Accom Thailand

July 29, 2008

สำนักศิลปากร เร่งเก็บกู้กระดูก – วัตถุโบราณ 2,500 ปี กลางเมืองโคราช

เจ้าหน้าที่สำนักศิลปากรที่ 12 เร่งเก็บกู้โครงกระดูกมนุษย์และวัตถุโบราณ ภ??ยุราว 2,500 ปี ยุคก่ภ??ประวัติศาสตร์ที่ขุดพบกลางเมืภ??โคราช วันนี้ (29 ก.ค.)

เจ้าหน้าที่สำนักศิลปากรที่ 12 เร่งเก็บกู้โครงกระดูกมนุษย์และวัตถุโบราณ อายุราว 2,500 ปี ยุคก่อนประวัติศาสตร์ที่ขุดพบกลางเมืองโคราช วันนี้ (29 ก.ค.)


ศิลปากรที่ 12 เร่งเก็บกู้
กระดูก-วัตถุโบราณ 2,500 ปี กลางเมือง โคราช
SPECIAL REPORT
รายงาน…นับเวลาลมหายใจรัฐบาล”สมัคร”


ศูนย์ข่าวนครราชสีมา – สำนักศิลปากรที่ 12 โคราช เร่งเก็บกู้โครงกระดูกมนุษย์ และ วัตถุโบราณ อายุราว 2,500 ปี ยุคก่อนประวัติศาสตร์ ที่ขุดพบ ภายในสำนักงานสิ่งแวดล้อม ภาค 11 คาดใช้เวลา 1-2 วัน แล้วเสร็จ เผยพื้นที่ดังกล่าว เคยเป็นชุมชนโบราณ ที่มีผู้คนอาศัยอยู่จำนวนมาก


วันนี้ (29 ก.ค.) เมื่อเวลา 13.00 น.ที่สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาค 11 นครราชสีมา ถ.พลล้าน อ.เมือง จ.นครราชสีมา เจ้าหน้าที่จาก สำนักศิลปากร ที่ 12 นครราชสีมา จำนวน 5 คน นำโดย นายมนตรี ธนภัทรพรชัย นักโบราณคดี 6 ว.และ น.ส.สุภาวดี อินทรประวัติ นักโบราณคดี 5 ได้เร่งขุด และ เก็บกู้วัตถุโบราณ เครื่องปั้นดินเผา โครงกระดูกสัตว์ขนาดใหญ่ และ โครงกระดูกมนุษย์ ที่คนงานก่อสร้างของ สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาค 11 นครราชสีมา ขุดพบ ขณะทำการก่อสร้าง ที่จอดรถด้านหน้าอาคารสำนักงานฯ และแจ้งให้ เจ้าหน้าที่โบราณคดีเข้ามาตรวจสอบ เมื่อวานนี้ (28 ก.ค.)


น.ส.สุภาวดี อินทรประเสริฐ นักโบราณคดี 5 สำนักศิลปากรที่ 12 นครราชสีมา เปิดเผยว่า จากการตรวจสอบ หลุมที่ขุดพบวัตถุโบราณมี จำนวน 2 หลุม จากที่ผู้รับเหมาก่อสร้าง ขุดเพื่อวางเสา ทำโรงจอดรถ จำนวน 6 หลุมความลึกประมาณ 1.6 เมตร โดยวัตถุโบราณที่ขุดพบ มีทั้ง เครื่องปั้นดินเผา, โครงกระดูกสัตว์ขนาดใหญ่ เลี้ยงลูกด้วยนม เช่น วัว หรือ ควาย และ โครงกระดูกมนุษย์ ซึ่งอยู่ในยุคโลหะ หรือ ยุคก่อนประวัติศาสตร์ อายุราว 2,500 ปี


ในส่วนของโครงกระดูกมนุษย์ที่ขุดค้นพบนี้ถือว่าเป็นโครงกระดูกมนุษย์ที่สมบูรณ์ แต่น่าเสียดาย ทีเก็บกู้ขึ้นมาได้เพียงครึ่งตัว เท่านั้น เนื่องจากส่วนที่เหลือ อยู่ลึกเข้าไปมาก


