Accom Thailand

September 9, 2008

คำวินิจฉัย ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ โดยมติ 9-0 ให้ความเป็น รัฐมนตรีของ นายสมัคร ที่ดำรงตำแหน่ง นายกฯ เป็นการสิ้นสุดลง เฉพาะตัว


“หมัก” บรรลัย! ศาลมีมติเป็นเอกฉันท์ 9 ต่อ 0 ชี้พ้นสภาพผู้นำ


มติ ศาลรธน. เอกฉันท์ 9 เสียง เชือด “หมัก” พ้นเก้าอี้นายกฯ – รมว.กห. ระบุ “รับจ้าง” เป็นพิธีกร ชิมไปบ่นไป เข้าข่ายเป็น “ลูกจ้าง” แถมยังมี พฤติการณ์เสมือนเป็น หุ้นส่วนบริษัท ที่ได้รับประโยชน์ ขัดรัฐธรรมนูญมาตรา 267 ขณะเดียวกัน ยังส่อพิรุธ ทำหลักฐานย้อนหลัง หวังตบตา ให้พ้นความผิด จึงให้พ้นจากตำแหน่ง พร้อมชี้ ครม. ยังสามารถรักษาการต่อไป จนกว่าจะมี ชุดใหม่เข้าปฏิบัติหน้าที่


คลิกที่นี่ เพื่อฟัง ตุลาการศาล รธน.มีคำวินิฉัยให้ “สมัคร” พ้นสภาพความเป็นนายกฯพร้อม ครม.ทั้งคณะ
คลิกที่นี่ เพื่อชม (56 K) ตุลาการศาล รธน.มีคำวินิฉัยให้ “สมัคร” พ้นสภาพความเป็นนายกฯพร้อม ครม.ทั้งคณะ
คลิกที่นี่ เพื่อชม (256 K) ตุลาการศาล รธน.มีคำวินิฉัยให้ “สมัคร” พ้นสภาพความเป็นนายกฯพร้อม ครม.ทั้งคณะ


วันนี้ ( 9 ก.ย.) คณะตุลาการ ศาลรัฐธรรมนูญ ได้มีกำหนด นัดอ่านคำวินิจฉัย ในคำร้อง ที่ประธานวุฒิสภา ส่งความเห็นของ สมาชิกวุฒิสภา และ คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ขอให้ ศาลรัฐธรรมนูญ วินิจฉัย ความสิ้นสุด การเป็นรัฐมนตรี ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 267 ประกอบ มาตรา 182 ( 7) ของ นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม อันเนื่องจาก เป็นพิธีกรรายการ “ชิมไปบ่นไป” และ “ยกโขยง 6 โมงเช้า” ในเวลา 14.00 น.


ซึ่งปรากฏว่า บรรยากาศ ภายในบริเวณ ศาลรัฐธรรมนูญ เป็นไปอย่างคึกคัก ตั้งแต่ช่วงเช้า โดย คณะตุลาการฯ ได้มีการประชุม และ แถลงด้วย วาจา ก่อนลงมติ ท่ามกลาง กำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจ จำนวน 100 กว่านาย ที่มาคอยดูแล รักษาความเรียบร้อย บริเวณ โดยรอบ ขณะที่ สื่อมวลชน ทั้งไทย และ ต่างประเทศ กว่า 200 คน ต่างไปเฝ้ารอ ทำข่าว

กลุ่มผู้ร้�ง

กลุ่มผู้ร้อง


อย่างไรก็ตาม เมื่อใกล้ถึงเวลา นัดอ่านคำวินิจฉัย คู่กรณี นำโดยผู้ร้องคือ นาย เรืองไกร ลีกิจวัฒนะ ส.ว.สรรหา พ.อ.สันธิรัตน์ มหัทธนชาติ เลขา อนุสืบสวนสอบสวน ข้อเท็จจริง กรณีดังกล่าว ของ กกต. ที่ได้รับมอบอำนาจ และ นาย ธนา เบญจาธิกุล ทนายความ ผู้รับมอบจาก นายสมัคร เดินทาง รอฟังคำวินิจฉัย


