Accom Thailand

April 4, 2009

วันที่ 8 เมษายน หาใช่ “ยกสุดท้าย”

Filed under: การเมืองภาคประชาชน,การแก้ไข รธน.,ก่อความไม่สงบ,ข่าวการเมือง,ข่าวฉาว,ข่าวประชาสัมพันธ์,ข่าวสังคม,คดีที่ดินรัชดาฯ,คดียุบพรรค,คดีอาญา,คดีแพ่ง,ความขัดแย้ง,ความมั่นคง,คอร์รัปชั่น,คำพิพากษา,คำสั่งศาล,คุณธรรม,จริยธรรม,ชุมนุมประท้วง,ทุจริต,ประวัติศาสตร์ไทย,พ.ร.ก.ฉุกเฉิน,ศาลปกครอง,ศาลรัฐธรรมนูญ,อาชญากรรม,เสื้อแดง — accomthailand @ 04:10
Tags: , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , ,

หยุด! เอาชาติเป็นเดิมพัน ทำให้แผ่นดินลุกเป็นไฟ

8 เมษายน 52 วันนัดหมายใหญ่ของ “คนเสื้อแดง” ที่ ทักษิณ ชินวัตร และ แกนนำคนเสื้อแดง หมายมั่นปั้นมือ จะให้เป็น วันแห่ง การเปลี่ยนแปลง การเมือง ครั้งใหญ่ บน เป้าหมาย “เปรม ลาออก อภิสิทธิ์ ยุบสภา” “ล้มล้าง อำมาตยาธิปไตย – ทำลาย ชนชั้นสูง”

ประธานองคมนตรี - รัฐบุรุษ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์

ประธานองคมนตรี - รัฐบุรุษ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์


ไม่ต้องรอถึง วันนั้น ก็รู้ได้ว่า สิ่งที่ ทักษิณ – เสื้อแดง คิดก่อการ ไม่มีวัน สัมฤทธิ์ผล แน่ เพราะคนอย่าง ประธานองคมนตรี – รัฐบุรุษ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ผู้ผ่าน การรบ – การเมือง มาอย่างโชกโชน และ สมัยเป็น นายกฯ 8 ปี ก็สู้รบตบมือ กับ สารพัดแรงกดดัน ทั้งใน ทำเนียบฯ – นอก รัฐสภา มาหมดแล้ว แค่ ม็อบเสื้อแด – วีดีโอลิงก์ ทักษิณ แค่นี้ เชื่อได้ว่า ชายชาติทหาร อย่าง “ป๋าเปรมฯ” ไม่ถอดใจแน

ส่วน อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ก็เช่นกัน แม้ อายุอานาม จะน้อย และ ถูกมองว่าเป็น ลูกคุณหนู – ลูกผู้ดี เจอแรงเสียดทานหนักๆ อภิสิทธิ์ จะอำลาตำแหน่ง ก็เป็นเรื่อง ที่คิดได้ แต่คงยาก จะได้เห็น

เมื่อประเมินการสู้รบ ของ เสื้อแดง – ทักษิณ ยามนี้ วันที่ 8 เมษายน หาใช่ “ยกสุดท้าย” แม้แกนนำ นปช. ที่เป็นพวก เศษสวะ-ลิ่วล้อ-มือปืนรับจ้าง นายใหญ่ ในนิยาม ของ กษิต ภิรมย์ รมว.ต่างประเทศ จะทำที ขึงขัง-ตาถลน เหมือนจะนำ กองทัพเสื้อแดง ทุบหม้อข้าว ทำศึกสงคราม กู้ชาติ ให้ใครบางคน ที่คิดร้าย ทำลาย แผ่นดินเกิด เพราะดูจาก สภาพการณ์ และ ยุทธศาสตร์ การวางแผนของ คนเสื้อแดง แล้ว แกนนำหลายคน ก็รู้ดีว่า ยากที่จะทำให้ทั้ง “เปรม-อภิสิทธิ์”ตอบรับ ทุกเงื่อนไข

เพียงแต่การระดมพล ทำศึก 8 เมษายน หวังให้ แดงทั้งแผ่นดิน แล้วเขย่าขวัญให้ รัฐบาล และ บ้านสี่เสาฯ ผวาเล่น แล้วโอบล้อม ที่มั่น เพื่อให้เกิด การเผชิญหน้า เท่านั้นเอง แต่ก็ เชื่อได้ว่า รัฐบาล – กองทัพ – ตำรวจ ก็ย่อมอ่านเกม นี้ออก และ ไม่ตกหลุมพราง แม้จะมีความพยายาม ยั่วยุ รวมถึงอาจจะมี “มือที่สาม” มาสร้างสถานการณ์ เพื่อให้ ปิดเกม เร็ว

การศึก 8 เมษายน มันจึงอยู่ใน ช่วงเริ่มต้น “ยกที่ 2” หลังจาก ยกแรก ผ่านพ้นไป ซึ่ง ยกแรก ที่ ทักษิณ-เพื่อไทย เน้น กลยุทธ์ “ทำลายความน่าเชื่อถือ” เพื่อให้เกิด สภาวะวิกฤตศรัทธา แก่ องค์กร-ตัวบุคคล ที่ถูกกล่าวถึง ทั้งใน วีดีโอลิงก์ และ บนเวที ข้างทำเนียบรัฐบาล เป็นหลัก

ไล่เรียงตั้งแต่ สถาบันองคมนตรี และ องคมนตรี ทักษิณ และ เสื้อแดง พยายามใส่ความว่า “ขาดความเป็นกลาง – ฝักใฝ่การเมือง หนุนพรรคประชาธิปัตย์” ที่ระบุชื่อ ทั้ง พลเอก เปรม, พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ และ ชาญชัย ลิขิตจิตถะ

แต่ผู้ถูกเอ่ยชื่อ ออกมาสวนกลับ และ ปฏิเสธ ข้อกล่าวหาทั้งหมด ให้สังคม ได้ข้อมูล 2 ด้าน ว่า ใครพูดจริง พูดเท็จ ฝ่ายไหนชั่ว และ ฝ่ายไหน ทำไปเพื่อ ปกป้องประเทศชาติ และ สถาบันหลัก

สำหรับ องค์กรศาล ก็พบว่า ทักษิณ พยายามโจมตีทำให้ องค์กรศาล ถูกมองว่า ไม่มีความยุติธรรม โดย ทักษิณ อ้างถึง การพิจารณาคด ของ ศาลฎีกา แผนกคดีอาญา ของ ผู้ดำรงตำแหน่ง ทางการเมือง ที่ตัดสิน จำคุก เขา 2 ปี เป็นกระบวนการ ไม่ยุติธรรม

ถึงกับระบุว่า ทั่วโลก ไม่ยอมรับระบบศาลเดียว แบบที่ ศาลฎีกาฯ ถูกออกแบบเอาไว้ และ ระบบไต่สวน ที่ให้ จำเลย แก้ข้อกล่าวหาของ โจทก์ ก็เป็นระบบที่ นานาประเทศ ไม่เห็นด้วย และ ยกเลิก กันไปหมดแล้ว

หรือ กรณี การตัดสิน ของ ศาลรัฐธรรมนูญ “คดีชิมไปบ่นไป” ของ สมัคร สุนทรเวช ที่ ทักษิณ บอกว่า ทำให้ ประเทศไทย กลายเป็น ไทยแลนด์ อิส อะ โจ๊ก เพราะ ตัดสินเอาผิด ตาม พจนานุกรม มากกว่า ยึดหลักกฎหมาย

รวมทั้งยัง ทิ่มแทงไปที่ ผู้นำศาล-ตุลาการ หลายครั้ง อันพุ่งไปที่ อักขราทร จุฬารัตน ประธาน ศาลปกครองสูงสุด ที่เป็น อดีต ตุลาการรัฐธรรมนูญ ใน “คดียุบพรรค ไทยรักไทย” และ จรัญ ภักดีธนากุล ตุลาการ ศาลรัฐธรรมนูญ ที่มี บทบาทสำคัญใน “คดี ชิมไปบ่นไป” และ“คดียุบพรรค พลังประชาชน” ว่า

ทั้งสองคน มีส่วนร่วมวางแผน การทำปฏิวัติ 19 กันยายน 49 และ ใช้อำนาจตุลาการ ล้มล้าง รัฐบาลไทยรักไทย

สำหรับกองทัพ พบว่า ทักษิณ-เสื้อแดง มุ่งหมายเพื่อ การแก้แค้น อย่างเห็นได้ชัด ในประเด็นเรื่อง กองทัพ ทำตัวเป็น “เปลือกหอย” ให้ รัฐบาลอภิสิทธิ์ ทั้งการที่ ผู้นำเหล่าทัพ และ ตัว รมว.กลาโหม คือ พลเอกอนุพงษ์ เผ่าจินดา และ พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ ได้รับบำเหน็จ จากการช่วยตั้งรัฐบาล

เช่นการที่ รัฐบาล ให้งบกับ กองทัพ อย่างง่ายดาย หลายครั้ง อาทิ งบ 1 พันล้านบาทให้ กอ.รมน. ไปทำการสลาย กลุ่มเสื้อแดง โดยไม่สามารถตรวจสอบ การใช้งบ ดังกล่าวได้

เมื่อ ยกที่ 1 ของ การตั้งกองกำลัง เสื้อแดง จนล้อมทำเนียบรัฐบาล ได้ 10 วัน 10 คืน สำเร็จ และ ใช้สงครามปาก ทำลายความเชื่อถือต่อ สถาบันสำคัญ ไปแล้ว ตอนนี้ให้ จับตา ยกที่ 2 เอาไว้ ซึ่งข่าวว่า จะเป็นสถานการณ์ที่ ดุเดือดเลือดพล่าน อาจต้องมี การเสียเลือดเนื้อกันอีกครั้ง

ก่อนจะประเมิน ศึกยืดเยื้อ นี้ว่า จะจบอย่างไร ขณะนี้ เริ่มมีข่าวแพร่สะพัดใน วงการการเมือง ว่า จะมี “คนกลาง” เข้ามา คลี่คลายสถานการณ์ ก่อนที่ จะยกระดับไปสู่ ความรุนแรง ในอีก ไม่กี่วันข้างหน้า

ชัย ชิดชอบ ประธานรัฐสภา ออกมาระบุว่า หลังสงกรานต์ จะมีข่าวดี เพราะผู้มีบุญบารมี จะมาไกล่เกลี่ยปัญหา และ เป็น “คนกลาง” ที่ทุกฝ่ายให้ ความเคารพ


ก่อนหน้านี้ ชัย ชิดชอบ เข้าออกบ้านสี่เสา อย่างถี่ยิบ ในช่วงก่อนให้ ลูกชาย เนวิน ชิดชอบ แปลงร่างเป็น งูเห่า เพื่อไทย ล้มการจัดตั้ง รัฐบาลเพื่อไทย เสมือนว่า ชัย ชิดชอบ รู้สัญญาณอะไรมา แน่นอนว่า การมาของ คนกลาง จะเป็น ฉากการเมือง ในตอนต่อไป แต่จะหมุนเปลี่ยน สถานการณ์ ออกไปจาก เหตุการณ์ปัจจุบัน ได้แค่ไหน หรือไม่ ก็ต้องจับตา ติดตามกันต่อไป

อย่างไรก็ตาม หลายคนหวั่นใจว่า มันจะมีเหตุรุนแรง ก่อนสงกรานต์ เพราะอาจ เกิดเหตุไม่คาดฝัน ซึ่งมีข่าวว่า ทักษิณ-เสื้อแดง ต้องการให้เกิด การเผชิญหน้า จนเกิดเหตุรุนแรง และ แตกหัก กันไปข้าง

ถ้าหาก ทักษิณ-เสื้อแดง ต้องการเช่นนั้นจริงๆ “บาปการเมือง” นี้ คงไม่มีใครให้อภัย หากคิดเอา ประชาชน มาเป็น “เครื่องมือแก้แค้น” ให้ฝ่ายตัวเอง

เราขอบอกไปยัง ทักษิณ – แกนนำคนเสื้อแดง – ส.ส.เพื่อไทย – อดีตกรรมการบริหารพรรค ไทยรักไทย และ พลังประชาชน – เจ้าหน้าที่รัฐ และ นักธุรกิจ ซึ่งหนุนหลัง การชุมนุม ครั้งนี้ว่า ทุกท่าน มีสิทธิ์ที่จะ เคลื่อนไหวทางการเมือง อย่างเต็มที่ ไม่ว่าจะเป็นที่ไหน จะ หน้าทำเนียบรัฐบาล หน้ารัฐสภา หรือ แม้แต่ หน้าบ้านสี่เสาเทเวศร์ ของ พลเอกเปรม หาก ทุกคนเคลื่อนไหว รวมตัวเรียกร้อง ภายใต้ หลักกฎหมาย ความเคารพ ในสิทธิ ของ ผู้อื่น ไม่เปิดเวทีปราศรัย แล้วใส่ร้ายป้ายสี ให้ความเท็จ ปลุกระดม ให้เกิดความเกลียดชัง และ เคียดแค้น จนนำไปสู่ ความแตกแยก และ ปลุกปั่น ให้เกิด ความรุนแรง ในรูปแบบต่างๆ


