Accom Thailand

October 22, 2008

ระเบียบสำนักนายกฯ คืนเครื่องราชฯ ปี 48 “ทักษิณ” ลงนาม เอง แต่กำลังจะถูกเรียกคืน

Filed under: ข่าวเมืองไทย — accomthailand @ 18:19
เครื่ภ??ราชภ??สริยาภรณ์

เครื่องราชอิสริยาภรณ์


“แม้ว” จ่อ ถูกยึดเครื่องราชฯ คืน หลังถูก ศาลตัดสินจำคุก !


เปิด ระเบียบสำนักนายกฯ ว่าด้วย การขอพระราชทาน คืนเครื่องราชฯ ปี 48 “ทักษิณ” ลงนาม แต่ตัวเอง กำลังจะถูกเรียกคืน ตามระเบียบนี้ หลังถูก ศาลฎีกาฯ พิพากษาจำคุก ในคดีที่ดินรัชดาฯ และหากยื่น ฎีกาไม่สำเร็จ เครื่องราชฯ ชั้นทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ หรือเทียบเท่า “เจ้าพระยา” มีสิทธิ ถูกยึดคืน


จากกรณีที่ ศาลฎีกาแผนกคดีอาญา ของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พิพากษาจำคุก พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี 2 ปี ในคดีทุจริต จัดซื้อที่ดินจาก กองทุนเพื่อการฟื้นและพัฒนา ระบบสถาบันการเงิน ถนนรัชดาภิเษก มูลค่า 772 ล้านบาท ซึ่งเป็นความผิด ตาม พ.ร.บ.ประกอบ รัฐธรรมนูญ ว่าด้วย การป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 มาตรา 100 และ 122 กำลังจะส่งผลต่อ ยศฐาบรรดาศักดิ์ ของ พ.ต.ท.ทักษิณ อีกด้วย


โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เครื่องราชอิสริยาภรณ์ ที่ได้รับพระราชทาน ในฐานะนายกรัฐมนตรี ชั้น “เจ้าพระยา” นั้น ก็ส่อแวว จะต้องถูกเรียกคืน เนื่องจาก เป็นไปตาม ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการขอพระราชทาน พระบรมราชานุญาต เรียกคืนเครื่องราชอิสริยาภรณ์ พ.ศ.2548 ซึ่ง พ.ต.ท.ทักษิณ ในฐานะ นายกรัฐมนตรี (ขณะนั้น) เป็นผู้ลงนามเอง เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2548 (ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อ 18 สิงหาคม 2548) นั้น ระบุว่า


การถูก ศาลพิพากษา จำคุกถึงที่สุด เข้าเงื่อนไขที่ สำนักนายกรัฐมนตรี ต้องนำความขึ้นกราบบังคมทูล เพื่อขอพระราชทาน พระบรมราชานุญาต เรียกคืน เครื่องราชอิสริยาภรณ์ จากบุคคล ที่ถูกพิพากษาจำคุก ดังกล่าว


ดังนั้น ถ้า พ.ต.ท.ทักษิณ ไม่ยื่นฎีกาภายใน 30 วัน ในกรณีที่มี พยาน หลักฐาน ใหม่ ก็ถือว่า คดีถึงที่สุด (ตามระเบียบที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา ว่าด้วย หลักเกณฑ์การอุทธรณ์ คำพิพากษาศาลฎีกาแผนกคดีอาญา ของผู้ดำรงตำแหน่ง ทางการเมือง ในกรณี มีพยานหลักฐานใหม่ ซึ่งอาจทำให้ ข้อเท็จจริงเปลี่ยนแปลงไป ในสาระสำคัญ พ.ศ.2551) ซึ่งจะต้องถูก เรียกคืน เครื่องราชฯ

บุคคลที่ถูกพิพากษาจำคุกดังกล่าว ดังนั้น ถ้า พ.ต.ท.ทักษิณ ไม่ยื่นฎีกาภายใน 30 วัน ในกรณีที่มีพยานหลักฐานใหม่ก็ถืภ??่า คดีถึงที่สุด

บุคคลที่ถูกพิพากษาจำคุกดังกล่าว ดังนั้น ถ้า พ.ต.ท.ทักษิณ ไม่ยื่นฎีกาภายใน 30 วัน ในกรณีที่มีพยานหลักฐานใหม่ก็ถือว่า คดีถึงที่สุด


สำหรับ เครื่องราชอิสริยาภรณ์ ที่
พ.ต.ท.ทักษิณ ได้รับมาแล้ว มีดังนี้


พ.ศ.2517 เบญจมาภรณ์มงกุฎไทย (บ.ม.)
พ.ศ.2519 จัตุรถาภรณ์มงกุฎไทย (จ.ม.)
พ.ศ.2523 จัตุรถาภรณ์ช้างเผือก (จ.ช.)
พ.ศ.2528 ตริตาภรณ์มงกุฎไทย (ต.ม.)
พ.ศ.2537 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)
พ.ศ.2538 มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)
พ.ศ.2539 มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)
พ.ศ.2544 ปฐมดิเรกคุณาภรณ์ (ป.ภ.)
พ.ศ.2545 ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ท.จ.ว.)