จากการวิเคราะห์ลักษณะความสูง ขนาดกะโหลกศีรษะ และฟันที่เรียงอยู่ในสภาพสวยงาม รวมถึงกระดูกส่วนอื่นๆ ของร่างกาย พอสังเขป ได้ว่า ผู้ตายน่าจะมีความสูงประมาณ 150-160 เซนติเมตร (ซม.) และคาดว่า น่าจะเป็นเพศหญิง อยู่ในยุคก่อนประวัติศาสตร์ เช่นเดียวกับโครงกระดูกสัตว์ และ วัตถุโบราณ อื่นๆ ที่ขุดพบ ในพื้นที่เดียวกัน


จากการศึกษาพบว่า ในบริเวณดังกล่าวเป็นเนินดินอยู่ใกล้กับกำแพงเมืองโบราณ ซึ่งสันนิษฐานว่าสถานที่ตรงนี้น่าจะเป็นแหล่งชุมชนเดิม ที่มี มนุษย์อาศัยอยู่ เป็นจำนวนมาก เนื่องจากมนุษย์ ในสมัยก่อนจะตั้งถิ่น ที่อยู่อาศัยบนเนินดิน หรือที่ดอน เพื่อหลบจากภัยน้ำท่วม


ส่วนการพบวัตถุโบราณ เช่น เครื่องปั้นดินเผา วางอยู่บนโครงกระดูกมนุษย์นั้น น่าจะเป็นพิธีกรรมการฝังศพของ คนสมัยก่อน ที่มักจะใช้ เครื่องปั้นดินเผา ใส่สิ่งของประเภท ดอกไม้ และเครื่องประดับ อุทิศส่วนกุศลให้กับผู้ตาย


น.ส.สุภาวดี กล่าวอีกว่า การเก็บกู้วัตถุโบราณที่ขุดพบทั้งหมดจะใช้เวลาประมาณ1-2 วันก็แล้วเสร็จ และจะไม่มีการขยายเปิดพื้นที่เพิ่มเติมอีก โดยโครงกระดูกสัตว์ และวัตถุโบราณที่ขุดค้นพบในครั้งนี้เจ้าหน้าที่จะได้นำไปศึกษาวิเคราะห์ส่วนประกอบและรวบรวมข้อมูล รวมถึงเก็บรักษาไว้ที่ สำนักศิลปากรที่ 12 อ.พิมาย จ.นครราชสีมา ต่อไป


ผู้สื่อข่าวรายงานว่า บริเวณสำนักงานสิ่งแวดล้อมที่ 11 แห่งนี้ ก่อนหน้านี้เมื่อช่วงหลายปีก่อน ได้มีการขุด ทำการก่อสร้างลักษณะเดียวกันนี้ มี คนงานก่อสร้าง และ เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยได้พบเหรียญสมัยโบราณ อยู่ใต้พื้นดิน แต่ไม่ยอมบอกเล่าให้ใครฟัง และ เห็นว่าเป็นของเก่าแก่ และ ได้เก็บนำกลับไปไว้ที่บ้าน


แต่นำไปได้เพียง 1-2 คืน ปรากฏว่า คนที่เอาไปมีอาการร้อนรน กินไม่ได้นอนไม่หลับ ครอบครัวไม่เป็นสุข ฝันเห็นแต่ซากศพ และฝันร้ายต่างๆ จึงต้องนำกลับมาไว้ที่เดิม และต้อง ทำพิธีขอขมา ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว จากนั้น เป็นต้นมา ก็ไม่มีอาการดังกล่าวเกิดขึ้นอีกเลย

ปรับปรุงจาก ข่าว และ ภาพ ของ สำนักข่าว ผู้จัดการออนไลน์ 29 กรกฎาคม 2551 21:16 น.
http://manager.co.th/asp-bin/mgrView.asp?NewsID=9510000089261
พิมพ์ ข่าวนี้
ข้อแถลง “ประสาทพระวิหาร” จากคณะวิจัย สถาบันไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
SPECIAL REPORT รายงาน…นับเวลาลมหายใจรัฐบาล”สมัคร”
คลิกอ่าน ข้อมูล ข่าวและบทความเกี่ยวกับกรณีพิพาทปราสาทพระวิหาร


ใช้ [ปุ่มถอยหลัง] ของเว็บบราวเซอร์ เพื่อกลับมาที่นี่ จากข้อมูลเชื่อมโยงด้านล่าง
Use Browser [Back] Button Return to Here from URL Below

Leave a Comment »

No comments yet.

RSS feed for comments on this post. TrackBack URI

Leave a comment

Blog at WordPress.com.