เท่าที่ ติดตาม การชุมนุมของ คนเสื้อแดง ก็เชื่อว่า เป็นฝ่ายต้องการ จะให้เกิด ความรุนแรง เพื่อบีบให้ รัฐบาล ต้องดำเนินการ อย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น การใช้ กฎหมายความมั่นคง หรือ ประกาศ สภาวะฉุกเฉิน ซึ่งทั้งหมด จะยิ่งทำให้ การชุมนุมของ คนเสื้อแดง มีความชอบธรรม มากขึ้น และ ทำให้รัฐบาล อยู่ใน สถานการณ์เพลี่ยงพล้ำ ทันที

ขณะที่ดูท่าที รัฐบาล ยังเชื่อว่า น่าจะอดทน จนถึงที่สุด และ ไม่ใช้ความรุนแรง กับ ประชาชน แม้จะมี ความพยายาม หวังสร้างสถานการณ์ เพื่อนำไปสู่เหตุวุ่นวาย จนอำนาจรัฐ ง่อยเปลี้ย ซึ่งเห็นแล้วว่า ตลอดช่วง การชุมนุมล้อมทำเนียบรัฐบาล

ซึ่งถึงวันนี้ เป็น วันที่ 10 แล้ว รัฐบาล-ตำรวจ-กองทัพ ก็ปล่อยให้ ใช้สิทธิเต็มที่ ไม่ได้มีการสั่งให้ สลายการชุมนุม หรือ ใช้ความรุนแรง ไม่มี การตัดสัญญาณ การโฟนอิน – วีดีโอลิงค์ – การถ่ายทอด เสียง ทั้งทีวี วิทยุ อินเตอร์เน็ต

จน รัฐบาล และ หน่วยงานความมั่นคง ถูกด่า เสียด้วยซ้ำ ว่า ไม่เด็ดขาด อ่อนหัด และ หน่อมแน้ม แต่อีกความเข้าใจหนึ่ง ก็อ่านใจได้ว่า หาก รัฐบาล คิดจะเล่นงาน หรือ สกัดการชุมนุมจริง ก็สามารถ ทำได้ แต่มันจะ “เข้าทาง” คนเสื้อแดง

เช่น การตัดสัญญาณ วีดีโอลิงก์ หรือ ไม่ให้มี การเผยแพร่เสียงภาพ ทางทีวี วิทยุ อินเตอร์เน็ต เพราะรู้ดีว่า จะถูกโจมตี ว่าเป็น เผด็จการ จนอาจนำมาเป็น เงื่อนไขปลุกระดม และ จะยิ่งทำให้ ประชาชน ยิ่งออกจากบ้าน มารวมตัวกัน หน้าทำเนียบรัฐบาล มากขึ้น

ขณะนี้ รัฐบาล ตั้งรับอย่างเดียว ยังไร้แนวทาง จะรุกกลับเมื่อไร แบบไหน มีแต่เปิดท่าที จะเจรจากับ คนทำลายชาติ ซึ่งเป็นเรื่องที่ ขัดต่อหลักนิติรัฐ จนหลายฝ่ายรับไม่ได้

ทั้งหลายทั้งปวง แม้จะมั่นใจ ลึกๆ ว่า 8 เมษายน ไม่น่าจะ เกิดเหตุ “ไทยฆ่าไทย จนเลือดนองท่วมแผ่นดิน ” อย่างที่ หลายฝ่ายหวั่นเกรง แต่ก็ใช่ จะวางใจเสียทีเดียว สิ่งที่อยากเตือน ทักษิณ – แกนนำเสื้อแดง ก็คือ

เรารู้ดีว่า คนอย่าง ทักษิณ ไม่หยุดคิดทำร้ายประเทศไทย แน่นอน ทว่า ขอเพียงให้ การวางแผนสู้รบนั้น อย่าเอา ประเทศชาติ เป็นเดิมพัน ทำให้แผ่นดินลุกเป็นไฟ เพราะยามนี้ สิ่งสำคัญ ก็คือ ความสามัคคี ของ คนไทย ที่ต้องร่วมกันฟันฝ่า วิกฤตเศรษฐกิจ ไปให้พ้น

ดังนั้น ถ้าจะเคลื่อนไหวใดๆ ก็ทำไปเถิด ถ้าไม่ได้ทำให้ แผ่นดินไทยเสียหาย


ขณะเดียวกัน เราขอเรียกร้องให้ บรรดา ผู้มีอำนาจใน รัฐบาล กองทัพ และ แม้แต่ พลเอก สุรยุทธ์ ออกมาแสดงความรับผิด ในบทบาทหน้าที่ ที่ท่านมีอยู่ เพื่อแก้ปัญหา ให้เหตุการณ์ ความขัดแย้ง ครั้งนี้ยุติโดยเร็ว เพราะ เหตุปัญหา เริ่มมาจาก เรื่องส่วนตัว แต่ ประเทศชาติ และ ประชาชน ต้องรับผลกรรม

astv_mgr-200จาก ข่าว และ ภาพ ของ สำนักข่าว ASTV ผู้จัดการออนไลน์ 4 เมษายน 2552 04:10 น.

พิมพ์ ข่าวนี้ หยุด! เอาชาติเป็นเดิมพัน ทำให้แผ่นดินลุกเป็นไฟ


ใช้ [ปุ่มถอยหลัง] ของเว็บบราวเซอร์ เพื่อกลับมาที่นี่ จากข้อมูลเชื่อมโยงด้านล่าง
Use Browser [Back] Button Return to Here from URL Below

December 2, 2008

ศาลรัฐธรรมนูญ วินิจฉัย 9-0 ให้ ยุบพรรค พลังประชาชน มัชฌิมาธิปไตย และ 8-1 ชาติไทย


รายละเอียด ศาลรัฐธรรมนูญ สั่งยุบ
“พลังประชาชน” “มัชฌิมาธิปไตย” “ชาติไทย”

เมื่อเวลา 12.30 น. ที่ผ่านมา ศาลรัฐธรรมนูญ มีมติ เอกฉันท์ 9 ต่อ 0 ตัดสินยุบพรรค พลังประชาชน และ ให้ ตัดสิทธิ์ทางการเมือง ของ กรรมการบริหารพรรค 37 คนๆละ 5 ปี


12.44 น. ศาลรัฐธรรมนูญ วินิจฉัย มีมติเอกฉันท์ 9 ต่อ 0 ตัดสินให้ ยุบพรรค มัชฌิมาธิปไตย และ ตัดสิทธิ์ทางการเมือง ของ กรรมการบริหารพรรค คนๆละ 5 ปี


13.00 น. ศาลรัฐธรรมนูญ วินิจฉัย มีมติ 8 ต่อ 1 ตัดสินให้ ยุบพรรค ชาติไทย และ ตัดสิทธิ์ทางการเมือง ของ กรรมการบริหารพรรค คนๆละ 5 ปี

คาดว่า กกต. จะไม่สามารถ ให้ การรับรอง สส.สัดส่วน ที่คิดจะย้ายพรรค ของพรรคที่ถูกยุบ เพราะผิดเจตุจำนงค์ ของรัฐธรรมนูญ เพราะคนไม่ได้กาให้ พรรค ที่ตั้งใหม่

ล่าสุดเมื่อเวลา 18.40 น. ณ บ้านพระอาทิตย์ แกนนำพันธมิตร ประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ได้อ่านแถลงการณ์ ฉบับที่ 27 มีมติ ให้ยุติการชุมนุม ทั้ง ที่สนามบินดอนเมือง และสนามบินสุวรรณภูมิ และคืนพิ้นที่ให้ ในวันที่ 3 ธันวาคม 2551 ภายในเวลา 10.00 น.

เราขอแสดงความยินดี กับเพื่อนๆ พันธมิตรฯ ทุกๆ ท่าน ด้วยความจริงใจ ถึงแม้ว่า ชัยชนะของเพื่อนๆ พันธมิตรฯ จะต้องแลกด้วยชีวิต เพื่อนเราถึง 7 คน และมีผู้บาดเจ็บ อีกกว่า 500 คน

แต่เราเชื่อว่า ภาระกิจของ พันธมิตรฯ ยังไม่จบ ต้องรวมพลัง รวมใจให้เป็นหนึี่งเดียว ตลอดไป และต่อต้าน นักการเมืองเลวๆ ไม่ให้กลับมา มีอำนาจ อีกต่อไป เพื่อการเมืองใหม่ ที่แท้จริง ในอนาคตอันใกล้นี้ เราหวังเช่นนั้นจริงๆ

และพร้อมจะเป็น หนึ่งเสียง หนึ่งพลัง ของพันธมิตรฯ ตลอดไป เห็นภาพเพื่อนๆ พันธมิตรฯ ที่สนามบินสุวรรณภูิม ิโห่ร้องแสดงความดีใจ

เราเอง ก็กลั้นน้ำตาไม่อยู่เหมือนกัน พอนึกถึง ความยากลำบาก ของเพื่อนๆ พันธมิตรฯ ทุกคน ที่ผ่านมาตลอดระยะเวลา



ศาล รธน. มติเอกฉันท์! สั่งยุบ “พปช.” ตัดสิทธิ กก.บห. 5 ปี – “ชายอำมหิต” หลุดเก้าอี้


ศาลรัฐธรรมนูญอ่านคำวิจิฉัย โดยมีมติ 9 ต่อ 0 สั่งยุบพรรคพลังประชาชน พร้อมเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง หัวหน้าพรรค และกรรมการบริหาร 5 ปี ล่าสุด ยุบพรรคมัชฌิมาฯ และพรรคชาติไทย พร้อมตัดสิทธิ กก.บห.พรรค 5 ปี เช่นกัน


คลิกที่นี่ เพื่อฟัง ศาลรัฐธรรมนูญ อ่านคำวินิจฉัย ตัดสินคดียุบพรรค พลังประชาชน พรรคชาติไทย และ พรรคมัฌชิมาธิปไตย
คลิกที่นี่ เพื่อชม ศาลรัฐธรรมนูญ อ่านคำวินิจฉัย ตัดสินคดียุบพรรค พลังประชาชน พรรคชาติไทย และ พรรคมัฌชิมาธิปไตย (56 K)
คลิกที่นี่ เพื่อชม ศาลรัฐธรรมนูญ อ่านคำวินิจฉัย ตัดสินคดียุบพรรค พลังประชาชน พรรคชาติไทย และ พรรคมัฌชิมาธิปไตย (256 K)

จาก manager multimedia


คลิกที่นี่ เพื่อดาวน์โหลด ศาลรัฐธรรมนูญ อ่านคำวินิจฉัย ตัดสินคดียุบพรรค พลังประชาชน พรรคชาติไทย และ พรรคมัฌชิมาธิปไตย


เมื่อเวลา 12.00 น. วันที่ 2 ธ.ค. ที่ศาลปกครองกลาง นายชัช ชลวร ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ออกอ่านคำวินิจฉัย ในคดีที่ อัยการสูงสุด ยื่นคำร้อง ขอให้ ศาลรัฐธรรมนูญ พิจารณาวินิจฉัย ยุบพรรคพลังประชาชน ว่า


การทำงานของศาล เป็นอิสระไม่มีการแทรกแซง หรือกดดันศาล ซึ่งศาลจะวินิจฉัย ตามบทบัญญัติของ รัฐธรรมนูญ ที่บัญญัติเอาไว้ และใน สถานการณ์บ้านเมือง ที่เป็นเช่นนี้ คำวินิจฉัยของ ศาลย่อมจะส่งผลให้มี ผู้เห็นด้วย และไม่เห็นด้วย แต่ก็ขอให้ ทุกฝ่ายเชื่อมั่น และยอมรับ คำวินิจฉัย ตามระบอบ การปกครองโดยกฎหมาย


ประเด็นที่จะวินิจฉัยมี สามประเด็น


ประเด็นที่ 1. คือ นายยงยุทธ ติยะไพรัช รองหัวหน้าพรรคพลังประชาชน กระทำความผิด ตาม พ.ร.บ.เลือกตั้ง ส.ส. และการได้มา ซึ่ง ส.ว. หรือไม่ ประเด็นที่ 2. มีเหตุสมควรให้ ยุบพรรคที่ถูกร้องหรือไม่
ประเด็นที่ 3. หัวหน้าพรรค และคณะกรรมการบริหารพรรคการเมือง ที่ถูกยุบ ต้องถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง หรือไม่


รัฐธรรมนูญ 50 มีเจตนารมณ์ให้ การเลือกตั้ง สุจริตและ เที่ยงธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง มีบทบัญญัติ ป้องกันการทุจริต ห้ามให้ทรัพย์สิน หรือซื้อเสียง เพื่อให้นักการเมือง ได้รับการเลือกตั้ง อันเป็นวิธีการหนึ่งที่ นักการเมืองใช้กันมานาน จนเกิดความเคยชิน เป็นความผิด ที่ร้ายแรง และเป็นการ บ่อนทำลาย ไม่ให้ประชาธิปไตย พัฒนาเป็นประชาธิปไตย ที่แท้จริง และก่อให้เกิด ความเสียหายกับประเทศ