ขณะเดียวกัน ก็มีกลุ่มผู้ชุมนุม ที่สนับสนุน นายสมัคร จำนวน 30 คน เดินทางมาชุมนุม หน้าสำนักงาน ศาลรัฐธรรมนูญ โดยถือป้าย ระบุข้อความ ให้กำลังใจ นายสมัคร และ ตะโกน ให้กำลังใจ นายสมัคร อย่างต่อเนื่อง และเริ่มมี ฝนตกลงมาอย่างหนัก ลมกระโชกแรง แต่กลุ่มผู้ชุมนุม ก็ยัง ปักหลักอยู่ แต่ได้กระจายกัน หลบฝนอยู่ใต้อาคารพาณิชย์ ฝั่งตรงข้าม ศาลรัฐธรรมนูญ

นาย ธนา เบญจาธิกุล ทนายความ

นาย ธนา เบญจาธิกุล ทนายความ


แต่เมื่อถึง เวลานัด 14.00 น. ปรากฏว่า ทางเจ้าหน้าที่ศาลฯ ยังไม่ยอมให้ ผู้ที่เดินทางมารับฟัง คำพิพากษา เข้าสู่ห้องพิจารณาคดี และ นาย ไพบูลย์ วราหะไพฑูรย์ เลขาธิการ สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ แจ้งว่า คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ เลื่อนการอ่าน คำวินิจฉัย ไปเป็นเวลา 15.30 น. โดยปฏิเสธ ที่จะบอกถึงเหตุผล ที่เลื่อนเวลาออกไป และ ปฏิเสธข่าว ที่ระบุว่า การเลื่อนเวลา อ่านคำวินิจฉัย เพราะรอ นายสมัคร ที่กำลังเดินทาง กลับมาจาก ประชุมครม.สัญจร ที่ จ.อุดรธานี มารับฟังคำวินิจฉัย ด้วยตัวเอง


เมื่อถึงเวลา 15.30 น. คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ นำโดย นาย ชัช ชลวร ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ได้ออกนั่งบัลลังก์ อ่านคำวินิจฉัย โดยสาระ สำคัญ ระบุว่า หลังจากที่ ศาลรัฐธรรมนูญ ได้พิจารณาคำร้อง คำชี้แจง การแก้ข้อกล่าวหา เอกสารประกอบ พยานหลักฐานอื่น ทีเกี่ยวข้อง และ คำเบิกความ จากพยานบุคคลแล้ว เห็นว่า คดี มีพยานหลักฐานเพียงพอ ที่จะพิจารณาวินิจฉัยได้ โดยมีการกำหนด ประเด็นที่ พิจารณาวินิจฉัย ว่า
ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ

ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ



ความเป็นรัฐมนตรีของ ผู้ถูกร้อง สิ้นสุดลงตาม รัฐธรรมนูญมาตรา 182 วรรค 1 (7) ประกอบมาตรา 267 เพราะเหตุ ผู้ถูกร้อง ดำรงตำแหน่งใด ใน บริษัท เฟซ มีเดีย จำกัด ซึ่งเป็น บริษัท ที่ดำเนินธุรกิจ ที่มุ่งหาผลประโยชน์ กำไร หรือ รายได้ มาแบ่งปันกัน หรือ เป็นลูกจ้าง ของบริษัท ดังกล่าวหรือไม่ เห็นว่า


ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 267 บัญญัติ ห้ามนายกฯ และ รัฐมนตรี เป็นลูกจ้างของ บุคคลใด เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ ของนายกฯ และ รัฐมนตรี เป็นไป โดยชอบ ป้องกันมิให้ เกิดการกระทำ ที่เกิดการขัดกัน แห่งผลประโยชน์ อันจะก่อให้เกิด สถานะ การขาดจริยธรรม ซึ่งยาก ในการตัดสินใจ ทำให้ ต้องเลือก อย่างใดอย่างหนึ่ง ระหว่าง ประโยชน์ส่วนตัว กับ ประโยชน์สาธารณะ เมื่อผู้ดำรงตำแหน่ง คำนึงถึง ประโยชน์ส่วนตัว มากกว่า ประโยชน์ สาธารณะ


ฐานขัดกัน ระหว่าง ประโยชน์ส่วนตัว กับการใช้อำนาจ ในตำแหน่งหน้าที่ จึงขัดกันในลักษณะ ที่ประโยชน์ส่วนตัว จะได้มาจาก การเสียไปซึ่ง ประโยชน์สาธารณะ