ส่วนระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วย การขอพระราชทาน พระบรมราชานุญาติ เรียกคืน เครื่องราชอิสริยาภรณ์ พ.ศ. 2548 สาระสำคัญระบุว่า รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และกฎหมายเกี่ยวกับ เครื่องราชอิสริยาภรณ์ หลายฉบับได้กำหนดไว้ ซึ่งพระราชอำนาจ ของพระมหากษัตริย์ ที่จะทรง เรียกคืนเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ประกอบกับ ปัจจุบันยังมิได้กำหนด หลักเกณฑ์ที่ชัดเจน และ รวบรวม


กรณีที่จะเรียกคืน เครื่องราชอิสริยาภรณ์ ไว้เป็นระเบียบแน่นอน สมควรกำหนดหลักเกณฑ์ และ วางระเบียบ เกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว เพื่อถือเป็น แนวทางปฏิบัติต่อไป ทั้งนี้ สำนักนายกรัฐมนตรี ได้นำความ กราบบังคมทูลพระกรุณา ทราบฝ่าละอองธุลีพระบาทแล้ว ทรงพระกรุณา โปรดเกล้าฯ พระราชทาน พระบรมราชานุญาติ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 11(8) แห่งพระราชบัญญัติ ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534 นายกรัฐมนตรี โดยความเห็นชอบ ของคณะรัฐมนตรี จึงวางระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้


“เครื่องราชอิสริยาภรณ์” หมายความว่า เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย และเหรียญราชอิสริยาภรณ์ไทย แต่ไม่รวมถึง เหรียญรัตนาภรณ์ และเหรียญราชรุจิ


“การเรียกคืนเครื่องราชอิสริยาภรณ์” หมายความว่า การดำเนินการถอนชื่อ ผู้ได้รับพระราชทาน เครื่องราชอิสริยาภรณ์ ออกจากรายชื่อ ผู้ได้รับ พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ตามประกาศ สำนักนายกรัฐมนตรี และเรียก เครื่องราชอิสริยาภรณ์ รวมทั้ง ประกาศนียบัตร กำกับ เครื่องราชอิสริยาภรณ์ ที่ได้รับพระราชทานคืน


1. เมื่อทรงพระกรุณา โปรดเกล้าฯ ให้เรียกคืน เครื่องราชอิสริยาภรณ์จาก ผู้ได้รับพระราชทาน เครื่องราชอิสริยาภรณ์ รายใด ให้ สำนักเลขาธิการ คณะรัฐมนตรี ประกาศใน ราชกิจจานุเบกษาและ ดำเนินการ เรียกเครื่องราชอิสริยาภรณ์ คืนต่อไป


2. ในกรณีที่ ปรากฏเหตุแห่ง การเรียกคืนเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ดำเนินการเรียกคืน ทุกชั้นตรา เว้นแต่กรณี ที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้เรียกคืน เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แต่เพียงบางชั้นตรา


3. เหตุแห่งการเรียกคืน เครื่องราชอิสริยาภรณ์ มีดังต่อไปนี้


(1) เป็นผู้ต้องคำพิพากษา ถึงที่สุดให้ ประหารชีวิต

(2) เป็นผู้ต้องคำพิพากษา ถึงที่สุดให้ จำคุก เว้นแต่ในความผิด อันได้กระทำ โดยประมาท หรือความผิดลหุโทษ

(3) เป็นผู้ต้องคำพิพากษา หรือคำสั่งของศาล ให้ทรัพย์สิน ตกเป็นของแผ่นดิน เพราะร่ำรวยผิดปกติ หรือมีทรัพย์สิน เพิ่มขึ้นผิดปกติ หรือเพราะ กระทำ ความผิดตามกฎหมาย ว่าด้วย การป้องกัน และปราบปราม การฟอกเงิน

(4) เป็นผู้ถูกลงโทษไล่ออก ปลดออก หรือให้ออก เพราะกระทำผิดวินัย ตามกฎหมาย ว่าด้วย ระเบียบข้าราชการพลเรือน หรือตามกฎหมายอื่น โดยคำสั่งอันถึงที่สุด

(5) เป็นผู้ถูกลงโทษไล่ออก ปลดออก หรือให้ออก เพราะกระทำผิดวินัยจาก รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานอื่น ของรัฐ โดยคำสั่งอันถึงที่สุด

(6) เป็นผู้ถูกถอดถอน ออกจากตำแหน่ง ที่ดำรงอยู่ เพราะมีพฤติการณ์ร่ำรวยผิดปกติ ส่อไป ในทางทุจริตต่อหน้าที่ ส่อว่า กระทำความผิด ต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ ส่อว่ากระทำความผิด ต่อตำแหน่งหน้าที่ ในการยุติธรรม หรือจงใจ ใช้อำนาจหน้าที่ ขัดต่อรัฐธรรมนูญ หรือกฎหมาย