เนื่องจาก นักการเมืองเมื่อเข้าสู่อำนาจแล้ว ก็มุ่งแสวงหาผลประโยชน์ ด้วยวิธีการที่ไม่ชอบ โดยไม่มีความละอาย เพื่อเตรียมไว้ใช้ กับการเลือกตั้ง ต่อไป อันเป็นวงจรเลวร้าย ไม่มีที่สิ้นสุด รัฐธรรมนูญจึงบัญญัติเพื่อป้องกันไว้ อย่างเข้มงวด และเป็นการส่งเสริม นักการเมือง ที่ตั้งมั่นในสุจริต เข้ามาทำประโยชน์ ให้แก่ประเทศชาติ


ชี้ “ยงยุทธ” ฝืน กม.เลือกตั้ง ม.35


ในประเด็นแรก นายยงยุทธ ติยะไพรัช รองหัวหน้าพรรค พลังประชาชน กระทำความผิด ตามพ.ร.บ.เลือกตั้ง หรือไม่ นั้น เห็นว่า ประเด็น ปัญหาการทำความผิดของ นายยงยุทธ ได้มีการต่อสู้ โดยทั้งผู้ร้องและผู้ถูกร้อง ได้มีโอกาส นำพยานและหลักฐาน เข้าสู่การพิจารณาคดี ของศาลฎีกา อย่างเต็มที่แล้ว ซึ่งศาลฎีกามีคำวินิจฉัยไว้แล้วว่า นายยงยุทธ กระทำการฝ่าฝืน พ.ร.บ.เลือกตั้ง มาตรา 53 และทำให้ การเลือกตั้ง ส.ส. ที่ จ.เชียงราย มิได้เป็นไปโดยสุจริต ตามคำสั่งของ ศาลฎีกาที่ 5019/2551


ประเด็นที่ ศาลฎีกาวินิจฉัยแล้ว นั้นเป็นประเด็น ข้อเท็จจริง เดียวกัน และอยู่ใน อำนาจของศาลฎีกา ทีจะวินิจฉัยตาม ที่กฎหมายกำหนด เขตอำนาจ วินิจฉัย ของแต่ละศาล ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา239 วรรค2


ประกอบ กับ พ.ร.บ.เลือกตั้ง มาตรา111 บัญญัติให้ ศาลฎีกาเป็น ผู้วินิจฉัย ชี้ขาด กรณีการทำผิดกฎหมายเลือกตั้ง โดยเฉพาะ และเรื่องนี้ ศาลฎีกา ได้พิจารณาแล้ว ว่ามีเหตุอันควรเชื่อได้ว่า นายยงยุทธ กระทำการฝ่าฝืนกฎหมายเลือกตั้ง มาตรา53 และมีผลให้ การเลือกตั้ง ส.ส.เชียงราย ไม่ได้เป็นไป โดยสุจริตและเที่ยงธรรม ประเด็นนี้ จึงยุติ ตามคำสั่งของศาลฎีกาแล้ว ศาลรัฐธรรมนูญ ย่อมไม่มีอำนาจเข้าไปตรวจสอบ อีกทั้ง ศาลรัฐธรรมนูญ ก็ไม่ได้มีอำนาจ รับวินิจฉัย หรืออุทธรณ์ คำสั่งของศาลฎีกา


ข้ออ้างหนีผิด ฟังไม่ขึ้น


ประเด็นที่ผู้ถูกร้องอ้างว่า คำสั่งของศาลฎีกา ไม่มีผลผูกพัน พรรคผู้ถูกร้อง หัวหน้าพรรค หรือกรรมการบริหารพรรค เพราะมี บุคคลภายนอกทุจริต นั้น เห็นว่าประเด็น ที่ศาลรัฐธรรมนูญต้องวินิจฉัย มิใช่ผู้ถูกร้อง หัวหน้าพรรคพลังประชาชน กระทำการฝ่าฝืนกฎหมายเลือกตั้ง หรือไม่


แต่เป็น การพิจารณา วินิจฉัย ว่าเมื่อ นายยงยุทธ ฝ่าฝืนกฎหมายเลือกตั้ง ศาลรัฐธรรมนูญ จะมีคำสั่งให้มี การยุบพรรค และเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง ของ กรรมการบริหารพรรค ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 237 และ มาตรา68 วรรค3 หรือไม่ โดยไม่จำเป็นต้อง วินิจฉัยว่า พรรค หรือ กรรมการบริหารพรรค คนอื่นเป็น ผู้กระทำผิด ด้วยหรือไม่ คำคัดค้านของผู้ถูกร้อง จึงไม่อยู่ในอำนาจของ ศาลรัฐธรรมนูญ ที่จะวินิจฉัยให้เป็นอย่างอื่นอีก


ประเด็นที่ผู้ถูกร้องอ้างว่า การกระทำของ นายยงยุทธเกิดขึ้นก่อนที่ พรรคจะมีมติ ส่งนายยงยุทธ ลงรับสมัครเลือกตั้ง จึงยังไม่ถือว่า เป็นผู้สมัคร ศาลเห็นว่า ศาลฎีกาได้วินิจฉัย ในประเด็นนี้แล้วว่า แม้จะทำก่อนลงสมัครรับเลือกตั้งก็ตาม แต่ภายหลัง ก็ได้สมัครรับเลือกตั้ง ก็ถือว่า เป็นการกระทำ ในฐานะ ผู้สมัครรับเลือกตั้ง


ดังนั้น จึงไม่อยู่ในเขตอำนาจของ ศาลรัฐธรรมนูญ ที่จะวินิจฉัยเป็นอย่างอื่น เช่นกัน และไม่มีบทบัญญัติใด ที่จะกำหนดให้ ศาลรัฐธรรมนูญ วินิจฉัย ล้มล้าง หรือเปลี่ยนแปลง คำวินิจฉัยชี้ขาดของ ศาลฎีกา เนื่องจาก ศาลแต่ละระบบนั้น นอกจากจะเป็นอิสระ จากการเมืองแล้ว ยังเป็นอิสระต่อกันด้วย


ยันพรรคห้าม ศาลฯ สั่งยุบพรรค ไม่ได้


ประเด็นต่อมา ที่ต้องวินิจฉัยว่า สมควรจะต้องยุบพรรคการเมือง หรือไม่นั้น เห็นว่า ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 237 วรรคสอง บัญญัติว่า หากมีการทำผิด ของ ผู้สมัครรับเลือกตั้ง และมีหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่า หัวหน้าพรรค หรือ กรรมการบริหาร มีส่วนรู้เห็น หรือปล่อยปละละเลย การกระทำนั้น หรือมิได้ ยับยั้ง ให้ถือว่า พรรคการเมืองนั้น กระทำการให้ได้มา ซึ่งอำนาจในการปกครอง โดยวิถีทาง ที่ไม่ได้บัญญัติไว้ ในรัฐธรรมนูญ ตามมาตรา 68 และ บัญญัติอีกว่า หากศาลมีคำสั่งให้ ยุบพรรคการเมือง ก็ให้เพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง ของหัวหน้าพรรค และกรรมการบริหารพรรค มีกำหนดเวลา 5 ปี นับตั้งแต่ ศาลมีคำสั่ง


บทบัญญัติดังกล่าว เป็นข้อสันนิษฐานเด็ดขาดว่า หากมีหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่า กรรมการบริหารพรรคผู้ใด มีส่วนรู้เห็น หรือปล่อยปละละเลย การกระทำ ของผู้สมัครรับเลือกตั้ง หรือไม่แก้ไข ให้สุจริตและเที่ยงธรรม กฎหมายให้ถือว่า พรรคการเมืองนั้น กระทำการให้ได้มา ซึ่งอำนาจ ในการปกครอง โดยวิถีทางอันไม่ได้บัญญัติไว้ ในรัฐธรรมนูญ แม้ข้อเท็จจริง พรรคการเมือง หรือ หัวหน้าพรรค จะไม่มีส่วนร่วมก็ได้ กฎหมาย ถือว่า เป็นผู้กระทำ จึงเป็นข้อยุติ ที่ไม่อาจโต้แย้งได้ และศาลรัฐธรรมนูญ ก็มิอาจวินิจฉัย เป็นอื่นได้


เนื่องจาก ความผิดในการซื้อเลือกตั้ง เป็นความผิดที่ร้ายแรง และผู้กระทำ จะใช้วิธีการอันแยบยล กฎหมายจึงบัญญัติให้เป็น หน้าที่ของ ผู้บริหารพรรค ต้องคัดเลือกบุคคล ที่จะเข้าทำงาน กับ พรรค และควบคุม ดูแลสอดส่อง ไม่ให้ คนของพรรค ทำความผิด โดยมีบทบัญญัติ ให้ พรรคการเมือง และ ผู้บริหาร ต้องรับผิด ตามหลักนิติบุคคล ต้องรับผิดชอบ ของการกระทำของ ผู้แทน หรือผู้มีอำนาจกระทำการแทน นิติบุคคล นั้นด้วย จะปฏิเสธ ความรับผิดชอบไม่ได้ คดีนี้ จึงถือมีเหตุ ตามกฎหมายที่ ศาลจะต้องวินิจฉัยว่า สมควรยุบพรรคการเมือง ผู้ถูกร้องหรือไม่


ผู้ถูกร้องเป็น พรรคการเมือง ที่เป็นองค์กร ที่มีความสำคัญยิ่ง ของการปกครอง ในระบอบประชาธิปไตย ต้องเป็น ตัวอย่าง ที่ถูกต้องชอบธรรม และ สุจริต การได้มาซึ่ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ของผู้ถูกร้อง ควรได้มา ด้วยความบริสุทธิ์ ด้วยความนิยม ในตัว ผู้สมัครรับเลือกตั้ง และพรรคการเมือง เป็นหลัก ไม่ใช่เพราะผลประโยชน์ หรืออามิสสินจ้าง ที่เป็นเหตุจูงใจ ให้ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง ลงคะแนนให้


กรรมการบริหารพรรคทุกคน ควรช่วยทำหน้าที่ควบคุม และดูแลผู้สมัครรับเลือกตั้ง ที่พรรคส่ง ตลอดจน กรรมการบริหารพรรค ด้วยกันเอง ไม่ให้ กระทำการฝ่าฝืนกฎหมาย แต่ นายยงยุทธ กลับใช้วิธี ที่ผิดกฎหมาย ให้ตัวเองได้รับการเลือกตั้ง ทำให้พรรคการเมือง ได้รับ ส.ส. เพิ่มขึ้น ซึ่งผู้ถูกร้อง ถือว่าได้รับประโยชน์ และกรณีนี้ เป็นเรื่องร้ายแรง


กก.บห.พรรคต้องมีสามัญสำนึกสุจริตชน


ประเด็นที่ ผู้ถูกร้อง อ้างว่าการกระทำความผิด ตามมาตรา 237 วรรคสอง จะต้องเป็น คนละคนกับ ผู้กระทำความผิด ตามมาตรา 237 วรรคหนึ่ง และ ยืนยันว่า หัวหน้าพรรค หรือกรรมการบริหารพรรค คนอื่นไม่มีส่วนรู้เห็น หรือปล่อยปละละเลย หรือทราบแล้วไม่ระงับยับยั้ง หรือแก้ไข ให้การเลือกตั้ง เป็นไปโดยสุจริต


เห็นว่าหาก ผู้กระทำความผิด ตามวรรคหนึ่ง เป็นกรรมการบริหารพรรค เสียเอง ย่อมเป็นที่ประจักษ์ชัด ว่า กรรมการบริหารพรรค คนนั้น ย่อมมีเจตนา กระทำความผิด ยิ่งกว่า เพียงผู้รู้เห็นเป็นใจ กับผู้อื่นเสียอีก จึงย่อมไม่มีความจำเป็น ต้องให้ หัวหน้าพรรค หรือกรรมการบริหารพรรค คนอื่น เป็นผู้มีส่วนรู้เห็น หรือปล่อยปละละเลย หรือทราบแล้วไม่แก้ไข เพราะกรรมการบริหารพรรค ที่ทำความผิด ตามวรรคหนึ่ง ก็มีฐานะเป็น กรรมการบริหารพรรค ขณะที่กระทำความผิด จึงเป็นกรณีที่ร้ายแรงกว่า บุคคลอื่น เป็นผู้กระทำ อันเป็นไปตามหลักกฎหมาย ที่ว่า เมื่อกฎหมาย ห้ามกระทำสิ่งที่ชั่วร้าย ใดไว้ สิ่งที่ชั่วร้ายมากกว่านั้น ย่อมถูกห้ามไปด้วย ซึ่งตรงกับ สามัญสำนึกของ สุจริตชนทั่วไป และตรงกับ ตรรกะ ที่ว่า ยิ่งต้องเป็น เช่นนั้น ข้ออ้างของผู้ร้อง จึงฟังไม่ขึ้น


พรรคเข้มแข็งต้องมีคุณภาพ คำอ้างไม่ควรยุบฟังไม่ขึ้น


ประเด็นที่ ผู้ถูกร้อง อ้างว่าพรรคการเมือง เป็นองค์ประกอบพื้นฐาน ที่สำคัญ ของการปกครอง ระบอบประชาธิปไตย ซึ่งควรมี ความเข้มแข็ง และ ไม่ควร ถูกยุบ โดยง่าย