“การทำให้ เจตนารมณ์ ของ รัฐธรรมนูญดังกล่าว บรรลุผล จึงไม่ใช่แปลความคำว่า ลูกจ้าง ในรัฐธรรมนูญ มาตรา 267 เพียงหมายถึง ลูกจ้าง ตามความหมาย แห่งประมวลกฎหมายแพ่ง และ พาณิชย์ ตาม กฎหมายคุ้มครองแรงงาน หรือ ตามกฎหมาย ภาษีอากร เท่านั้น เพราะ กฎหมาย แต่ละฉบับ ย่อมมีเจตนารมณ์ ที่แตกต่างกัน ไปตามเหตุผล และ การบัญญัติ กฎหมายนั้นๆ


ทั้งกฎหมายดังกล่าว ก็ยังมีศักดิ์ ต่ำกว่า รัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นกฎหมายสูงสุด ในการปกครองประเทศ และ ยังมี เจตนารมณ์ เพื่อป้องกัน การกระทำ ที่เป็นการกระทำ ขัดกัน แห่งผลประโยชน์ แตกต่างจาก กฎหมายดังกล่าว อีกด้วย”


นอกจากนี้ รัฐธรรมนูญ เป็นกฎหมาย กำหนดหลักเกณฑ์ การปกครองประเทศ เนื่องจากตั้งรับรอง สถานะ ของ สถาบัน และ สิทธิ และ เสรีภาพ ของประชาชน กำหนดพื้นฐาน การดำเนินการของรัฐ เพื่อให้รัฐได้ใช้ เป็นหลักใช้ ปรับกับ สภาวะการ หรือ เหตุการณ์ต่างๆ ได้อย่างถูกต้อง ตามเจตนารมณ์ ดังนั้นคำว่า ลูกจ้าง ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 267 จึงมีความหมาย กว้างกว่า คำนิยามของ กฎหมายอื่น โดยต้องแปล ตาม ความหมาย ทั่วไป ซึ่งตาม พจนานุกรม ฉบับ ราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542 ได้ให้ความหมาย ของคำว่า ลูกจ้าง ว่า


หมายถึง ผู้รับจ้าง ทำการงาน ผู้ซึ่งตกลง ทำงาน ให้นายจ้าง โดยได้รับค่าจ้าง ไม่ว่า จะเรียกชื่ออย่างไร โดยมิคำนึง ถึงว่า จะมีการทำ สัญญาจ้าง เป็นลายลักษณ์อักษร หรือไม่ หรือ ได้รับค่าตอบแทนเป็น ค่าจ้าง สินจ้าง หรือ ค่าตอบแทน ในลักษณะ ที่เป็นทรัพย์สิน อย่างอื่น หากมี การตกลง เป็น ผู้รับจ้าง ทำการงานแล้ว ย่อมอยู่ใน ความหมายของคำว่า ลูกจ้าง ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 267 ทั้งสิ้น


มิเช่นนั้น ผู้เป็น ลูกจ้าง หรือ ผู้ที่รับจ้าง รับค่าจ้าง เป็นรายเดือน ในลักษณะ สัญญาจ้างแรงงาน เมื่อได้รับแต่งตั้ง ให้ดำรงตำแหน่ง นายกรัฐมนตรี หรือ รัฐมนตรี ก็สามารถทำงาน ต่อไปได้ โดยเปลี่ยนค่าตอบแทน จากค่าจ้างรายเดือน มาเป็น สินจ้าง ตามการทำงาน ที่ทำ เช่น แพทย์ เปลี่ยนจาก เงินเดือน มาเป็น ค่ารักษา ตามจำนวน คนไข้ ที่ปรึกษากฎหมาย ก็เปลี่ยน จากเงินเดือน มาเป็น ค่าปรึกษา หรือ ค่าทำความเห็น มาเป็นรายครั้ง ซึ่งก็ยังผูกพันกัน ในเชิงผลประโยชน์ กันอยู่ ระหว่าง เจ้าของกิจการ กับ ผู้ที่รับทำงานให้ เห็นได้ชัดเจนว่า กฎหมาย ย่อมไม่มีเจตนารมณ์ ให้หา ช่องทางหลีกเลี่ยง ให้ทำ ได้โดยง่าย