(7) เป็นผู้ต้องคำพิพากษา ถึงที่สุด ให้เป็นบุคคลล้มละลาย ทุจริตตามกฎหมาย ว่าด้วยล้มละลาย

(8) เป็นผู้ประพฤติตน ไม่สมเกียรต หรือนำเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ไปใช้ ในกรณีไม่สมควร

4. เมื่อผู้ได้รับพระราชทาน เครื่องราชอิสริยาภรณ์ รายใด มีกรณีที่ต้องถูก เรียกคืน เครื่องราชอิสริยาภรณ์ ตามข้อ 7 ให้ส่วนราชการ ต้นสังกัด หรือ ส่วนราชการ ที่เสนอขอ พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการ รวบรวมเอกสารหลักฐาน และประวัติ การได้รับ พระราชทาน เครื่องราชอิสริยาภรณ์ ของผู้นั้น เพื่อส่งเรื่องไปยัง สำนักเลขาธิการ คณะรัฐมนตรี


เมื่อ สำนักเลขาธิการ คณะรัฐมนตรี ได้รับเรื่องแล้ว หรือสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี พิจารณาเห็นสมควร ให้เสนอรายชื่อ พร้อมทั้ง ชั้นตรา เครื่องราชอิสริยาภรณ์ ที่สมควร ขอพระราชทาน พระบรมราชานุญาติ เรียกคืนให้ นายกรัฐมนตรี พิจารณา ในกรณีที่ นายกรัฐมนตรี เห็นชอบ แล้ว ให้ สำนักเลขาธิการ คณะรัฐมนตรี เสนอรายชื่อ และชั้นตราเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ที่จะขอ พระราชทาน พระบรมราชานุญาติ เรียกคืนไปยัง สำนักราชเลขาธิการ เพื่อนำความ กราบบังคมทูล พระกรุณา ขอพระราชทาน พระบรมราชานุญาติ เรียกคืนเครื่องราชอิสริยาภรณ์ หากทรง พระกรุณา โปรดเกล้าฯ ให้เรียกคืนแล้ว ให้ประกาศ ในราชกิจจานุเบกษา ต่อไป


5. เมื่อได้ประกาศ ในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ให้ สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี แจ้งให้ส่วนราชการ ต้นสังกัด ของผู้ได้รับ พระราชทาน เครื่องราชอิสริยาภรณ์ หรือ ส่วนราชการ ที่เสนอขอ พระราชทาน เครื่องราชอิสริยาภรณ์ หรือ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการเรียก เครื่องราชอิสริยาภรณ์ คืนจาก ผู้ได้รับพระราชทาน หรือ ทายาท ของผู้ได้รับพระราชทาน เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แล้วแต่กรณี โดยพลัน


หากผู้ได้รับ พระราชทาน หรือทายาท ของผู้ได้รับพระราชทาน เครื่องราชอิสริยาภรณ์ ไม่สามารถส่งคืน เครื่องราชอิสริยาภรณ์ ด้วยประการใดๆ ให้ใช้ ราคาตามที่ สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี กำหนด ในกรณีที่ ผู้ได้รับพระราชทาน เครื่องราชอิสริยาภรณ์ รายใด ซึ่งมีเหตุที่จะต้อง ถูกเรียกคืน เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แล้วได้วายชนม์ลง ให้ดำเนินการเรียกคืน โดยพลัน


6. ให้นายกรัฐมนตรี รักษาการ ตามระเบียบนี้ โดยให้ เลขาธิการคณะรัฐมนตรี ดำเนินการเกี่ยวกับปัญหา ในทางปฏิบัติตามระเบียบนี้ หากไม่ได้ ข้อยุติ ให้นำเสนอ นายกรัฐมนตรี เพื่อวินิจฉัย คำวินิจฉัยของ นายกรัฐมนตรี ให้เป็นที่สุด

ปรับปรุงจาก ข่าว และ ภาพ ของ สำนักข่าว ผู้จัดการออนไลน์ 22 ตุลาคม 2551 18:19 น.
http://manager.co.th/asp-bin/mgrView.asp?NewsID=9510000125674


พิมพ์ ข่าวนี้ “แม้ว” จ่อ ถูกยึดเครื่องราชฯ คืน หลังถูก ศาลตัดสินจำคุก !


ข้อแถลง “ประสาทพระวิหาร” จากคณะวิจัย สถาบันไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
คลิกอ่าน ข้อมูล ข่าวและบทความเกี่ยวกับกรณีพิพาทปราสาทพระวิหาร


ปราสาทตาควาย แม้ถูกทิ้งร้างมาหลายศตวรรษ แต่ยังอยู่ในสภาพสมบูรณ์จนน่าประหลาดใจ

ใช้ [ปุ่มถอยหลัง] ของเว็บบราวเซอร์ เพื่อกลับมาที่นี่ จากข้อมูลเชื่อมโยงด้านล่าง
Use Browser [Back] Button Return to Here from URL Below

Leave a Comment »

No comments yet.

RSS feed for comments on this post. TrackBack URI

Leave a comment

Blog at WordPress.com.