ในส่วนของ ฝ่ายบริหารเอง ก็ยังมี เรื่องที่จะต้องดำเนินการต่อ ขอเรียนว่า การดำเนินคดี ตามกระบวนการยุติธรรม จากนี้ไป ไม่ว่าจะ เกี่ยวข้องกับ แกนนำผู้ชุมชน ไม่ว่าจะไป เกี่ยวข้องกับสื่อใด ๆ ก็ตาม จะได้ยึด ตามกฎหมายเท่านั้น แล้วจะไม่มีการเอา อำนาจพิเศษ ในเรื่องของพระราชกำหนด มาเป็นตัวตั้ง ในการที่จะไปดำเนินการ เพื่อมุ่งที่จะไป กลั่นแกล้ง หรือ ไปคุกคาม หรือ ไปอะไรทั้งสิ้น ไม่มีเด็ดขาด และ เมื่อเราได้วาง แนวทาง กติกา เช่นนี้แล้ว

เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา ตั้งแต่เวลาเที่ยงคืน ได้ประกาศยกเลิก ภาวะฉุกเฉินร้ายแรง ซึ่งหมายความว่า อำนาจของรัฐบาล ตาม พ.ร.ก. ก็สิ้นสุดลง แต่ไม่ได้ หมายความว่า ผู้ที่มี ความรับผิดชอบ ในการรักษา ความสงบเรียบร้อย ในบ้านเมือง หรือ ความมั่นคง จะหยุดทำงาน ท่านเหล่านี้ จะทำงานต่อ ภายใต้กรอบกติกาของ กฎหมายปกติ ต่อไป

นายกฯ กล่าวว่า ทั้งหมดที่ทำ เพื่อต้องการให้เรา ยุติความรุนแรง และ นำความปกติ กลับคืนมาสู่บ้านเมือง แต่กระบวนการตรงนี้ ยังต้องอาศัยความร่วมมือ จาก พี่น้องประชาชน ต่อไป ในช่วง 2 สัปดาห์ ข้างหน้า ตนคิดว่า มีวันสำคัญ ๆ มากมาย ซึ่งบ่งบอก ในเรื่องของ การสนับสนุน สถาบันหลักของชาติ

ซึ่งขอถือโอกาสนี้ เชิญชวนพี่น้องประชาชน เราจะมีทั้ง วันแรงงาน วันพืชมงคล ซึ่งเป็นวัน ที่แสดงออก ถึงการยอมรับกลุ่มคน ที่เป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ นั่นคือ เกษตรกร และ ผู้ใช้แรงงาน เราจะมี วันวิสาขบูชา ซึ่งเป็น วันสำคัญ ทางพระพุทธศาสนา ก็ถือโอกาสเรียนว่า ที่มีข่าวว่า ไปตัดงบประมาณ ลงเหลือ 2 ล้าน หรืออะไรนั้น ไม่เป็นความจริง ขณะนี้ มีการขอ งบประมาณ งบกลาง มา สำนักงบประมาณ กำลังเร่งรัดให้ และ งานทั้งหมด ก็คงจะมี งบประมาณ ประมาณ 56 ล้านบาท

“ขอถือโอกาส เชิญชวน พุทธศาสนิกชนว่า ในช่วงจากนี้ไปจนถึง วันวิสาขบูชา ขอให้ท่าน ได้ร่วมกันจะ ปฏิบัติธรรม สวดมนต์ ภาวนา หรือเข้าไปร่วม ในกิจกรรมทาง ศาสนาใด ๆ เพื่อที่จะเตือนสติ สังคมทั้งสังคม ว่า สิ่งสำคัญที่สุด ก็คือ ความสงบสุข และ การไม่มีความขัดแย้ง กันนะครับ” นายกฯ กล่าว

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในช่วงที่สอง ของรายการ นายกฯ ได้เชิญ นายอภิรักษ์ หาญพิชิตวณิชย์ มาทำหน้าที่ ผู้ดำเนินรายการ ซักถาม นายกฯ ถึงประเด็นต่าง โดย ผู้ดำเนินรายการ ได้ถาม ถึง กรณี ที่พัทยา และ มหาดไทย โดย นายกฯ กล่าวว่า คิดว่ามันคงมี สองส่วน

ส่วนแรก หลายคนที่รู้จักตน ก็จะทราบว่า ตนไปไหนมาไหนธรรมดา ค่อนข้างจะไปง่าย ๆ สบาย ๆ ตั้งแต่เป็น ผู้แทนฯ เป็นรัฐมนตรี หรือเป็นอะไรก็แล้วแต่ ยังถูกแซวอยู่เรื่อย ๆ ว่า เวลาที่เดินทาง เมื่อก่อนนี้ เดินทางสมมติว่า ไปขึ้นเครื่องบิน ก็จะไปทำตั๋ว ไปทำอะไร ด้วยตัวเอง แล้วก็ไป บางที ก็เดินไปคนเดียว แล้วก็ชอบถือ เอกสารของตัวเอง อะไรต่าง ๆ เพราะฉะนั้น ก็พยายาม บอกเขา มาตลอดว่า อย่าไปทำอะไรมาก ทีนี้ ก็ไม่คาดคิดว่า การชุมนุมต่าง ๆ ทางการเมือง จะบานปลายไป เป็นลักษณะนี้ เพราะฉะนั้น อันนั้น ก็อาจจะเป็น จุดแรก ซึ่งต่อไปนี้ ก็คงจะต้องฝืนใจตัวเอง นิดหน่อย แล้วก็ต้องยอมรับ มาตรการ ที่มันเข้มข้นขึ้น นายอภิสิทธิ์ กล่าวอีกว่า

