Accom Thailand

January 13, 2009

ป.ป.ช. พิจารณา คดี 7 ตุลาเลือด ได้ช้า เพราะ ตำรวจ ส่งคน ฟ้องศาล สกัด ป.ป.ช. เชือด

Filed under: การเมืองภาคประชาชน,ข่าวการศึกษา,ข่าวการเมือง,ข่าวฉาว,ข่าวประชาสัมพันธ์,ข่าวสังคม,ข่าวเมืองไทย,ข้อมูลควรอ่าน - Recomendation,คดีอาญา,ความขัดแย้ง,ความรุนแรง,คุณธรรม,คุณภาพชีวิต,จริยธรรม,ชุมนุมประท้วง,ตรวจสอบ,ตำรวจฆ่าประชาชน,ปปช,ประวัติศาสตร์ไทย,รัฐสั่งฆ่าประชาชน,องค์กรสิทธิมนุษยชน,อาชญากรรม — accomthailand @ 00:47
Tags: , , , , , , , , , , , , , , , , , , , ,


แฉเล่ห์ ฉ้อฉล “อำนวย” ส่งคนแสร้งฟ้อง ศาล
สกัดป.ป.ช.เชือดคดี 7 ตุลาเลือด


พล.ต.ต.ภ??นวย นิ่มมะโน รภ?? ผบช.น.

พล.ต.ต.อำนวย นิ่มมะโน รอง ผบช.น.


แฉเล่ห์ฉ้อฉล ตำรวจ “อำนวย นิ่มมะโน” ส่งเพื่อน คนบ้านเดียวกัน แสร้งฟ้องศาล ให้เอาผิด กรณี 7 ตุลาเลือด เพื่อสกัดให้ ป.ป.ช. หยุดไต่สวน เอาผิด อ้าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ คดีเรื่องเดียวกัน ที่อยู่ในชั้นศาลแล้ว ป.ป.ช.ต้องหยุดไต่สวน


นอกจากนี้ ยังเล่นแร่แปรธาตุ มอบทนายฟ้อง 9 อรหันต์ ป.ป.ช. ปฏิบัติหน้าที่มิชอบ เพื่อให้หยุดปฏิบัติหน้าที่ ทั้งคณะ ขณะที่ป.ป.ช.ระบุ เมื่อศาล ยังไม่รับฟ้อง ยังมีอำนาจไต่สวนได้ แต่เมื่อศาลรับฟ้อง จำเลย ต้องพักราชการทั้งหมด ด้าน “ทนายพันธมิตรฯ” ชี้ “เพื่อนอำนวย” ใช้สิทธิ ที่ไม่สุจริต ใช้วิชามาร เป็นการฟ้องร้อง รูปแบบซูเอี๋ย ใช้ศาล เป็นเครื่องมือ

วานนี้ (12 ม.ค.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ภายหลังจากเกิดเหตุการณ์ ตำรวจใช้อาวุธ และ แก๊สน้ำตา เข้าสลายการชุมนุม ของ กลุ่มพันธมิตร ประชาชน เพื่อประชาธิปไตย ซึ่งเดินทางไปปิดล้อม อาคารรัฐสภา เมื่อวันที่ 7 ต.ค.2551 เพื่อไม่ให้รัฐบาล นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ แถลงนโยบาย จนมีผู้เสียชีวิต และ บาดเจ็บจำนวนมาก

ซึ่งภายหลังเหตุการณ์ ดังกล่าวผ่านพ้นไป คณะอนุกรรมการสิทธิมนุษยชน ที่มี นายสุรสีห์ โกศลนาวิน เป็นประธาน ได้สรุปผลการสอบสวน และ ส่งสำนวนไปยัง คณะกรรมการป้องกัน และ ปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ หรือ ป.ป.ช. เพื่อให้ดำเนินการ กับบุคคลที่เกี่ยวข้อง ในการสั่งการ สลายการชุมนุมดังกล่าว