เห็นว่า การเป็นองค์กร ที่เข้มแข็ง ต้องเป็นความเข้มแข็ง ที่มีคุณภาพมาตรฐาน ดำเนินกิจกรรมทางการเมือง ด้วยความสุจริต แต่หากเป็น พรรคการเมือง ที่เข้มแข็ง ด้วยทางทุจริต ย่อมเป็นการทำลาย พรรคการเมือง ที่สุจริต และเป็นการทำลาย การปกครอง ระบอบประชาธิปไตย แม้พรรคที่ หย่อน คุณภาพมาตรฐาน จะถูกยุบ แต่คนที่มีอุดมการณ์ อันบริสุทธิ์ทางการเมือง ตรงกัน ย่อมมีสิทธิ์ ขั้นพื้นฐาน ที่จะตั้ง พรรคการเมือง ขึ้นใหม่ เมื่อใดก็ได้ การยุบพรรคการเมือง ที่กระทำผิด จึงเป็นการปลูกฝัง การดำเนินกิจกรรมทางการเมือง ให้เป็นไปโดยสุจริต อันจะเป็น คุณประโยชน์ ต่อการปกครอง ในระบอบประชาธิปไตย อย่างแท้จริง


ประเด็นที่ผู้ถูกร้อง อ้างว่า พรรคได้กำหนด มาตรการป้องกัน ผู้สมัครรับเลือกตั้งของพรรค กระทำการฝ่าฝืนกฎหมาย และระเบียบของ กกต. ก่อนจะ ประกาศ พระราชกฤษฎีกาเลือกตั้ง โดยจัดประชุมชี้แจง ผู้สมัครรับเลือกตั้ง ของพรรค ทราบแล้วนั้น


เห็นว่าแม้จะได้กระทำจริง ก็ไม่ได้เป็น ข้อยกเว้นการรับผิดทางกฎหมาย ในกรณี ที่ หัวหน้า และ กรรมการบริหารพรรค ทำผิดเสียเอง เพราะใน กรณีเช่นนั้น ก็แสดงให้เห็นว่า มาตรการต่างๆ ที่จัดทำ ไม่มีผลบังคับใช้ แต่อย่างใด ดังนั้น เมื่อปรากฏข้อเท็จจริง ว่ามีการกระทำความผิด โดยผู้ที่เป็น กรรมการบริหารพรรค ของผู้ถูกร้อง ผู้ถูกร้อง ย่อมต้องรับผิด ตามบทบัญญัติของกฎหมาย


ชี้ กกต.ดำเนินการ โดยชอบตาม กม.


ประเด็นที่ ผู้ถูกร้องอ้างว่า ไม่ได้รับผลประโยชน์ใดๆ จากการกระทำของ นายยงยุทธ ตามที่มีการกล่าวหา เห็นว่าประเด็นนี้ ศาลฎีกา ได้มีการวินิจฉัย ไว้แล้วว่า การกระทำของ นายยงยุทธ ทำให้การเลือกตั้ง จังหวัดเชียงราย ไม่สุจริต และเที่ยงธรรม ซึ่งยังผลให้ พรรคของผู้ถูกร้องมี ส.ส. จำนวน มากขึ้น อันเป็นประโยชน์สำคัญ ประการหนึ่ง


สำหรับประเด็นที่ ผู้ถูกร้องอ้างว่า การสืบสวนสอบสวน ของ กกต. และการยื่นคำร้องเป็น การละเมิดสิทธิ์ใน กระบวนการยุติธรรม ไม่เป็นไปตามหลัก นิติธรรม เห็นว่า ประเด็นนี้ ศาลฎีกาวินิจฉัยแล้วว่า เป็นการดำเนินการโดยชอบ ด้วยกฎหมาย ผู้ยื่นคำร้อง เป็นผู้มีหน้าที่ ตามพ.ร.บ.พรรคการเมือง มาตรา 95 และดำเนินการโดยถูกต้อง ตามข้อกำหนด ของ ศาลรัฐธรรมนูญ ทุกประการ จึงเป็นการดำเนินการ ตามบทบัญญัติ ของกฎหมาย


การที่ นายยงยุทธ ที่เป็น รองหัวหน้าพรรค และกรรมการบริหารพรรค เป็นส.ส. หลายสมัย มีบทบาทสำคัญ จนได้รับยกย่องให้เป็น รองหัวหน้าพรรค และประธานรัฐสภา จึงมีหน้าที่ ต้องควบคุมและสอดส่องดูแลให้ สมาชิกพรรค ที่ตนบริหาร ดำเนินการ ด้วยการสุจริต แต่กลับทำความผิด ที่ร้ายแรง เสียเอง และเป็นภัยคุกคาม ต่อระบอบประชาธิปไตย ของประเทศ


จึงมีเหตุสมควรต้องยุบ พรรคการเมือง ของผู้ถูกร้อง เพื่อให้เป็น บรรทัดฐาน พฤติกรรมทางการเมือง ที่ดีงาม เพื่อให้เกิดผล ในทางยับยั้ง และป้องกัน ไม่ให้กระทำความผิดซ้ำ


หัวหน้าพรรค-กก.บห.ต้องถูกตัดสิทธิ 5 ปี


ประเด็นที่ 3 หัวหน้าพรรคการเมือง และกรรมการบริหาร พรรคการเมือง ที่ถูกร้อง จะต้องถูก เพิกถอนสิทธิ์เลือกตั้ง หรือไม่ เห็นว่า รัฐธรรมนูญมาตรา 237 วรรค 2 บัญญัติว่าในกรณีที่ ศาลรัฐธรรมนูญ มีคำสั่งให้ ยุบพรรค


ให้เพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง ของหัวหน้าพรรคการเมือง และกรรมการบริหารพรรคการเมือง มีกำหนด 5 ปี นับจากวันที่มีคำสั่ง ให้ยุบพรรค ตรงกับมาตรา 68 วรรคสี่ ที่บัญญัติไว้เช่นเดียวกัน บทบัญญัติดังกล่าว เป็นข้อบังคับ ทางกฎหมาย เมื่อศาล มีคำสั่งยุบพรรค แล้ว จะต้องเพิกถอนสิทธิ ของ หัวหน้า และ กรรมการบริหารพรรค ที่อยู่ในขณะกระทำความผิด เป็นเวลา 5 ปี ซึ่งศาลไม่มีดุลพินิจ จะสั่งเป็นอื่นได้


ส่วนข้อโต้แย้งของ ผู้ถูกร้องที่ว่า การเพิกถอนสิทธิของ หัวหน้าพรรค และกรรมการบริหาร ต้องเป็นกรณีที่ หัวหน้าพรรค และกรรมการบริหารพรรค แต่ละคน ต้องมีส่วนรู้เห็น หรือ ปล่อยปละละเลย ตามพ.ร.บ. พรรคการเมืองมาตรา 98 เห็นว่า การเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง ของกรรมการบริหารพรรค ในคดีนี้ เป็นการเพิกถอน ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 68 วรรคสาม ประกอบมาตรา 237 วรรคสอง ซึ่งไม่ใช่ ตาม พ.ร.บ. พรรคการเมือง และไม่ว่ากรณี จะเป็นเช่นใด ก็ตาม บทบัญญัติ ของ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ มิอาจลบล้าง บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญได้ ข้อโต้แย้ง จึงฟังไม่ขึ้น


มติเอกฉันท์ ยุบพรรค “พลังประชาชน”


ด้วยเหตุผลดังกล่าวข้างต้น ศาลรัฐธรรมนูญ จึงมีมติเอกฉันท์ วินิจฉัยว่า ควรยุบพรรคพลังประชาชน เนื่องจาก นายยงยุทธ ทำความผิด ตาม พ.ร.บ. เลือกตั้ง ซึ่งมีผลทำให้ การเลือกตั้ง ไม่เป็นไปโดย สุจริตและเที่ยงธรรม อันเป็นการกระทำ เพื่อให้ได้มา ซึ่งอำนาจ การปกครองของประเทศ ซึ่งไม่ได้เป็นไป ตามวิถีทางที่ บัญญัติไว้ใน รัฐธรรมนูญ มาตรา 68 และ มาตรา 237 วรรคสอง และให้ เพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง หัวหน้าพรรค และ กรรมการบริหารพรรค ซึ่งอยู่ในตำแหน่ง ในขณะที่ กระทำความผิด เป็นระยะเวลา 5 ปี นับแต่วันที่ ศาลรัฐธรรมนูญ มีคำสั่งให้ ยุบพรรค ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 68 วรรคสี่ และ มาตรา 237 วรรคสอง


รายละเอียด ศาลรัฐธรรมนูญ สั่งยุบ
“พลังประชาชน” “มัชฌิมาธิปไตย” “ชาติไทย”

วินัจฉัย “มัชฌิมาธิปไตย”


ต่อมา ตุลาการรัฐธรรมนูญได้อ่าน คำวินิจฉัยยุบพรรค มัชฌิมาธิปไตย ว่า การที่ นายสุนทร วิลาวัลย์ รองหัวหน้าพรรค และกรรมการบริหารพรรค มัชฌิมาธิปไตย มีบทบาทสำคัญ ภายในพรรค จึงมีหน้าที่สำคัญ ที่จะต้องสอดส่องดูแลกัน ในพรรคให้ สมาชิกพรรค ที่ตนบริหารอยู่ กระทำ การเลือกตั้ง โดย สุจริตและเที่ยงธรรม แต่กลับเป็น ผู้กระทำความผิดเสียเอง อันเป็น ความผิดที่ร้ายแรง และเป็นภัยคุกคาม ต่อการพัฒนา ระบอบ ประชาธิปไตย ของประเทศ กรณีจึงมีเหตุอันสมควร ที่จะต้อง ยุบพรรคการเมือง ผู้ถูกร้อง


เพื่อให้เป็นบรรทัดฐาน พฤติกรรม ทางการเมือง ที่ดีงาม และเพื่อให้เกิดผล ในการยับยั้ง ป้องปราม มิให้เกิดการกระทำ ผิดซ้ำขึ้นอีก


กรณีที่ ผู้ถูกร้องอ้างว่า พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. และการได้มาซึ่ง ส.ว. พ.ศ. 2550 มาตรา 103 ขัดต่อ รัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 มาตรา 237 นั้น เห็นว่า มาตรา 103 ของ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ ดังกล่าว มิได้ขัด หรือแย้งต่อ รัฐธรรมนูญ มาตรา 237 แต่เป็นบทบัญญัติ ที่สอดคล้องกัน พรรคการเมืองเป็น นิติบุคคลตามกฎหมาย ซึ่งตั้งขึ้นตาม พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วย พรรคการเมือง การสิ้นสุดสภาพ นิติบุคคลของพรรคการเมือง จึงเป็นไปตามที่ กฎหมายกำหนด การยุบพรรค เป็นการสิ้นสุดสภาพ ของพรรคการเมือง ประเภทหนึ่ง ที่เป็นไปตาม บทบัญญัติแห่ง พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ได้ มิใช่ จำกัด เฉพาะกรณี ที่บัญญัติไว้ให้ใน รัฐธรรมนูญ เท่านั้น


ประเด็นที่ ผู้ถูกร้องอ้างว่า ศาลรัฐธรรมนูญ ไม่มีอำนาจ สั่งยุบพรรค แต่มีอำนาจสั่งให้เลิก กระทำการ ตามมาตรา 68 วรรค 3 เท่านั้น เห็นว่า การร้องขอให้ ยุบพรรคตามคำร้อง ในคดีนี้ เป็นการร้องขอให้ ยุบพรรค ตามมาตรา 237 วรรค 2 ประกอบ กับ มาตรา 68 มิใช่เป็นการร้องขอ ให้ยุบพรรค ตามมาตรา 68 เพียงลำพัง ศาลจึงมีอำนาจ วินิจฉัยยุบพรรคได้ โดยไม่จำเป็น ต้องสั่งให้เลิกกระทำการ ตามมาตรา 68 วรรค 3


สำหรับการยื่นคำร้อง ของผู้ร้องนั้น เป็นการยื่นคำร้อง ต่อศาล ตาม พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วย พรรคการเมือง 2550 มาตรา 95 และได้ ดำเนินการมา โดยถูกต้องตามครรลอง แห่งข้อกำหนดของ ศาลรัฐธรรมนูญ ทุกประการแล้ว จึงเป็นการดำเนินการ ตามบทบัญญัติ ของกฎหมาย