ส่วนที่สอง ก็เป็น ภาพรวมด้วย ว่าไม่ว่าจะเป็นที่ พัทยา หรือไม่ว่าจะเป็น ที่ไหนก็ตาม ก็อาจจะมี ข้อบกพร่อง ในบางส่วน ซึ่งต้องแก้ไข แต่อีกส่วนหนึ่ง ก็คือเรา ก็นึกไม่ถึงจริง ๆ ว่าจะมี การประกาศ ถึงขั้นว่า จะจับตัว จะไล่ล่า จะอะไร ก็แล้วแต่

แต่ว่าต่อไปนี้ ก็ต้องปรับปรุง เพราะว่า ไม่อย่างนั้น มันไม่ใช่เรื่องของตน มันเป็นเรื่องของ ผู้นำของประเทศไทย แล้วก็มัน ก็ส่งผลกระทบต่อ ภาพลักษณ์ของประเทศ และ ความมั่นใจที่ ชาวโลกจะมี โดยเฉพาะ ผู้นำต่างประเทศ ซึ่งเขาจะต้องเดินทาง เข้ามาด้วย ตอนนี้ ก็มีการปรับ ไปพอสมควร ทั้งในส่วนที่ อยู่กับตน ตลอดเวลา และ ในส่วนที่ สถานที่สำคัญต่าง ๆ ก็ต้อง ขออภัย ด้วย ว่า เวลาที่ไปงาน ขบวนใหญ่ขึ้น และอาจจะมี การเข้มงวดกวดขัน มากขึ้น ในการตรวจตรา คนที่เขาไปร่วมงาน ก็อาจจะทำให้ มีความรู้สึกว่า เอ๊ะ มันไม่เหมือนเดิม แต่ก็ขอ ความเข้าใจ

ในเรื่องนี้ ถามว่า ตนชอบใจไหม ตนก็ไม่ชอบใจหรอก ยังอยากจะ ไปไหนมาไหน คนเดียว แต่ว่าทุกคน ก็ต้องทำหน้าที่ และมีความรับผิดชอบ ของตัวเอง ฝ่ายที่เขา มีหน้าที่ ในการรักษาความปลอดภัย เขาเห็นถึง ความจำเป็น ก็ต้องดำเนินการ

นายกรัฐมนตรี กล่าวอีกว่า กรณี ผู้นำต่างประเทศ ต้องเป็น ความปลอดภัยสูงสุด อันนี้ย้ำอยู่แล้ว แล้วก็ที่จริง ก็แม้ว่า เกิดเหตุการณ์ขึ้น แต่ก็ดูแล เรื่องความปลอดภัย เรียบร้อยดี ยังมี หนังสือขอบคุณ มาจาก ผู้นำหลายประเทศ เหมือนกัน ที่บอกว่า เราได้ดูแลเขา เป็นอย่างดี

ส่วนของการชุมนุม ที่อาจจะเป็นปัญหานี้ ส่วนหนึ่ง ก็เป็นเพราะว่า หนึ่ง ทางเจ้าหน้าที่ โดยเฉพาะ ตำรวจเอง ก็เปิดใจกับตนว่า ไม่ค่อยแน่ใจว่า กฎหมายคุ้มครอง เขาแค่ไหน เขาก็เกร็ง เพราะว่า ในช่วง 2 – 3 ปี ที่ผ่านมา เกิดเหตุการณ์ อะไรขึ้น พอมีการตรวจสอบ มีอะไรต่าง ๆ นี้ คุ้มครองเขาแค่ไหน

เพราะฉะนั้น อันนี้ ก็เป็นเหตุผลหนึ่ง ที่เราคิดถึง เรื่องการปรับปรุงกฎหมาย ต่อไป กับ ประการที่สอง คือ ต้องให้ความมั่นใจว่า สมมติเขาทำ ตามนโยบาย และ ก็ทำตามความจำเป็น สมควรแก่เหตุ “ผมยืนยันว่า ฝ่ายการเมือง ซึ่งเป็น ผู้บังคับบัญชาเขา จะต้องเข้าไปรับผิดชอบ ใน เรื่องต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น นะครับ ทีนี้ ในช่วงของ การชุมนุม หรือ เหตุการณ์ต่าง ๆ นี้ เขาพยายามใช้วิธี การเจรจา เสร็จแล้ว ปรากฏว่า พอเจรจากันไป เจรจากันมา ก็เหมือนกับ ปล่อยปะละเลย เหมือน ปล่อยผ่านมา อันที่หนึ่ง นะครับ อันที่สอง ในช่วงจนถึง พัทยา นี้ เราก็ พยายามไม่อยากให้ มีภาพ ความรุนแรง อะไรเลย เพราะฉะนั้น ตำรวจ หรือ แม้กระทั่ง ทหารเอง บางทีมีแต่ โล่ห์ อย่างเดียว ซึ่งพอเหตุการณ์ มันลุกลามปั๊บ เราประกาศใช้ พ.ร.ก. มัน ก็จึงต้องเปลี่ยนแปลงไป ในชั้นนี้ ก็จะหาความลงตัว ความพอดี เลิก พ.ร.ก. ก็จริง แต่ว่า ต้องเข้มงวด ไม่ให้สถานการณ์ มันย้อนกลับไป เหมือนก่อนสงกรานต์อีก” นายกฯ กล่าว