โดยมีทั้ง นักการเมือง และ นายตำรวจ ที่เกี่ยวข้องหลายนาย เข้าข่ายมีความผิด ฐานเป็น เจ้าพนักงาน ปฏิบัติ และ/หรือ ละเว้นการปฏิบัติ หน้าที่ โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด ร่วมกันทำร้ายร่างกายผู้อื่น จนเป็นเหตุให้ได้รับอันตราย แก่กาย หรือ จิตใจ ทำร้ายร่างกายผู้อื่น จนเป็นเหตุให้ได้รับอันตราย สาหัส ฆ่า และ พยายามฆ่าผู้อื่น โดยไตร่ตรองไว้ก่อน

ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157, 295, 297, 288, 289, 83 อาทิ นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรี ในขณะนั้น พล.ต.อ.พัชรวาท วงศ์สุวรรณ ผบ.ตร. พล.ต.อ.จงรัก จุฑานนท์ รองผบ.ตร. พล.ต.ท.สุชาติ เหมือนแก้ว ผบช.น. พล.ต.ต.อำนวย นิ่มมะโน รองผบช.น. ฯลฯ

ขณะเดียวกัน กลุ่มพันธมิตร ประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ก็เตรียมดำเนินการ ฟ้องร้องเอาผิด กับ ผู้ที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ ดังกล่าว โดยอยู่ระหว่าง การรวบรวมพยานหลักฐาน

ทั้งนี้ หากป.ป.ช.ดำเนินการสอบสวน และ ชี้มูลความผิด กับ นักการเมือง และ นายตำรวจ ทั้งหมดแล้ว จะส่งผลให้ นายตำรวจทั้งหมด ต้องถูกให้ ออกจากราชการ จึงทำให้มี นายตำรวจ บางนาย พยายามหาช่องทางให้พ้นผิด จากกรณีดังกล่าว

ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 28 ต.ค. 2551 ปรากฏว่า นายสิทธิพร โพธิโสดา ซึ่งอ้างว่าเป็น ทนายความ ได้ฟ้องร้องต่อ ศาลอาญา เพื่อให้ดำเนินการเอาผิด กับ

นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์
พล.ต.อ.พัชรวาท วงศ์สุวรรณ ผบ.ตร.
พล.ต.อ.จงรัก จุฑานนท์ รองผบ.ตร.
พล.ต.ท.สุชาติ เหมือนแก้ว ผบช.น. และ
พล.ต.ต.อำนวย นิ่มมะโน รองผบช.น. รวม 5 คน

ในความผิด ต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ และ ความผิดเกี่ยว กับ ชีวิตและร่างกาย เป็นจำเลยที่ 1-5 ตามคดี หมายเลขดำ ที่ อ.4142/2551 โดยศาลนัด ไต่สวนมูลฟ้อง ในวันที่ 15 ธ.ค. 2551

ทว่า เมื่อถึงวันนัดไต่สวนมูลฟ้อง นายสิทธิพร ซึ่งเป็นโจทก์ยื่นฟ้อง ในครั้งนี้ ได้ยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีออกไป โดยอ้างว่า มีอาการท้องเสียอย่างรุนแรง ซึ่งแพทย์ผู้ทำการรรักษา มีความเห็นให้หยุดพัก 1 วัน จึงขอเลื่อนนัด การไต่สวนมูลฟ้องไปนัดหนึ่ง

ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่า เป็นที่น่าสังเกตว่า นายสิทธิพร ซึ่งเป็น โจทก์ยื่นฟ้อง ในครั้งนี้ ไม่ใช่ผู้เสียหาย ไม่ใช่ กลุ่มพันธมิตร ประชาชน เพื่อประชาธิปไตย แต่เหตุไฉน จึงได้ไปดำเนินการ ฟ้องร้อง นายสมชาย กับ พวก รวม 5 คนดังกล่าว

ซึ่งมีรายงานว่า นายสิทธิพร เป็นเพื่อนสนิท และเป็น คน จ.สงขลา บ้านเดียวกัน กับ พล.ต.ต.อำนวย นิ่มมะโน รองผบช.น. การฟ้องร้องครั้งนี้ อาจเป็นไปได้ว่า จะมีการทำสำนวนการฟ้องร้อง ที่ค่อนข้างอ่อน พยานหลักฐาน เพื่อให้ศาลยกฟ้อง และ เพื่อจะได้นำไปอ้าง กับ ป.ป.ช.ว่า ศาลยกฟ้องแล้ว

