Accom Thailand

July 30, 2008

ศาลแพ่ง รับฟังพันธมิตรฯ ส่งศาล รธน. ตีความ สิทธิการชุมนุม


ศาลแพ่ง รับฟังพันธมิตรฯ ส่งศาล รธน. ตีความ สิทธิการชุมนุม
SPECIAL REPORT
รายงาน…นับเวลาลมหายใจรัฐบาล”สมัคร”


ศาลแพ่ง สั่งรอการไต่สวนฉุกเฉิน คดีลูกน้องสมชาย ฟ้องไล่ที่ พันธมิตรฯ ส่งคำร้องจำเลยให้ ศาลรัฐธรรมนูญ – ศาลปกครอง วินิจฉัย เรื่อง อำนาจศาล
คำสั่งเรื่ภ??การไต่สวนฉุกเฉิน

คำสั่งเรื่องการไต่สวนฉุกเฉิน




วันนี้(30 ก.ค.)เมื่อเวลา 11.00 น.ที่ห้องพิจารณาคดี 711 ศาลแพ่ง ถ.รัชดาภิเษก ศาลออกนั่งบัลลังก์ อ่านคำสั่ง เรื่องการไต่สวนฉุกเฉิน ในคดีที่ นายสุรินทร์ หิรัญ ,นายอนุวัฒน์ รัตนกุล , นายเปี่ยม ไชยมูล , นายวรวิทย์ สุระโครต , นายดำรงค์ มั่นการ และ นายวุฒิ เกตุสิน ซึ่งเป็นกลุ่มข้าราชการ และ ลูกจ้างประจำกระทรวงศึกษาธิการ ได้ร่วมกันเป็นโจทก์ที่ 1 – 6 ยื่นฟ้อง


พล.ต.จำลอง ศรีเมือง , นายสนธิ ลิ้มทองกุล , นายสมศักดิ์ โกศัยสุข , นายพิภพ ธงไชย , นายสมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์และ นายสุริยะใส กตะศิลา แกนนำกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ร่วมกันเป็นจำเลยที่ 1-6 เรื่องละเมิด ขับไล่รื้อถอนเวทีปราศรัย เปิดถนน และ ให้ กลุ่มพันธมิตรฯ งดใช้เครื่องขยายเสียงตั้งแต่เวลา 08.00 น. – 16.30 น. ของทุกวันทำการ


โดยศาลพิเคราะห์แล้วเห็นว่า จำเลยได้ยื่นคำร้องว่า หาก ศาลมี คำสั่งคุ้มครองชั่วคราว โดยเหตุฉุกเฉิน จะเป็นการจำกัดสิทธิ ของจำเลย ทั้งหก ตามรัฐธรรมนูญ คำร้องดังกล่าว จึงจำต้องส่งความเห็น ของจำเลยทั้งหก เพื่อให้ ้ศาลรัฐธรรมนูญ พิจารณาวินิจฉัย


ซึ่งหากศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยแล้ว จะเป็นที่ยุติว่า ศาลนี้มีอำนาจ พิจารณาคำร้องขอคุ้มครองชั่วคราว ด้วยเหตุฉุกเฉิน ของโจทก์ทั้งหก หรือไม่ จึงเห็นควรให้ส่งคำร้อง ของจำเลยทั้งหก ลงวันที่ 29 ก.ค.51 ไปให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย และด้วยเหตุดังกล่าว จึงเห็นควรรอฟังคำวินิจฉัย ของ ศาลรัฐธรรมนูญ


ส่วนในเรื่องคำร้องว่า คดีนี้อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของ ศาลปกครอง ของ จำเลย ก็มีเหตุให้ต้องส่งความเห็นของโจทก์ และของศาลนี้ไปยัง ศาลปกครองกลาง ด้วยเหตุดังกล่าว จึงเห็นควรรอ การไต่สวนคำร้องขอคุ้มครองชั่วคราวโดยเหตุฉุกเฉิน ไว้ก่อน เพื่อรอฟังคำวินิจฉัย ของ ศาลปกครอง และ ศาลรัฐธรรมนูญ เสียก่อน จึงค่อยไต่สวนและมีคำสั่งต่อไป


