Accom Thailand

July 31, 2008

รศ. นายแพทย์เทอดชัย ชีวะเกตุ เลขาธิการมูลนิธิขาเทียม ได้รับรางวัล แมกไซไซ ประจำปีนี้


แพทย์มูลนิธิขาเทียมไทยทำดีคว้ารางวัลแมกไซไซ
Special Report ::
รายงาน…นับเวลาลมหายใจรัฐบาล”สมัคร”


เอ เจนซี – รศ. นายแพทย์เทอดชัย ชีวะเกตุ เลขาธิการมูลนิธิขาเทียม ในสมเด็จ พระศรีนครินทราบรมราชชนนี เป็น 1 ในผู้ที่ได้รับรางวัล แมกไซไซ ประจำปีนี้
รศ.นพ.เท�ดชัย ชีวะเกตุ ได้รับรางวัลแมกไซไซ

รศ.นพ.เทอดชัย ชีวะเกตุ ได้รับรางวัลแมกไซไซ

เช่นเดียวกับ ผู้ว่าการของฟิลิปปินส์ ซึ่งพิการจากโรคโปลิโอ คู่สามีภรรยาชาวอินเดีย ที่ช่วยเหลือคน ในชนเผ่าทางด้านการแพทย์ และ การศึกษา รวมทั้ง เจ้าของสำนักพิมพ์ญี่ปุ่น อีกด้วย


รางวัลแมกไซไซ ซึ่งเทียบเท่าได้กับ รางวัลโนเบลของเอเชีย ยังได้ยกย่องให้รางวัลกับ อาหมัด ไซยอาฟี มาอาริฟ หัวหน้ากลุ่ม มูฮัมมาดิยะห์ ของอินโดนีเซีย และ อนันดา กัลลัปปัตติ นักสังคมสงเคราะห์ ชาวศรีลังกา ด้วย


รศ. นายแพทย์เทอดชัย ชีวะเกตุ ได้รับรางวัลอันทรงเกียรตินี้ จากความพยายามอุทิศตน เพื่อจัดหาแขนเทียม ขาเทียม ที่ราคาไม่แพง สามารถใช้งานได้ และสะดวกสบาย แก่ผู้พิการที่ยากจน ในประเทศไทย


ด้าน เกรซ ปาดาคา ผู้ว่าการจังหวัดอิซาเบลา ของฟิลิปปินส์ ได้รับรางวัล บริการรัฐกิจ แม้เธอจะพิการ จากโรคโปลิโอตั้งแต่ยังเด็ก แต่ เธอก็สามารถเอาชนะ ได้ ตำแหน่งทางการเมือง อันทรงพลัง ในการเลือกตั้งปี 2004 และได้รับเลือกตั้ง อีกครั้ง ในปีที่ผ่านมา


นอกจากนี้ มูลนิธิรางวัลนายรามอน แมกไซไซ ยังเสนอชื่อ ปรากาช และ มานดากินี แอมเต สำหรับรางวัล ผู้นำชุมชน โดย แพทย์ทั้งคู่ ได้เปิดโรงพยาบาล และโรงเรียน สำหรับ ชนเผ่ามาเดีย กอนด์ ซึ่งเป็นพื้นท ห่างไกลจากใจกลางอินเดีย


ขณะที่ อากิโอะ อิชิอิ ก็ได้รับรางวัล ด้านวารสารศาสตร์ วรรณกรรม และ ศิลปะ การสื่อสารเชิงสร้างสรรค์ โดย อิชิอิ เป็น หัวหน้าสำนักพิมพ์ อากิชิ โชเตน ซึ่งมีหนังสือราว 2,800 เล่ม อันมีเนื้อหาเกี่ยวกับ การแบ่งแยกสีผิว สิทธิมนุษยชน และประเด็นปัญหาอื่นๆ ในญี่ปุ่น


ส่วน รางวัลบริการสาธารณะนั้น ทางมูลนิธิแมกไซไซ ได้มอบให้กับ ศูนย์การพัฒนาการเกษตร และชนบท ซึ่งร่วมกับ สถาบันการส่งเสริม และ สนับสนุน ของ ฟิลิปปินส์


รางวัลนี้ได้ก่อตั้งขึ้นในปี 1957 เพื่อเชิดชูเกียรต ิอดีตประธานาธิบดี รามอน แมกไซไซ ของฟิลิปปินส์ ซึ่งเสียชีวิต ในอุบัติเหตุ เครื่องบินตก โดยคณะกรรมการของ กองทุนร็อกกี้เฟลเลอร์ บราเธอร์ส และ เริ่มแจกรางวัลให้กับ ผู้ทำตัวเป็นแบบอย่างอันดีงาม ของ การอุทิศตนทำ งานบริการ ประชาชนในสังคมประชาธิปไตย ครั้งแรกในปี 1958

ปรับปรุงจาก ข่าว และ ภาพ ของ สำนักข่าว ผู้จัดการออนไลน์ 31 กรกฎาคม 2551 16:48 น.
http://manager.co.th/asp-bin/mgrView.asp?NewsID=9510000090251
พิมพ์ ข่าวนี้
ข้อแถลง “ประสาทพระวิหาร” จากคณะวิจัย สถาบันไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
SPECIAL REPORT รายงาน…นับเวลาลมหายใจรัฐบาล”สมัคร”
คลิกอ่าน ข้อมูล ข่าวและบทความเกี่ยวกับกรณีพิพาทปราสาทพระวิหาร


ใช้ [ปุ่มถอยหลัง] ของเว็บบราวเซอร์ เพื่อกลับมาที่นี่ จากข้อมูลเชื่อมโยงด้านล่าง
Use Browser [Back] Button Return to Here from URL Below

Leave a Comment »

No comments yet.

RSS feed for comments on this post. TrackBack URI

Leave a comment

Blog at WordPress.com.