ในขณะเดียวกัน ยังหวังผลอีกว่า หากศาลประทับรับฟ้อง ในคดีดังกล่าว การไต่สวน ของ ป.ป.ช. ก็จะต้องหยุดชะงัก เพราะคดีอยู่ในความดูแล ของ ศาล ตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วย การป้องกัน และ ปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 มาตรา 86 แล้ว

ต่อมาเมื่อ วันที่ 26 พ.ย.2551 พล.ต.ต.อำนวย ทำหนังสื่อ ที่ตช.0016.146/5820 เรื่องขอคัดค้าน อำนาจการไต่สวน ของ คณะกรรมการป.ป.ช. ถึง ประธานป.ป.ช. โดยอ้างว่า การไต่สวนคดี ดังกล่าว นายสิทธิพร โพธิโสดา ได้ไปดำเนินการฟ้องร้อง ยังศาลอาญา แล้ว

ตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วย การป้องกัน และ ปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ พ.ศ.2542 จึงห้ามมิให้ ป.ป.ช. ดำเนินการไต่สวน ในคดี ดังกล่าว พร้อมทั้ง ยกตัวอย่าง กรณีตำรวจนครบาล 2 จับกุม พล.ต.ต.ขัตติยะ สวัสดิผล ซึ่งต่อมา พล.ต.ขัตติยะ เข้าแจ้งความร้องทุกข์ให้ ดำเนินคดี กับ ตำรวจชุดจับกุม และ พนักงานสอบสวน ได้ส่งสำนวนการสอบสวนไปให้ ป.ป.ช. แต่ต่อมา พล.ต.ต.ขัตติยะ ได้ยื่นฟ้องตำรวจ ชุดจับกุมต่อศาล ทาง ป.ป.ช. จึงมีหนังสือแจ้งไปยัง พนักงานอัยการว่า เรื่องอยู่ระหว่าง การพิจารณาของศาล กรณีจึงต้องห้าม มิให้คณะกรรมการป.ป.ช.รับ หรือ ยกคำกล่าวหา ขึ้นพิจารณา

ด้วยข้อเท็จจริง และ เหตุผลดังกล่าว จึงขอคัดค้านเพิ่มเติม ในประเด็นอำนาจ การไต่สวนของ คณะกรรมการป.ป.ช. ในเรื่องที่กล่าวหา ทุกข้อ

นอกจากนี้ เมื่อวันที่ 25 ธ.ค. 2551 พล.ต.ต.อำนวย ยังทำหนังสือด่วนที่สุด ที่ตช.0016.146/6340 เรื่องขอคัดค้านอำนาจการไต่สวน ของ ป.ป.ช.(เพิ่มเติม) ถึง ประธานป.ป.ช. อีกครั้ง

โดยครั้งนี้ ได้นำสำเนาหมายเรียก พยานเอกสาร หรือ พยานวัตถุ (คดีอาญา) ศาลอาญา ตามคดีที่ นายสิทธิพร ฟ้องร้องส่งไปด้วย โดยหนังสือ ดังกล่าว ระบุว่า

“เมื่อวันที่ 22 ธ.ค.2551 ศาาลอาญาได้มีหมายเรียก พยานเอกสาร หรือ พยานวัตถุ ตามสิ่งที่ส่งมาด้วย มายัง ประธานกรรมการ ป.ป.ช. เพื่อให้ส่ง สรรพเอกสาร ที่เกี่ยวข้องกับ กาารไต่สวน ไปยังศาลอาญา ก่อนวันที่ 22 ม.ค. 2552 เพื่อประกอบการพิจารณา ด้วยเหตุดังกล่าว จึงห้ามมิให้ คณะกรรมการ ป.ป.ช. รับ หรือ ยกคำกล่าวหา ขึ้นพิจารณา ตามมาตรา 86(2) แห่ง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการป้องกัน และ ปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 ด้วยเหตุผลดังกล่าว จึงขอให้ท่าน และ คณะกรรมการ ป.ป.ช. ปฏิบัติหน้าที่ ด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต เป็นที่ประจักษ์ ยึดถือปฏิบัติตามกฏหมาย โดยเคร่งครัด ฯ”