หน.พรรคลาออก ไม่ทำให้ ฐานะ กก.บห. เปลี่ยน


สำหรับประเด็น ที่ผู้ถูกร้อง อ้างว่า นายประชัย เลี่ยวไพรัช หน.พรรค ได้ลาออก ตั้งแต่ วันที่ 4 ธ.ค. 2550 แล้ว จึงถือว่า กรรมการบริหารพรรค พ้นจากตำแหน่ง แล้วนั้น เห็นว่า แม้ว่า หัวหน้าพรรคจะลาออก ทำให้กรรมการบริหารพรรค ทั้งคณะพ้นจากตำแหน่ง แต่ตามข้อบังคับ ของพรรค ผู้ถูกร้อง พ.ศ. 2550 ข้อ 30 วรรค 5 กำหนดให้ กรรมการบริหารพรรค ทั้งหมด ยังคงต้อง ปฏิบัติหน้าที่ต่อไป จนกว่า นายทะเบียนพรรคการเมือง จะตอบรับ การเปลี่ยนแปลง กรรมการบริหารพรรคชุดใหม่ เช่นนี้ จึงต้องถือว่า นายสุนทร ยังเป็นกรรมการบริหารพรรคการเมือง ผู้ถูกร้องอยู่ ในขณะ เกิดเหตุ แม้เป็นเพียง ผู้รักษาการ ก็ไม่ทำให้ ฐานะเปลี่ยนแปลงไป


ประเด็น ที่ หัวหน้าพรรคการเมือง และกรรมการบริหาร พรรคการเมือง ผู้ถูกร้อง ต้องถูกเพิกถอนสิทธิ์เลือกตั้ง หรือไม่


เห็นว่ารัฐธรรมนูญ 2550 มาตรา 237 วรรค 2 บัญญัติว่า ในกรณีที่ ศาลรัฐธรรมนูญ มีคำสั่งให้ ยุบพรรคการเมือง นั้น ให้เพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง ของ หัวหน้าพรรคการเมือง และกรรมการบริหารพรรคการเมือง ดังกล่าว มีกำหนด ระยะเวลา 5 ปี นับแต่วันที่ มีคำสั่งให้ ยุบพรรคการเมือง ซึ่งเป็นการ เน้นย้ำ ตรงกับมาตรา 68 วรรค 4 ที่บัญญัติไว้ เช่นเดียวกัน บทบัญญัติดังกล่าว เป็นบทบัญญัติ ตามกฎหมายว่า เมื่อศาล มีคำสั่งให ยุบพรรคแล้ว จะต้องเพิกถอน สิทธิพรรคการเมือง และกรรมการบริหาร พรรคการเมือง ในขณะที่ มีการกระทำผิด เป็นเวลา 5 ปี ซึ่งศาลไม่อาจใช้ ดุลยพินิจ เป็นอื่นได้


ส่วนข้อโต้แย้งของ ผู้ถูกร้องและ ผู้เกี่ยวข้อง ที่อ้างว่า การเพิกถอน สิทธิเลือกตั้ง ของหัวหน้าพรรคการเมือง และกรรมการบริหาร พรรคการเมือง จะต้องเป็นกรณี ที่หัวหน้าพรรค หรือกรรมการบริหารพรรค แต่ละคน มีส่วนรู้เห็น หรือปล่อยปละละเลย ตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วย พรรคการเมือง พ.ศ. 2550 มาตรา 98 นั้น


เห็นว่า การเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง หัวหน้าพรรคและ กรรมการบริหารพรรคการเมือง ในคดีนี้ เป็นการเพิกถอน ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 68 วรรค 3 ประกอบกับมาตรา 237 วรรค 2 มิใช่ตาม พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยพรรคการเมือง และไม่ว่า กรณีจะเป็นเช่นใดก็ตาม บทบัญญัติ ของ พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญ ดังกล่าว ก็มิอาจลบล้าง บทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ ได้

มติเอกฉันท์ ยุบพรรค “มัชฌิมาธิปไตย”


ข้อโต้แย้งของ ผู้ถูกร้อง และผู้เกี่ยวข้อง ในประเด็นนี้ ทั้งหมด จึงฟังไม่ขึ้น ด้วยเหตุผลดังกล่าว ข้างต้น ศาลรัฐธรรมนูญ โดยมติ เอกฉันท์ จึงวินิจฉัยว่า ให้ยุบพรรคมัชฌิมาธิปไตย เนื่องจาก นายสุนทร วิลาวัลย์ รองหัวหน้าพรรค และกรรมการบริหารพรรค มัชฌิมาธิปไตย กระทำความผิด ตาม พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส.และ การได้มาซึ่ง ส.ว. พ.ศ. 2550 ซึ่งมีผลทำให้ การเลือกตั้ง มิได้เป็นไปโดย สุจริตและ เที่ยงธรรม อันเป็นการกระทำ เพื่อให้ได้มา ซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศ โดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไป ตามวิถีทาง ที่บัญญัติไว้ ในรัฐธรรมนูญมาตรา 68 ประกอบมาตรา 237 วรรค 2


และให้ เพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง ของหัวหน้าพรรคมัชฌิมาธิปไตย และกรรมการบริหารพรรคมัชฌิมาธิปไตย ซึ่งรักษาการ ในตำแหน่งดังกล่าว อยู่ ในขณะที่ กระทำความผิด เป็นระยะเวลา 5 ปี นับตั้งแต่ วันที่ศาลรัฐธรรมนูญ มีคำสั่งให้ ยุบพรรค ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 68 วรรค 4 ประกอบมาตรา 237 วรรค 2

รายละเอียด ศาลรัฐธรรมนูญ สั่งยุบ
“พลังประชาชน” “มัชฌิมาธิปไตย” “ชาติไทย”


วินิจฉัย ยุบ “ชาติไทย” – ร่ายยาว รธน. 50 คุมเข้ม ห้ามทุจริตเลือกตั้ง


ต่อมา ตุลาการรัฐธรรมนูญได้อ่าน คำวินิจฉัย ยุบพรรคชาติไทย
ประเด็นที่ 1 นายมณเฑียร สงฆ์ประชา รองเลขาธิการ พรรคชาติไทย และกรรมการบริหารพรรคชาติไทย กระทำความผิด ตาม พ.ร.บ.ประกอบ รัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการเลือก สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และการได้มาซึ่ง สมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.2550 หรือไม่


ประเด็นที่ 2 มีเหตุสมควร จะยุบพรรคการเมือง ของผู้ถูกร้องหรือไม่


ประเด็นที่ 3 หัวหน้าพรรคการเมือง และกรรมการบริหาร ของผู้ถูกร้อง ต้องถูกเพิกถอนสิทธิ์เลือกตั้ง หรือไม่


ความคิดเห็น ศาลรัฐธรรมนูญ ตามรัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มีเจตนารมณ์ ที่จะต้องการให้ การเลือกตั้ง ของประเทศ เป็นไปโดย สุจริตและเที่ยงธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง มีบทบัญญัติ ป้องกันการทุจริตการเลือกตั้ง ด้วยการใช้เงิน หรือทรัพย์สิน อื่นใด ซื้อสิทธิ์ ของประชาชน เพื่อให้ได้รับการเลือกตั้ง


เป็นพฤติกรรม ที่นักการเมืองส่วนหนึ่ง ใช้กันมานาน จนเป็นความเคยชิน แล้วกลายเป็นจุด เปราะบาง ทางการเมือง ที่นักการเมือง ผู้กระทำความผิด ไม่รู้สำนึกว่า เป็นการกระทำ ความผิดที่ร้ายแรง ทำให้การเมือง ในระบอบประชาธิปไตย ไม่พัฒนา ไปสู่ประชาธิปไตย อย่างแท้จริง และก่อให้เกิด ความเสียหาย แก่ประเทศ เป็นอย่างมาก


เนื่องจากนักการเมืองเหล่านั้น เข้าสู่อำนาจแล้ว ย่อมใช้อำนาจหน้าที่ แสวงหาประโยชน์ โดยมิชอบ ด้วยการทุจริต ฉ้อราษฎร์บังหลวง โดยไม่มี ความละอาย เพื่อเพียงไว้ใช้ สำหรับการเลือกตั้ง ครั้งต่อไป เพื่อให้ได้มา ซึ่งอำนาจ สำหรับแสวงหาประโยชน์ โดยมิชอบต่อไป อันเป็น วัฏจักร ทีเลวร้ายอย่างที่ ไม่มีที่สิ้นสุด


รัฐธรรมนูญแห่ง ราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 จึงได้กำหนด มาตรการป้องกัน และกำหนด วิธีการลงโทษ ไว้อย่างชัดเจน และ เข้มงวด เพื่อป้องกัน นักการเมือง ที่ไม่สุจริตเหล่านี้ ไม่ให้มีโอกาสเข้ามา ก่อให้เกิดความเสื่อมเสีย ทางการเมือง และเพื่อส่งเสริม นักการเมือง ที่ตั้งมั่นอยู่ใน สุจริตธรรม ให้ได้มีโอกาส ทำภารกิจอันเป็นประโยชน์ ไห้แก่ประเทศชาติ และประชาชน มากยิ่งขึ้น

ศาล รธน.เปลี่ยนคำสินิจฉัย กกต.ไม่ได้


ในประเด็นข้อที่ 1 นายมณเฑียร สงฆ์ประชา รองเลขาธิการพรรคชาติไทย กระทำความผิด ตามพ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วย การเลือกตั้ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และการได้มา ซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.2550 หรือไม่


เห็นว่าประเด็นปัญหา การกระทำความผิดของ นายมณเฑียร สงฆ์ประชา รองเลขาธิการพรรคชาติไทย ผู้ถูกร้องนั้น ได้ผ่านกระบวนการสืบสวน สอบสวน ของคณะกรรมการการเลือกตั้ง แล้ว อันเป็นการดำเนินการ ตามรัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 239 และ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการเลือกตั้ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และการได้มา ซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.2550 อันเป็นกระบวนการ องค์การ อิสระ ตามรัฐธรรมนูญ ตามอำนาจหน้าที่ ที่กฎหมายกำหนดไว้ โดยรัฐธรรมนูญ มาตรา 239 วรรค 1 บัญญัติให้ คำวินิจฉัย ของคณะกรรมการ การเลือกตั้ง เป็นที่สุด


ศาลรัฐธรรมนูญ จึงไม่มีอำนาจ เปลี่ยนแปลง คำวินิจฉัยของ คณะกรรมการการเลือกตั้ง ในกรณีดังกล่าวได้ ซึ่งคณะกรรมการการเลือกตั้ง ได้มี คำวินิจฉัยแล้วว่า นายมณเฑียร สงฆ์ประชา รองเลขาธิการพรรคชาติไทย ก่อให้ผู้อื่นกระทำสนับสนุน หรือรู้เห็นเป็นใจ ให้บุคคลอื่นกระทำการ ดังกล่าว อันเป็นการฝ่าฝืน พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการเลือกตั้ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และการได้มาซึ่ง สมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.2550 มาตรา 53


ประเด็นที่ คณะกรรมการการเลือกตั้ง ที่ได้วินิจฉัยไปแล้วนั้น เป็นประเด็นข้อเท็จจริง เกี่ยวกับคดีนี้ และเป็นประเด็น ที่อยู่ในอำนาจ การพิจารณาของ คณะกรรมการการเลือกตั้ง ที่จะเป็นผู้วินิจฉัย ตามที่กฎหมายบัญญัติ ซึ่งตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 239 วรรค 1 ประกอบ พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วย การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และการได้มาซึ่ง สมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.2550 มาตรา 103 บัญญัติให้ คณะกรรมการการเลือกตั้ง เป็นผู้วินิจฉัย ชี้ขาด ประเด็นการทุจริตเลือกตั้ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือสมาชิกวุฒิสภา ไว้โดยเฉพาะ


ประเด็นเรื่องข้อเท็จจริง เรื่องการกระทำของ นายมณเฑียร สงฆ์ประชา เป็นการฝ่าฝืน พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการเลือกตั้ง สมาชิก สภาผู้แทนราษฎร และการได้มาซึ่ง สมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2550 มาตรา 53 หรือไม่ จึงถือเป็นที่ยุติ ตามคำวินิจฉัยของ คณะกรรมการการเลือกตั้ง แล้ว ศาลรัฐธรรมนูญ ย่อมไม่มีอำนาจ เข้าไปตรวจสอบ หรือเปลี่ยนแปลง คำวินิจฉัยของ คณะกรรมการการเลือกตั้ง ดังกล่าวได้ ด้วยเหตุนี้ ศาลรัฐธรรมนูญ จึงลงมติวินิจฉัย เป็นเอกฉันท์ ในประเด็นข้อนี้

ย้ำ กก.บห. ทำผิด สมควรต้องยุบพรรค


ประเด็นที่ 2 มีเหตุสมควร ยุบพรรคการเมือง ของผู้ถูกร้อง หรือไม่ เห็นว่า ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 237 วรรค 2 บัญญัติไว้ เป็นการเด็ดขาดว่า ถ้ามีการกระทำความผิด ของผู้สมัครรับเลือกตั้ง และปรากฏหลักฐาน อันควรเชื่อได้ว่า หัวหน้าพรรคการเมือง และ กรรมการบริหารพรรคการเมือง ผู้ใด มีส่วนรู้เห็น หรือปล่อยปะละเลย หรือทราบถึง การกระทำนั้นแล้ว มิได้ยับยั้ง หรือแก้ไข เพื่อให้การเลือกตั้ง เป็นไปโดย สุจริตและเที่ยงธรรม ให้ถือว่าพรรคการเมือง นั้นกระทำการ ให้ได้มาซึ่งอำนาจ ในการปกครองประเทศโดยวิธีการ หรือมิได้เป็นไป ตามวิถีทาง ที่ได้บัญญัติไว้ใน รัฐธรรมนูญนี้ ตามมาตรา 68