ข้อเท็จจริง ได้จากการไต่สวน นายสมัคร หลังจาก ผู้ถูกร้อง เข้ารับตำแหน่ง นายกฯ แล้วยังเป็น พิธีกรในรายการ “ชิมไปบ่นไป” และ ” ยกโขยง หกโมงเช้า” ให้กับ บริษัท เฟซ มีเดีย จำกัด เมื่อพิเคราะห์ ถึงลักษณะ กิจการงาน ที่ บริษัท เฟซ มีเดีย จำกัด ได้กระทำ ร่วมกันกับ ผู้ถูกร้อง มาโดย ตลอด เป็นเวลาหลายปี โดยบริษัท เฟซ มีเดีย จำกัด เพื่อมุ่งค้าหากำไร ไม่ใช่เพื่อ การกุศลสาธารณะ และ นายสมัคร ได้รับค่าตอบแทน อย่าง สมฐานะ และ ภารกิจ เมื่อได้กระทำ ในระหว่างที่ ดำรงตำแหน่งเป็น นายกฯ จึงเป็นการกระทำ และ นิติสัมพันธ์ ที่อยู่ ในขอบข่ายที่ มาตรา 267 ประสงค์จะ ป้องปราม เพื่อไม่ให้เกิด ผลประโยชน์ทับซ้อน กับ ภาคธุรกิจเอกชน แล้ว


ทั้งยัง ปรากฏจาก คำ ให้สัมภาษณ์ ของ ผู้ถูกร้อง ในหนังสือสกุลไทย ฉบับที่ 47 ประจำ วันอังคารที่ 23 ต.ค. 44 หน้า 37 อีกด้วยว่า การทำหน้าที่ พิธีกรกิตติมศักดิ์ รายการโทรทัศน์ ชิมไปบ่นไป ที่ ออกอากาศ ทุกวันเสาร์ เวลา 10.30 น. – 11.00 น. ทางสถานีโทรทัศน์ ไอทีวี ผลิตรายการโดย บริษัท เฟซ มีเดีย จำกัดนั้น นายสมัคร ได้รับ เงินเดือน จากบริษัท เฟซ มีเดีย จำกัด เดือนละ 8 หมื่นบาท


สำหรับหนังสือ ของ นายศักดิ์ชัย ที่มีถึง นาย สมัคร ลงวันที่ 15 ธ.ค. 50 ปรึกษาว่า จะดำเนินการอย่างไร ในการเป็น พิธีกรรับเชิญ ในรายการ ชิมไปบ่นไป และ หนังสือของ นายสมัคร มีถึง นาย ศักดิ์ชัย ลงวันที่ 25 ธ.ค. 2550 แจ้งว่า “ จะทำให้เปล่าๆ โดยไม่้รับเงินค่าตอบแทน เป็น ค่าน้ำมันรถ เหมือนอย่างเคย “ นั้น


นายสมัคร ไม่เคยแสดงหนังสือ ทั้ง 2 ฉบับนี้ มาก่อน จนถูก กกต. เรียกให้ชี้แจง โดย นายสมัคร ชี้แจงเมื่อวันที่ 22 พ.ค. 51 และ ยังคงยืนยัน เสมือนว่า ก่อนเดือนธ.ค. 50 ได้รับค่าตอบแทน เป็นค่าน้ำมันรถ เท่านั้น ซึ่งขัดแย้ง กับ คำเบิกความของ นางดาริกา รุ่งโรจน์ พนักงานบัญชี ของ เฟซ มีเดีย จำกัด และ หลักฐานทางภาษีอากร ที่ว่า ก่อนหน้านั้นว่า นายสมัคร ได้รับค่าจ้างแสดง ไม่ใช่ ค่าน้ำมันรถ อันเป็นข้อพิรุธ ส่อแสดงว่า เป็นการทำหลักฐาน ย้อนหลัง เพื่อปกปิดข้อเท็จจริง เกี่ยวกับ ค่าตอบแทนของ นายสมัคร


อีกทั้ง นายสมัครเอง เบิกความว่า ไม่ได้รับค่าน้ำมันรถ และ ค่าใช้จ่าย น่าจะเป็นการนำเงินไปให้ คนขับรถ มากกว่า ก็ขัดแย้ง กับ คำชี้แจง ของ นายสมัคร เมื่อวันที่ 30 มิ.ย. 51 ที่ให้การว่า การที่ได้รับเชิญ ไปในรายการ “ชิมไปบ่นไป” น่าจะได้รับ ค่าพาหนะ โดย ค่าพาหนะจะได้รับ เฉพาะ เมื่อได้ไปออก รายการเท่านั้น ถ้าไม่ไป ออกรายการ ตามที่เชิญมา ก็ไม่ได้รับค่าพาหนะ จึงรับฟัง เป็นอย่างหนึ่งอย่างใด ไม่ได้