เมื่อ ผู้ดำเนินรายการ ถามว่า มีหลายฝ่าย เรียกร้อง ความรับผิดชอบ จาก ฝ่ายการเมือง กับ เหตุการณ์ ที่เกิดขึ้น ท่านมอง เรื่องนี้อย่างไร ต้องมี การเปลี่ยนแปลง ไหม นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า คือฝ่ายการเมืองเอง เราอย่างที่เรียน กำลังมาทบทวนดู ต่อสภาพปัญหาต่าง ๆ ทั้งหมด แล้วก็ ตนคิดว่า ในช่วงตั้งแต่ การประกาศพระราชกำหนดฯ มาจนถึงวันนี้ ทุกอย่าง ก็ค่อนข้าง เป็นไปด้วยดี เพราะฉะนั้น ตรงนี้ ถ้าหากว่า เราสามารถทำงานต่อ ในระดับนี้ได้ ก็ไม่น่า จะมีปัญหาอะไร แต่อย่างไรก็ตาม การสรุป จุดอ่อน ข้อบกพร่อง ความผิดพลาด ทั้งหลาย ซึ่งมัน มีแน่นอน ในช่วง 2 – 3 เดือน ที่ผ่านมา ตรงนี้ ก็จะต้องแก้ไข กันไป เมื่อถามย้ำว่า จะมีการเปลี่ยน หรือ เปล่าไม่แน่ใจ ใช่หรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ก็จะมา ปรึกษาหารือกัน กับทุกฝ่าย อีกครั้ง

นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ตนยืนยันว่า ตนมีความเชื่อ ในเรื่องของ ประชาธิปไตย เพราะฉะนั้น อำนาจพิเศษ ตนหลีกเลี่ยงอย่างถึงที่สุด ที่จะไม่ใช้ ฉะนั้น ใครที่บอกว่า ตนไปมุ่งใช้ กฎหมายพิเศษ ทำลายล้างรุนแรง ถึงขั้นกับ กล่าวหาว่า ตนไปสั่งฆ่าประชาชน มันเป็นไป ไม่ได้เลย ตรงกันข้าม ก่อนที่จะ ประกาศใช้ พ.ร.ก. นี้ ตนถูกถามมาว่า เกือบเป็นเดือน ว่า เมื่อไรจะใช้ เมื่อไรจะใช้ ตนก็ยืนยันว่า ไม่อยากใช้ เช่นเดียวกับ การใช้สื่อ ก็ใช้เท่าที่จำเป็น

ทีนี้ตนคิดว่า วันนี้ สังคม มีบทเรียน ตนไม่อยาก ให้เป็นเรื่องว่า รัฐบาลไปบังคับ รัฐบาลต้องไปสั่ง ทุกคน มีบทเรียน สื่อสารมวลชน ประชาชน ทั่วไป วันนี้ ตนยืนยัน อีกครั้งหนึ่ง

“เมื่อคืนก็ชุมนุมกัน ใช่ไหมครับที่ สนามหลวง ก็ตราบเท่าที่ ชุมนุมโดยสงบ ปราศจากอาวุธ ก็ไม่มีปัญหา ผมยังไม่ทราบว่า รายละเอียด ในเรื่องของ การชุมนุมนี้ มีอะไรบ้าง แต่ว่า โดยรวม เหตุการณ์ ไม่ได้มีปัญหาอะไร และก็ ชุมนุมแล้ว ก็เลิกกันไป จะนัดชุมนุมใหม่ จะโจมตี วิพากษ์วิจารณ์ ผม ไม่มีปัญหา แต่ต้องไม่มีเรื่องของ การยุยง ให้เกิด ความรุนแรง เหมือนกับ ที่บางคนบอก เอ๊ะ ทำไม มีการไปปิด วิทยุชุมชน สถานีโทรทัศน์ บางช่อง ผมก็บอกว่า ถ้าเขาดำเนินการ ถูกต้องตามกฎหมาย ทุกอย่าง ไม่มีปัญหาเลย แม้จะ ตำหนิ วิพากษ์วิจารณ์ ผม รุนแรง แค่ไหน อย่างไร ทำได้นะครับ

แต่ถ้าเมื่อไร บอกว่า ให้คนไป ไล่ล่าจับ คนนั้นคนนี้ ไปทำให้เกิด การกระทำ ที่ผิดกฎหมาย เช่น ปิดถนน หรือ มีการเผา หรืออะไรอันนี้ ไม่ได้ ก็มีอยู่เท่านั้นเอง แล้วก็ ได้มอบนโยบาย ชัดเจน ให้กับทุก ๆ ฝ่าย ว่า ขอให้ ยืนยันแนวทางนี้

ถามว่าแนวทางนี้ จะนำความสงบ มาได้ไหม ผมก็บอกนะครับ ขอย้ำอีกครั้งว่า เลิก พ.ร.ก. แล้ว แต่ว่า เจ้าหน้าที่ทั้ง ตำรวจทหาร ก็ยังช่วย ดูแล รักษา ความสงบเรียบร้อย และ เขามีบทเรียนแล้ว นะครับ ว่า ก่อนสงกรานต์ เป็นอย่างไร ช่วงสงกรานต์ ต่าง ๆ มันเกิดอะไรขึ้น” นายกฯ กล่าว