การดำเนินการ เพื่อให้ ตนเอง และ พวกพ้อง พ้นผิด ตามช่องทางของกฏหมาย ยังไม่ได้หยุดลง ตรงแค่ให้ นายสิทธิพรไ ปแสร้งฟ้องเอาผิดเท่านั้น โดยเมื่อ วันที่ 7 ม.ค. 2552 พล.ต.ต.อำนวย นิ่มมะโน ได้มอบอำนาจให้

นายบัญชา ปรมีศณาภรณ์ ทนายความ เป็นโจทก์ ฟ้องคณะกรรมการ ป.ป.ช. ทั้ง 9 คน ประกอบด้วย
นายปานเทพ กล้าณรงค์ราญ ประธานกรรมการ ป.ป.ช.
นายกล้านรงค์ จันทิก
นายใจเด็ด พรไชยา
นายประสาท พงษ์ศิวาภัย
นายภักดี โพธิศิริ
นายเมธี ครองแก้ว
นายวิชา มหาคุณ
นายวิชัย วิวิตเสวี และ
น.ส.สมลักษณ์ จัดกระบวนพล กรรมการ
เป็นจำเลยที่ 1-9 ฐานเป็น เจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่ หรือ ละเว้น การปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157

คำฟ้องดังกล่าวระบุว่า คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีมติแต่งตั้ง นายวิชา มหาคุณ กรรมการ ป.ป.ช. เป็น ประธานอนุกรรมการไต่สวน
พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ ผบ.ตร.
พล.ต.ท.สุชาติ เหมือนแก้ว ผบช.น.
พล.ต.ต.อำนวย นิ่มมะโน รอง ผบช.น. ฐานกระทำผิดต่อ ตำแหน่งหน้าที่ราชการ

กรณีสั่งให้ ตำรวจสลายการชุมนุม พื้นที่หน้าบริเวณรัฐสภา ถนนอู่ทองใน และ บริเวณใกล้เคียง เมื่อ วันที่ 7 ต.ค.2551 โดยระหว่างการไต่สวนฯ ดังกล่าว ปรากฏว่า เมื่อวันที่ 28 ต.ค.2551 นายสิทธิพร โพธิโสดา เป็นโจทก์ ยื่นฟ้อง นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรี (ขณะนั้น) กับพวก เป็นจำเลยที่ 1-5 ต่อศาลอาญา แล้ว

โดย ตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วย การป้องกัน และ ปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 มาตรา 86 บัญญัติไว้ ห้ามมิให้ คณะกรรมการ ป.ป.ช. รับ หรือ ยกคำกล่าวหา ตามมาตรา 84 เกี่ยวกับ เรื่องที่ ศาลรับฟ้อง ในประเด็นเดียวกัน และ อยู่ระหว่างการพิจารณา ของ ศาล หรือ ที่ศาลพิพากษา หรือ มีคำสั่งเด็ดขาดแล้ว แต่ปรากฏว่า จำเลยทั้งเก้า ไม่ได้ยุติการไต่สวน จึงย่อมมีความผิด ตามมาตรา 157 จึงขอให้ ศาลพิพากษา ลงโทษ จำเลย ตามความผิดด้วย ทั้งนี้ คดีดังกล่าวศาลรับคำฟ้องไว้ และ นัดไต่สวนมูลฟ้องโจทก์ ในวันที่ 2 มี.ค.2552

ต่อมา เมื่อวันที่ 9 ม.ค. 2552 นายบัญชา ปรมีศณาภรณ์ ทนายความ ผู้ได้รับมอบอำนาจ จาก พล.ต.ต.อำนวย ได้ทำหนังสือ จาก สำนักงานบัญชา ทนายความ และ การบัญชี เรื่อง ขอให้ปฏิบัติตามกฏหมายโดยเคร่งครัด ถึง นายวิชา มหาคุณ กรรมการป.ป.ช. และ ประธานอนุกรรมการ

ใจความระบุว่า ขอให้ นายวิชา ในฐานะ อนุกรรมการไต่สวน ยุติการไต่สวน เพื่อมิให้ พล.ต.ต.อำนวย ได้รับความเสียหาย จากการไต่สวน หาก นายวิชา ยังไต่สวนต่อไป โดยไม่ปฏิบัติตามมาตรา 86(2) จึงมีความจำเป็น และ เสียใจอย่างยิ่ง ที่จะต้องดำเนินคดี ในทางอาญา และ ทางแพ่ง ตามกฏหมายต่อไป