ในกรณีที่ ศาลรัฐธรรมนูญ มีคำสั่งให้ยุบพรรคการเมือง นั้นก็ให้เพิกถอนสิทธิ์เลือกตั้ง ของหัวหน้าพรรคการเมือง และกรรมการบริหารพรรคการเมือง ดังกล่าว มีกำหนดเวลา 5 ปี นับแต่วันที่มีคำสั่งให้ ยุบพรรคการเมือง


บทบัญญัติรัฐธรรมนูญดังกล่าว เป็นข้อสันนิษฐานของ กฎหมายที่บัญญัติ ไว้เด็ดขาดแล้วว่า หากมีหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่า หัวหน้าพรรคการเมือง หรือ กรรมการบริหารพรรคการเมือง ผู้ใด มีส่วนรู้เห็น หรือปล่อยปะละเลย หรือทราบถึง การกระทำผิด ของผู้สมัครรับเลือกตั้ง นั้นแล้ว มิได้ยับยั้ง หรือแก้ไข เพื่อให้การเลือกตั้งเป็นไป โดยสุจริตและเที่ยงธรรม กฎหมายให้ถือว่า พรรคการเมืองนั้น กระทำการเพื่อให้ได้มา ซึ่งอำนาจ ในการ ปกครองประเทศ โดยวิธีการ ซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทาง ที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ


แม้ข้อเท็จจริง พรรคการเมือง หัวหน้าพรรคการเมือง หรือ กรรมการบริหารพรรค จะไม่ได้เป็นผู้กระทำ ก็ตาม กฎหมายยังให้ถือว่า เป็นผู้กระทำ จึงเป็น ข้อเท็จจริง ที่มิอาจโต้แย้งได้ แม้ศาลรัฐธรรมนูญ เอง ก็ไม่อาจวินิจฉัย เป็นอย่างอื่นได้


ทั้งนี้ เนื่องจากความผิด ในการทุจริตซื้อเสียง ในการเลือกตั้ง เป็นความผิด ที่มีลักษณะพิเศษ ที่ผู้กระทำ จะใช้วิธีการอันแยบยล จนยากที่จะจับได้ กฎหมายจึงบัญญัติให้เป็น หน้าที่ของผู้บริหารพรรค จะต้องคัดเลือก บุคคลที่เข้ามาร่วมทำงาน กับพรรค คอยควบคุมดูแล สอดส่อง ไม่ให้คน ของพรรค กระทำความผิด โดยที่บทบัญญัติ ให้พรรคการเมือง และ กรรมการบริหารพรรคการเมือง ต้องรับผิด ในการกระทำ ความผิดของ กรรมการบริหารพรรค คนที่ไปกระทำความผิดด้วย


ในทำนองเดียวกัน กับหลักความรับผิดของ นิติบุคคลทั่วไป ที่ว่า ถ้าผู้แทนของนิติบุคคล หรือผู้มีอำนาจกระทำการ แทนนิติบุคคล ไปกระทำการใด ที่อยู่ในขอบวัตถุประสงค์ ของนิติบุคคล นั้นแล้วก่อให้เกิด ความเสียหายแก่บุคคลอื่น นิติบุคคล จะต้องรับผิดชอบ ต่อการกระทำของผู้แทน หรือผู้มีอำนาจ กระทำการแทนนิติบุคคล นั้นด้วย จะปฏิเสธความรับผิดชอบ นี้มิได้ คดีนี้จึงถือได้ว่า มีเหตุตามกฎหมาย ที่ศาลต้องวินิจฉัย ว่า สมควร ยุบพรรคการเมือง ของผู้ถูกร้อง หรือไม่


ประเด็นที่ผู้ถูกร้อง อ้างว่า ผู้กระทำผิดตามมาตรา 237 วรรค 2 จะต้องเป็นบุคคล คนละคนกับ บุคคลที่กระทำความผิด ตามวรรค 1 และยืนยันว่า หัวหน้าพรรค และกรรมการบริหารพรรค คนอื่นๆ ไม่มีส่วนรู้เห็น หรือปล่อยปะละเลย หรือทราบถึง การกระทำนั้นแล้ว ที่จะยับยั้งหรือแก้ไข ให้การเลือกตั้ง เป็นไป โดยสุจริตและเที่ยงธรรม นั้น เห็นว่า หากผู้กระผิดตามวรรค 1 เป็นกรรมการบริหารพรรค เสียเอง ย่อมเป็นประจักษ์ชัดอยู่ในตัว แล้วว่า กรรมการบริหารพรรค คนนั้นมีทั้ง เจตนาและ การกระทำผิดยิ่งกว่า เพียงรู้เห็นเป็นใจ กับผู้อื่นเสียอีก จึงย่อมไม่มีความจำเป็น ที่จะต้องให้ หัวหน้าพรรค หรือกรรมการบริหารพรรค คนอื่นๆ เป็นผู้มีส่วนรู้เห็น หรือปล่อยละเลย หรือทราบถึง การกระทำนั้น แล้วมิได้ยับยั้ง หรือ แก้ไขให้ การเลือกตั้งเป็นไป โดยสุจริตและเที่ยงธรรม อีกต่อไป


เพราะ กรรมการบริหาร ที่กระทำความผิดตามวรรค 1 มีฐานะเป็น กรรมการบริหารพรรค ในขณะกระทำความผิด ด้วย จึงเป็นกรณีร้ายแรงกว่า กรณีบุคคลอื่น ที่มิใช่หัวหน้าพรรค หรือกรรมการบริหารพรรค เป็นผู้กระทำ อันเป็นไปตามหลัก กฎหมายที่ว่า เมื่อกฎหมาย ห้ามกระทำ สิ่งชั่วร้ายใดไว้ สิ่งที่ชั่วร้าย มากกว่านั้น ย่อมถูกอ้างไปด้วย ซึ่งตรงกับ สามัญสำนึกของ สุจริตชนโดยทั่วไป และตรงกับหลักตรรกะ ที่ว่ายิ่งต้องเป็นเช่นนั้น ข้ออ้าง ของผู้ถูกร้อง จึงฟังไม่ขึ้น

ข้ออ้าง พรรคประกาศห้าม ผู้สมัคร ทำผิด ฟังไม่ขึ้น


ประเด็นที่ ผู้ถูกร้องอ้างว่า พรรคได้กำหนดมาตรการ ป้องกันมิให้ ผู้สมัครรับเลือกตั้งของพรรคผู้ถูกร้อง กระทำฝ่าฝืนกฎหมาย ระเบียบ และประกาศ ของ คณะกรรมการการเลือกตั้ง ก่อนที่จะมี การประกาศพระราชกฤษฎีกาเลือกตั้ง โดยจัดประชุม ชี้แจงให้ ผู้สมัครของพรรค ทราบแล้วนั้น เห็นว่า การดำเนินการดังกล่าว แม้หากได้กระทำจริง ก็มิได้เป็นข้อยกเว้น ความรับผิด ตามกฎหมาย ในกรณีที่ กรรมการบริหารพรรค ไปทำผิดเสียเอง เพราะในกรณีเช่นนั้น ย่อมเป็นการแสดงให้เห็นได้ว่า มาตรการต่างๆ ที่จัดทำไปนั้น มิได้ผลบังคับใช้ แต่อย่างใด


แม้ตามคำแถลงการณ์ ของหัวหน้าพรรคการเมือง ผู้ถูกร้อง จะเป็นเรื่องที่น่าเห็นใจ อยู่มากก็ตาม แต่เมื่อ ปรากฏ ข้อเท็จจริงว่า มีการกระทำผิดโดยผู้ที่เป็น กรรมการบริหารพรรค ของผู้ถูกร้องแล้ว ผู้ถูกร้อง ย่อมต้องรับผิด ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย นี้ด้วย


ตามที่นายมณเฑียร สงฆ์ประชา รองเลขาธิการ พรรคชาติไทย และ กรรมการบริหาร พรรคชาติไทย มิบทบาทสำคัญ ในพรรคของ ผู้ถูกร้อง จึงเป็น ผู้มีหน้าที่ควบคุม และสอดส่องดูแล ให้สมาชิกของพรรค ที่ตนบริหารอยู่ กระทำการเลือกตั้ง โดยสุจริตและเที่ยงธรรม แต่กลับเป็น ผู้กระทำความผิด เสียเอง อันเป็นความผิดร้ายแรง และเป็นภัยคุกคาม ต่อการพัฒนาระบอบประชาธิปไตย ของประเทศ


กรณีจึงมีเหตุสมควร ยุบพรรคการเมือง ผู้ถูกร้อง เพื่อให้เป็นบรรทัดฐาน ทางการเมือง ที่ดีงามเพื่อให้เกิดผล ในทางยับยั้งป้องปราม มิให้เกิด กระทำความผิดซ้ำอีก


ประเด็นที่สาม หัวหน้าพรรคการเมือง และกรรมการบริหาร พรรคการเมือง ผู้ถูกร้อง ต้องถูกเพิกถอนสิทธิ์เลือกตั้ง หรือไม่


เห็นว่า รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 237 วรรค 2 บัญญัติไว้ว่า ในกรณีที่ ศาลรัฐธรรมนูญ มีคำสั่งให้ยุบ พรรคการเมือง นั้น ให้เพิกถอนสิทธิ์เลือกตั้ง ของหัวหน้าพรรคการเมือง และกรรมกาบริหารพรรคการเมืองดังกล่าว มีกำหนดเวลา 5 ปี นับแต่วันที่มี คำสั่งให้ยุบ พรรคการเมือง ซึ่งเป็นการเน้นย้ำ ตรงกับมาตรา 68 วรรค 4 ที่บัญญัติไว้ เช่นเดียวกัน


บทบัญญัติดังกล่าว เป็นบทบังคับตามกฎหมาย ว่า เมื่อศาลมีคำสั่ง ให้ยุบพรรคแล้ว จะต้องเพิกถอนสิทธิ์เลือกตั้ง หัวหน้าพรรคการเมือง และ กรรมการบริหารพรรคการเมือง อยู่ในขณะการทำความผิด เป็นเวลา 5 ปี ซึ่ง ศาลไม่อาจใช้ดุลยพินิจ สั่งเป็นอย่างอื่นได้


ส่วนข้อโต้แย้งของ ผู้ถูกร้องและผู้เกี่ยวข้อง ที่อ้างว่า การเพิกถอนสิทธิ์เลือกตั้ง ของหัวหน้าพรรคการเมือง และกรรมการบริหาร พรรคการเมือง จะต้องเป็น กรณีที่หัวหน้าพรรค หรือกรรมการบริหาร แต่ละคน มีส่วนรู้เห็นหรือ ปล่อยปะละเลย ตาม พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วย พรรคการเมืองพ.ศ. 2550 มาตรา 98 นั้นเห็นว่า


การเพิกถอนสิทธ์เลือกตั้ง หัวหน้าพรรคและ กรรมการบริหารพรรค ในคดีนี้ เป็นการเพิกถอน ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 68 วรรค 3 ประกอบมาตรา 237 วรรค 2 มิใช่ตาม พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยพรรคการเมือง และไม่ว่า กรณีจะเป็นเช่นไร ก็ตาม บทบัญญัติ ของ พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญ ดังกล่าว ก็มิอาจลบล้างบทบัญญัติ แห่งรัฐธรรมนูญ นี้ได้ ข้อโต้แย้งของผู้ถูกร้อง และผู้เกี่ยวข้อง ในประเด็นทั้งหมด จึงฟังไม่ขึ้น

มติ 8 ต่อ1 สั่ง อวสาน “พรรคชาติไทย”


ด้วยเหตุผลดังกล่าวข้างต้น ศาลรัฐธรรมนูญ โดยมติ 8 ต่อ 1 จึงวินิจฉัยว่า ให้ยุบพรรคชาติไทย เนื่องจาก นายมณเฑียร สงฆ์ประชา รองเลขาธิการ พรรคชาติไทย และ กรรมการบริหาร พรรคชาติไทย กระทำความผิด ตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วย การเลือกตั้ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และการได้มา ซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2550 ซึ่งมีผลทำให้ การเลือกตั้งมิได้เป็นไป โดยสุจริตและเที่ยงธรรม อันเป็นการกระทำ ให้ได้มาซึ่งอำนาจ ในการปกครองประเทศ โดยวิธีการที่ไม่ได้เป็นไปตามวิถีทาง ที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญมาตรา 68 ประกอบมาตรา 237 วรรค 2 และ


ลงมติ 8 ต่อ 1 ให้ เพิกถอนสิทธิ์เลือกตั้ง ของหัวหน้าพรรค และกรรมการบริหารพรรคชาติไทย ซึ่งดำรงตำแหน่ง อยู่ในขณะที่ กระทำความผิด เป็นระยะเวลา 5 ปี นับตั้งแต่ วันที่ศาลรัฐธรรมนูญ มีคำสั่งยุบพรรค ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 68 ประกอบ มาตรา 237 วรรค 2