เมื่อผู้ดำเนินรายการ ถามว่า เข้มเกินไป กับ ปล่อยเกินไป เป็นอย่างไร พอมองในความรู้สึกว่า นี่จะเป็นบทเรียน ให้กับ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ต้องเป็นบทเรียน ที่หา ความพอดี ตรงนี้ให้ได้ เพราะฉะนั้น ตนยังให้ความมั่นใจว่า การดูแลตรงนี้ จะดีขึ้น ในทางกลับกัน ใครที่คิดว่า เราจะสามารถนำความสงบ โดยการใช้อำนาจพิเศษ ตลอดไป เป็นไปไม่ได้ แล้วก็ ไม่สมควรด้วย เพราะว่า อย่างที่ตนย้ำไปว่า ต้นเหตุความขัดแย้ง ส่วนหนึ่ง เป็นเรื่องการเมือง ก็ต้องไปแก้ด้วย การเมือง ซึ่งก็เป็นเหตุผล ที่เรากำลังให้มี คณะทำงาน โดยฝ่ายนิติบัญญัติ ซึ่งมีความเป็นกลาง ในการที่ จะทำตรงนี้ต่อไป คืออยากจะ เปรียบเทียบให้เห็น แม้กระทั่ง ในพื้นที่ 3 จังหวัดภาคใต้เอง ใช้ พ.ร.ก. ต่อเนื่องมา ต่ออายุกันมา 14 หรือ 15 ครั้งแล้ว มันก็เป็น เครื่องมือ ที่สำคัญ แต่มันอยู่ตลอดไป ไม่ได้ ตนก็ย้ำตรงนี้ และ พยายาม จะดูว่าทำอย่างไร ที่จะสามารถหาแนวทาง ในการที่จะ เพิ่มประสิทธิภาพ ตรงนี้ และ สุดท้าย นำไปสู่ การยกเลิก ให้ได้เช่นเดียวกัน

“ผมขอยืนยัน อย่างนี้นะครับว่า ผมให้ความสำคัญกับ ข้อมูลของ ทุกคน ช่วงเกิดเหตุการณ์นี้ ระหว่างที่ ประกาศ พ.ร.ก. เมื่อใด ที่มีข่าวนะครับ มีใครเสียชีวิต มีใครถูกยิง หรืออะไรนี้ ผมจะให้ ตรวจสอบ ทันที แล้วก็ ตรวจสอบ โดย บุคคลซึ่งไม่ได้มี ส่วนได้เสีย เอา หมอ เอา ผู้อำนวยการโรงพยาบาล เอา หน่วยงานอื่น ๆ เข้ามาช่วยกันดู เพื่อให้ ประชาชนสบายใจ ว่า ของจริง คืออะไร และ

เรื่องนโยบาย ถ้ามีการไปสอบถาม บรรดาผู้นำ จะเป็น ตำรวจ ทหาร จะทราบเลย นะครับ ตัดสินใจสำคัญ ๆ เช่น ผมบอกเลยว่า การชุมนุม ที่ทำเนียบฯ ที่อยู่กัน หลายพันคน แม้ บางคนบอกว่า ให้สลาย เลย ผมก็เป็นคนตัดสินใจบอก ไม่ได้ เสี่ยงต่อ การที่จะเกิด ความสูญเสียขึ้น อย่างนี้เป็นต้น ค่ำคืนบางคืน มีเหตุที่พบ คนซ้อนท้ายมอเตอร์ไซค์ ไปยิงทหาร ที่อยู่ตามจุดต่าง ๆ เขาก็มาขอ นโยบาย ผมว่า ตอบโต้ได้ไหม ผมบอก อย่าไปทำเลย เกิดยิงสวนไป คนตาย เป็นใครก็แล้วแต่ จะเป็นเรื่องใหญ่นะครับ ทำให้ความขัดแย้ง ลุกลามไป ก็บอกว่า ให้อดทนอดกลั้น ถ้าไม่ไหวจริง ๆ ค่อยมา ประเมินทบทวน กันอีกที แนวทาง ผมชัดมาก” นายกฯ กล่าว

นายกอภิสิทธิ์ กล่าวอีกว่า เพราะฉะนั้น พอมาวันนี้ อย่างเช่น ใน สภาฯ บางที มีภาพนิ่งออกมา นี่มันเกิดขึ้นหรือเปล่า เราต้องไปเอาคลิป ที่เป็นภาพเคลื่อนไหว ทั้งหมด ให้ทราบว่า ก่อนจะไปถึง ภาพนิ่ง ตรงนั้น อะไรมันเกิดขึ้น หรือ อย่างกรณี คลิปต่าง ๆ ซึ่งขณะนี้ ก็ยังมีบางอัน ที่มีความไม่ชัดเจน ตนก็จะให้ มีการตรวจสอบข้อเท็จจริง แล้วมีการชี้แจงต่อไป อย่างโปร่งใสที่สุด ส่วน การสะท้อนออกมา เช่น มี ส.ส. ภาคเหนือ บอกว่า ในพื้นที่ภาคเหนือ ไปจับกุมอะไรเกินเลยไปหรือเปล่า ตนเชิญมาคุยเลย เขาเรียก หลังบัลลังก์ ของท่านประธาน มาคุยกัน มันเป็นอย่างนั้นเหรอ ตนก็ต่อสายคุย กับ ทางตำรวจ ในพื้นที่เลย ให้คุยกัน ทำความเข้าใจกันนะว่า คนที่เขา มาชุมนุมเฉย ๆ ไม่มีอะไร อย่าไปยุ่งกับเขา แต่คนที่ไปยุยง บอกว่า ให้ทำผิดกฎหมาย อันนี้ เราก็ต้อง รักษากฎหมาย เท่านั้นเอง แต่ว่า อย่าไปทำอะไร เกินเลย เพราะนั้น แนวทางตน เป็นอย่างนี้ตลอด และ ทำอย่างนี้ ต่อไป