“พยานหลักฐานทั้งหมด มีน้ำหนัก ให้รับฟังได้ว่า นายสมัคร ทำหน้าที่พิธีกร ในรายการ “ชิมไปบ่นไป” หลังจาก เข้าดำรงตำแหน่ง นายกฯ แล้ว โดยยังคงได้รับ ค่าตอบแทน ที่มีลักษณะเป็น ทรัพย์สินจาก บริษัทเฟซ มีเดีย จำกัด


ดังนั้นการที่เป็น พิธีกร ให้แก่บริษัท เฟซ มีเดีย จำกัด จึงเป็น การรับจ้าง การทำงาน ตามความหมายของ คำว่า “ลูกจ้าง” ตามนัย แห่ง รัฐธรรมนูญ มาตรา 267 แล้ว เป็นการกระทำ อันต้องห้าม ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 267 ความเป็นรัฐมนตรีของ นายสมัคร จึงสิ้นสุดลง เฉพาะตัว ตาม รัฐธรรมนูญ มาตรา 182 วรรคหนึ่ง(7) “


อย่างไรก็ตาม ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ 6 คน เห็นว่า นายสมัคร เป็นลูกจ้างของ บริษัทเฟซ มีเดีย จำกัด เป็นการกระทำ อันต้องห้าม ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 267 จึงไม่จำเป็น ต้องวินิจฉัยในปัญหาว่า นายสมัคร ดำรงตำแหน่งใด ในบริษัทเฟซ มีเดีย จำกัด หรือ ไม่อีก


ส่วน ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ อีก 3 คน เห็นว่า การเป็นพิธีกร การใช้ชื่อรายการ “ชิมไปบ่นไป” และใช้รูป ใบหน้าของ นายสมัคร ในรายการ ของ บริษัท เฟซ มีเดีย จำกัด เป็นการตกลงเข้ากัน เพื่อกระทำกิจการร่วมกัน ด้วยประสงค์ จะแบ่งปันกำไร อันพึงได้แก่กิจการ ที่ทำ ในลักษณะ ที่เป็น หุ้นส่วน ร่วมกัน ดังนั้น การกระทำของ ผู้ถูกร้อง ให้แก่ บริษัทเฟซ มีเดีย จำกัด จึงเป็น การดำรงตำแหน่งใน ห้างหุ้นส่วน โดยมุ่งหาผลกำไร หรือ รายได้ มาแบ่งปันกัน และ ไม่จำต้อง วินิจฉัย ในปัญหาว่า นายสมัคร เป็นลูกจ้าง บริษัทเฟซ มีเดีย จำกัด เป็นการกระทำ อันต้องห้าม ตาม รัฐธรรมนูญ มาตรา 267 หรือไม่อีก


อาศัยเหตุผลข้างต้น ศาลรัฐธรรมนูญโดยมติ เอกฉันท์ จึงวินิจฉัยว่า นายสมัคร กระทำการ อันต้องห้าม ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 267 มีผลให้ ความเป็น รัฐมนตรี สิ้นสุดลง เฉพาะตัว ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 182 วรรคหนึ่ง(7) และ เมื่อ ศาลรัฐธรรมนูญ วินิจฉัย ดังกล่าวแล้ว


จึงเป็นเหตุให้ คณะรัฐมนตรี ทั้งคณะ พ้นจากตำแหน่ง ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 180 วรรคหนึ่ง(1) แต่ด้วยความเป็น รัฐมนตรีของ นายสมัคร ที่ดำรงตำแหน่ง นายกฯ เป็นการสิ้นสุดลง เฉพาะตัว ทำให้รัฐมนตรี ในคณะรัฐมนตรี ที่เหลือ จึงอยู่ในตำแหน่ง เพื่อปฏิบัติหน้าที่ต่อไป จนกว่า คณะรัฐมนตรี ที่ตั้งขึ้นใหม่ จะเข้ารับหน้าที่ ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 181


รายงานข่าวแจ้งว่า สำหรับ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ 6 เสียง ที่เห็นว่า การรับจ้าง เข้าข่ายเป็นลูกจ้าง ตามนัยมาตรา 267 ของรัฐธรรมนูญ นั้น ประกอบด้วย