รายชื่อ คณะกรรมการบริหาร พรรคการเมือง ที่ถูกยุบ – เพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง 5 ปี
ขึ้นข้างบน
รายละเอียด ศาลรัฐธรรมนูญ สั่งยุบ
“พลังประชาชน” “มัชฌิมาธิปไตย” “ชาติไทย”

ปรับปรุงจาก ข่าว และ ภาพ ของ สำนักข่าว ผู้จัดการออนไลน์
2 ธันวาคม 2551 12:48 น.
http://manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9510000142344


พิมพ์ ข่าวนี้ ศาล รธน.มติเอกฉันท์! สั่งยุบ “พปช.” ตัดสิทธิ กก.บห.5 ปี – “ชายอำมหิต” หลุดเก้าอี้

ใช้ [ปุ่มถอยหลัง] ของเว็บบราวเซอร์ เพื่อกลับมาที่นี่ จากข้อมูลเชื่อมโยงด้านล่าง
Use Browser [Back] Button Return to Here from URL Below

October 24, 2008

“สมเกียรติ” เผย ทักษิณ เปิดเกมรุก 3 แนวรบ จน สถาบันหลัก ตกอยู่ ในอันตราย ยังเหลือ “ประชาภิวัฒน์”

Filed under: การเมืองภาคประชาชน,ข่าวการเมือง,ข่าวประชาสัมพันธ์,ข่าวสังคม,ข่าวเมืองไทย,ข้อมูลควรอ่าน - Recomendation,คดีที่ดินรัชดาฯ,ความขัดแย้ง,ความมั่นคง,ความรุนแรง,คำพิพากษา,คุณธรรม,จริยธรรม,ชุมนุมประท้วง,ตรวจสอบ,ตำรวจฆ่าประชาชน,ธรรมาภิบาล,ประวัติศาสตร์ไทย,วิกฤติ,ศาลปกครอง,ศาลรัฐธรรมนูญ,หมายจับ,หมิ่นเบื้องสูง,อาชญากรรม — accomthailand @ 08:11
Tags: , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , ,


“สมเกียรติ” แฉ “ระบอบแม้ว” รุกหนัก 3 แนวรบ – สั่นคลอน สถาบันหลัก

เผย ทักษิณ เปิดเกมรุก 3 แนวรบ ลดความสำคัญ ข�ง สถาบันหลัก จนตก�ยู่ ใน�ันตราย

เผย ทักษิณ เปิดเกมรุก 3 แนวรบ ลดความสำคัญ ของ สถาบันหลัก จนตกอยู่ ในอันตราย


“สมเกียรติ” เย้ย “แม้ว” หากออก เอ็นบีที ได้ “กำนันเป๊าะ – ราเกซ -ปิ่น” ที่ยัง หนีคดี คงต้องขอ ออกด้วย เผย ระบอบทักษิณ เปิดเกมรุก 3 แนวรบ ลดความสำคัญ ของสถาบันหลัก จนตกอยู่ ในอันตราย ยังเหลือ “ประชาภิวัฒน์” ช่วยพยุง


แฉ นปก. แจ้งจับ ป.ป.ช. รอบที่ 5 หวังกดดัน เพราะกำลัง ชี้ผิด 35 รมต. คดีเขาพระวิหาร ขณะ “วิชา มหาคุณ” กำลัง ไต่สวน 3 นายตำรวจ ที่เอี่ยวฆ่า ปชช. 7 ต.ค.


เมื่อเวลา 22.40 น. วันที่ 23 ต.ค. นายสมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์ แกนนำพันธมิตร ประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ขึ้นเวทีปราศรัย ที่ทำเนียบรัฐบาล ว่า สถานการณ์หลัก ของประเทศไทย ในขณะนี้อ ยู่ภายใต้ การออกแบบ ให้เข้าสู่ สงครามประชาชน โดยสังคมไทย ถูกแบ่ง ออกเป็น 2 ฝ่าย ชัดเจน ซึ่งพวกเรา มาชุมนุมอยู่ 150 กว่า วัน คงไปคืนดีกับ นปก.ไม่ได้ ถ้ามีคนกลาง มาเชิญไปทำความเข้าใจกัน ก็คงไม่ยอม เราอ่านสถานการณ์ ได้แล้วว่า พลเมืองในประเทศนี้ แบ่งเป็น 2 ส่วน กับอีกส่วนหนึ่ง ที่เรียกว่าไทยมุง ใครชนะทางไหน ก็ไปทางนั้น


คลิกที่นี่ เพื่อฟัง นายสมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์ ปราศรัย
คลิกที่นี่ เพื่อชม นายสมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์ ปราศรัย (56 K)
คลิกที่นี่ เพื่อชม นายสมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์ ปราศรัย (256 K)
จาก manager multimedia


นายสมเกียรติกล่าวว่า สถานการณ์ ขณะนี้ �ย่าเพิ่งตื่นตระหนก เรื่�ง นปก. จะบุกนั้น วันที่ 12 ต.ค. เขาเคยประกาศ จะบุก เ�เ�สทีวี จนต้�งข�บริจาค ยางรถยนต์ ไว้ แต่พ�ถึงวัน ก็ไม่มา แล้ววันที่ 20 ต.ค. แกนนำ ที่ภาคเหนื� ก็บ�กว่าติดเกี่ยวข้าว เพราะฉะนั้น ที่ พล.ต.�. สล้าง ว่าจะพามาเป็นแสน นั้น น่าจะเป็น แค่ราคาคุย

นายสมเกียรติกล่าวว่า สถานการณ์ ขณะนี้ อย่าเพิ่งตื่นตระหนก เรื่อง นปก. จะบุกนั้น วันที่ 12 ต.ค. เขาเคยประกาศ จะบุก เอเอสทีวี จนต้องขอบริจาค ยางรถยนต์ ไว้ แต่พอถึงวัน ก็ไม่มา แล้ววันที่ 20 ต.ค. แกนนำ ที่ภาคเหนือ ก็บอกว่าติดเกี่ยวข้าว เพราะฉะนั้น ที่ พล.ต.อ. สล้าง ว่าจะพามาเป็นแสน นั้น น่าจะเป็น แค่ราคาคุย



คลิกที่นี่ เพื่อชม
นายสมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์ ปราศรัย (56 K) หรือ
ดาวน์โหลด 17,658 KB จาก 4 shared


คลิกที่นี่ เพื่อชม
นายสมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์ ปราศรัย (256 K) หรือ
ดาวน์โหลด 74,123 KB จาก 4 shared


นายสมเกียรติ ได้กล่าวเหน็บแนม กรณีที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร จะออกรายการ ทาง เอ็นบีที วันที่ 1 พ.ย. นี้ว่า ถ้า พ.ต.ท. ทักษิณ ออกทีวีที่มาจาก เงินภาษีอากร ของประชาชนได้ ก็คงจะออกในฐานะ ผู้นำตัวอย่างของโลก ที่หนีคดีมา โดยมี น้องเขย ที่เป็น อดีตผู้พิพากษาศาลสูง สนับสนุนให้ ออกทีวี และต่อไป ก็จะมีคนอื่นๆ ขออกทีวีด้วย โดย คนต่อไปคือ กำนันเป๊าะ ที่หนี คดีทุจริต ไปอยู่ต่างประเทศ เช่นเดียวกัน ตามด้วย นายราเกซ สักเสนา ที่โกง ธนาคารบีบีซี จนทำให้ ประเทศไทยเสียหาย 1.4 ล้านล้านบาท แล้วหนีคดีไป และอีกคนคือ นายปิ่น จักกะพาก ผู้ต้องหา คดีปั่นหุ้น ที่หนีคดี ไปเช่นกัน

นายสมเกียรติ กล่าวอีกว่า วันที่ 1 พ.ย. นี้ ถ้า พ.ต.ท. ทักษิณ ได้ออกอากาศสดๆ ก็คงจะเหมือนคราวที่แล้ว ที่ออกจอโปรเจกเตอร์ ที่สนามหลวง ซึ่งได้โจมตี พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรี ในวันที่ 1 พ.ย. นี้ เขาจะอัดแนวรบ ที่รุกเขาหนัก คือ ศาล และขณะนี้ เขากำลังทำสงคราม กับแนวรบ 3 แนว ที่เป็น สถาบันสำคัญ ของชาติ ให้หมดความสำคัญลง


แนวรบ ที่ 1 คือ สถาบันสูงสุด ที่อยู่กับสังคมไทย มา 800 ปี ที่เราเห็นมาตั้งแต่เกิด และเรากราบไหว้ได้ แต่ทักษิณเราเพิ่งเห็น มา 5 ปี มีแต่คดโกง เทียบกันไมได้ แต่ขณะนี้ หนังสือพิมพ์หลายฉบับ พูดเลยว่า กระบวนการจาบจ้วง ไม่ได้อยู่ใต้ดินอีกแล้ว แต่ทำเปิดเผยเลย นายสุชาติ นาคบางไทร กล้าขึ้นพูด บนเวทีสนามหลวง และยังเอาไป โพสต์ในเว็บไซต์ประชาไท ซึ่งขณะนี้ เราเก็บข้อมูลไว้แล้ว และ กำลังจะฟ้อง เว็บไซต์ประชาไท ด้วย


“ตอนนี้ นายกเพิ่งตื่น บอกว่ามีเว็บ ที่ต้องจัดการอีกมาก และ วันที่ 29 ต.ค. นี้ จะเริ่มปิดจริงจัง หลังจากปิด 500-600 เว็บ แต่ตอนนี้ มีเกลื่อน จนนับไม่ได้ อยากจะเรียน นายสมชาย ว่า วิธีที่จะ ปราบเว็บพวกนี้ ไม่ยาก เพราะญาติของคุณ นั่นแหละทำ”


นายสมเกียรติ กล่าวต่อว่า เมื่อเร็วๆ นี้ ก็มีสตรีผู้หนึ่งที่มีฐานะทางสังคม ได้ด่าด้วยคำหยาบคายอย่างมาก เรามีหลักฐานว่า เขาได้ด่าใครไว้ และเป็นเรื่องใหญ่มาก ตอนนี้เขาสู้กันแบบเปิดเผยแล้ว เพราะฉะนั้นที่เรามาทำหน้าที่นี้ถือว่าถูกต้อง เพราะแนวรบนี้ตกอยู่ในภาวะอันตรายยิ่ง

สำหรับ แนวรบที่ 2 คือ ตุลาการ ถูกแทรกแซง ตอนคดีซุกหุ้น ซึ่งเขาซื้อได้ 4 เสียง ทำให้ชนะ ตอน ยุบพรรคไทยรักไทย ก็พยายาม ซื้อ แต่ ผู้พิพากษา ไม่รับ คนที่ทำ ก็ถูกแจ้งความดำเนินคดีแล้ว คนๆ นั้นมียศ พ.ต.ท. จบนิติ ธรรมศาสตร์ 09 รุ่นเดียวกับ นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ครั้งที่ 3 ก็พยายาม ให้ขนม ศาล 2 ล้าน แต่ศาลเอามาคืน พอซื้อศาลไม่ได้ ก็ไปจ้าง สื่อต่างประเทศ ให้โจมตี ศาลไทย จะเอามาอ่านพรุ่งนี้ว่า ทักษิณ โจมตีศาลไทย อย่างรุนแรง อย่างไรบ้าง


“ศาลตกอยู่ใน อันตราย ถามว่ามติ 5 ต่อ 4 (คดีที่ดินรัชดา) ปลอดภัยไหม ขนาดจำเลย หนีศาล 5 ต่อ 4 ปลอดภัย ไหม เรามีความรู้สึกต่อ ศาล แต่ขอเก็บเอาไว้ ในส่วนลึก เอามาพูดไม่ได้ ตอนนี้เรามีชื่อ ตุลาการศาลแล้ว ว่าใคร 5 ใคร 4 แต่ขอเก็บไว้ลึกสุดๆ” นายสมเกียรติ กล่าว


นายสมเกียรติ กล่าวต่อว่า นอกจากนี้แล้วยังมี หนังสือ ตุลาการวิบัติ ที่เผยแพร่ในอเมริกา จึงถือว่า แนวรบศาล สั่นสะเทือนมาก แต่ในความรู้สึก ส่วนตัว ศาลยังแข็งแกร่งมาก ขอเอ่ยนาม ศาลปกครองสูงสุด กับ ศาลรัฐ ธรรมนูญ 2 ศาลนี้ เป็นแนวรบสุดท้าย เป็นที่พึ่ง ทางกระบวนการยุติธรรม ที่พึ่งของ คนตกทุกข์ได้ยาก พอเราไปฟ้อง ศาลปกครองนั้น ได้สั่งคุ้มครอง การห้ามใช้แถลงการณ์ เรื่องเขาพระวิหาร ห้ามตำรวจใช้ ความรุนแรง สลายการชุมนุม ส่วน ศาลรัฐธรรมนูญ ก็มี มติ 9 ต่อ 0 ให้แถลงการณ์ร่วม ไทย-กัมพูชา ขัดมาตรา 190 มีมติ 8 ต่อ 1 ต้องรายงาน รัฐสภา