เมื่อถามว่า ข้อเท็จจริง โดยคนกลาง จะมาเมื่อไร เพราะถ้าหาก ข้อเท็จจริง โดยคนกลาง ยังไม่ออกมา ฝ่ายที่เห็นประเด็น ที่ไม่ตรง กับ นายกฯ ก็ต้องออกมา

นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า คือที่จริง ขณะนี้ ตนอยากจะเรียนอย่างนี้ว่า เวลาที่มีการชี้แจง ขณะนี้ เราไม่ได้พูดถึง ความเห็นเลย เราเอาข้อเท็จจริง มากางให้ดู อย่างที่บอกนี้ ภาพเคลื่อนไหว ที่เกิดขึ้นจริง เป็นอย่างไร หรือ รายงาน การสอบสวน สืบสวนสอบสวน ในเหตุการณ์ ที่เกิดขึ้น มีคนนี้ เป็นพยาน ยืนยัน ว่า อะไร อย่างไร อันนี้เป็นเรื่องของ การให้ข้อมูล เฉย ๆ ยังไม่มี เรื่องความเห็น เพราะฉะนั้น มันไม่ใช่เรื่อง เป็นกลาง หรือ ไม่เป็นกลาง เป็นว่า ตรงไหน ข้อมูลครบถ้วนที่สุด ส่วนคนที่ ประมวลเหตุการณ์ ตนได้พูดไปแล้ว สำนักนายกฯ ทำส่วนหนึ่ง หน่วยงานภายใน ก็ต้องทำส่วนหนึ่ง ฝ่ายนิติบัญญัติ ก็จะมาทำ และ ถ้ามีความจำเป็น ในการที่จะให้ องค์กรอิสระเข้ามาตรวจสอบ รัฐบาล ก็ยินดีให้ความร่วมมือ

นายกฯ กล่าวถึง การตามหาตัว พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯ และ นายจักรภพ เพ็ญแข แกนนำ นปช. ว่า อยู่ต่างประเทศ และ ก็คือ เคลื่อนไหว อยู่ตลอดเวลา อย่างไรก็ตาม ตนได้เรียนกับ เพื่อนสมาชิกรัฐสภา ได้อภิปรายช่วงสรุป และ ได้รับการตอบสนอง ด้วยดี

คือตนบอกว่า เรื่องการเมืองนี้ ท่านจะเรียกร้องอะไรกันต่อไป อย่างเมื่อคืนที่ สนามหลวง เขาเรียกร้อง เรื่องรัฐธรรมนูญปี 40 ว่าสิทธิ ของ D Station วิทยุชุมชน ต้องเป็นไป ตามกฎหมาย อะไรต่าง ๆ อันนี้แล้ว ก็ความชัดเจน ในเรื่องเหตุการณ์ นี่ไม่มีปัญหาเลย เราก็จะมาดูแลกันต่อ แต่ตนขอไว้ 2 เรื่อง

เรื่องแรก ก็คือว่า การไปดึง สถาบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สถาบันพระมหากษัตริย์ เข้ามาเกี่ยวข้อง ขอให้หยุด ซึ่งขณะนี้ ก็ต้องขอบคุณ และตนเข้าใจว่า ในส่วนของ ส.ส. ฝ่ายค้าน คนที่เคลื่อนไหวต่าง ๆ ก็ดูจะ ไม่ได้พูดถึง เรื่องนี้

“ส่วนกรณี อดีตนายกฯ หรือ คุณจักรภพฯ จะพูดไป ก็ขอให้เป็นเรื่อง เฉพาะบุคคล แล้วเรา ก็จะต้องดำเนินการ และ ในส่วนของรัฐบาลเอง ก็ทำหน้าที่ ในการชี้แจงกับ สื่อต่างประเทศ ไป คือผม ก็สังเกตว่า ตอนหลัง สื่อต่างประเทศ ก็มีความเข้าใจ ชัดเจน ยิ่งขึ้นว่า จริง ๆ แล้วการไปถึงขั้น ที่เรียกว่า จาบจ้วง หรือ กล่าวหา สถาบันพระมหากษัตริย์ ซึ่งทรงอยู่เหนือการเมือง พระองค์ท่าน ทรงอยู่เหนือ การเมือง และ สถาบัน ทั้งสถาบัน อยู่เหนือการเมือง ก็ดูมี ความเข้าใจ ชัดเจนมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะ กับพฤติกรรม ในช่วงที่ผ่านมา ซึ่งมีการพูดถึง การจะไปใช้ความรุนแรง ประกาศ จะใช้อาวุธ ผมคิดว่า ขณะนี้ นานาชาติ เขาต่อต้านด้วยซ้ำ การที่ไปเรียกร้อง ให้มีการใช้อาวุธนี้ ความจริง ก็แทบจะไม่ต่างจาก ผู้ก่อการร้าย แล้ว เพราะฉะนั้น ตรงนี้ ผมว่า ความร่วมมือ จาก ต่างประเทศ ความเข้าใจ จาก ต่างประเทศ จะดีขึ้น