ให้มีหนังสือแจ้งสำนักงานศาลยุติธรรมว่า คดีนี้มีคำร้องว่า กฎหมายขัดรัฐธรรมนูญ และ ให้โจทก์ทำความเห็นว่า คดีนี้อยู่ในอำนาจพิจารณา ของ ศาลนี้ เพื่อส่งความเห็นไปยังศาลปกครองกลาง ภายใน 15 วัน


ทนายโจทก์ทั้งหก แถลงว่า เมื่อศาล มีคำสั่งให้รอการไต่สวนไว้ก่อน รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 มาตรา 211 ได้บัญญัติไว้แล้วว่า ให้ศาลรอ การพิพากษา ศาลจึงมีอำนาจพิจารณา โดยการไต่สวนคำร้องขอคุ้มครองชั่วคราวด้วยเหตุฉุกเฉินไปได้ และ ขอโต้แย้งว่า หากมี คู่ความคัดค้านว่า ศาลไม่มีอำนาจพิจารณา ค่อยให้ศาลแพ่งตรวจสอบคำร้องก่อน ส่วนคำร้องที่ว่า คดีนี้อยู่ในอำนาจพิจารณาของศาลปกครองนั้น คำฟ้องโจทก์ มิได้กล่าวอ้างถึง ข้อโต้แย้งที่จำอยู่ในอำนาจศาลปกครองกลางแต่อย่างใด จึงขอแถลงโต้แย้ง ด้วยวาจาไว้ และ จะทำคำแถลง เป็นหนังสือ มายื่นต่อศาลในภายหลัง

นายสุวัตร ภ??ัยภักดิ์ ทนายความพันธมิตรฯ

นายสุวัตร อภัยภักดิ์ ทนายความพันธมิตรฯ

ภายหลัง นายสุวัตร อภัยภักดิ์ ทนายความ ของพันธมิตรฯ กล่าวว่า การที่ศาลมีคำสั่งให้ส่งคำร้อง ของจำเลย ไปให้ศาลรัฐธรรมนูญ และ ศาลปกครองกลาง วินิจฉัยเรื่องเขตอำนาจศาลในครั้งนี้ จะเป็นการสร้างบรรทัดฐานต่อไป สำหรับคดีฟ้องร้อง อันเนื่องมาจากสิ่ทธิการชุมนุม

ด้านนายคารม พลทะกลาง ทนายโจทก์ กล่าวว่า เมื่อศาล มีคำสั่งเช่นนี้ พวกตนซึ่งเป็นผู้ถูกละเมิดสิทธิ ยอมรับว่ารู้สึกเสียใจ แต่ก็พร้อมจะยอมรับ ส่วนแนวทางต่อสู้คดีนั้น ตนได้เตรียมทำ คำแถลงการณ์ ยื่นต่อศาลอีกครั้ง เพราะเห็นว่าคดีนี้ โจทก์ฟ้องฐานละเมิด ซึ่งใช้สิทธิตาม ประมวล กฎหมายแพ่ง และ พาณิชย์ ซึ่งอยู่ในเขตอำนาจศาลแพ่ง ไม่จำเป็น ต้องส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญ ตีความแต่อย่างใด

ปรับปรุงจาก ข่าว และ ภาพ ของ สำนักข่าว ผู้จัดการออนไลน์ 30 กรกฎาคม 2551 14:57 น.
http://manager.co.th/asp-bin/mgrView.asp?NewsID=9510000089490
พิมพ์ ข่าวนี้
ข้อแถลง “ประสาทพระวิหาร” จากคณะวิจัย สถาบันไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
SPECIAL REPORT รายงาน…นับเวลาลมหายใจรัฐบาล”สมัคร”
คลิกอ่าน ข้อมูล ข่าวและบทความเกี่ยวกับกรณีพิพาทปราสาทพระวิหาร


ใช้ [ปุ่มถอยหลัง] ของเว็บบราวเซอร์ เพื่อกลับมาที่นี่ จากข้อมูลเชื่อมโยงด้านล่าง
Use Browser [Back] Button Return to Here from URL Below

Leave a Comment »

No comments yet.

RSS feed for comments on this post. TrackBack URI

Leave a comment

Blog at WordPress.com.