นาย ชัช ชลวร
นาย วสันต์ สร้อยพิสุทธิ์
นาย จรูญ อินทจาร
นายจรัญ ภักดีธนากุล
นาย เฉลิมพล เอกอุรุ
นาย อุดมศักดิ์ นิติมนตรี


ส่วนตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ 3 เสียง ที่เห็นว่าพฤติการณ์ของ นายสมัคร เข้าข่าย การเป็นหุ้นส่วน กับ บริษัท เฟชมีเดีย จำกัด ประกอบด้วย


นายบุญส่ง กุลบุปผา
นายสุพจน์ ไข่มุกด์ และ
นาย นุรักษ์ มาประณีต


สำหรับบรรยากาศที่ ทำเนียบรัฐบาล ทันทีที่ ศาลรัฐธรรมนูญ มีคำวินิจฉัย ผู้ชุมนุมพันธมิตร ประชาชน เพื่อประชาธิปไตย ได้ส่งเสียงโห่ร้อง แสดงความยินดี อย่างกึกก้อง ขณะที่ บริเวณสะพานมัฆวาน กลุ่มนิสิตนักศึกษาเยาวชนพันธมิตรฯ (Young PAD) ที่มาชุมนุม ขับไล่ นายสมัคร ได้โห่ร้อง แสดงความยินดี เช่นกัน หลังจากนั้น “หรั่ง ร็อคเคสตร้า” ได้ขึ้นเวที นำร้องเพลง สรรเสริญพระบารมี ตามด้วยเพลงเราสู้


หลังจากนั้น ตัวแทนนักศึกษา ได้ขึ้นเวที กล่าวปราศรัยว่า ถ้า ส.ส.พรรคพลังประชาชน ยังลงมติเลือก นายสมัคร กลับมาเป็น นายกฯ อีกครั้ง ทางกลุ่ม นิสิตนักศึกษา ก็จะยังปักหลัก ชุมนุมขับไล่ อยู่ที่นี่ต่อไป


หลังจากนั้นได้มี การเปิดวีดีโอ เหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 ซึ่งได้รับความสนใจ อย่างมาก ตามด้วยคำ ให้สัมภาษณ์ สื่อต่างประเทศ ของ นายสมัคร ในช่วงเข้ารับตำแหน่ง นายกฯ ใหม่ๆ ว่า เหตุการณ์ 6 ตุลาฯ ไม่มีคนตาย ในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ แต่มีคนตาย ที่สนามหลวง เพียงแค่คนเดียว


ด้าน ศ.ดร.บวรศักดิ์ อุวรรณโณ อดีตเลขาธิการ คณะรัฐมนตรี และ เลขาธิการ สถาบันพระปกเกล้า ผู้เชี่ยวชาญ เรื่องกฎหมายมหาชน ได้ให้ สัมภาษณ์ กับ สถานีโทรทัศน์ ไทยพีบีเอส ว่า เมื่อศาลรัฐธรรมนูญ มีคำตัดสิน เช่นนี้ออกมา นายสมัคร ก็ไม่ควรจะกลับมา ดำรงตำแหน่ง นายกรัฐมนตรี อีก เพราะเป็นเรื่อง ที่ขัดต่อคุณธรรม และ จริยธรรม ทางการเมือง ที่ทั่วโลกยึดถือปฏิบัติ


“มันคงอธิบายให้ โลกทั้งโลก ฟังไม่ได้ว่า นายกรัฐมนตรี กระทำการ ขัดในเรื่อง ประโยชน์ส่วนบุคคล กับ ประโยชน์ส่วนรวม ในคำวินิจฉัย บางส่วน ยังระบุด้วยว่า เชื่อได้ว่า มีการทำพยานหลักฐานขึ้นใหม่ จึงเป็นเรื่องจริยธรรม ที่ลึกซึ้ง” นายบวรศักดิ์กล่าว


นาย บวรศักดิ์ กล่าวอีกว่า ศาลรัฐธรรมนูญ ชุดนี้ถือว่ามีลักษณะ ค่อนข้าง ยึดเจตนารมณ์ ตามกรอบรธน. เช่น การวินิจฉัยคำว่า ลูกจ้าง ถ้าว่ากัน ตามความเข้าใจ ของนักกฎหมายทั่วไป ก็ตีความ ตามกฎหมายแพ่ง ตามกฎหมายแรงงาน