ประการที่สอง คือ ความรุนแรง ทั้งหลาย ที่มาชักชวนว่าให้ รุนแรง กัน มาแสดง ความขอบอก ขอบใจ ว่า สามารถขัดขวาง การประชุมนานาชาติ ได้ ผมก็ยิ่งคิดว่า ทำให้ ต่างประเทศ เขามองเห็น ว่า จริง ๆ แล้ว มันเป็นเรื่อง การเรียกร้องประชาธิปไตย หรือ ไม่ ส่วน การเรียกร้องประชาธิปไตย โดยคนจำนวนมาก ที่มีความรู้สึกจริง ๆ อย่างที่ผม ได้บอกไป ก่อนหน้านี้ ก็กำลังให้ ทางสภาฯ เข้ามาเป็น กลไกสำคัญ ในการแก้ไขปัญหา” นายกฯ กล่าว

เมื่อผู้ดำเนินรายการ ถามว่า เขายังสามารถ โฟนอิน หรือว่า เข้ามา วีดิโอลิงค์ ในการชุมนุม ซึ่งจะเป็นเงื่อนไขสำคัญ ที่ทำให้ กลุ่มผู้ชุมนุมฮึกเหิม นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า เข้าใจว่า เมื่อคืน ก็ไม่มี ยังไม่ได้ ตรวจสอบ ละเอียด ทั้งหมด แล้ว ถ้าหากว่า พูดจาในลักษณะ ที่ผิดกฎหมายอีก ก็เพิ่ม พูดง่าย ๆ ก็เพิ่มข้อหา การกระทำที่ผิดกฎหมาย มากยิ่งขึ้นไปอีก ซึ่งก็ไม่ทราบว่า จะทำไปทำไม อยากจะย้ำว่า ถ้าทำแล้ว คิดว่า จะเป็นเรื่องของ การเอาชนะกัน ในทางการเมือง คือ ชนะ – แพ้ ตนไม่ทราบ แต่ว่าประเทศเสียหาย

วันนี้ขอโอกาส ให้กับ คนไทย ขอโอกาสให้กับ ประเทศไทย ในการที่ จะดูแลแก้ปัญหาเศรษฐกิจ ซึ่งเป็น ปัญหาพื้นฐาน ของ ประชาชน มาช่วยกันดูแล คนตกงาน มาช่วยกัน ดูแล ลูกหลาน ให้เรียนฟรี มาช่วยกัน ดูแลผู้สูงอายุ ให้ได้ ค่าตอบแทน ซึ่งทั้งหมดนี้ กำลังเริ่มต้น ปลายเดือนนี้ ต้นเดือนหน้า ทำไมไม่มา ช่วยกันทำ ตรงนี้ก่อน มาช่วยกัน กอบกู้ภาพลักษณ์ ของประเทศ ว่าเราได้รับ การยอมรับ บทบาทต่าง ๆ มาในอดีต ได้รับความไว้วางใจ ให้เป็น ประธานอาเซียน จัดการประชุม ครั้งสำคัญ เดินหน้า ในการที่จะเป็นกลไก หรือเป็น ส่วนสำคัญ ในการร่วมมือ กับ นานาประเทศ ในการแก้วิกฤต เศรษฐกิจโลก เหมือนกับ ที่เราได้รับเกียรติไปประชุมที่ ลอนดอน ที่อะไรต่าง ๆ ซึ่งบทบาทต่าง ๆ กำลังเป็นที่ยอมรับ

ตนไม่มา ขอโอกาสให้ ตัวเอง แต่ขอโอกาสให้กับ ประเทศชาติ กับประชาชน ส่วนใน เรื่องการเมือง อย่างที่ตนย้ำ ในคืนวันประชุมสภาฯ ไปดูกันทุกฝ่าย กติกา จะแก้กัน ตรงไหน แก้เสร็จแล้ว อยากจะไป เลือกตั้ง กันใหม่ ตนไม่ขัดข้อง

ผู้ดำเนินรายการ ถามว่า มีเวลายังเหลือ อีกนิดหนึ่ง แนวทางในการปฏิรูป นิรโทษกรรม คำนี้ออกมาเยอะ เหลือเกิน มันจะเป็นแนวทาง ที่เป็นข้อสรุปสุดท้าย ในการแก้ไขปัญหา หรือว่า เป็นแนวทาง ที่ทำให้ ผ่อนหายใจ ให้บรรยากาศ ทางการเมือง ช่วงนี้มันผ่านพ้นไป เท่านั้น

นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ตนบอกว่า ประเด็นในเรื่องของ ความผิดทางการเมือง เอามาวางบนโต๊ะ กันได้ ส่วนจะ ทำหรือไม่ทำ ต้องมาพูดคุยกัน ด้วยเหตุด้วยผล อาจจะต้องมี กระบวนการ อาจะจะต้องถึงขั้น ไปทำประชาพิจารณ์ ประชามติ ก็ได้ แต่ตนก็อยากจะบอกว่า

1. ต้องแยก เรื่องความผิด ทางการเมือง ความผิด ทางอาญา ความผิด ทางอาญา นั้นไม่ควรจะพูดถึงเลย ตัดออกไป ส่วน ความผิด ทางการเมือง ต้องมาดู ปัญหามันเป็นอย่างนี้ บางคนบอกว่า กฎหมายไม่ดี ไม่สมบูรณ์ บางมาตรา อยากจะแก้ ปัญหาก็คือ พอแก้นี้ มันมีคน ได้ประโยชน เสียประโยชน์ มันก็จะมีคน อีกกลุ่มหนึ่ง ที่บอกว่า อย่างนี้ แก้เพื่อตัวเอง หรือเปล่า อันนี้ เป็นปม ที่มันค้าง มา 2 ปีแล้ว

