Accom Thailand

September 26, 2008

ที่ประชุม ผู้บริหาร สพฐ. เสนอให้ ผอ.สพท. รอง ผอ.สพท. แบ่งงานกันบริหาร อย่างชัดเจน ให้ คุณภาพการศึกษาดีขึ้น


สพฐ. เอาจริง จ้องดัดนิสัย บิ๊ก สพท. เซ็งผู้บริหาร ไม่ทำงาน – ร.ร.เล็ก ถูกเมิน


สพฐ. เสนอ ผู้อำนวยการ เขตพื้นที่การศึกษา – รองฯ ให้แบ่งงานกันบริหาร อย่างชัดเจน โดยเฉพาะ โรงเรียน เพื่อช่วยให้ รับทราบปัญหา ของ โรงเรียน แต่ละแห่ง รับการทำงาน ของ สพท. ถูกวิจารณ์แง่ลบ มานานแล้ว กรณีผู้บริหารเพียบ แต่ไม่มีผลงาน หากจี้ชัด ใครคุม ร.ร. ไหน และ หมั่นดูแล เก็บข้อมูล เพื่อพัฒนา สถานศึกษา และ คุณภาพการศึกษา ให้ดีขึ้น


นาย สมเกียรติ ชอบผล รองเลขาธิการ คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กล่าวว่า ที่ประชุม ผู้บริหาร สพฐ. ได้มีการเสนอให้ ผู้อำนวยการ เขตพื้นที่การศึกษา (ผอ.สพท.) รองผู้อำนวยการ เขตพื้นที่การศึกษา (รอง ผอ.สพท.) แบ่งงานกัน บริหารอย่างชัดเจน โดยเฉพาะ โรงเรียน คือ กำหนดลงไปเลยว่า ผอ.สพท. หรือ รอง ผอ.สพท. คนไหนดูแล วิธีนี้จะช่วยให้ รับทราบปัญหา ของ โรงเรียนแต่ละแห่ง จากนั้น ผู้ที่รับผิดชอบ ของโรงเรียน แต่ละแห่งนั้น จะต้องนำปัญหา มาหาทางแก้ไข ทั้งนี้ ตั้งเป้าไปที่ ผลสัมฤทธิ์ ของนักเรียน ให้สูงขึ้น


“ข้อเสนอให้ ผอ.สพท. รอง ผอ.สพท. จัดสัดส่วนโรงเรียน เพื่อรับผิดชอบนั้น พูดกันมา หลายครั้งแล้ว ซึ่ง บาง สพท. ก็ปฏิบัติ บางแห่ง ก็ไม่ปฏิบัติ นอกจากนี้ ยังมีเสียง วิพากษ์วิจารณ์ เรื่องที่ แต่ละ สพท. มีรอง ผอ.สพท. จำนวนมาก โดยมี 10-11 คน กลับไม่มี ผลงานที่ชัดเจน”


ด้าน นายพิษณุ ตุลสุข ในฐานะ ผู้อำนวยการ พื้นที่การศึกษา จังหวัดตาก เขต 1 บอกว่า เห็นด้วย กับ ข้อเสนอดังกล่าว เพราะแต่ละคน จะได้รู้ว่า ตนเอง ต้องรับผิดชอบ อะไรบ้าง และ จะเป็นตัวชี้วัดว่า ใครทำงาน ใครแก้ปัญหา หรือ ใครไม่ทำงาน ตรงนี้ จะเห็นชัดเจน เพราะจะมี การเปรียบเทียบ กับ ผู้บริหารคนอื่นโดยอัตโนมัติ ในที่สุด ผู้บริหารทุกคน จะได้มุ่งมั่น ขยันทำงาน เพื่อให้ตนเอง มีผลงานที่โดดเด่น


ทั้งนี้ ยอมรับว่า การทำงาน ของ สพท. ได้ถูกวิจารณ์ ในแง่ลบ มานานแล้ว เรื่องมี ผู้บริหารจำนวนมาก แต่ไม่ค่อยมี ผลงาน หากระบุว่า ใครดูแล โรงเรียน แห่งไหนบ้าง แล้วลงไปดู โรงเรียน เก็บข้อมูลรายละเอียด ถึงสภาพ ความเป็นอยู่ และ ปัญหา ก็จะนำไปสู่ การพัฒนา สถานศึกษา คุณภาพ การศึกษา ให้ดีขึ้น


เช่น เดียวกับ นายนพพล เหลาโชติ ผอ.ร.ร.มัธยมวัดมกุฏกษัตริย์ กล่าวว่า เห็นด้วยกับ ข้อเสนอดังกล่าว เพราะ โรงเรียน ที่อยู่ห่างไกล อยู่ใน ชนบท โรงเรียนตะเวนชายแดน โรงเรียนชายขอบ ฯลฯ ซึ่งอยู่ห่างไกล การเดินทางไปกลับลำบาก


ทำให้ ขาดผู้หลักผู้ใหญ่ ไปให้กำลัง ไม่มีใครไปดู ความเป็นอยู่ ของเขาว่า ต้องการอะไรบ้าง ถ้า สพฐ. กำหนดเป็น นโยบายอย่างชัดเจน แล้ว ผู้หลักผู้ใหญ่ ที่รับผิดชอบโรงเรียนแห่งนั้น เดินทางไป เดือนละครั้ง 2 สัปดาห์ครั้ง เพื่อให้ เห็นกับตา ตนเอง หรือ รับทราบปัญหา ของ โรงเรียน ที่ตน รับผิดชอบ และหาวิธีแก้ปัญหา มั่นใจว่า เพียง 1 ปี 2 ปี จะพบว่า โรงเรียน นักเรียน จะมี คุณภาพชีวิตดี และ ผลการเรียน ของเด็ก ดีขึ้น อย่างแน่นอน

ปรับปรุงจาก ข่าว และ ภาพ ของ สำนักข่าว ผู้จัดการออนไลน์
26 กันยายน 2551 08:03 น.
http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9510000114024


พิมพ์ ข่าวนี้ สพฐ.เอาจริงจ้องดัดนิสัยบิ๊ก สพท.เซ็งผู้บริหารไม่ทำงาน-ร.ร.เล็กถูกเมิน


ข้อแถลง “ประสาทพระวิหาร” จากคณะวิจัย สถาบันไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
คลิกอ่าน ข้อมูล ข่าวและบทความเกี่ยวกับกรณีพิพาทปราสาทพระวิหาร


ใช้ [ปุ่มถอยหลัง] ของเว็บบราวเซอร์ เพื่อกลับมาที่นี่ จากข้อมูลเชื่อมโยงด้านล่าง
Use Browser [Back] Button Return to Here from URL Below

Leave a Comment »

No comments yet.

RSS feed for comments on this post. TrackBack URI

Leave a comment

Blog at WordPress.com.