นายพิภพ กล่าวต่อว่า ขณะนี้ รัฐบาลกำลังเร่งเขียน รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ โดยตั้ง ส.ส.ร. 3 ขึ้นมา ซึ่งทีแรก จะใช้เวลา 240 วัน แล้ว ลดลงมาเหลือ 120 วัน ล่าสุด มีข่าวว่า จะใช้แค่ 30 วัน เท่านั้น ในการเร่งเขียนให้เสร็จ


“ดังนั้นในกระบวนการศาล จึงเป็นการต่อสู้กันอย่างสุดๆ ในระหว่างผู้พิพากษาที่มี 2,500 คน ถ้าพูดกันอย่างเคารพสุดๆ คือ กระบวนการที่แบ่งเป็น 2 ส่วน เหมือนเรา มันมีในทุกวงการ ไม่มียกเว้น” และว่า ตอนนี้สังคมไทยมีการระแวงกันสุดๆ ถ้าพวกเราเห็นเสื้อแดงในมุมมืดก็วิ่งหนีกันแล้ว สังคมไทยตอนนี้มันยากจะหันหากันแล้ว นอกจากสังคม 2 ส่วนต้องเอาธรรมะ ความจริง ความถูกต้องนำหน้า


สำหรับ แนวรบที่ 3 คือ กองทัพ ซึ่งขณะนี้ ภาษาทั่วไป เขาบอกว่า ถูกฉีดยาชา ไม่มีความรู้สึก เป็นไม้ตายด้าน ตอนเขาฆ่ากัน วันที่ 7 ตุลาฯ ก็มอง ไม่เห็น พอนายกฯ ออกคำสั่งฆ่าเสร็จ เรียกไปแถลงข่าว ก็ไปด้วย พอวันที่ 16 ตุลาฯ ก็บอกว่า ถ้าเห็นตอนนั้น และย้อนเวลาได้ จะไม่ให้เกิด เป็น รายการ ปาหี่


“เมื่อ สถาบันกองทัพ ถูกทำให้เย็นชา สถาบันสูงสุด ถูกจาบจ้วง อย่างเอิกเกริก ศาล ก็ถูกแทรกแซง และ พยายามครอบงำ จึงเหลือ สถาบัน เดียว คือ ประชาภิวัฒน์” นายสมเกียรติ กล่าว


นายสมเกียรติ กล่าวต่อว่า วันนี้ นปก. 32 คน ได้ไปแจ้ง กองปราบให้ดำเนินคดี กับ ป.ป.ช. 9 คน เป็นครั้งที่ 5 ในข้อหา ไม่ได้รับโปรดเกล้าฯ ไม่มีสิทธิ รับเงินเดือน เพราะเป็น ป.ป.ช. เถื่อน และ ให้หยุดการไต่สวนคดีใดๆ ก็ตาม ห้าม ป.ป.ช.ทำหน้าที่ ซึ่งเหตุ ที่มาแจ้งความตอนนี้ เพราะ ป.ป.ช. ได้รับฟัง พยานแวดล้อม หมดแล้ว เรื่องที่ ครม. มีมติ รับรองแถลงการณ์ เรื่องเขาพระวิหาร และจะ ชี้มูลความผิด อดีตรัฐมนตรี 35 คนเร็วๆ นี้


นอกจากนี้ นายวิชา มหาคุณ 1 ใน 9 ป.ป.ช. ยังเป็น ประธานอนุกรรมการ ไต่สวนคน 3 คน ที่เกี่ยวข้องกับ การฆ่าประชาชน ในวันที่ 7 ตุลาฯ คือ พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ ผู้บัญชาการ ตำรวจแห่งชาติ พล.ต.ท.สุชาติ เหมือนแก้ว ผู้บัญชาการ ตำรวจนครบาล และ พล.ต.ต.อำนวย นิ่มมะโน รอง ผบช.น. ในข้อหา ปฏิบัติหน้าที่ โดยมิชอบ จากการสลาย การชุมนุมพันธมิตรฯ 7 ต.ค. โดยใช้ ความรุนแรง เกินกว่าเหตุ ซึ่งตามกฎหมายแล้ว ป.ป.ช. มีอำนาจไต่สวน ข้าราชการ ที่ทำผิด ม.157 ได้


“ถ้าดูเป็นวงจร ก็จะเห็นว่า เมื่อ ป.ป.ช.จะไต่สวน ผบ.ตร. นปก. ก็ไปแจ้งความ กองปราบปราม เพื่อให้ กองปราบ เสนอ พัชรวาท แล้ว พัชรวาท ก็สั่งจัดการ ป.ป.ช. แต่ระวัง จะเจอ มือตบพันธมิตร” นายสมเกียรติ กล่าว


ในตอนท้าย นายสมเกียรติกล่าวว่า สถานการณ์ ขณะนี้ อย่าเพิ่งตื่นตระหนก เรื่อง นปก. จะบุกนั้น วันที่ 12 ต.ค. เขาเคยประกาศ จะบุก เอเอสทีวี จนต้องขอบริจาค ยางรถยนต์ ไว้ แต่พอถึงวัน ก็ไม่มา แล้ววันที่ 20 ต.ค. แกนนำ ที่ภาคเหนือ ก็บอกว่าติดเกี่ยวข้าว เพราะฉะนั้น ที่ พล.ต.อ. สล้าง ว่าจะพามาเป็นแสน นั้น น่าจะเป็น แค่ราคาคุย เพราะเคยบอก จะยึดทำเนียบ มาแล้ว พอถึงวัน ก็ออกมาแถลงข่าว ปาดน้ำหู น้ำตา อ้างว่าทำไมได้ เพราะเกรงใจ พล.อ. เปรม


คราวนี้ที่ว่าจะมา วันที่ 25 ตุลาฯ 27 ตุลาฯ หรือ 1 พ.ย. คงต้องเอา กล้องส่องทางไกล ที่ส่องได้ 800 กม. เพื่อส่องดูที่ เชียงใหม่ เชียงราย และ อีกมีกี่วัน พล.ต.อ. สล้าง ก็จะมาแถลงว่า เกรงใจใคร และ อยากบอกถึง นายคนนี้ว่า ไม่ต้องมาให้เสียเวลา เพราะที่นี่คือ กองทัพประชาชนกู้ชาติ เป็น กองทัพของ พระราชา พระราชินี พล.ต.อ. สล้าง หลอกพันธมิตรฯ ไม่ได้หรอก นอกจากหลอก พระ บางสำนัก ได้เท่านั้น

ปรับปรุงจาก ข่าว และ ภาพ ของ สำนักข่าว ผู้จัดการออนไลน์ 24 ตุลาคม 2551 08:11 น.
http://manager.co.th/asp-bin/mgrView.asp?NewsID=9510000126159


พิมพ์ ข่าวนี้ “สมเกียรติ” แฉ “ระบอบแม้ว” รุกหนัก 3 แนวรบ – สั่นคลอน สถาบันหลัก


ข้อแถลง “ประสาทพระวิหาร” จากคณะวิจัย สถาบันไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
คลิกอ่าน ข้อมูล ข่าวและบทความเกี่ยวกับกรณีพิพาทปราสาทพระวิหาร


ปราสาทตาควาย แม้ถูกทิ้งร้างมาหลายศตวรรษ แต่ยังอยู่ในสภาพสมบูรณ์จนน่าประหลาดใจ

ใช้ [ปุ่มถอยหลัง] ของเว็บบราวเซอร์ เพื่อกลับมาที่นี่ จากข้อมูลเชื่อมโยงด้านล่าง
Use Browser [Back] Button Return to Here from URL Below

October 9, 2008

ศาลปกครอง มีคำสั่งให้คุ้มครอง การสลายกลุ่มผู้ชุมนุม ให้ยึดตามหลักสากล

Filed under: การเมืองภาคประชาชน,ข่าวการเมือง,ข่าวประชาสัมพันธ์,ข่าวรอบโลก,ข่าวสังคม,ข่าวเมืองไทย,ข้อมูลควรอ่าน - Recomendation,ความขัดแย้ง,ความรุนแรง,คำสั่งศาล,คุณธรรม,คุณภาพชีวิต,จริยธรรม,ชุมนุมประท้วง,ตรวจสอบ,ธรรมาภิบาล,ประวัติศาสตร์ไทย,วิกฤติ,ศาลปกครอง,สิทธิมนุษยชน,อาชญากรรม — accomthailand @ 19:39
Tags: , , , , , , , , , , , , , , , , , , , ,


ตบหน้าทรราช!


ศาล ปค. คุ้มครอง
ห้ามสลายชุมนุม
รุนแรง – เถื่อนถ่อย

รัฐตำรวจเถื่�น สลายการชุมนุม วันที่ 7 ตุลาคม 2551

รัฐตำรวจเถื่อน สลายการชุมนุม วันที่ 7 ตุลาคม 2551


ศาลปกครอง มีคำสั่งให้คุ้มครอง การสลายกลุ่มผู้ชุมนุม ให้ยึดตาม หลักสากล และให้ ผู้บัญชาการ ตำรวจแห่งชาติ บังคับบัญชา จนท.ตร. ให้ ปฏิบัติหน้าที่ ตามคำสั่งศาล พร้อมให้นายกฯ ใช้อำนาจหน้าที่ ดำเนินการให้ สตช. ปฏิบัติตาม มาตรการ หรือ


วิธีการ คุ้มครองชั่วคราว ตามคำสั่งศาล จนกว่า ศาลจะมี คำพิพากษา หรือ คำสั่ง เป็นอย่างอื่น


ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากกรณีที่ นายนิติธร ล้ำเหลือ ทนายความ ผู้รับมอบอำนาจ จากผู้ได้รับบาดเจ็บ จากการสลาย การชุมนุม ของ เจ้าหน้าที่ตำรวจ เมื่อวันที่ 7 ต.ค. กล่าวว่า ตนพร้อมผู้ชุมนุม ที่ได้รับบาดเจ็บ จำนวน 6 คน ได้เดินทางมายัง ศาลปกครอง ยื่นคำร้อง ต่อ ศาลปกครองกลาง พร้อมด้วย


นายสมชาย แสวงการ ส.ว.สรรหา และ น.ส.รสนา โตสิตระกูล ส.ว.กทม. ที่เป็นผู้ร้องสอด ร่วมด้วย โดยฟ้อง
นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรี
พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ ผบ.ตร.และ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ( สตช.) ว่า


ให้ยุติการใช้กำลัง ในการเข้าสลาย กลุ่มผู้ชุมนุม เหมือนอย่างที่หน้ารัฐสภา อีกนั้น หลังจากที่ตุลาการ ได้ทำการไต่สวนฉุกเฉิน ตามคำร้อง ของ ผู้ถูกร้องไป เมื่อวันที่ 8 ต.ค.นั้น


นายนิติธร เปิดเผยว่า เมื่อเวลา 18.40 น. วันนี้ (9 ต.ค.) ตุลาการ ศาลปกครองกลาง ได้มีคำสั่ง ให้กำหนดมาตรการ หรือ วิธีการคุ้มครอง ให้ผู้ฟ้องคดี ที่หก โดยมีคำสั่งให้ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ หากจะกระทำการใดๆ ต่อผู้เข้าร่วมชุมนุม ต้องดำเนินการ เท่าที่จำเป็น โดยคำนึงถึง ความเหมาะสม มีลำดับขั้นตอน ตามหลักสากล ที่ใช้ใน การสลายการชุมนุม ของประชาชน และ


ให้ ผู้บัญชาการ ตำรวจแห่งชาติ บังคับบัญชา เจ้าหน้าที่ตำรวจ ปฏิบัติหน้าที่ ตามคำสั่งศาล และ ให้ นายกรัฐมนตรี ใช้อำนาจ หน้าที่ ของตน ดำเนินการให้ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ปฏิบัติตามมาตรการ หรือวิธีการ คุ้มครองชั่วคราว ตามคำสั่งศาล จนกว่าศาล จะมีคำพิพากษา หรือ คำสั่ง เป็นอย่างอื่น


นายนิติธร ย้ำว่า คำสั่งการคุ้มครอง ของศาลปกครองกลาง นั้นมีผลบังคับใช้คุ้มครอง ทั่วประเทศ

ปรับปรุงจาก ข่าว และ ภาพ ของ สำนักข่าว ผู้จัดการออนไลน์
9 ตุลาคม 2551 19:39 น.
http://www.manager.co.th/asp-bin/mgrView.asp?NewsID=9510000120317


พิมพ์ ข่าวนี้ ตบหน้าทรราช! ศาล ปค. คุ้มครอง ห้ามสลายชุมนุมรุนแรง – เถื่อนถ่อย


ข้อแถลง “ประสาทพระวิหาร” จากคณะวิจัย สถาบันไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
คลิกอ่าน ข้อมูล ข่าวและบทความเกี่ยวกับกรณีพิพาทปราสาทพระวิหาร


ปราสาทตาควาย แม้ถูกทิ้งร้างมาหลายศตวรรษ แต่ยังอยู่ในสภาพสมบูรณ์จนน่าประหลาดใจ

ใช้ [ปุ่มถอยหลัง] ของเว็บบราวเซอร์ เพื่อกลับมาที่นี่ จากข้อมูลเชื่อมโยงด้านล่าง
Use Browser [Back] Button Return to Here from URL Below

Create a free website or blog at WordPress.com.