ปีที่แล้ว ที่มีการชุมนุมกัน ทั้งปี มันเริ่มต้น จากจุดนี้ เพราะฉะนั้น ก็ต้องหาความพอดีว่า ถ้าเราอยากจะทำนี้ หลักความเห็น ส่วนตัว ของตน ก็คือว่า อะไร ที่เป็นระบบ ที่ถูกต้อง ก็ไปให้ถึง จุดนั้น แต่อย่าไปคำนึง ถึงว่า ทำอันนี้ เพื่อที่จะให้ คนนั้นคนนี้ คืนสิทธิ์ หรือ ไม่คืนสิทธิ์ อย่างไร ทั้งสองด้านเลย คือ ไม่ควรจะตั้งเป้าว่า คนเหล่านี้ ควรได้รับการคืนสิทธิ์ หรือ คนเหล่านี้ เราควรจะดองเอาไว้ หรือ อะไร ไม่ควรจะมีอย่างนั้น ดูระบบ ก่อน ดูความเป็นธรรม ก่อน แล้วบางที คำตอบมันอาจจะไม่ใช่ว่า นิรโทษ หรือ ไม่นิรโทษ ก็ได้

อาจจะมีช่องทางอื่น อีกตั้งเยอะว่า แก้กฎหมายแล้ว จะมีบทเฉพาะกาล เขียนอย่างไร ให้มีความเป็นธรรม กับ ทุกฝ่าย ตอบคำถาม ของสังคมได้ แต่ว่าทั้งหมดนี้ ตนพูดเท่านี้ เพราะว่าเดี๋ยวจะหาว่า ชี้นำ อีก ก็ให้ ทุกฝ่าย เสนอ เข้ามาก่อน แล้วตน ก็ยอมรับ เสียงดังมาก ทั้งสองฝ่าย ว่าจะเป็น 40 มาแก้ 50 มาแก้ เสียงดังมาก ก็บอกว่า ตนเห็น พอพูดประเด็นนี้ไป สัปดาห์ก่อน หนังสือพิมพ์ คอลัมนิสต์ กลุ่มคนกลุ่มหนึ่ง ก็ดีแล้วนะ น่าจะเป็นทางออก แล้วก็มีคนอีกกลุ่มหนึ่ง เสียงดังมาก บอกอย่าทำนะ ทำอันนี้ ไม่ได้ปรองดองนะ เพราะว่า เขาจะออกมาต่อต้าน ทุกคน ต้องฟัง ทั้งหมด และ มาช่วยกันคิด หา ทางออก ที่เป็นเหตุ เป็นผล

“เวลานี้เราก็ถือว่า หลายเรื่อง กลับเข้ามาสู่ ภาวะความเป็นปกติแล้ว แต่ว่า ฝ่ายเจ้าหน้าที่ ที่ดูแล ความมั่นคง ความสงบเรียบร้อย คงต้องเข้มงวด เข้มข้น ไปอีกระยะหนึ่ง แต่ว่า วิถีชีวิต ของ พี่น้องประชาชน ผมอยากให้ สงบสุข เร็วที่สุด และ ส่วนหนึ่ง ที่ทำได้คือ พี่น้องประชาชนเอง อย่างที่บอก ตอนนี้ไม่มีอะไรแล้ว ผมมีกระบวนการทุกอย่าง ตอบคำถาม ใครติดใจอะไร พบข้อมูลอะไร ผิดปกติ ส่งไปที่หน่วยงาน ที่เขาเป็นกลาง เขาจะดูแลให้ แต่อย่าไปซุบซิบ ๆ บอกเป็นอย่างนี้ แล้วก็ไป ปลุกระดม อย่าไปทำอย่างนั้น ผมให้ ความเป็นธรรม ทุกฝ่าย มาทำให้ บ้านเมือง ของเรา เดินไปข้างหน้า ด้วยกันดี กว่า เพื่อประโยชน์ ของทุกคน นะครับ ผมโดยส่วนตัว ไม่ได้ประโยชน์ อะไรหรอกครับ แต่ทุกคน จะได้ประโยชน์ จากการที่ บ้านเมืองสงบสุข และ เราได้มีเวลา ทุ่มเท แก้ไขปัญหา ให้พี่น้องประชาชน” นายกฯ กล่าว


คลิกที่นี่ เพื่อฟังรายการ “เชื่อมั่นประเทศไทย กับ นายก อภิสิทธิ์”
จาก manager multimedia

astv_mgr-200ปรับปรุงจาก ข่าว และ ภาพ ของ สำนักข่าว ASTV ผู้จัดการออนไลน์ 26 เมษายน 2552 11:48 น.
http://www.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9520000046610


พิมพ์ ข่าวนี้ “เชื่อมั่นประเทศไทย กับ นายก อภิสิทธิ์”


ใช้ [ปุ่มถอยหลัง] ของเว็บบราวเซอร์ เพื่อกลับมาที่นี่ จากข้อมูลเชื่อมโยงด้านล่าง
Use Browser [Back] Button Return to Here from URL Below

April 24, 2009

เสื้อแดงก่อหวอดขับไล่ มท.1 ที่นำเสื้อน้ำเงินชลบุรี ประกาศปกป้องสถาบัน

มท.1 นำ เสื้อน้ำเงินชลบุรี ประกาศปกป้องสถาบัน
“หางแดง” 50 คน ก่อหวอดขับไล่
มท.1 นำ เสื้อน้ำเงินชลบุรี ประกาศปกป้องสถาบัน