กรณีดังกล่าว มีรายงานจาก ป.ป.ช. ระบุว่า คดีที่ ป.ป.ช. กำลังไต่สวน อยู่นั้น มีกรณีหลายข้อกล่าวหา และ หลายข้อหา ก็ไม่ซ้ำกัน ไม่ใช่ ประเด็นเดียว กับ กรณีที่มีผู้ไปฟ้องตำรวจไว้ และ คดีที่ไปฟ้องนั้น ยังถือไม่ได้ว่า ศาลได้รับฟ้องไว้แล้ว เพราะในคดีอาญา ที่ ราษฎร เป็นโจทก์ฟ้อง นั้น จะมีผลเป็นการรับฟ้อง ต่อเมื่อศาลทำการไต่สวนมูลฟ้องแล้ว มีคำสั่งให้ ประทับรับฟ้อง

เมื่อศาลยังไม่ประทับรับฟ้อง จึงเท่ากับ ศาลยังไม่รับเป็น คดี ป.ป.ช. จึงมีสิทธิทำการไต่สวนต่อไป นอกจากนั้น ข้อหา ก็มิได้ซ้ำซ้อนกัน ที่สำคัญคือ ผู้ไปฟ้องคดี กับ ตำรวจนั้น ไม่แน่ว่า จะเป็นใคร อาจจะเป็นพวกเดียวกันฟ้องคดี เพื่อช่วยเหลือกันก็ได้ หรือ อาจจะเป็น ผู้เสียหายจริงๆ แล้วฟ้องคดี เพื่อบรรเทาความเสียหาย ของตน ก็ได้ ซึ่งต้องดูข้อเท็จจริงต่อไป แต่เมื่อ ศาลยังไม่รับฟ้อง ก็ยังไม่เป็นคดี และ ถ้าศาลรับฟ้องเมื่อใด ก็คงต้องมี การพักราชการ บรรดาจำเลย ที่ถูกฟ้อง

“การฟ้องร้องคดีของ พล.ต.ต.อำนวย จึงมิได้สร้างความวิตกกังวล ให้แก่ คณะกรรมการ ป.ป.ช. ทั้ง 9 คน แต่อย่างใด บางท่าน ถึงกับ กล่าวว่า ตำรวจ เขาดูกฏหมาย กันอย่างไร มิน่าเล่า บ้านเมือง จึงตกอยู่ในสภาพ ไร้ขื่แปเช่นนี้” แหล่งข่าวกล่าว

ขณะที่ นายสุวัตร อภัยภักดิ์ ทนายความ พันธมิตรประชาชน เพื่อประชาธิปไตย กล่าวในเรื่องเดียวกันว่า กรณีที่ นายสิทธิพร โพธิโสดา ทนายความ ได้ยื่นฟ้อง นายสมชาย วงษ์สวัสดิ์ อดีตนายกรัฐมนตรี กับ พวก นั้น ตนขอเวลา ตรวจสอบรายละเอียด เกี่ยวกับตัว นายสิทธิพร ที่อ้างตัวเป็น ทนาย ว่าเป็น ทนายสังกัดใด มีเบอร์ติดต่อ ได้หรือไม่ จาก สภาทนายความก่อน และ จะต้องหาความชัดเจน ในการเชื่อมโยง ว่ามี ความเกี่ยวข้อง เป็นเพื่อน หรือเป็นอะไร กับ พล.ต.ต.อำนวย ตามที่หลายฝ่าย ให้รายละเอียดตนมา

เพื่อที่จะได้ ยื่นฟ้องต่อศาล ให้ศาลรับรู้ว่า การที่ นายสิทธิพร ไปยื่นฟ้อง บุคคลทั้งหมด ที่กล่าวมาเบื้องต้น เป็นการประพฤติตน ไม่เหมาะสม ถือเป็นการใช้สิทธิ ที่ไม่สุจริต ใช้วิชามาร ซึ่งเป็นการ ฟ้องร้อง รูปแบบซูเอี๋ย เพื่อให้ศาล ได้ทราบว่า ศาล ถูกใช้เป็นเครื่องมือ