แต่ ศาลรัฐธรรมนูญ ชุดนี้ ก็ตีความว่า ทำให้เอกชน มีอำนาจเหนือหน้าที่ หรืออย่าง แถลงการณ์ร่วม ไทย-กัมพูชา กรณี ปราสาท พระวิหาร ก็ตีความกว้างว่า คือรัฐธรรมนูญ บัญญัติว่า สนธิสัญญา ที่ต้องขอ ความเห็นชอบ จากสภานั้น คือ สัญญา ที่มีผลต่อ การเปลี่ยนแปลง อาณาเขตไทย แต่ศาลรัฐธรรมนูญชุดนี้ ก็มองว่า อาณาเขตไทย ไม่ใช่ต้องได้มา หรือเสีย ตรงๆ แต่ อาจทำให้ อาณาเขตไทยมีปัญหา ก็เข้า มาตรานี้ ซึ่งเป็นสิ่ง ที่ไม่เสียหาย แต่เป็นสิ่ง ที่ดี สังคมไทย จะได้ไม่ต้อง มาถกเถียงกันอีก


หรืออย่างเรื่อง เมื่อมีคำวินิจฉัยให้ นายกฯ ขาดคุณสมบัติ การดำรงตำแหน่งแล้ว จะรักษาการต่อ ได้หรือไม่ รัฐธรรมนูญ ก็เขียนไม่ชัด ซึ่งอาจทำให้ เข้าใจว่า นายกฯ พ้นตำแหน่ง ครม. พ้นตำแหน่ง ก็รักษาการต่อได้ ศาลรัฐธรรมนูญ ก็บอกชัดเจนว่า ครม.รักษาการต่อได้ ยกเว้นนายกฯ


พปช. ด้านดัน “หมัก” นั่งต่อ คาดพรุ่งนี้ เสนอชื่อเข้าสภาฯ


ด้าน นายกานต์ เทียนแก้ว รองหัวหน้า พรรคพลังประชาชน (พปช.) กล่าวกับ ผู้สื่อข่าว ว่า ทางพรรค พลังประชาชน จะสนับสนุนให้ นายสมัคร มาเป็น นายกรัฐมนตรี อีกครั้ง เว้นแต่ นายสมัคร จะถอดใจ ไม่ยอมรับตำแหน่งเอง


อย่างไรก็ตามทางพรรค ได้เตรียมชื่อของ นายกฯ สำรอง ไว้แล้ว ซึ่งทางพรรค จะเรียกประชุมด่วน เพื่อหารือ ในเรื่องดังกล่าว รวมถึงการเสนอชื่อ นายกฯ คนใหม่ คาดว่าวันพรุ่งนี้ (10 ก.ย.) จะนำเสนอเป็นวาระด่วน เข้าที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรได้


“รัฐธรรมนูญ ฉบับปี 2550 มีหลายมาตรา ที่ทำให้ การบริหารประเทศ เดินต่อไปไม่ได้ ซึ่งคดีนี้ หยุมหยิม เกินไป เพราะทำรายการ เพียงเล็กน้อย ก็ยังทำไม่ได้ จึงควรมี การพิจารณาแก้ไข” นายกานต์ กล่าว

ปรับปรุงจาก ข่าว และ ภาพ ของ สำนักข่าว ผู้จัดการออนไลน์
9 กันยายน 2551 18:02 น.
http://manager.co.th/asp-bin/mgrView.asp?NewsID=9510000106895


พิมพ์ ข่าวนี้ “หมัก” บรรลัย! ศาลมีมติเป็นเอกฉันท์ 9 ต่อ 0 ชี้พ้นสภาพผู้นำ


ข้อแถลง “ประสาทพระวิหาร” จากคณะวิจัย สถาบันไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
SPECIAL REPORT รายงาน…นับเวลาลมหายใจรัฐบาล”สมัคร”
คลิกอ่าน ข้อมูล ข่าวและบทความเกี่ยวกับกรณีพิพาทปราสาทพระวิหาร


ใช้ [ปุ่มถอยหลัง] ของเว็บบราวเซอร์ เพื่อกลับมาที่นี่ จากข้อมูลเชื่อมโยงด้านล่าง
Use Browser [Back] Button Return to Here from URL Below

Leave a Comment »

No comments yet.

RSS feed for comments on this post. TrackBack URI

Leave a comment

Create a free website or blog at WordPress.com.