มท.1 นำ เสื้อน้ำเงินชลบุรี ประกาศปกป้องสถาบัน


ศูนย์ข่าวศรีราชา – มท.1 นำชาวชลบุรีกว่า 12,000 คนสวมเสื้อน้ำเงิน ประกาศเจตนารมณ์ ปกป้องสถาบันสำคัญของชาติ เสริมสร้างสมานฉันท์ พร้อมกับ แจกโฉนดที่ดิน เอกสารสิทธิทำกิน คาดเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน บ้านเมืองสงบ ถกในสภามา 2 วัน รู้แล้วอะไรผิดอะไรถูก ด้านแก๊งหางแดง แปลงร่างเป็น เสื้อหลากสี 50 คน รวมตัวขับไล่ ก่อนตำรวจขอร้องให้สลายตัว
ตำรวจขอร้องให้ เสื้อแดง ที่ก่อหวอดขับไล่ มท.1 สลายตัว

เสื้อแดงก่อหวอดขับไล่ มท.1

เวลา 18.00 น.วันนี้ (24 เม.ย.) ที่สนามหน้าศาลากลาง จ.ชลบุรี นายชวรัตน์ ชาญวีรกุล รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงมหาดไทย เดินทางมาเป็น ประธาน ในพิธีประกาศเจตนารมณ์ สถาบันสำคัญของชาติ เพื่อเป็นการเสริมสร้าง และ สมานฉันท์ ร่วมกับประชาชน ในพื้นที่จังหวัดชลบุรี ใส่เสื้อสีน้ำเงิน มีข้อความ “ปกป้องสถาบัน” ที่หน้าอก จำนวนประมาณ 12,000 คน วัตถุประสงค์เพื่อ เทิดทูน สถาบันพระมหากษัตริย์ การสร้างความรัก ความเข้าใจ ลดการแตกแยก ทางความคิด และ สร้างความสมานฉันท์ของ พี่น้องชาว จ.ชลบุรี พร้อมกับกิจกรรมบำบัดทุกข์บำรุงสุข สร้างรอยยิ้มให้กับ ประชาชน จัดทำบัตรประจำตัวประชาชน

นอกจากนี้ มท.1 ยังร่วมแจกโฉนดที่ดิน และ เอกสารสิทธิทำกิน ให้กับราษฎร ที่ไม่มีที่ทำกิน ให้เป็นที่ทำกิน ของตนเอง พร้อมกับ เดินชมนิทรรศการ และ กิจกรรมภายใน

ประชาชน ในพื้นที่จังหวัดชลบุรี ใส่เสื้อสีน้ำเงิน มีข้อความ ปกป้องสถาบัน ที่หน้าอก จำนวนประมาณ 12,000 คน

ประชาชน ในพื้นที่จังหวัดชลบุรี ใส่เสื้อสีน้ำเงิน มีข้อความ ปกป้องสถาบัน ที่หน้าอก จำนวนประมาณ 12,000 คน


นายชวรัตน์ กล่าวว่า หลังจากที่ ยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน แล้ว ตนคิดว่า ไม่น่าจะมี เหตุการณ์รุนแรง น่าจะเกิด ความสันติ สงบกัน ได้แล้ว เหนื่อยกันมา 2- 3 สัปดาห์ เปิดอก พูดคุยกัน ในที่ ประชุมสภา มา 2 วันเต็ม น่าจะรู้แล้วว่า อะไรถูก อะไรผิด ขอให้ บ้านเมือง สงบสุข หันหน้าหากัน แล้ว ทำมาหากิน กันได้แล้ว

ก่อนที่ มท.1 จะเดินทางมาถึง มีกลุ่ม นปช. ใส่เสื้อหลากสี ประมาณ 50 คน มารวมตัวกันที่ บริเวณด้านข้าง ร.ร.ชลกันยานุกูล ห่างบริเวณจัดงานเพียง 300 เมตร เพื่อมาทำการต่อต้าน การเดินทาง ของนายชวรัตน์ ในครั้งนี้ โดยอ้างว่าไม่พอใจ ที่คนเสื้อสีน้ำเงิน แอบลอบตี คนเสื้อแดง จนกระทั่งเกิด ความวุ่นวาย ลุกลาม จนเ้ป็นเหตุให้ งานประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน +3 +6 ที่ รร.รอยัลคลิฟ บีช ยุติกลางคัน

อย่างไรก็ตาม พล.ต.ต.ปราโมช ปทุมวงศ์ รอง ผบช.ภ.2 และรักษาการ ผบก.ภ.จว.ชลบุรี ได้ส่ง พ.ต.อ.นภดล วงษ์น้อม ผกก.สภ.เมืองชลบุรี ไปเจรจา ขอร้อง จนกระทั่งกลุ่ม นปช.เสื้อหลากสีได้สลายตัวไป

astv_mgr-200จาก ข่าว และ ภาพ ของ สำนักข่าว ASTV ผู้จัดการออนไลน์ 24 เมษายน 2552 21:31 น.

พิมพ์ ข่าวนี้ มท.1 นำเสื้อน้ำเงินชลบุรีประกาศปกป้องสถาบัน-“หางแดง” 50 คน ก่อหวอดขับไล่


ใช้ [ปุ่มถอยหลัง] ของเว็บบราวเซอร์ เพื่อกลับมาที่นี่ จากข้อมูลเชื่อมโยงด้านล่าง
Use Browser [Back] Button Return to Here from URL Below
« Previous PageNext Page »

Blog at WordPress.com.