“หากตรวจพบว่า นายสิทธิพร ใช้ตำแหน่งทนายความ ในทางที่ ไม่เหมาะสม ไม่ถูกต้อง จะต้องยื่นเรื่องให้ สภาทนายความ พิจารณา ถอนใบอนุญาติ ว่าความ ต่อไป ซึ่งผมต้องเร่งตรวจสอบ ให้รู้ถึงที่มาที่ไป ว่ามีข้อมูลด้านใด ที่จะมาโยงเรื่องได้” นายสุวัตรกล่าว

ส่วน คณะกรรมการป้องกัน และ ปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ หรือ ปปช. จะดำเนินการเอาผิด กับ รายชื่อที่ทาง คณะกรรมการสิทธิมนุษยชน ชี้มูลความผิด นำเสนอให้ทราบแล้วนั้น อย่างไร นายสุวัตร กล่าวว่า ในเรื่องนี้ ป.ป.ช. มีข้อเท็จจริง อยู่ในมืออยู่แล้ว แต่ในด้านของ ศาล เราต้องรีบทำเรื่องให้ ศาล รู้ความเป็นจริง ว่าเป็นอย่างไร ซึ่งตนขอเวลา ตรวจสอบอีกครั้ง

ด้าน นายวิชา มหาคุณ คณะกรรมการป้องกัน และ ปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) กล่าวถึง ความคืบหน้า ในการไต่สวนคดี ดังกล่าวว่า ขณะนี้กำลังไต่สวนอยู่ และ ยังมีการพิจารณา ข้อโต้แย้งอยู่ แต่การที่พิจารณาได้ช้า เพราะ

ขณะนี้ พล.ต.ต. อำนวย นิ่มมะโน รองผู้บัญชาการตำรวจนครบาล ได้ให้ ทนายความยื่นฟ้อง นาย ปานเทพ กล้าณรงค์ราญ ป.ป.ช. กับ พวก กรรมการ ป.ป.ช. รวม 9 คน ในความผิด ฐานเป็น เจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่ หรือ ละเว้น การปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 อย่างไรก็ตาม เราก็จะทำงานต่อไปเรื่อยๆ และ ไม่รู้สึกหวั่นไหว แต่อย่างใด ซึ่งต่อไปนี้ จะต้องมีกระบวนการ ในการแก้คดีต่อไป

นายวิชา กล่าวว่า อย่างไรก็ดี ตนจะต้องนำเรื่องนี้ เข้าหารือในที่ประชุม ป.ป.ช. ในวันนี้ (13 ม.ค.) เพราะ เรื่องนี้เป็น เรื่องสำคัญ ถือว่าเป็น อุปสรรค และ ขัดขวาง การทำงานของเรา ทำให้เราไม่สามารถ ไต่สวนคดี ได้โดยสะดวก

อย่างไรก็ดี เรื่องนี้ ตนไม่ได้เป็น คนขอทำ แต่ คณะกรรมการ ป.ป.ช. มอบหมาย ให้ดำเนินการ ในเมื่อมีการฟ้องร้อง เราก็จำเป็นต้อง ปรึกษา คณะกรรมการ ป.ป.ช.

ปรับปรุงจาก ข่าว และ ภาพ ของ สำนักข่าว ASTV ผู้จัดการออนไลน์
13 มกราคม 2552 00:47 น.
http://www.manager.co.th/Crime/ViewNews.aspx?NewsID=9520000003430


พิมพ์ ข่าวนี้ แฉเล่ห์ฉ้อฉล”อำนวย” ส่งคนแสร้งฟ้องศาล สกัดป.ป.ช.เชือดคดี 7 ตุลาเลือด

ใช้ [ปุ่มถอยหลัง] ของเว็บบราวเซอร์ เพื่อกลับมาที่นี่ จากข้อมูลเชื่อมโยงด้านล่าง
Use Browser [Back] Button Return to Here from URL Below

1 Comment »

  1. […] แฉเล่ห์ฉ้อฉล “อำนวย” ส่งคนแสร้งฟ้อ… […]

    Pingback by ศาลรู้ทัน ไม่รับฟ้อง “อำนวย” กล่าวหา 9 ป.ป.ช.! « Accom Thailand — February 8, 2009 @ 01:13 | Reply


RSS feed for comments on this post. TrackBack URI

Leave a comment

Blog at WordPress.com.